Ultrasound ไตรมาส 3

Alternative Textaccount_circle
event

ตรวจเมื่อไร?

ตามวินิจฉัยของแพทย์ และ/หรือเมื่อมีสัญญาณของภาวะผิดปกติ เช่น มีเลือดออกจากช่องคลอด การอัลตราซาวด์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการคลอดที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมถึงตรวจติดตามการเจริญเติบโตของทารกและระมัดระวังภาวะผิดปกติต่างๆ

ตรวจเพื่ออะไร?

1. ตรวจสอบขนาดและการเจริญเติบโตของทารก

ตรวจเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารกว่า เป็นไปตามอายุครรภ์หรือไม่ และแพทย์จะต้องตรวจขนาดและน้ำหนักของทารก เพื่อเป็นข้อมูลในการวินิจฉัยว่า จะคลอดด้วยวิธีใด

2. ท่าของทารกในครรภ์

หลังจากสัปดาห์ที่ 36 ส่วนใหญ่ทารกมักขยับไปอยู่ในท่าเอาศีรษะลงเพื่อเตรียมคลอด แพทย์จะวินิจฉัยว่าทารกอยู่ในท่าใดด้วยการคลำจากหน้าท้องของคุณแม่ แต่วิธีนี้อาจไม่แม่นยำนัก หากแพทย์ไม่แน่ใจเรื่องท่าของทารก ก็อาจแนะนำให้คุณแม่ตรวจอัลตราซาวด์เพื่อตรวจสอบให้แน่ชัดอีกครั้ง

3. ตรวจปริมาณน้ำคร่ำ

ปริมาณน้ำคร่ำจะบ่งบอกถึงสุขภาพของเจ้าตัวน้อย หากคุณแม่มีปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณว่า รกทำงานน้อยลง เลือดจึงไหลเวียนไปที่รกและไปสู่ทารกน้อยลง ทำให้ลูกขาดออกซิเจนและส่งผลต่อสมองได้ หากแพทย์ตรวจอัลตราซาวด์พบว่าปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ จะต้องตรวจติดตามเป็นระยะ หรือถ้าอายุครรภ์เกินกว่า 37 สัปดาห์ แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดคลอด

4. ตรวจตำแหน่ง+ลักษณะของรก

ช่วงไตรมาสที่สามตำแหน่งของรกจะคงที่แล้ว แพทย์จึงมักจะวินิจฉัยภาวะรกเกาะต่ำในช่วงนี้ และนอกจากดูตำแหน่งของรกแล้ว แพทย์ยังต้องดูลักษณะของเนื้อรก ว่า มีภาวะรกเสื่อมสภาพหรือรกลอกตัวก่อนกำหนดหรือไม่ เนื่องจากภาวะดังกล่าวอาจส่งผลต่อทารกได้

ตรวจอย่างไร?

ใช้วิธีตรวจทางหน้าท้องเช่นเดียวกับการตรวจอัลตราซาวด์ในไตรมาสที่สอง

อ่านเพิ่มเติม Ultrasound ไตรมาส 1 | Ultrasound ไตรมาส 2

 

บทความโดย : กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up