เครียดลูกป่วยบ่อย นมแม่ช่วยได้ไหม

เครียดลูกป่วยบ่อย ทำไมลูกกินนมแม่ยังป่วยบ่อยได้นะ??

Alternative Textaccount_circle
event
เครียดลูกป่วยบ่อย นมแม่ช่วยได้ไหม
เครียดลูกป่วยบ่อย นมแม่ช่วยได้ไหม

เครียดลูกป่วยบ่อย อยู่ใช่ไหม เวลาลูกป่วยไม่เพียงแต่ทรมานลูก แต่พ่อแม่ก็พลอยทุกข์ใจไปด้วย เหตุใดลูกถึงป่วยบ่อย ทั้งที่เลี้ยงด้วยนมแม่ มาหาสาเหตุไปพร้อมกัน

เครียดลูกป่วยบ่อย ทำไมลูกกินนมแม่ยังป่วยบ่อยได้นะ??

ลูกป่วยบ่อย นับว่าเป็นปัญหาที่น่าหนักใจของพ่อแม่ทุกคน ไม่ว่าลูกของเราจะอยู่ในวัยใดก็ตาม พ่อแม่ก็ไม่อยากที่จะเห็นลูกต้องทรมานจากการป่วย นอกจากนั้นยังสร้างความกังวล ทำให้พ่อแม่เครียดลูกป่วยบ่อยว่า การที่ลูกป่วยบ่อยนั้นจะส่งผลต่อพัฒนาการของเขาหรือไม่

จากสถิติขององค์การยูนิเซฟ พบว่า เฉพาะปี 2558 มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลก จำนวนมากถึง 9 แสนราย เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อ ซึ่งโรคติดเชื้อที่พบบ่อยในเด็ก ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ อุจจาระร่วง มือเท้าปาก คางทูม อีสุกอีใส หัด และไข้เลือดออก ซึ่งการเจ็บป่วยในวัยนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการ และสุขภาพโดยรวมของเด็ก และการรักษาที่ถูกต้องไม่เพียงช่วยลดอัตราการตายของเด็กที่ติดเชื้อ ยังสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้แก่ครอบครัว สังคม และภาครัฐด้วย

เครียดลูกป่วยบ่อย รับมืออย่างไรดี
เครียดลูกป่วยบ่อย รับมืออย่างไรดี

สำหรับโรคติดเชื้อในเด็กที่พบบ่อยในประเทศไทย ได้แก่

  • โรคทางเดินหายใจ โดยปอดบวม ยังเป็นโรคอันดับหนึ่ง เป็นเพราะคนเราต้องหายใจตลอดเวลา เมื่อเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ โอกาสที่จะหายใจใส่กัน และแพร่โรคก็มีมาก
  • โรคทางเดินอาหาร โดยเฉพาะเชื้อไวรัสโรตา
  • โรคหัด ซึ่งโรคติดเชื้อหลายชนิดสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

สัญญาณทั่วไปที่อาจบ่งบอกว่าลูกไม่สบาย 

หากคุณพ่อคุณแม่สามารถทราบได้ถึงอาการผิดปกติก่อนลูกป่วย หรือป่วยในขั้นเริ่มต้นไม่รุนแรง ก็จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียได้

  1. ไข้สูง นับเป็นอาการเริ่มแรกของปัญหาสุขภาพต่าง ๆ อาการที่แสดงออก เช่น หน้าแดง เหงื่อออก เป็นต้น
  2. กระหายน้ำมาก ในช่วงวัยเด็กหัดเดิน หากสังเกตเห็นว่าลูกดื่มน้ำมาก และปัสสาวะบ่อยเกิน อาจสงสัยในเรื่องเบาหวานในเด็กได้
  3. หายใจลำบาก การหายใจมีเสียงหวีด หายใจถี่เร็ว เป็นปัญหาทั่วไปที่มีสาเหตุได้หลายประการ เช่น โรคหอบหืด โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ปอดบวม หลอดเลือดฝอยอักเสบ การหายใจลำบากกะทันหันอาจเกิดจากการสำลักหรืออุดตันในทางเดินหายใจ
  4. ปวดท้อง อาการปวดท้องมักมาพร้อมกับอาการท้องผูก แม้ว่าจะพบได้ยากในทารก แต่ก็เป็นอาการทั่วไปในเด็กโต สาเหตุอื่นๆ ของอาการปวดท้อง ได้แก่ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTIs) ไส้ติ่งอักเสบ  อาการแพ้นม และโรคเครียด เป็นต้น
  5. ปวดขณะปัสสาวะ ความรู้สึกเจ็บปวดระหว่างถ่ายปัสสาวะ ร่วมกับความถี่ในการปัสสาวะเพิ่มขึ้น เป็นอาการของ UTI ซึ่งเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อยในเด็ก
  6. เมื่อยล้ามาก กล้ามเนื้ออ่อนแรงกะทันหัน จำเป็นต้องพาไปพบแพทย์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากปัญหาในไขสันหลังและเส้นประสาท
  7. ใบหน้าบวม อาการแพ้ส่วนใหญ่ เช่น ลมพิษ การติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือการก่อตัวของซีสต์ไขมัน อาจทำให้ใบหน้าบวมได้
  8. ริมฝีปากสีฟ้า สีม่วงอมน้ำเงิน ตัวเขียว เป็นผลมาจากการขาดออกซิเจนในกระแสเลือด
  9. ผื่นรุนแรง มีหลากหลายสาเหตุ เช่น ลมพิษ แมลงกัดต่อย ผื่นจากการแพ้ยา เป็นต้น
  10. น้ำหนักขึ้นช้า อาจเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยหลายประการที่ขัดขวางการดูดซึมอาหาร หรือขัดขวางการย่อยอาหาร ดังนั้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นช้า อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบเผาผลาญ การเลี้ยงดู หรือมักเกิดจากปัจจัยต่างๆ ร่วมกัน
  11. เหม่อลอย มีปัญหาด้านการรับรู้ ไม่สามารถจดจ่องานที่ทำได้

    ภูมิคุ้มกัน กับ นมแม่
    ภูมิคุ้มกัน กับ นมแม่

 ภูมิคุ้มกัน เกราะป้องกันที่ดีให้ลูกน้อย

ความ เครียดลูกป่วยบ่อย นอกจากการที่พ่อแม่จะคอยเฝ้าระวังจากปัจจัยภายนอกแล้ว อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันการเจ็บป่วยของลูกคือ การเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ลูก เป็นเกราะป้องกันจากภายในที่มีประสิทธิภาพ กล่าวกันว่าระบบภูมิคุ้มกันของเด็กจะเติบโตเต็มที่ในช่วงวัยรุ่น และภูมิคุ้มกันของเด็กจะสร้างขึ้นเมื่อมีการเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อที่ตามมาทุกครั้ง แต่มิได้หมายความว่าเด็กที่ป่วยบ่อยจะมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงที่สุดมักจะต่อสู้กับเชื้อโรคโดยไม่มีอาการใดๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การเจ็บป่วยมักจะไม่ใช่สัญญาณที่ดี แต่เป็นการเตือนให้ดูแลสุขภาพอย่างจริงจังมากขึ้น

3 วิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันแก่ลูกน้อย

1. ได้รับอาหารที่มีประโยชน์

ภาวะทุพโภชนาการเป็นสาเหตุสำคัญของการขาดภูมิคุ้มกันทั่วโลก ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่ควรจะเลี้ยงลูกของคุณด้วยอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็น แร่ธาตุ วิตามิน และกรดอะมิโนที่สำคัญ

นมแม่ : แหล่งสารภูมิคุ้มกันเดียวในทารกแรกเกิด

ทารกเกิดมาโดยไม่มีแอนติบอดี้ของตัวเอง และได้รับภูมิคุ้มกันจากนมแม่ในวันแรกหลังคลอด น้ำนมแม่มีแอนติบอดี้ที่เป็นประโยชน์ในระบบย่อยอาหารของทารกแรกเกิด องค์การอนามัยโลก WHO และ UNICEF แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน จนถึง 1 ปี เพราะนมแม่มีประโยชน์มากมาย รวมถึงมีจุลินทรีย์ LGG ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย

“ทำไมลูกกินนมแม่ ถึงยังป่วยบ่อย?”

เด็กนมแม่ไม่ใช่ไม่ป่วย แต่ความรุนแรงของโรคมักจะน้อยกว่าเด็กที่ได้รับนมผสม เด็กนมแม่เมื่อโตขึ้น จนถึงวัยเข้าโรงเรียน เด็กคนอื่นๆ ก็แพร่เชื้อใส่ลูกเรา ตามธรรมชาติของเด็กที่อยู่รวมกัน นี่คือสิ่งที่ต้องทำใจว่าการเจ็บป่วยของเด็กวัยนี้ คือ เรื่องปกติที่ต้องพบเจอ แต่ขอให้มั่นใจว่า ถ้าไม่ได้กินนมแม่ ลูกคงเจ็บป่วยบ่อย และ หนักกว่านี้

ข้อมูลอ้างอิง:ข้อความบางส่วนจาก FB:สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด

“นมแม่ กับ ภูมิคุ้มกันเกี่ยวข้องกันอย่างไร?”

อย่างที่ทราบกันดีว่า อาหารเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ถ้าร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน ก็จะทำให้เป็นเด็กที่แข็งแรง เจ็บป่วยยาก และแม้จะป่วยก็อาการไม่หนัก ซึ่งในเด็กทารกนั้นร่างกายยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกัน และอาหารที่เด็กทารกได้รับก็มีเพียงแค่นมเท่านั้น

ในน้ำนมแม่มีปัจจัยการเจริญเติบโตชนิดพิเศษ (special growth factors) ที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สมอง ลำไส้ และอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายให้เจริญเติบโตเต็มที่ ดังจะเห็นได้ว่า เด็กที่ถูกเลี้ยงในสถานรับเลี้ยงเด็กที่ยังกินนมแม่อยู่จะมีการติดเชื้อที่น้อยกว่าและมีความรุนแรงน้อยกว่าเด็กที่กินนมผสม เพราะระบบภูมิคุ้มกันพัฒนาได้เร็วกว่า

ข้อมูลอ้างอิง:ข้อความบางส่วนจาก FB:สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด
เครียดลูกป่วยบ่อย นมแม่ช่วยได้
เครียดลูกป่วยบ่อย นมแม่ช่วยได้

“เปิดอีกหนึ่งสาเหตุการป่วยบ่อยของเด็กกินนมแม่อาจมาจาก “แพ้อาหาร”

ลูกในวัยทารกจะแพ้อาหารได้อย่างไร คงต้องขอบอกว่า เด็กแพ้ผ่านน้ำนมแม่ จากอาหารที่แม่รับประทานเข้าไปนั่นเอง อาหาร 8 อย่างที่เด็กมักแพ้ง่าย ได้แก่
1. ไข่
2. นม และอาหารที่ทำจากนม ชีส, โยเกิร์ต ครีม ไอศครีมนมเนย
3. ปลา
4. อาหารทะเลที่มีเปลือก กุ้ง, หอย,ปู
5. ถั่วเหลือง และอาหารจากถั่วเหลือง เต้าหู้ น้ำเต้าหู้
6. ถั่วต่างๆ เม็ดมะม่วงหิมพานต์, อัลมอนด์, วอลนัท
7. แป้งสาลี ขนมปัง
8. ถั่วลิสง

โดยให้สังเกตว่าลูกน้อยมีอาการแพ้ต่ออาหารเหล่านั้นระหว่างที่ให้นมแม่หรือไม่ หากแพ้ให้งดทันที เพราะเมื่อลูกเกิดอาการแพ้มักจะมีอาการที่ทำให้ไม่สบายตัว บ่อย ๆ ครั้งเข้าก็เป็นสาเหตุให้เกิดอาการเจ็บป่วยในขั้นต่อไปได้เช่นกัน

อาการแพ้ที่เกิดขึ้นกับลูกตั้งแต่เป็นทารก เราคิดว่าปกติ แต่มันไม่ปกติเท่าไรนัก เช่น

ผื่น: หมอมักบอกว่าผดร้อนบ้าง ผดฮอร์โมนบ้าง แพ้เหงื่อบ้าง
– ครืดคราด มีน้ำมูกใสๆ เสมหะ ไอ บางคนก็บอกว่าเป็นหวัด (แต่เป็นหวัดต้องมีไข้ค่ะ ถ้ามีน้ำมูกเฉยๆ คือแพ้อะไรบางอย่าง)
ท้องอืด ถ่ายเป็นมูกๆ มูกเลือด ประกบผ้าอ้อมแล้วเห็นมูกยืด อึกลิ่นเปรี้ยวๆ

สำหรับอาการแพ้สะสม (กินมาตั้งนานแล้วไม่เห็นเป็นไร อยู่ๆ ค่อยมีอาการแพ้)

เมื่อภูมิคุ้มกันทำหน้าที่ดีขึ้นและมากขึ้น น้องจะแสดงอาการแพ้ได้เร็วขึ้นและมากขึ้น

นี่เป็นสาเหตุที่หลายคนไม่แพ้ต้ังแต่เล็กๆ มาแพ้นมวัวตอนอายุเป็นขวบๆ ค่ะ

เมื่อลูกแพ้ง่าย สารคัดหลั่งก็อาจไปทำให้คอแดง ระคายคอ โพรงไซนัสบวมเป็นไซนัสอักเสบ เป็นหวัดคออักเสบ หูอักเสบได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ เพราะเจอสารก่อภูมิแพ้สะสมไปเรื่อยๆ เดี๋ยวๆ น้องก็จะป่วยค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง:ข้อความบางส่วนจาก FB: นมแม่แฮปปี้

น่าอ่าน5 วิธีรับมือ ลูกแพ้อาหารที่แม่กิน ลูกแพ้อาหารผ่านนมแม่ทำไงดี

อาหารทะเล หนึ่งในแปดสิ่งที่เด็กชอบแพ้
อาหารทะเล หนึ่งในแปดสิ่งที่เด็กชอบแพ้

2. ให้ลูกได้รับวัคซีนพื้นฐานครบตามกำหนด

การฉีดวัคซีนให้แก่เด็ก จะช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยที่เป็นอันตราย อีกทั้งยังจะช่วยเพิ่มการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันให้กับพวกเขา เพราะร่างกายได้สร้างแอนติบอดี้จากเชื้อในวัคซีนนั้น ๆ แล้ว ปกติแล้วเมื่อทารกคลอดออกมาจะได้รับการฉีดวัคซีนทันที และจะต้องมารับเรื่อยๆ ตามกำหนด ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ที่ต้องพาลูกไปรับวัคซีนให้ตรงตามกำหนด

3. พักผ่อนให้เพียงพอ 

ร่างกายทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยตลอด 24 ชั่วโมง แต่จะซ่อมแซมและฟื้นฟูตัวเองระหว่างการนอนหลับ การไม่ให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเพียงพอจะทำให้การทำงานของร่างกายอ่อนแอลง และทำให้มีโอกาสเกิดโรคได้ง่ายขึ้น ร่างกายที่พักผ่อนเต็มที่มักจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงขึ้น ดังนั้นคุณต้องแน่ใจว่าลูกของคุณนอนหลับเพียงพอทุกวัน นอนวันละ 6-8 ชั่วโมงเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันที่ดี

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.thaihealth.or.th/www.emedihealth.com

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

แพ้นมวัว หมอชี้! แท้จริงเป็นเพราะพ่อแม่

นมแม่ ช่วยสร้างสมองลูก โต 20-30%

4 วิธีกระตุ้นนมแม่ อย่างได้ผลดี ไม่เหนื่อย ไม่เจ็บ

เช็กลิสต์ 5 ผื่นแพ้ในทารก พร้อมวิธีรับมือที่แม่ต้องรู้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up