ลองโควิด และ ภาวะมิสซี

อาการ ลองโควิด กับมิสซีเทียบอาการให้ชัดป้องกันได้ไว

Alternative Textaccount_circle
event
ลองโควิด และ ภาวะมิสซี
ลองโควิด และ ภาวะมิสซี

ลองโควิด กับอาการมิสซี หลังเด็กหายป่วยโควิด มีอาการที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เรื่องที่พ่อแม่ควรรู้ไว้ เพื่อเฝ้าระวัง หากลูกมีอาการไม่ดีหลังติดโควิด-19

อาการ ลองโควิด กับมิสซีเทียบอาการให้ชัดป้องกันได้ไว!!

ในปัจจุบันที่มีผู้ป่วยจากไวรัสโควิด-19 ทั้งที่กำลังรักษา และบางคนที่หายจากอาการแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า แม้ว่าจะรักษาจนอาการโควิดหายดีแล้ว แต่เรายังคงต้องเฝ้าระวัง และติดตามอาการกันต่อเนื่องต่อไป

ภาวะ MIS-C (มิสซี) และ Long COVID (ลองโควิด) ในเด็ก

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ที่หายจากการป่วยเป็นโรคโควิด-19 มักจะมีการฟื้นฟูระบบร่างกายที่แตกต่างกัน บางคนอาจหายเป็นปกติ แต่บางคนกับรู้สึกว่าร่างกายไม่แข็งแรงตามปกติเสียที โดยสามารถพบได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วย และตรวจไม่พบเชื้อในร่างกายแล้ว อาจยังมีอาการหลงเหลืออยู่ ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกอาการที่เกิดขึ้นว่า “ภาวะลองโควิด” หรืออาการหลงเหลือของเชื้อโควิด-19 ระยะยาว โดยอาการดังกล่าวสามารถพบได้กับผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 ทั่วโลก ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือนนับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน โดยอาการเกิดขึ้นได้หลายระบบอย่างต่อเนื่อง หลังได้รับติดเชื้อโควิดนานกว่า 4-12 สัปดาห์ และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถ อธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยสาเหตุอื่นๆ ในเด็กพบภาวะนี้เพียงร้อยละ 25-45 ซึ่งระบบที่พบ ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ภาวะเหล่านี้มักไม่รุนแรงแต่เรื้อรัง อาการจะเป็นๆหายๆได้ การรักษาโรคนี้มักเป็นการแยกโรคที่รุนแรงอื่นและรักษาตามอาการ รวมถึงการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ลองโควิด ภาวะมิสซี MIS-C
ลองโควิด ภาวะมิสซี MIS-C

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุและพยาธิสภาพของการเกิดภาวะ Long COVID ที่ชัดเจน มีเพียงสมมติฐาน ที่คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนของเชื้อซึ่งไม่ส่งผลต่อการติดเชื้อแล้วแต่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบในระบบต่างๆ ของร่างกาย ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ ยังไม่แน่ชัดมีข้อสังเกตที่พบในหลาย ๆ การศึกษา อาทิ เพศหญิง อายุมาก ภาวะอ้วน มีโรคประจำตัว มีอาการมากกว่า 5 อาการในช่วง 1 สัปดาห์แรก ของการเจ็บป่วย และความรุนแรงของโรคมากในระยะแรกเป็นต้น

ความชุกของอาการผิดปกติต่างๆ ในภาวะ Long COVID จากผลการศึกษาในต่างประเทศ พบหลากหลายตั้งแต่ร้อยละ 14-64 เนื่องจากมีความไม่ชัดเจนของนิยาม ขาดองค์ความรู้ด้านพยาธิสภาพ ปัจจัยเสี่ยง และ การวินิจฉัย รวมทั้งวิธีการประเมินอาการผิดปกติที่แตกต่างกัน

จากการสำรวจผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 ของกรมการแพทย์ ผ่านทางเว็บไซต์กรมการแพทย์ ซึ่งเป็นข้อมูลในผู้ใหญ่ พบว่าอาการ long covid ส่วนใหญ่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง อาการที่พบบ่อย 10 อันดับแรก ได้แก่  อ่อนเพลีย หายใจลำบาก/หอบเหนื่อย ไอ  นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ผมร่วง เวียนศีรษะ วิตกกังวล/ เครียด ความจำสั้น เจ็บหน้าอก

Multisystem Inflammatory Syndrome in Children (MIS-C) คือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังเด็กหายจากการติดเชื้อโควิด-19 เริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ระยะหายจากโรคจนถึงหลังติดเชื้อ 2 – 6 สัปดาห์ สาเหตุเชื่อว่าเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้มากเกินไป

มีไข้ ตัวร้อน หนึ่งในอาการ ลองโควิด
มีไข้ ตัวร้อน หนึ่งในอาการ ลองโควิด

นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า กลุ่มอาการ MIS-C (มิสซี) เริ่มมีการรายงานครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นมีรายงานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง  พบได้ในเด็กทุกกลุ่มอายุ อายุโดยเฉลี่ย 8-10 ปี อุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 0.03 ของผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโควิดทั้งหมด เด็กมักจะมาด้วยอาการไข้สูง ผื่น ปากแดง ตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโต อาเจียน ถ่ายเหลว บางรายมีหอบเหนื่อย ปอดอักเสบ และมีภาวะช็อคจากการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ ผู้ป่วยเด็กมากกว่าร้อยละ 50 จำเป็นต้องรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตเนื่องจากภาวะช็อค ภาวะนี้ มีอันตรายถึงชีวิตได้ อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 สามารถรักษาด้วยการให้อิมมูโนกลอบูลินและสเตียรอยด์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตอบสนองต่อการรักษาดี ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีพบผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะนี้จำนวน 15 คน ซึ่งยังไม่พบผู้เสียชีวิต แต่ยังต้องติดตามการรักษาต่อเนื่องโดยพบว่าร้อยละ 7-14 ยังมีการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ นอกจากนี้ทางสถาบันฯ ยังมีโครงการตรวจติดตามผู้ป่วยเด็กติดเชื้อโควิดที่เข้ารับการรักษาที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเป็นระยะๆ เพื่อเฝ้าระวังภาวะ Long COVID (ลองโควิด)  จากการติดตามในทุกระบบของร่างกายยังไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและสถาบันฯ ยังคงติดตามดูแลเด็กอย่างต่อเนื่อง

เปรียบเทียบ…ความแตกต่างของอาการ

อาการภาวะลองโควิด

ผู้ที่มีอาการภาวะลองโควิด จะพบได้ในช่วง 1-3 เดือนแรก โดยจะพบร้อยละ 30-50 ของผู้ป่วยทั้งหมด จึงอาจไม่ต้องตกใจหรือกังวลใจ และผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกัน ไม่มีลักษณะตายตัว

  • อ่อนเพลียเรื้อรัง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม รู้สึกแน่น ๆ หน้าอก
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ สมองไม่สดชื่น ความจำไม่ดีเหมือนเดิม
  • ปวดตามข้อ รู้สึกจี๊ด ๆ ตามเนื้อตัวหรือปลายมือปลายเท้า
  • รู้สึกเหมือนยังมีไข้อยู่ตลอด
  • มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือมีผลกระทบทางจิตใจหลังเผชิญสถานการณ์รุนแรง (Post-Traumatic Stress Disorder)

อาการภาวะมิสซี

ภาวะมิสซีจะแสดงอาการในหลายระบบร่วมกัน โดยจะมีอาการลักษณะดังต่อไปนี้

  • มีไข้
  • ตาแดง
  • มือเท้าบวมแดง ปากแดง แห้ง แตก
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • มีอาการในระบบหัวใจและหลอดเลือด หรืออาการในระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย ลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ และอาการคล้ายไส้ติ่งอักเสบ
  • อาการทางระบบประสาท คือ ปวดศีรษะ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

    เทียบอาการ ลองโควิด กับมิสซี
    เทียบอาการ ลองโควิด กับมิสซี

เปรียบเทียบ…ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงบ้าง??

ใครเสี่ยงเป็นภาวะลองโควิดมากที่สุด

ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีแดงหรือผู้ป่วยที่มีอาการป่วยรุนแรง จะมีโอกาสเกิดภาวะลองโควิดสูงกว่าผู้ป่วยที่มีอาการน้อย เนื่องจากอาจมีปัจจัยเรื่องความเครียดที่สะสมมาตั้งแต่ช่วงป่วยเป็นโรคโควิด-19 จึงส่งผลต่อเนื่องอาจยาวนาน 3-6 เดือนได้กว่าจะกลับมาเป็นปกติ สามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะลองโควิดด้วย เช่น อายุโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ เรื่องเพศ โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย รวมทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคหอบหืด และผู้ที่เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งผู้ที่หายป่วยแล้วไม่ต้องกังวลใจแต่อย่างใด

ใครเสี่ยงเป็นภาวะมิสซีมากที่สุด

สำหรับประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยที่เกิดภาวะนี้เพิ่มขึ้น ตามจำนวนผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อมากขึ้น ส่วนใหญ่จะเกิดในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง

เกิดขึ้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งจากโควิด-19 และโรคอื่นที่เกิดจากไวรัส เช่น โรค SLE โรคที่เกิดจากการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของตนเอง หรือการกินยาบางยาก็กระตุ้นให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกายได้

ใครเสี่ยงเป็นภาวะลองโควิดและมิสซีบ้าง
ใครเสี่ยงเป็นภาวะลองโควิดและมิสซีบ้าง

เปรียบเทียบ…เมื่อเป็นแล้วต้องทำอย่างไร??

เป็นภาวะลองโควิด ต้องทำอย่างไร

อาการลองโควิดเป็นผลจากความผิดปกติภายในร่างกาย เนื่องจากร่างกายยังฟื้นฟูไม่เต็มที่ ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดจึงควรให้ความสำคัญกับการสังเกตอาการตนเอง พบแพทย์เพื่อประเมินสภาพร่างกาย และวางแผนการฟื้นฟูที่ถูกต้อง เนื่องจากอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ระยะยาว และส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างรุนแรง รวมถึงปล่อยนานเกินไปอาจเป็นอันตรายได้

เป็นภาวะมิสซีต้องทำอย่างไร

เด็กที่มีอาการของภาวะมิสซีเกิดขึ้นอาจทำให้ร่างกายอ่อนแอลงได้อย่างรวดเร็วทุกเวลา และอาจส่งผลให้เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ เพราะฉะนั้น หากสงสัยว่า บุตรหลานที่เพิ่งหายป่วยจากโรคโควิด-19 เกิดภาวะนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อการวินิจฉัย และได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

ต้องทำอย่างไรเมื่อเป็น
ต้องทำอย่างไรเมื่อเป็น

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.childrenhospital.go.th/www.prachachat.net

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ลองโควิด คร่าชีวิตลูก!แม่ร้องขอตรวจสอบเพื่อเด็กอื่นได้ระวัง

แม่รู้ไว้! ทำไมลูกร้องไห้ 7 เหตุผลของการงอแงที่จะทำให้แม่เข้าใจลูกมากขึ้น

ฉีดวัคซีนโควิดตอนตั้งครรภ์ ช่วยทารกเข้า รพ. น้อยลง

10 เคล็ดลับปรับพฤติกรรมลูก ก้าวร้าว พ่อแม่ยุคใหม่ต้องเข้าใจและพร้อมรับมือ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up