สานสัมพันธ์ในครอบครัว

กินข้าวด้วยกัน สานสัมพันธ์ในครอบครัว เสริมทักษะชีวิตลูก

Alternative Textaccount_circle
event
สานสัมพันธ์ในครอบครัว
สานสัมพันธ์ในครอบครัว

สานสัมพันธ์ในครอบครัว – การทานอาหารร่วมกันในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นมื้อเย็นในทุกๆ วัน มื้อเที่ยงวันอาทิตย์ หรือโอกาสพิเศษต่างๆ ก็ถือเป็นโอกาสที่ดีในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ยิ่งไปกว่านั้น ลูกๆ จะได้เรียนรู้วัฒนธรรมการเกี่ยวกับการกิน ซึมซับประเพณีปฏิบัติของครอบครัวจากสิ่งที่พ่อแม่ทำและสอนพวกเขาบนโต๊ะอาหาร ที่สำคัญยังเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการและทักษะด่านต่างๆ ของลูกได้อีกด้วย วันนี้เรามาดูประโยชน์ที่มากมายของการที่ พ่อแม่และลูกๆ ได้ร่วมโต๊ะอาหารกันค่ะ

เมื่อครอบครัวได้มารวมกันบนโต๊ะอาหาร หรือก่อนมื้ออาหาร  คือ โอกาสที่เด็กๆ สามารถเรียนรู้ ทักษะชีวิตต่างๆ  เช่น การใช้ช้อนส้อม และตะเกียบ การจัดเตรียมอาหาร นอกจากนี้ทุกคนในครอบครัวยังได้ผลัดกัน พูด ฟัง และแบ่งปันเรื่องราว ตลอดจนสารทุกข์สุขดิบร่วมกันเกิดเป็นความอบอุ่นภายในครอบครัว และเป็นช่วงเวลาที่พ่อแม่จะได้ทำหน้าที่ โค้ช ช่วยสอนทักษะทางสังคมและทักษะในการสื่อสารให้ลูก  เช่น การเป็นผู้ฟังที่ดี การพูดคุย และโต้เถียงในประเด็นต่างๆ

กินข้าวด้วยกัน สานสัมพันธ์ในครอบครัว เสริมทักษะชีวิตลูก

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมอนทรีออล (Université de Montréal) ประเทศแคนาดา ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Journal of Developmental & Behavioral Pediatrics เปิดเผยว่า การรับประทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตากันในครอบครัว จะช่วยเสริมสร้างทักษะสังคมและการใช้ชีวิตให้กับเด็ก นอกจากนี้ จากการศึกษา ยังพบด้วยว่า เด็กที่ได้นั่งกินอาหารร่วมกับครอบครัวเป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่ 6 จนถึง 10 ปี มีแนวโน้มที่จะมีทักษะทางสังคมสูงกว่าและมีสุขภาพจิตที่ดีกว่าเด็กที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์บนโต๊ะอาหารพร้อมหน้าพร้อมตาครอบครัว ซึ่งเป็นสาเหตุที่เมื่ออายุ 10 ปี เด็กอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวกว่า เกเร และไม่ค่อยเชื่อฟัง ดังนั้นวันนี้เรามาติดตามเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยให้มื้ออาหารของครอบครัวเป็นพื้นที่แสนสุข และดีต่อทั้งครอบครัวและตัวเด็กๆ กันค่ะ

6 เคล็ด(ไม่ลับ) ช่วยสานสัมพันธ์ในครอบครับบนโต๊ะอาหาร

1. กำหนดเวลารับประทานอาหารร่วมกัน

คุณพ่อคุณแม่สามารถกำหนดเวลาอาหารในแต่ละมื้อให้ชัดเจน ให้เป็นเวลาเดียวกันในแต่ละวัน ให้เด็กได้รู้ว่า ช่วงเวลาเหล่านี้ คือช่วงเวลาของครอบครัว ที่ต้องให้ความสำคัญ นอกจากนี้ การรับประทานอาหารโดยไม่มีใครยุ่งกับสมาร์ทโฟนหรือโทรทัศน์ จะทำให้ช่วงเวลานี้พิเศษยิ่งขึ้นไปได้อีกค่ะ

สานสัมพันธ์ในครอบครัว
สานสัมพันธ์ในครอบครัว

2. ทานร่วมกันอย่างไม่เร่งรีบ

เผื่อเวลาทานอาหารร่วมกันให้ได้ อย่างน้อย ประมาณ  20-30 นาที  เพื่อให้ลูก ๆ ได้มีเวลากินอาหารที่เพียงพอโดยไม่ต้องรีบร้อน ให้ลูกได้ลิ้มลองอาหารใหม่ ๆ และ พัฒนานิสัยการกินที่ดี นอกจากนี้ ยังช่วยให้คุณมีเวลาในการสนทนา และสนุกสนานไปกับครอบครัว แต่หากลูกยังเป็นเด็กวัยเตาะแตะหัดเดินที่อาจจะนั่งอยู่นิ่ง ๆ ได้ยาก  ควรให้เจ้าตัวเล็กได้ได้ขยับตัวหรือแว้บไปเล่นได้บ้างเป็นระยะๆ แต่ทางที่ดีควรให้ลูกกินเมื่อลูกนั่งอยู่ที่โต๊ะอาหารเท่านั้น เพื่อเป็นการปลูกฝังระเบียบวินัยในการใช้ชีวิตไปในตัวค่ะ

3. ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม

คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ เด็กๆ ช่วยเตรียมอาหารสำหรับครอบครัวได้ เช่น ช่วยล้างผัก ผลไม้ และจัดใส่จาน นอกจากนี้ยังให้ลูกช่วยจัดโต๊ะ และตกแต่งดอกไม้ใส่แจกันเพื่อเพิ่มบรรยากาศในมื้อาหาร ถ้าลูกอยู่ในวัยกำลังโตหรือเป็ยวัยรุ่น ควรปล่อยให้พวกเขาสนุกไปกับการได้ค้นหาสูตรอาหารใหม่ ๆ และได้ทำอาหารเล็กๆ น้อยบ้าง เช่น สัปดาห์ละครั้งหรือสองสัปดาห์ สิ่งนี้จะช่วยฝึกความรับผิดชอบในการเตรียมอาหาร และเปิดโอกาสให้บุตรหลานของคุณได้เรียนรู้ทักษะที่ต้องใช้ในการทำอาหารได้

4. ใช้มื้ออาหารของครอบครัวเป็นโอกาสในการพูดคุย

ทำให้ช่วงเวลานี้เป็นการพูดคุยสารพัดเรื่องราวในชีวิตประจำวันที่สนุกผ่อนคลาย  เป็นโอกาสดีที่คุณพ่อคุณแม่และลูก จะได้รับรู้สิ่งที่ทุกคนกำลังทำอยู่  ลูกๆ ได้ฝึกการเข้าสังคม  ชวนคุยเรื่องเพื่อนๆ ของลูก เรื่องที่โรงเรียน สลับกันเล่าเรื่อง ลูกก็จะรู้สึกดีกับการรับประทานอาหารร่วมกันกับครอบครัวได้ เช่น ลองถามลูก ถึง “สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นที่โรงเรียนวันนี้” เพื่อให้ลูกได้ฝึกการคิดเชื่อมโยงเหตุการณ์ และฝึกการบรรยาย หรือให้ทุกๆ คนผลัดกันเล่าถึงสิ่งที่ดีและไม่ดีในแต่ละวันของตัวเอง ทั้งนี้ หากลูกไม่ต้องการที่จะพูดคุยจริงๆ ก็ควรยอมรับในการตัดสินใจของลูก บางทีแค่ลูกได้อยู่ร่วมโต๊ะอาหารกับครอบครัว และรับฟังคนอื่นพูดคุยกันก็เพียงพอต่อการสานสัมพันธุ์อันดีในครอบครัวแล้ว

5. ให้รางวัลกับพฤติกรรมที่ดี

เมื่อลูก ๆ ของคุณมีพฤติกรรมในการทานอาหารที่ดี เช่น สามารถทานได้เอง ทานผัก ทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามให้รางวัลพวกเขาด้วยคำชมที่เป็นคำบรรยาย  อธิบายให้ลูกฟังว่าพวกเขาทำอะไรได้ดี จึงสมควรได้รับคำชม แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้อาหารเพื่อลงโทษหรือโน้มน้าวใจในทางที่ผิด เช่น ไม่ควรพูดว่า “ถ้าลูกกินบรอกโคลีให้หมดก็จะสามารถทานไอศกรีมและช็อกโกแลตได้” เพราะอาจทำให้ลูกของคุณเพ่งความสนใจไปที่ขนม มากกว่าอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และอาจรีบกินให้เสร็จๆ เพื่อที่จะได้กินขนม

สานสัมพันธ์ในครอบครัว

6. เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ให้กับเวลาอาหาร

เมื่อคุณมีเวลาและโอกาส การเพิ่มเติมจินตนาการและ ไอเดียดีๆ ในการทานอาหาร ทจะช่วยส่งเสริมให้ทุกคนในครอบครัวมีความสุขกับช่วงเวลานี้ได้  เช่นในวันหยุดสุดสัปดาห์คุณอาจ :

  • ทำแพนเค้กเป็นอาหารเช้า
  • ปิกนิกที่สวนสาธารณะในสนามหลังบ้าน หรือปูเสื่อทานอาหารร่วมกันแบบง่ายๆ บนพื้นห้องนั่งเล่น
  • เชิญแขกพิเศษมารับประทานอาหารค่ำ เช่นเพื่อนบ้านและลูกๆ ของพวกเขา ซึ่งเด็กๆ จะได้ทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่
  • กำหนดธีมในการทานอาหาร เช่น ทำอาหาร หรือสั่งอาหารที่เป็นของประเทศต่างๆ ที่ลูกกำลังให้ความสนใจ หรือกำลังเรียนอยู่ในชั้นเรียน เช่นอาหารอินเดีย อาหารญี่ปุ่น อาหารเกาหลี เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการปลูกฝังให้ลูกๆ ให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งครอบครัวจะช่วยให้ เด็ก ๆ ได้ฝึกทักษะในหลาย ๆ ได้ ทั้งการเข้าสังคม การสื่อสารพูดคุย การคิดวิเคราะห์ต่อสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตัวเอง เหล่านี้ช่วยเสริมความฉลาดรอบด้านด้วย Power BQ ให้กับลูกได้ ไม่ว่าจะเป็น ความฉลาดในการคิดเป็น (TQ), ความฉลาดของการเข้าสังคม (SQ),ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี HQเป็นต้น รู้แบบนี้แล้ว เย็นนี้ทำอะไรทานกับลูกๆ ดีค่ะ คิดกันไว้หรือยัง?

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : raisingchildren.net.au,sciencedaily.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up