โรคลมแดด

โรคลมแดด วายร้ายหน้าร้อนของเด็กเล็ก

Alternative Textaccount_circle
event
โรคลมแดด
โรคลมแดด

จะป้องกันโรคลมแดดในเด็กเล็ก ได้อย่างไร?

สำหรับเด็กเล็กนั้นร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากความร้อนได้ง่ายกว่าในผู้ใหญ่ หากเล่น หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งที่มีแดดจัดนานหลายชั่วโมง ร่างกายอาจช็อกจากความร้อน ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิต กิจกรรมที่สามารถนำไปสู่ภาวะเป็นลมแดดในเด็กในช่วงหน้าร้อน ก็เช่น

– พาไปเที่ยวทะเล แล้วเล่นน้ำทะเล เล่นทรายกันตอนแดดแรงๆ

– เล่นกีฬา เช่น เตะฟุตบอล  วิ่งเปรี้ยว วิ่งแข่ง ปั่นจักรยาน ฯลฯ

– ว่ายน้ำสระกลางแจ้ง นอกจากจะเสี่ยงต่อการอ่อนเพลียจากแสงแดด ยังอาจทำให้เกิดเป็นตะคริวขึ้นได้ เสี่ยงจมน้ำเสียชีวิตได้เช่นกัน

– เข้าแถวหน้าเสาธงที่โรงเรียน อย่าลืมว่าอากาศและแสงแดดช่วงหน้าร้อนไว้ใจไม่ได้ ถึงจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ในการทำกิจกรรมของเด็กๆ และคุณครูที่โรงเรียนในช่วงเช้า ก็สามารถทำให้เด็กเป็นลมแดดได้ค่ะ

– กิจกรรมกลางแจ้ง อื่น ฯลฯ

โรคลมแดด
Credit Photo : Shutterstock

 

สำหรับการป้องกันลมแดดในเด็ก คุณหมอมีคำแนะให้คุณพ่อคุณแม่ คุณครู หรือคนที่ต้องดูแลเด็กเล็ก ดังนี้ค่ะ

  1. ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กอยู่กลางแดด หรือเล่นกล้างแจ้งที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน
  2. ในวันที่อากาศร้อนมาก หรืออุณหภูมิสูงเกิน 37 องศาเซลเซียส ให้ดื่มน้ำบ่อยๆ ทุกชั่วโมง
  3. ให้สวมชุดเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย เลือกสีอ่อนๆ
  4. ให้สังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก เช่น ตัวร้อนจัดแต่เหงื่อไม่ออก ผิวหนังแดง หัวใจเต้นเร็วและแรง มีอาการชัก หรือหมดสติ ต้องรีบนำเด็กเข้าร่มในทันที
  5. ในกรณีที่เด็กเป็นลม การดูแลเบื้องต้น คือ ให้เด็กนอนราบแล้วยกเท้าทั้งสองข้างให้สูง เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น
  • ให้ถอดเสื้อผ้าออกให้เหลือน้อยชิ้นมากที่สุด
  • ให้ระบายความร้อนออกจากร่างกายเด็ก ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัว โดยเฉพาะตรงขาหนีบ รักแร้ ข้อพับต่างๆ
  • หากเด็กยังมีสติอยู่บ้าง ควรให้เด็กได้จิบน้ำบ่อยๆ ระหว่างนี้ก็ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

อ่านต่อ >> “การดูแลป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดโรคลมแดด” หน้า 4

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up