ทารก

7 สิ่งสุดว้าว! ทารกทำได้ในครรภ์แม่

Alternative Textaccount_circle
event
ทารก
ทารก

ทารกทำอะไรในท้อง

3. ตาหนูมองเห็นแสง

ดวงตาของลูกน้อยพัฒนาเป็นรูปร่างมาตั้งแต่ไตรมาสที่หนึ่ง แต่ยังคงหลับตาอยู่จนอายุครรภ์จะย่างเข้าเดือนที่เจ็ดหรือแปด ลูกจึงสามารถมองเห็นได้ แต่เห็นได้เล็กน้อยเท่านั้น มีรายงานจากแพทย์ว่า หากลองส่องไฟจ้าๆ ไปที่มดลูก เด็กจะหันหน้าหนีแสงนั้น และคาดว่าเด็กอาจจะสามารถมองเห็นเป็นแสงจางๆ ได้ นอกจากนี้จากการอัลตร้าซาวด์พบว่า เด็กจะลืมตาและหลับตาบ่อยมากๆ เมื่อใกล้คลอด ซึ่งถือเป็นการฝึกกะพริบตาและการมองเพื่อเตรียมตัวเมื่ออกไปสู่โลกภายนอก

4. หนูแยกแยะรสชาติได้

ตุ่มรับรู้รสของลูกน้อยในครรภ์จะพัฒนาชัดเจนในช่วงเดือนที่เจ็ดหรือแปด แต่ก็มีข้อมูลบางอย่างบ่งชี้ว่า ลูกน้อยสามารถรู้รสขม หวาน และเปรี้ยว ในน้ำคร่ำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ด้วยเหตุนี้ เขาจึงมักสำรวจรอบๆ มดลูกด้วยการชิม ซึ่งจากการอัลตร้าซาวด์พบว่า ทารกมีการเลียรกและผนังมดลูกด้วย

นอกจากนี้ รสชาติและกลิ่นของอาหารที่แม่กินเข้าไประหว่างตั้งครรภ์ อาจจะมีผลต่อความชื่นชอบในรสชาติอาหารของลูกหลังคลอดได้ ดร.จูลี่ เมนเนลล่า นักจิตชีววิทยา จาก Monell Chemical Senses Center เมืองฟิลาเดลเฟีย กล่าวว่า “ยิ่งคุณแม่กินอาหารหลากหลายมากเท่าไร ทั้งระหว่างตั้งครรภ์และระหว่างให้นมลูก ยิ่งมีแนวโน้มช่วยให้ลูกยอมรับอาหารใหม่ๆ ได้มากขึ้น นั่นเป็นเพราะว่าทารกเรียนรู้และยอมรับรสชาติอันหลากหลายผ่านน้ำนมของแม่นั่นเอง”

5. หนูจำกลิ่นแม่ได้นะ

ทารกในครรภ์ไม่เพียงแต่จะรับรู้รสชาติได้เท่านั้น แต่ยังได้กลิ่นด้วย เช่น เมื่อคุณแม่กินอาหารที่มีสมุนไพรหรือเครื่องเทศ น้ำคร่ำก็จะมีกลิ่นเดียวกัน ลูกน้อยที่ต้องกลืนและหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าออกจึงได้กลิ่นไปด้วย บรรดาคุณหมอตั้งข้อสังเกตว่า จริงๆ แล้ว ทารกอาจไม่เพียงแต่ได้กลิ่นอาหารเท่านั้น แต่อาจได้กลิ่นของคุณแม่เองด้วย

ดังนั้นเด็กแรกเกิดจึงอาจจดจำแม่ของตัวเองได้ด้วยกลิ่น “ในช่วงสองสามชั่วโมงหลังคลอด ประสาทสัมผัสด้านการดมกลิ่นของทารกอาจสำคัญมากกว่าเรื่องการมองเห็น เพราะกลิ่นเป็นตัวช่วยระบุตัวคุณแม่ได้” ดร.เมนเนลล่ากล่าว และจากการศึกษายังพบด้วยว่า หากคุณแม่ทำความสะอาดเต้านมข้างใดข้างหนึ่งทันทีหลังคลอด ทารกมักจะเลือกดูดนมจากเต้านมที่ไม่ได้ล้างมากกว่า (นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมคุณหมอบางคนจึงแนะนำให้คุณแม่ที่เพิ่งคลอดไม่ต้องอาบน้ำจนกว่าจะให้ลูกกินนมมื้อแรกเสร็จ เพื่อปล่อยให้กลิ่นธรรมชาติช่วยให้นมลูกได้สำเร็จนั่นเอง)

6. หนูเริ่มจะฝัน

จากการทดสอบด้วยอัลตร้าซาวด์ ค้นพบข้อมูลบางอย่างว่าทารกในครรภ์อายุ 32-36 สัปดาห์ มีการหลับแบบกลอกตาแบบรวดเร็ว (Rapid Eye Movement – REM) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการฝัน นอกจากนี้ วงจรการนอนหลับของทารกในครรภ์ในไตรมาสที่สามนี้ ก็มีความใกล้เคียงกับเด็กแรกเกิด คือ ใช้เวลาหลับในช่วง REM มาก แต่ก็มีช่วงหลับลึกหรืออยู่ช่วงนิ่งสงบด้วย ซึ่งดวงตาจะไม่มีเคลื่อนไหว นักวิจัยจึงยังคงเฝ้าสังเกตการหลับของทารกในครรภ์ในช่วงที่นิ่งสงบ และสันนิษฐานว่าทารกอาจจะกำลังมีสมาธิกับบางสิ่งอยู่ อย่างการฟังแม่คุยอยู่ก็เป็นได้ สรุปแล้วจึงยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าทารกฝันจริงๆ หรือไม่ เพราะไม่สามารถตรวจวัดคลื่นสมองได้ แต่คุณหมอหลายคนก็เชื่อว่ามีความเป็นไปได้มากทีเดียว

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ติดตาม ลูกน้อยเล่นอะไรตอนอยู่ในท้อง? คลิกต่อหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up