ลำไส้อักเสบในเด็ก! กับวิธีสังเกตและดูแลรักษาเมื่อลูกน้อยเป็นลำไส้อักเสบ

event

น้องเป่าเปา ป่วยไข้ขึ้น-ท้องอืด
หมอตรวจพบเชื้อไวรัสในลำไส้

https://www.instagram.com/p/BRBHxkyjkCc/?taken-by=gggubgib36

น้องเป่าเปา ป่วย

เห็นแบบนี้แล้วก็อดสงสารน้องเป่าเปาไม่ได้เลย   อย่างไรก็ตามทางทีมงาน Amarin Baby & Kids ก็ขอให้น้องเป่าเปาหายป่วย และกลับมาร่าเริงเหมือนเดิมในเร็ววันนะคะ

ลำไส้อักเสบในเด็ก

สำหรับเด็กน้อยที่เป็นลำไส้อักเสบ จะมีอาการถ่ายอุจจาระผิดปกติ โดยอาจจะถ่ายเป็นน้ำ น้ำปนเนื้อมูก หรือมูกเลือด และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด น้ำหนักลด หรือเลี้ยงไม่โต ตัวบวม อันเนื่องมาจากการสูญเสียโปรตีนทางลำไส้ โลหิตจางจากการสูญเสียเลือดทางลำไส้

ซึ่งอาการที่ตรวจพบเชื้อไวรัสในลำไส้ของเด็ก มักพบได้บ่อยที่สุดในวัยเด็กเล็กอายุ 4-6 เดือนขึ้นไป ทั้งนี้อาจเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อโรค เนื่องจากเด็กในวัยนี้มักมีความสนใจหยิบจับสิ่งต่างๆ เข้าปากหรือชอบดูดนิ้วมือ ลำไส้อักเสบเกิดจากการติดเชื้อโรค ซึ่งมักได้แก่เชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย

สาเหตุของการอักเสบของลำไส้ในเด็กทารก

  • การติดเชื้อซึ่งเป็นได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว หรือพยาธิ
  • การแพ้นมวัว หรืออาหารบางชนิด
  • การอุดตันของลำไส้ใหญ่ในโรค Hirschsprung’s disease  ซึ่งมีความผิดปกติของระบบประสาทในลำไส้ใหญ่ตั้งแต่กำเนิด
  • ภูมิต้านทานของร่างกายผิดปกติ
  • ไม่ทราบสาเหตุ เช่น โรค inflammatory bowel disease  ซึ่งพบน้อยในคนไทย

แต่สำหรับเด็กปกติวัยประมาณ 1-2 ปี บางคน อาจมีอาการถ่ายอุจจาระบ่อยและเหลวเป็น ๆ หาย ๆ ได้เฉพาะช่วงเวลากลางวัน แต่เด็กกลุ่มนี้จะมีการเจริญเติบโตปกติ สาเหตุเชื่อว่าเกิดจากลำไส้มีการเคลื่อนไหวมากขึ้นกว่าปกติ โดยที่ไม่มีการอักเสบของลำไส้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กลดการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลปริมาณมาก เช่น น้ำผลไม้สำเร็จรูป และรับประทานเนื้อสัตว์และผักให้มากขึ้น

การรักษาภาวะลำไส้อักเสบ แบ่งเป็น

√ การรักษาประคับประคอง

  • แก้ไขภาวะขาดน้ำ เด็กที่ถ่ายอุจจาระเหลว จะสูญเสียน้ำไปกับอุจจาระ ผู้ปกครองอาจประเมินความรุนแรงของการขาดน้ำได้ดังนี้
    • ขาดน้ำน้อย เด็กจะมีเพียงปากแห้ง กระหายน้ำ โดยที่ไม่มีกระหม่อมบุ๋ม หรือตาลึกโหล
    • ขาดน้ำปานกลาง เด็กจะมีปากแห้งมาก ผิวหนังแห้งจับตั้งแล้วคืนสู่สภาพเดิมช้ากว่า 2 วินาที ตาลึกโหล กระหม่อมบุ๋ม ร้องไห้ไม่ค่อยมีน้ำตา กระสับกระส่าย กระหายน้ำมาก ปัสสาวะน้อยลง
    • ขาดน้ำรุนแรง เด็กจะซึม ปากและลิ้นแห้งมาก ตาลึกโหล กระหม่อมบุ๋มมาก หัวใจเต้นเร็ว มือเท้าเย็นแขนขาลายเป็นจุด ๆ และช็อก

ซึ่งถ้าเด็กมีการขาดน้ำน้อย คุณพ่อคุณแม่อาจให้เด็กดื่มสารละลายเกลือแร่ปริมาณ 50 ซีซี ต่อน้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม ในระยะเวลา 4 ชั่วโมง ในระหว่างนี้ถ้าเด็กถ่ายอุจจาระเพิ่มขึ้นอีก ต้องให้สารละลายเกลือแร่เพิ่มขึ้นอีก โดยให้ปริมาณ 10 ซีซี ต่อน้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม ต่อการถ่ายอุจจาระ 1 ครั้ง แต่ถ้าเด็กมีการขาดน้ำปานกลางหรือรุนแรง ควรนำเด็กมาพบแพทย์เพราะอาจมีความจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด

อ่านต่อ >> การรักษาอาการภาวะลำไส้อักเสบในเด็ก” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up