ปฎิรูปการศึกษา ยกเลิกสอบจัดอันดับ

มองเพื่อนบ้าน ปฎิรูปการศึกษา เลิกจัดอันดับเด็กลดเครียด

Alternative Textaccount_circle
event
ปฎิรูปการศึกษา ยกเลิกสอบจัดอันดับ
ปฎิรูปการศึกษา ยกเลิกสอบจัดอันดับ

ปฎิรูปการศึกษา ไทยถึงเวลาแล้วหรือยัง เมื่อประเทศเพื่อนบ้านต่างพากันยกเลิกระบบจัดลำดับในชั้นเรียน เพื่อให้เด็กพัฒนาทักษะชีวิตมากกว่าวัดใครเก่ง กันที่คะแนนสอบ

มองเพื่อนบ้าน ปฎิรูปการศึกษา เลิกจัดอันดับเด็กลดเครียด!

“ทำไมถึงไม่สอบได้ที่หนึ่ง ดูเพื่อนสิก็เรียนห้องเดียวกัน ทำไมเขาถึงทำได้…ต้องอ่านหนังสือเยอะ ๆ จะได้เก่งเท่าเขา”

ประโยคข้างต้น ที่แม้ว่าอาจจะใช้คำแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็ยังคงความหมายการเปรียบเทียบ การผิดหวัง และการตีตราลูกด้วยคะแนนสอบที่ยังคงวนเวียนมาให้ได้ยินในทุกยุคทุกสมัย โดยเชื่อว่าพ่อแม่ที่ว่ากล่าวตำหนิลูกนั้น ในช่วงวัยเด็กของตัวเองก็คงได้ยิน ได้ฟังคำกล่าวทำนองนี้มาก่อนที่จะกลายมาเป็นฝ่ายพูดเสียเองด้วยเหมือนกัน

ในยุคสมัยใหม่ ที่จิตวิทยาด้านการศึกษาย่างกรายเข้ามาสู่จิตใจผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่าน ที่คำนึงถึงจิตใจของเด็กมากกว่าการมุ่งหวังระดับความเก่ง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการอัดการเรียน การสอนเข้าไปให้แก่เด็ก ทำให้เริ่มเกิดแนวคิดการ ปฎิรูปการศึกษา ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติของมนุษย์ เริ่มหันกลับมามองว่าธรรมชาติของเด็กประถมวัยนั้น หน้าที่หลักของการเรียนรู้ของเด็กนั้นอยู่ที่การเล่น การพัฒนากล้ามเนื้อ และระดับการเรียนรู้ของเขาคงไม่เหมาะสมกับการต้องมานั่งเรียนนิ่ง ๆ นาน ๆ เพราะสมาธิของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนามากพอเท่าผู้ใหญ่ หรือเด็กโต

จากแนวคิดดัวกล่าวทำให้ประเทศเพื่อนบ้านของเรานั้นเริ่มหันมาแก้ไข พัฒนาระบบการศึกษาของประเทศตนเองให้สอดคล้อง และเชื่อว่าจะทำให้คุณภาพการศึกษาของเขานั้นดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ โดยเน้นการพัฒนาการรอบด้านของเด็กมากกว่าที่จะโฟกัสไปที่การพัฒนาระดับ IQ ด้านสมองเพียงด้านเดียว ทำให้เราได้เห็นข่าวการปฎิรูปการศึกษาของทั้งประเทศสิงคโปร ประเทศที่เดิมที่มีนโยบายผลักดันเยาวชนในเรื่องการศึกษาเป็นอย่างมาก ภายใต้แนวคิดค่านิยม KAISU (ภาษาจีน แปลว่า กลัวจะแพ้เขา) ซึ่งค่านิยมดังกล่าวแม้จะช่วยให้ประเทศสิงคโปรสามารถผลักดันประเทศให้ก้าวกระโดดขึ้นมาได้อย่างดี แต่ผลที่ตามมาคือ การที่เยาวชนของสิงคโปรชอบชิงดีชิงเด่น และไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี จึงทำให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดนี้ด้วยการ ยกเลิกการสอบ โดยมุ่งเน้นหลักการที่ว่า ความสมดุลของความสุขในการเรียนรู้และการแข่งขันในการศึกษาต้องไปด้วยกัน

จีน สิงคโปร์ ปฎิรูปการศึกษา ยกเลิกการสอบจัดอันดับ
จีน สิงคโปร์ ปฎิรูปการศึกษา ยกเลิกการสอบจัดอันดับ

ล่าสุดนี้ กระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ ได้ประกาศทำการยกเลิกระบบ ‘จัดอันดับในชั้นเรียน’ และยกเลิกการ ‘สอบ’ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นประถมและมัธยม ตามนโยบาย การเรียนรู้เพื่อชีวิต’ (Learn For Life)

โดยหวังเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนจดจ่ออยู่กับกระบวนการเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงระบบการสอนในโรงเรียน ให้เป็นการเรียนรู้อย่างแท้จริง ไม่ใช่การแข่งขันกันเรียนเหมือนที่ผ่านมา

ทั้งนี้ สิงคโปร์จะเริ่มเปลี่ยนระบบในปีการศึกษา 2019 ดังรายการต่อไปนี้

– ไม่มีการตัดเกรดบันทึกลงในสมุดพก และจะไม่มีการจัดอันดับภายในชั้นเรียน หลีกเลี่ยงปัญหาการถูกเปรียบเทียบ

– ยกเลิกการสอบทุกชนิดในระดับชั้นประถม 1 และ 2 ใช้ระบบควิซถามประเมินความรู้ความเข้าใจแทน

– ยกเลิกการสอบกลางภาคในระดับชั้นมัธยมปีที่ 1 และภายในปี 2020 – 2021 จะนำไปใช้กับชั้นประถม 3 ประถม 5 และมัธยม 3 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนในช่วงชั้นดังกล่าว มีเวลาว่าง เลือกเรียนเพิ่มเติมในวิชาที่ตนเองสนใจ

– ในแต่ละวิชาจะมีการสอบเพียงครั้งเดียวต่อเทอม ที่จะถูกนำไปคิดเป็นคะแนนรวมปลายภาคเรียน

– ทุนการศึกษาที่รัฐมอบให้ในระดับชั้นประถม 1 และ 2 เปลี่ยนกฎการตัดสินจากผลการเรียน มาเป็นทัศนคติทางด้านการเรียนรู้แทน

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.catdumb.com

ซึ่งนอกจากประเทศสิงคโปร์แล้ว ล่าสุดแม้แต่ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีน ก็ได้ทำการปฏิรูปการศึกษาของเขาเช่นกัน นั่นแสดงให้เห็น และตอบข้อสงสัยของใครหลาย ๆ คนที่ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า ประเทศฟินแลนด์ที่นับว่าเป็นประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ดี แม้ว่าจะมีระบบการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นแกนกลาง ไม่อัดวิชาการมากเกินไปนั้น เป็นประเทศที่ทำเช่นนี้ได้เพราะเขามีประชากรน้อย แต่เมื่อพี่ใหญ่อย่างประเทศจีนก็เริ่มขยับและทำการปฎิรูปยกเซ็ต เพื่อเด็ก ๆ ของเขาได้เช่นกัน

การเรียนรู้ไม่ได้มีแค่วิชาการ
การเรียนรู้ไม่ได้มีแค่วิชาการ

จีน ปฏิรูปยกเซ็ต คุมความถี่การจัดสอบ-ปริมาณการบ้าน ห้าม ร.ร.จัดอันดับคะแนนสอบ

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ไชน่า ซินหัว เปิดเผยว่า หน่วยงานรัฐของจีนเผยแพร่เอกสารฉบับล่าสุด ซึ่งสั่งห้ามมิให้โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น เปิดเผยคะแนนสอบและการจัดอันดับคะแนนของนักเรียน

แนวปฏิบัติเพื่อการประเมินคุณภาพการศึกษาภาคบังคับของจีนฉบับนี้ ซึ่งเผยแพร่โดยกระทรวงศึกษาธิการกับหน่วยงานรัฐอีก 5 แห่ง มุ่งแก้ปัญหาการยึดติดกับคะแนนสอบ อัตราการสมัครเรียน วุฒิการศึกษา งานวิจัย และตำแหน่งในภาคการศึกษาจนเกินควร

เอกสารเรียกร้องให้โรงเรียนควบคุมความถี่ของการจัดการสอบอย่างเข้มงวด พร้อมปรับปริมาณการบ้านและเวลาที่นักเรียนใช้ในการทำการบ้าน เพื่อลดแรงกดดันทางการศึกษาที่มีต่อเด็ก

แนวปฏิบัติ ระบุให้ประเมินครูโดยอิงจากทั้งพัฒนาการรอบด้านของเด็กร่วมกับผลการศึกษาเชิงวิชาการ พร้อมแนะให้เลิกยึดติดกับคะแนนและอัตราการสมัครเรียนเพียงอย่างเดียว

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.matichon.co.th

ผลเสียของการจัดอันดับการสอบ

แม้ว่าการสอบ จะเป็นตัวชี้วัดที่ดี และง่ายในการวัดความเข้าใจ และการเรียนรู้ของเด็ก แต่ในปัจจุบันเริ่มมีผลการทดลอง และการวิจัย ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนแล้วว่า การอัดวิชาการให้แก่เด็กเล็ก ซึ่งเป็นวัยที่ยังไม่พร้อมต่อการเรียนรู้ในแบบนี้นั้น กลับกลายเป็นผลเสียต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กมากขึ้นไปอีก แถมยังส่งผลเสียในอีกหลาย ๆ ด้านอีกด้วย เช่น การเห็นคุณค่าในตนเองของเด็ก การพัฒนา 10 ทักษะความฉลาดรอบด้าน เป็นต้น

ผลเสียของการจัดอันดับการสอบ ปฎิรูปการศึกษา คือคำตอบ
ผลเสียของการจัดอันดับการสอบ ปฎิรูปการศึกษา คือคำตอบ

ครูหวาน’ ธิดา พิทักษ์สินสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัย และกรรมการบริหารสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย บอกว่า ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่สมองพัฒนาสูงสุด โดยเฉพาะสมองส่วนหน้าหรือที่เรียกกันว่า Executive Function (EF) เปรียบเสมือน CEO ของสมอง

“ในช่วง 3-6 ปี สมองมีอัตราการพัฒนาสูงสุดกว่าทุกช่วงวัย ซึ่งเป็นฐานการพัฒนาไปจนตลอดชีวิต ทักษะสมอง EF คือตัวที่บ่มเพาะอุปนิสัยในตัวเด็ก และจะเป็นทักษะที่เด็กจะสะสมติดตัวไป”

“แล้วการสอบมันส่งผลยังไงต่อเด็ก ถ้าเป็นในเด็กโต สภาวะการสอบของเด็กโตจะมีความคงทนต่อความเครียดได้สูงกว่าเด็กเล็กซึ่งเป็นช่วงสำคัญที่สูญเสียไม่ได้ในเรื่องความรู้สึกมั่นคงทางอารมณ์ ความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง การเห็นคุณค่า เห็นความสามารถของตนเองที่จะพัฒนาต่อไป แล้วถ้ามันถูกกระทบถูกทำลายไป มันจะส่งผลต่อมนุษย์คนหนึ่งไปจนตลอดชีวิตได้”

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์และนักเขียน ที่เหล่าพ่อๆ แม่ๆ และคนแวดวงการศึกษาเรียกกันว่า ‘หมอประเสริฐ’ บอกประเด็นนี้อย่างรวดเร็วว่า “ไม่ให้สอบ และพัฒนาทุกโรงเรียนในประเทศไทยให้มีคุณภาพเท่ากัน”

“เราติดกับวาทกรรมคลาสสิกมาครึ่งศตวรรษแล้ว ข้อแรกคือ ‘เราทำไม่ได้หรอก’ แต่จริงๆ คือเราไม่ยอมทำ หลายคนยินดีปล่อยให้ประเทศมีสภาพที่มีโรงเรียนคุณภาพสูงอยู่ 10 โรงเรียน แต่ปล่อยให้ที่เหลืออยู่ในสภาพพอดูได้ ส่วนที่บ้านนอกนั้นดูไม่ได้เลย ข้อสองคือ ‘เราไม่มีเงิน’ ซึ่งไม่จริง เรามีเงิน และมีมากพอที่จะให้เราทำงานด้านการศึกษาและสาธารณสุขให้ดีได้ แต่เรามีคำถามว่าเงินอยู่ไหนเสียมากกว่า

“เราจะไม่มีวันทำได้ถ้าปล่อยให้ส่วนกลางทำ ทุกอย่างยังผ่านผู้ว่าฯ และส่วนกลาง จะว่าไปการจัดการตนเองของท้องถิ่นยังเป็นระดับทารกอยู่เลย แต่ทารกพัฒนาได้ ท้องถิ่นก็พัฒนาได้ ทำได้แน่นอนเมื่อปล่อยอำนาจการจัดการและเงินให้ส่วนท้องถิ่นทำ”

หมอประเสริฐอธิบายถึงความหมายของโรงเรียนอนุบาลชั้นดีว่า ในศตวรรษที่ 21 คุณภาพไม่อยู่บนฐานของการอ่านออกเขียนได้อีกต่อไปแล้ว แต่อยู่บนฐานการเรียนรู้ประเด็นสุขภาพ เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ความเป็นพลเมือง ทักษะชีวิต ไอที ตัวชี้วัดของโรงเรียนที่มีคุณภาพเปลี่ยนไปแล้ว

ส่วนหนึ่งของบทความ ธิติ มีแต้ม จาก www.the101.world
เด็กไทยเรียนหนักแค่ไหน
เด็กไทยเรียนหนักแค่ไหน

ประเทศไทยตื่นตัวกับการปฎิรูปการศึกษาแค่ไหน?

แม้ว่าในปัจจุบันความชัดเจน ฟันธงของระบบการศึกษาของไทยเรายังไม่เด่นชัดเท่ากับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ก็ใช่ว่าจะละเลยไปเลยเสียทีเดียว ดังจะเห็นได้จากการที่มี พรบ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ถึงแม้ว่าอาจเป็นที่ผิดหวังของใครหลาย ๆ คนที่ต้องการเห็นความชัดเจนในเรื่องของการสอบมากกว่านี้ แต่ก็ยังนับได้ว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีของไทยที่ได้เริ่มมีการตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาของเด็กไทย โดยเฉพาะในเด็กวัยปฐมวัยที่เชื่อว่าเป็นวัยที่สำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ และเป็นรากฐานในการพัฒนาของเด็กไปตลอดชีวิต

ปฎิรูปการศึกษาเริ่มได้เลยจากที่บ้าน

แม้ว่าการปฎิรูปการศึกษานั้นเป็นเรื่องของระบบใหญ่ ต้องรอคอยการพัฒนาปรับปรุงจากหลากหลายภาคส่วน เพื่อให้นโยบายดำเนินไปได้อย่างสอดคล้องกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เราพ่อแม่สามารถเริ่มต้นปรับปรุงได้เลย นั่นคือ ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อการเรียนของลูก แม้ว่าภาพรวมใหญ่จะเป็นเช่นไร เรายังคงต้องเป็นส่วนสนับสนุนผลักดันให้มันเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม แต่ก็ยังคงต้องรอเวลาในการศึกษา หาข้อมูลเพื่อประกาศใช้ให้รอบคอบ รัดกุมเสียก่อน ซึ่งน่าจะใช้เวลาอยู่พอสมควร ดังนั้นพ่อแม่จึงควรเริ่มต้นจากที่บ้าน ที่ ๆ เราสามารถควบคุมดูแลได้ในทันที เพียงแค่พ่อแม่เข้าใจ และไม่กดดันลูกเพียงเท่านี้ก็เป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ของลูกได้เป็นอย่างดี จึงขอหยิบยกแง่คิดดี ๆ จากครูก้า กรองทอง บุญประคอง ครูและผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก และผู้ก่อตั้งโรงเรียนจิตตเมตต์ (ปฐมวัย) เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลลูก ๆ ของเรามาฝากกัน

ถ้าลูกเราไม่เรียน ก็กลัวว่าพัฒนาการจะไม่เท่าคนอื่น

พ่อแม่รุ่นนี้เติบโตมาจากอะไร มาจากการติวใช่ไหม เราเลยไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ไม่เคยเชื่อว่าตัวเองเป็นคนสำคัญของลูก เพราะว่าสมัยเรา ถ้าเราจะเก่งได้ พ่อแม่จะพาเราไปติว ดังนั้น เราจะเชื่อมั่นในครู ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง

แต่แท้จริงแล้ว ลูกต้องการพ่อแม่ ต้องการสัมผัส วิชาที่ไม่มีใครสอนได้คือวิชาชีวิต ลูกต้องการดูว่าพ่อแม่ใช้ชีวิตอย่างไร ลูกต้องการดูว่าพ่อแม่มองโลกอย่างไร เมื่อมีสถานการณ์หนึ่งเข้ามา พ่อแม่โต้ตอบกับสถานการณ์นั้นอย่างไร ขับรถไปมีคนปาดหน้า พ่อแม่ทำอย่างไร นี่คือสิ่งที่ลูกเฝ้ามองเราอยู่ แต่เราไม่เคยเชื่อในตัวเอง เพราะเราถูกทำลายความเชื่อนั้นมาตั้งแต่สมัยเรายังเด็ก พ่อแม่ก็พาเราไปเรียนพิเศษ แล้วก็ไม่เชื่อว่าเราสามารถเรียนได้ด้วยตัวเอง

พ่อแม่คือตัวแบบที่ดีให้ลูกเรียนรู้ ไม่ต้องรอ การปฎิรูปการศึกษา จากรัฐเพียงอย่างเดียว
พ่อแม่คือตัวแบบที่ดีให้ลูกเรียนรู้ ไม่ต้องรอ การปฎิรูปการศึกษา จากรัฐเพียงอย่างเดียว

อย่างครูก้าสมัยนั้น โชคดีว่ามันยังไม่ได้มีการเรียนพิเศษอะไรขนาดนั้น มันเลยทำให้เรามีความเชื่อมือ เชื่อมั่น เชื่อว่าเรานั้นจะทำได้ทุกอย่าง แต่เด็กรุ่นหลังไม่มีโอกาสได้ค้นพบตัวเองในมุมนี้เลย เพราะเรารุกล้ำเข้าไปในอิสรภาพของเด็กมาก เราไม่เคยเชื่อ ว่าเด็กเขาจะทำอะไรได้ด้วยตัวเอง แม่ต้องช่วย ครูต้องช่วย ฉะนั้น เมื่อตอบคำถามว่าฉันคือใคร เด็กก็จะตอบว่า ฉันคือคนที่ต้องมีคนช่วย

เช่น การเรียนว่ายน้ำ เด็กกับน้ำเป็นของคู่กัน ให้เล่นน้ำเรียกเท่าไรก็ไม่ขึ้น แต่ให้เรียนว่ายน้ำ เรียกเท่าไรก็ไม่ลง มันเป็นแบบนั้นเพราะอะไร เพราะคนสอนไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็กหรือเปล่า ถามว่าเด็กอนุบาลจำเป็นต้องรู้ไหม ว่าท่าฟรีสไตล์มันว่ายอย่างไร สิ่งที่เขาต้องการคือเขาอยากเล่นน้ำกับพ่อแม่ เวลาไปทะเล เรียกแล้วขึ้นไหมล่ะ (หัวเราะ)

นอกจากความสุข เขากำลังเรียนรู้ด้วย เขาได้ทดลองตัวเองกับน้ำ เขาเคยเดินบนบกด้วยท่าแบบหนึ่ง พอเขาลงไปในน้ำ เขาพบว่ามันไม่เหมือนกัน งั้นเขาจะต้องทำท่าอย่างไร เขาลองดำน้ำได้ไหม เขาออกแบบท่าแปลกๆ ได้ไหม เขาไม่เอาท่าฟรีสไตล์ เพราะเขาไม่เห็นภาพว่ามันคืออะไร แต่เขารู้จักปลาดาว ปลาวาฬ เขาอยากเป็นปลานีโม่ เขาก็เลียนแบบปลาที่เขาอยากเป็น นั่นคือเขารู้จักตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เราทำให้เด็กไม่รู้จักตัวเอง เพราะเราไม่เชื่อว่าเขามีตัวเองอยู่

ข้อมูลอ้างอิงจาก ส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ครูก้า กรองทอง บุญประคอง จาก aboutmom
การเรียนรู้นอกห้องเรียน ดีต่อเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้นอกห้องเรียน ดีต่อเด็กปฐมวัย

การปฎิรูปการศึกษาเริ่มต้นได้ที่เรา พ่อแม่เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้การเรียนรู้ของลูกให้เป็นไปอย่างสมดุล ความสุขและการเรียนควรพัฒนาควบคู่กันไป เพราะหากเด็กสามารถเข้าใจได้ว่าการเรียนเป็นเรื่องที่สนุก ไม่น่าเบื่อ การที่เขาจะบังคับตนเองให้สนใจเรียนจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ดังนั้น ผู้ใหญ่อย่างเราควรร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาวิธีการเรียนรู้ให้ดำเนินไปอย่างมีความสุข ไม่กดดันเพียงแค่ผลคะแนนสอบเพียงเท่านั้น จะดีกว่าไหม

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

5 วิธีเตรียมความพร้อมให้ลูกก้าวทันเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต

50 แนวทาง เป็นพ่อแม่ที่ดี วิธีเป็นสุดยอดพ่อแม่มีแค่นี้!

ลูกเล่นเท้าเปล่า ลูกไม่ยอมใส่รองเท้า พ่อแม่ควรห้ามหรือควรปล่อย?

วิธีส่งเสริม กิจกรรมทางกาย ช่วยลูกให้แข็งแรง สมองดี!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up