longcovid ลองโควิด

ลองโควิด คร่าชีวิตลูก!แม่ร้องขอตรวจสอบเพื่อเด็กอื่นได้ระวัง

Alternative Textaccount_circle
event
longcovid ลองโควิด
longcovid ลองโควิด

ลองโควิด Long COVID คืออาการแบบไหน อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ เกิดคำถามอีกมากมายเมื่อแม่ผู้สูญเสียลูกน้อยวัยเพียง 2ขวบ ทั้งที่เพิ่งหายจากเชื้อโควิด-19แล้วติดซ้ำ

ลองโควิด คร่าชีวิตลูก! แม่ร้องขอตรวจสอบเพื่อเด็กอื่นได้ระวัง

จากในเฟสบุ๊คเพจ อยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทิร์น part2 ได้โพสต์ถึงกรณีของคุณแม่ผู้สูญเสียลูกน้อยวัยเพียง 2 ขวบท่านหนึ่ง ได้โพสต์เรื่องราวของตัวเองเพื่อเป็นการเตือน ให้เด็กอื่นได้ระวัง เกี่ยวกับ โรคลองโควิด คุณแม่เล่าว่าอาจารย์หมอวินิจฉัย โรคลองโควิด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของลูก!!

โรคลองโควิด คืออะไร คุณแม่ท่านนึงมาโพสแชร์ประสบการณ์ เรื่องราวมีประโชยชน์มากๆ และคำถามที่ยังคาใจที่รอคำตอบจากหน่วยงาน ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวน้องด้วยค่ะ
ขอแชร์ประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นกับครอบครัวเรานะคะ ….
( #คนที่มีลูกเล็กต้องระวังเป็นอย่างมาก สายพันธุ์นี้เกิดกับเด็กๆ)
สาเหตุการเสียชีวิตของน้อง… ที่แม่ๆหลายๆคนถามมา ? อาจารย์หมอวินิจฉัยว่า… #น้องเป็นโรคลองโควิท ?
โรคลองโควิท คือ การที่เด็กเคยติดโควิทมาก่อนหน้านี้แล้วแต่ไม่แสดงอาการ ทุกอย่างจะปกติ แต่พอหลังจากหาย 2-6 อาทิตย์ แล้วกลับมาติดซ้ำ ทุกอย่างข้างในคือจะล้มเหลวหมดแล้ว และจะทรุดตัวลงทันที
ลองโควิด พรากลูกไปก่อนวัยอันควร
ลองโควิด พรากลูกไปก่อนวัยอันควร

ทำความรู้จัก โรคลองโควิด Long COVID คืออะไร?

การติดเชื้อโควิด-19 นับว่าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะว่าหลังจากรักษาหายแล้ว แต่หลายคนยังรู้สึกเหมือนยังไม่หายดี เพราะว่าระหว่างการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อไปจับกับเซลล์โปรตีนของบางอวัยวะ ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย เป็นผลให้อวัยวะนั้นๆ ได้รับความเสียหาย ส่งผลกระทบไปทั่วร่างกาย เช่น อาการปอดบวม หรือ เนื้อปอดถูกทำลาย โดยระดับความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในรักษา และการกำจัดเชื้อโควิดในร่างกาย เราเรียกภาวะนี้ว่า “โควิดระยะยาว (Long COVID)” ดยกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า สามารถพบได้ถึง 30-50% สาเหตุหลักมาจาก เครียดสะสม หรือเป็นผลข้างเคียงของยาที่ใช้ เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ โรคแฝง หรือบางรายอาจติดเชื้อโควิดซ้ำแต่คนละสายพันธุ์

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก รพ.ศิครินทร์

นอกจากนี้แม่ยังได้เล่าถึงช่วงเวลาก่อนที่ลูกจะมีอาการจนถึงมีอาการหนักจนต้องส่งตัวไปที่โรงพยาบาล และเสียชีวิต ซึ่งดูจากช่วงระยะเวลาแล้วเป็นที่น่าตกใจว่าใช้เวลาเพียงไม่กี่วันเท่านั้น!!

ก่อนหน้าที่น้องจะเสียชีวิต น้องอาการปกติดีทุกอย่าง ร่าเริง ขี้เล่น ไม่มีอาการ ซึมเศร้า หรืออ่อนแรง เลย
  • คืนวันที่ 16 กุมภา น้องมีอาการไข้ขึ้นตัวร้อน ก็คิดว่าเป็นไข้ปกติ ให้น้องทานยาซาร่า แล้วเช็ดตัว
  • วันที่ 17 กุมภา ตอนเย็น ไข้ขึ้นสูงมาก พาน้องไป รพ.  ( เพราะสิทธิรักษาอยู่ที่นั้น พอไปถึงรพ. พยาบาลบอกย้ายสิทธิไปอีก รพ.แล้ว ให้ไปรักษาที่นั้นเลย ถามพยบ.ว่าทำไมย้ายสิทธิไม่แจ้งค่ะ #พยาบาลบอกว่า ไม่จำเป็นต้องแจ้ง ) แล้วยังให้นั่งแท๊กซี่ไป ระหว่างทางน้องมีอาการ เหมือนจะอ้วก และก็ อึกออกมา พอมาถึง รพ. หมอก็ทำการช่วยชีวิตน้อง
  • วันที่ 18 กุมภา หมอโทรมาแจ้งว่า น้องเป็นโรคลองโควิท สายพันธุ์ที่ไม่เคยเจอมาก่อน ต้องรีบส่งตัวไป ให้อาจารย์หมอที่ รพ. ศิริราชรักษาตัว
  • วันที่ 19 ทางรพ. ศิริราชโทรมาแจ้งให้ เราทุกคนทำใจไว้เลย เพราะหัวใจน้องพร้อมจะหยุดเต้นนาทีต่อนาที จะลองให้ยาที่แรง ถ้ารับไหวก็รอด ถ้ารับไม่ไหวก็ไม่รอด และน้องก็รับไม่ไหว คุณหมอปั้มหัวใจอีกหลายรอบ น้องก็ไม่กลับมา และน้องก็จากพวกเราไปในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 แบบที่ทุกคนในครอบครัวตั้งเราไม่ทัน

    สอนลูกหมั่นล้างมือ ป้องกันโควิด และภาวะ ลองโควิด
    สอนลูกหมั่นล้างมือ ป้องกันโควิด และภาวะ ลองโควิด

โดยอาการของการเกิด โรคลองโควิด หรือที่เรียกว่า ภาวะ Long COVID นั้น อ. พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด สาขาวิชาโรคติดเชื้อภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ความรู้ไว้ในบทความ “ภาวะ Long COVID (ลองโควิด) เมื่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไม่ได้อยู่กับคุณแค่สั้น ๆ” ว่า หากคุณเคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจนหายแล้ว ให้คุณลองสังเกตตัวเองดูอีกทีว่าอาการที่เคยมีขณะที่ติดเชื้อ อย่างอาการเหนื่อยเพลียนั้นยังมีหลงเหลืออยู่หรือไม่? ถ้าคำตอบคือ “ยังมีอยู่” มันมีความเป็นไปได้ว่าคุณกำลังตกอยู่ในภาวะ Long COVID (ลองโควิด)

ภาวะ Long COVID นี้มีกี่ประเภท สังเกตอาการได้อย่างไร ?

ภาวะ Long COVID ถูกแบ่งเป็นทั้งหมด 3 ประเภท ซึ่งแบ่งแยกตามลักษณะอาการดังนี้

1. ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการใหม่ หรืออาการเดิมไม่หายไป (New or ongoing symptoms)

คือ การที่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 นั้นมีอาการยาวนานต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลานานหลายเดือนหลังจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นครั้งแรก มักพบในคนไข้อาการรุนแรงตั้งแต่ต้น และทวีคูณความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อออกกำลังกายหรือใช้สมาธิจดจ่อมาก ๆ โดยมีอาการ เช่น

  • เป็นไข้ ปวดหัว วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม
  • หายใจเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม ไอ แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ปวดท้อง ท้องเสีย รับประทานอาหารไม่ลง
  • ปวดหู หรือมีเสียงในหู
  • ใจสั่น ขาดสมาธิ หรือคิดอะไรไม่ออก หัวตื้อ นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน
  • มีอาการชา ปวดกล้ามเนื้อและข้อ
  • ไม่ได้กลิ่นหรือรับรสได้ไม่ดี
  • ผื่นตามตัว
  • รอบประจำเดือนมาผิดปกติ

2. ภาวะที่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความผิดปกติในหลายอวัยวะ (multiorgan effects)

คือ การที่ผู้ป่วยนั้นมีอาการผิดปกติเกี่ยวเนื่องกับอวัยวะหลายส่วนในร่างกาย โดยมีสาเหตุจากปฏิกิริยาทางสรีรวิทยาที่รุนแรงอย่าง cytokine storm ที่ร่างกายของผู้ป่วยโควิด-19 ไม่สามารถควบคุมการหลั่งสารในระบบภูมิคุ้มกันกลุ่ม cytokine ได้ส่งผลให้เนื้อเยื่อของอวัยวะหลายส่วนถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของตัวผู้ป่วยเอง มักพบมากที่บริเวณเนื้อเยื่อหัวใจ ปอด ไต สมอง และผิวหนัง

ไข้สูง ซึม ไอ หอบ อาการที่ต้องเฝ้าระวังหลังเด็กหายจากโควิด
ไข้สูง ซึม ไอ หอบ อาการที่ต้องเฝ้าระวังหลังเด็กหายจากโควิด

และในเด็กอาจะพบการเกิดโรค Multisystem Inflammatory Syndrome in Children Associated with COVID-19 (MIS-C) ที่มีอาการโรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease) คือเกิดการอักเสบในหลายอวัยวะ มีไข้สูง ผื่นขึ้น ตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโต อาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่ติดเชื้อโควิด-19 อยู่หรือหลังหายทันที โดยโรคนี้อาจมีผลกระทบต่อหลายอวัยวะ (multiorgan effects) ในระยะยาวได้

3.ผลกระทบระยะยาวจากการนอนโรงพยาบาลและจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

มักเกิดในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีการนอนโรงพยาบาล โดยเฉพาะห้อง ICU ที่ส่งผลกระทบด้านจิตใจ อาจทำให้แขนขาไม่ค่อยมีแรงและยังคงรู้สึกเหนื่อยล้าอยู่แม้จะไม่มีเชื้อโควิดอยู่แล้ว ในบางกรณีอาจมีผลต่อเรื่องการคิด และคำพูด นำไปสู่ภาวะที่มีอาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบเหตุการณ์รุนแรง (post-traumatic stress disorder; PTSD) เช่น การได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ หรือถูกปั๊มหัวใจในการช่วยชีวิต ส่งผลให้เกิดความเครียดฉับพลัน และอาจสะสมมาอย่างต่อเนื่อง

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก www.rama.mahidol.ac.th

แนะนำป้องกันด้วยวัคซีนป้องกันโควิด-19

จากกรณีดังกล่าว เราขออนุญาตยกความคิดเห็นของคุณหมอแคท หรือ หมอของขวัญ แพทย์หญิงของขวัญ ฟูจิตนิรันดร์ ที่ได้ให้ความเห็นไว้ในเพจส่วนตัวของคุณหมอเกี่ยวกับกรณีของเด็กที่เสียชีวิต และแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้แก่เด็ก เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของการป่วยเมื่อติดเชื้อไว้ ดังนี้

แนะผู้ปกครองพาลูกไปฉีดวัคซีน ลดอาการรุนแรงจากโควิด
แนะผู้ปกครองพาลูกไปฉีดวัคซีน ลดอาการรุนแรงจากโควิด

น้องเสียชีวิตจาก Long COVID ในเด็กหรือเรียกว่า MISC (Multi Inflammatory Syndrome in Children)

เมื่อเด็กหายจากโควิด 2-6 สัปดาห์ จะมีเด็ก 352 คนใน 1 ล้านคน อายุ 0 ถึง 18 ปีตามสถิติ ในอเมริกา จะเกิดภาวะ #LongCovid ที่รุนแรงเรียกว่า MISC และเด็กเกือบครึ่งจะต้องอยู่ใน ICU เกิดอวัยวะล้มเหลวเฉียบพลัน และการอักเสบทั่วร่างกาย ไตวาย หัวใจอักเสบ ตับวาย และมีเด็กประมาณ 10% เสียชีวิตจากอาการนี้ ทั้ง ๆ ที่การติดเชื้ออาจจะไม่มีอาการเลย และอาการนี้ไม่มีการรักษาจำเพาะรักษาตามอาการเท่านั้นค่ะ อาการนี้ไม่ใช่การติด COVID สายพันธุ์ใหม่ แต่เป็นอาการที่ร่างกายเกิดการอักเสบขึ้นแบบเฉียบพลันหลังจากการหาย covid ซึ่งน่ากลัวกว่ามาก ถ้าเทียบกับอัตราผลข้างเคียงของวัคซีนในเด็กนะคะ นี่คือสาเหตุ ที่หมอให้ลูกชาย 7 ขวบ รับวัคซีน Pfizer ฝาส้มค่ะ

  • อัตราการเกิด LongCOVID #MISC ในเด็กต่ำกว่า18 ปี 352คน/ล้าน 40% อยู่ ICU 10% เสียชีวิต

  • อัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังจากรับวัคซีน Pfizer – 5-12 ปี 1คน/ล้าน ไม่เสียชีวิต – 12-18ปี ชาย 162คน/ล้าน หญิง 40คน/ล้าน ไม่เสียชีวิต

    ข้อมูลอ้างอิงจาก www.facebook.com/doctorkatekate

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ติดโควิด 5 วิธีกักตัวที่บ้าน ดูแลตัวเองและลูกๆ ระหว่างรอเตียง

แม่รู้ไว้! ทำไมลูกร้องไห้ 7 เหตุผลของการงอแงที่จะทำให้แม่เข้าใจลูกมากขึ้น

ความจริง 10 ข้อ พ่อแม่ต้องรู้ก่อน เลือกโรงเรียนให้ลูก

ฉีดวัคซีนโควิดตอนตั้งครรภ์ ช่วยทารกเข้า รพ. น้อยลง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up