โรคขาดธรรมชาติ

เด็กไทยเสี่ยงป่วย โรคขาดธรรมชาติ ติดกับดักโลกเสมือนจริง!

Alternative Textaccount_circle
event
โรคขาดธรรมชาติ
โรคขาดธรรมชาติ

โรคขาดธรรมชาติ – หรือภาวะขาดธรรมชาติในเด็ก สิ่งนี้อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทย แต่เมื่อกาลเวลาล่วงเลยเปลี่ยนผ่านมาจนถึงยุคดิจิทัลอย่างทุกวันนี้ ดูเหมือนว่าเราต้องหันมาทำความเข้าใจ และตระหนักถึงโรคขาดธรรมชาติในเด็กอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ด้วยความที่ดูแน้วโน้มว่าโรคนี้จะเข้าใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกที คำถามคือ กำลังเกิดอะไรขึ้นกับเด็กๆ รุ่นใหม่ ที่รอบกายรายล้อมไปด้วยวัฒนธรรมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าแทบจะตลอดเวลา จนดูเหมือนว่ามีความสัมพันธ์กับโลกภายนอกได้บกพร่องไป และด้วยเหตุนี้เอง อาจนำมาสู่ปัญหาในการทำความรู้จักโลกธรรมชาติ หรือโลกแห่งความจริงที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งย่อมส่งผลเสียกับชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เด็กไทยเสี่ยงป่วย โรคขาดธรรมชาติ ติดกับดักโลกเสมือนจริง!

สถานการณ์เด็กกับโรคธรรมชาติในปัจจุบัน 

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว กล่าวในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7 ในประเด็น “เด็กกับโรคขาดธรรมชาติ Children & Nature-deficit Disorder” ว่า “ปัจจุบัน ภาวะขาดธรรมชาติในเด็ก เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเด็กไทยเสี่ยงต่อภาวะการขาดธรรมชาติอยู่ในหลายมิติ ทั้งในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ปัญหามลพิษ ตลอดจนปัญหาการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองและผู้ดูแลที่ไม่มีเวลาให้กับเด็กอย่างเพียงพอ และที่สำคัญคือการเข้ามาของโลกเสมือนจริง อย่างโลกโซเชียลมีเดีย”

กล่าวคือ แทนที่เด็กๆ จะได้อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งเป็นโลกโดยธรรมชาติ แต่กลับถูกกระตุ้นให้เข้าไปติดอยู่ในโลกเสมือนจริง ที่น่าตกใจคือมีการใช้เวลาเกือบทั้งวันในการเล่นเกมส์ หรือเล่นกับเพื่อนในโลกเสมือนจริง ซึ่งส่งผลให้เด็กเกิดภาวะของการขาดธรรมชาติ

ด้าน ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ได้เปิดเผยข้อมูล ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย ปี2558 –2559 โดยองค์การยูนิเซฟประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สูงถึงร้อยละ 67.1 เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สูงถึง ร้อยละ 24.2 ทำให้เด็กๆ ขาดโอกาส และฝืนธรรมชาติการพัฒนาการของมนุษย์ เพราะในขณะที่สมองของมนุษย์พร้อมที่จะเดินพร้อมที่วิ่ง แต่กลับขาดโอกาสนี้ไป ปัญหาคือ เวลาและสถานที่ ไม่เอื้ออำนวยให้เด็ก ๆ ได้วิ่งเล่นอย่างเพียงพอ ในขณะที่สมองพร้อมที่จะพูดแล้ว แต่กลับไม่มีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่เท่าที่ควร

โรคขาดธรรมชาติ
โรคขาดธรรมชาติ

อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ วิทยากรบรรยายในหัวข้อ รุ่นในร่ม In-door Generation เด็กกับการเรียนรู้โลกจริง โลกเสมือนจริง และ เหนือจริง กล่าวว่า “เด็กกับ
โรคขาดธรรมชาติ คือ ภาวะที่เด็กขาดการติดต่อ การสัมผัสหรืออยู่ในบริบทแวดล้อมของโลกธรรมชาติ

ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ มีความเจริญก้าวเหน้า ยิ่งทำให้เด็กเข้าสู่ภาวะที่อยู่กับสื่อดิจิทัลมากขึ้น และทำให้เด็กนั้นเข้าสู่โลกที่พึ่งพิงธรรมชาติน้อยลง เช่น ลดการใช้เวลาหรือทำกิจกรรมกับธรรมชาติ กลายเป็นว่าเด็กอยู่ในห้องแอร์ อยู่ในอาคารมากขึ้น ซึ่งลักษณะปัญหาเหล่านี้ทำให้ภูมิคุ้มกันหรือวิธีการเรียนรู้จากโลกเปลี่ยนแปลงไป

5 วิธีแก้ ลูกติดโซเชียล เหลียวแต่หน้าจอทั้งวันทั้งคืน!

แนะวิธี แก้ปัญหาลูกติดมือถือ ด้วยแอพพลิเคชัน NetCare พ่อแม่ทำได้แค่ปลายนิ้ว

คุณพ่อแชร์ ลูกพัฒนาการล่าช้า เพราะโดนเลี้ยงหน้าจอทีวี

สรุป สาเหตุของการเกิด โรคขาดธรรมชาติ

  • พ่อแม่ลูกไม่ค่อยได้มีเวลาอยู่ด้วยกัน  กล่าวคือ ขาดเวลาคุณภาพที่พ่อแม่ลูกได้ใช้ร่วมกัน พ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาได้พาลูกไปเที่ยวเล่น สัมผัสกับธรรมชาติ
  • การเลี้ยงดูให้เด็กโตกับมือถือ เล่นกับหน้าจอ เด็กใช้เวลาเกือบทั้งวันหมดไปกับการเล่นเกมส์ หรือเล่นกับเพื่อนในโลกเสมือนจริง
  • สภาพการเลี้ยงดู ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลเด็กกับตัวเด็ก การเลี้ยงดูของปู่ย่าตายายมีแนวโน้มที่จะทำให้เด็กเป็นโรคขาดธรรมชาติ จากการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเลี้ยงหลาน เพราะการให้เด็ก ดูทีวี โทรศัพท์มือถือ เกมคอมพิวเตอร์หรือสื่อดิจิทัลต่าง ๆ
  • อาศัยในเมืองที่มีพื้นที่ธรรมชาติน้อย เด็กที่ได้แต่เล่นสนุกภายในบ้านในตึกในคอนโด มีโอกาสสัมผัสธรรมชาติน้อย มีโอกาสที่จะเป็นโรคขาดธรรมชาติ
  • เด็กขาดการสัมผัสหรืออยู่ในบริบทแวดล้อมของโลกธรรมชาติ  ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ทำให้เด็กเข้าสู่ภาวะที่อยู่กับสื่อดิจิทัลมากขึ้น เด็กๆ อยู่ในโลกที่พึ่งพิงธรรมชาติน้อยลง เช่น ลดการใช้เวลาหรือทำกิจกรรมกับธรรมชาติ เป็นต้น

โรคขาดธรรมชาติ

สรุป ผลเสียของโรคขาดธรรมชาติ 

ผลเสียจากโรคขาดธรรมชาติของเด็ก ๆ ปรากฏ ให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ อาทิ

  • ร่างกายไม่สมบูรณ์สมวัย
  • กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง
  • ใช้สมรรถภาพร่างกายได้ไม่เต็มที่
  • เคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว
  • ขาดสมาธิจดจ่อ ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก
  • พัฒนาการทางด้านภาษาแย่ พูดช้า
  • การเรียนรู้ที่ลดต่ำลง สังเกตเห็นได้ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
  • เด็กกับพ่อแม่มีสัมพันธภาพที่ไม่ดีต่อกัน
  • ส่งผลเสียโดยตรงต่ออนาคตของชาติ หรือทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ

สรุป แนวทางป้องกันลูกหลานให้ห่างไกลโรคขาดธรรมชาติ

  • ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนและสิ่งแวดล้อมภายนอก  ฝึกให้ลูกเผชิญปัญหา อุปสรรค รู้จักวิธีคิด แก้ไขปัญหา ปรับตัว เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เรียนรู้ที่จะดูแลความสัมพันธ์ และ อยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ และผู้คนได้อย่างปกติสุข
  • อย่าหยิบยื่นเทคโนโลยี ให้เด็กเร็วเกินไปอย่างไม่มีเงื่อนไข  ทางที่ดีไม่ควรให้เด็ก อายุ ต่ำกว่า 3 ขวบ ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทุกชนิด นอกจากนี้ เด็กอายุ 6-12 ปี ควรใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง
  • สนับสนุนให้ลูกทำกิจกรรมกับปู่ย่าตายายในบางโอกาส  โดยปกติของคนสูงวัย มักมีแนวโน้มที่จะเข้าหาธรรมชาติ ผู้สูงอายุมักชอบ ทำสวน ปลูกต้นไม้  ชมวิถีชีวิต เที่ยวชมธรรมชาติ และถ้ามีหลานก็มักจะชวนหลานทำในสิ่งที่ตัวเองชอบด้วยกัน ซึ่งหลานก็จะได้สัมผัสชีวิตธรรมชาติไปพร้อม ๆ กับปู่ย่าตายาย

โรคขาดธรรมชาติ

  • ปลูกฝังลูกเรื่องการใช้ชีวิตให้มีคุณค่า พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก หาเวลาเล่นกับลูก เช่น อ่านนิทานให้ฟัง ที่สำคัญควรมีกฎกติกาในการใช้อิเล็กทรอนิกส์ สำหับเด็กโตพ่อแม่ควรกำหนดเวลาในการเล่นให้ชัดเจน

มาถึงตรงนี้เราคงต้องตระหนักว่าถึงเวลาที่เราต้องรีบคืนธรรมชาติให้กับเด็ก ๆ แล้วค่ะ ซึ่งถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ปลูกฝังการใกล้ชิดกับธรรมชาติให้ลูกตั้งแต่พวกเขายังเล็ก ลูกก็จะมีแนวโน้มในการมีชีวิตที่ดี มีความเป็นธรรมชาติ เข้าใจเพื่อนมนุษย์ พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจเป็นไปอย่างสมวัย และสามารถเติบโตเป็นเด็กที่มีความฉลาดรอบด้านด้วย Power BQ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ความฉลาดของการเข้าสังคม (SQ) , ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี (HQ) และ ความฉลาดในการคิดเป็น(TQ) เป็นต้น

ขอขอบคุณข้อมูลอ่างอิงจาก : งานประชุมวิชาการระดับชาติ “เด็กกับโรคขาดธรรมชาติ,posttoday.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แพทย์เตือน! โรคภาวะขาดธรรมชาติ โรคใหม่ที่พ่อแม่ต้องรู้!

10 รายชื่อหมอเด็ก ที่เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์และเฉพาะทางโรคเด็ก ที่แม่บอกต่อ

รวม ตารางการเลี้ยงลูก ครบทั้งการกิน-นอน และพัฒนาการเติบโตของร่างกาย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up