คลอดก่อนกำหนด เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้สาเหตุและวิธีป้องกัน

Alternative Textaccount_circle
event

ปัจจุบันมีการเจ็บครรภ์ คลอดก่อนกำหนด เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางสูติศาสตร์ก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพและการตายของทารกได้ถึงร้อยละ 75

การตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ เราจะเรียกว่าครบกำหนดที่ 38-41 สัปดาห์ คือประมาณ 9 เดือนโดยเฉลี่ย หากคลอดก่อน 37 สัปดาห์ ทางการแพทย์ถือว่าคลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดก่อนกำหนดน้อย ๆ เช่น 1-2 สัปดาห์ คือคลอดเมื่อ 35 หรือ 36 สัปดาห์ ส่วนใหญ่ก็ไม่มีปัญหาอะไร ทารกที่จะมีปัญหามาก ๆ คือทารกที่คลอดก่อนกำหนดมาก ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยมาก ๆ คือ มีน้ำหนักตัวตอนเกิดน้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม ทารกในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นทารกที่การตั้งครรภ์สิ้นสุดที่อายุครรภ์ประมาณ 32-33 สัปดาห์ ยิ่งคลอดก่อนกำหนดมากเท่าไรปัญหาก็ยิ่งมากขึ้น

ภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด คือภาวะที่มีการเจ็บครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว จะนับตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ และก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ในกรณีที่น้ำหนักทารกแรกคลอดน้อยกว่า 2,500 กรัม เรียกว่าทารกน้ำหนักแรกคลอดน้อย พบได้ประมาณร้อยละ 7-12 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งแตกต่างกันไปในประชากรแต่ละกลุ่ม

eight_col_baby_steroids_16-10

สาเหตุการคลอดก่อนกำหนด

สาเหตุที่แท้จริงนั้นไม่ทราบแน่ชัด แต่สำหรับในประเทศไทย สถิติคลอดก่อนกำหนดมีจำนวน 64,000-80,000 คน/ปี ซึ่งการคลอดก่อนกำหนดเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาว จึงถือเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องดูแลแก้ไข กลุ่มมารดาที่มีภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ได้แก่

  • หญิงตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า 17 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
  • มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์
  • ตั้งครรภ์แฝด มีปัญหารกเกาะต่ำ หรือมีความผิดปกติของมดลูก เช่น มีเนื้องอกที่มดลูกหรือปากมดลูกผิดปกติ ฯลฯ
  • มีโรคประจำตัวเช่น โดยเฉพาะเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์
  • มีประวัติคลอดก่อนกำหนดมาก่อน มีโอกาสเป็นซ้ำ
  • มีประวัติแท้งบุตรมาก่อน

คลอดก่อนกำหนด

สัญญาณเตือนอาการ คลอดก่อนกำหนด

โดยปกติในระยะตั้งครรภ์เกิน 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่จะรู้สึกว่ามดลูกหดตัวเบา ๆ เป็นพัก ๆ ไม่รู้สึกเจ็บปวด (อย่างที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเด็กโก่งตัว) เป็นการฝึกหัดตัวเองของมดลูกที่จะบีบตัวเมื่อถึงกำหนดคลอด การหดตัวของมดลูกแบบนี้เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้ามีการหดตัวบ่อย ๆ ถี่เกินไป ท้องตึงแข็งอยู่เป็นเวลานาน และมีอาการอื่นร่วมด้วย ก็แสดงว่าอาจจะมีการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด

อาการผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ที่เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณแม่อาจคลอดก่อนกำหนด ได้แก่ ท้องเสียหรือลำไส้บิดตัวมากกว่าปกติ มีอาการปวดท้อง แบบผิดปกติ เช่น ปวดท้องตื้อๆ บริเวณช่วงล่าง ปวดบริเวณท้องน้อยคล้ายๆ กับอาการปวดประจำเดือน มดลูกบีบรัดตัวอย่างรุนแรง และบีบรัดตัวถี่มาก รู้สึกมีแรงกดบริเวณอุ้งเชิงกราน ขาหรือหลัง

คุณแม่บางท่านไม่มีอาการเจ็บปวด แต่มีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด มีน้ำเดิน คือมีน้ำเดินไหลลงมาตามขา เปียกจนชุ่มถึงพื้น หรือออกมาแบบปัสสาวะแต่ไม่หยุดซะที ก็ต้องรีบไปพบแพทย์ค่ะ เพราะแม้ไม่มีอาการเจ็บท้อง แต่หากคุณแม่มีอาการอย่างนี้แล้วก็มักจะคลอดภายใน 24 ชั่วโมง โดยแพทย์อาจจะต้องตัดสินใจผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง เพราะว่าการที่ถุงน้ำแตก มีน้ำเดินแล้วยังไม่คลอด จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อในถุงน้ำ ซึ่งเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์อย่างมากค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อ >> “วิธีการป้องกันอาการคลอดก่อนกำหนด” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up