ลูกพัฒนาการช้า

7 สัญญาณ “ทารกพัฒนาการช้า” พ่อแม่สังเกตได้ตั้งแต่แรกเกิด

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกพัฒนาการช้า
ลูกพัฒนาการช้า

ช่วงเวลาที่พิเศษสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ คือการได้พบหน้าลูกน้อยที่รอคอยมาตลอด 9 เดือน และเมื่อลูกคลอดออก  มาแล้ว ก็หวังว่าจะมีพัฒนาการที่ครบสมบูรณ์แข็งแรง มีพัฒนาการสมวัย ซึ่งเพื่อให้แน่ใจว่าลูกมีพัฒนาการที่ดี ทีมแม่ABK จะชวนมาสังเกตทารกแรกเกิดว่ามีสัญญาณใดที่บอกว่า “ทารกพัฒนาการช้า” หรือไม่?

เด็กแรกเกิด – 1 เดือน (Newborn) เริ่มตั้งแต่แรกคลอดออกมาจากครรภ์คุณแม่ คุณหมอจะเช็กสัญญาณการร้อง   หากมีการ ตอบสนองด้วยการร้องดี ถือว่าผ่านในขั้นแรก จากนั้นก็จะเช็กร่างกายโดยรวมทั้งหมด ซึ่งในช่วง 1 เดือนแรก  เป็นช่วงที่คุณ พ่อคุณแม่ต้องสังเกตลูกอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็น การนอน การตื่น การกินนม การขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ เป็นต้น

  • ทารกมีการเคลื่อนไหวเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบข้างหรือไม่ เช่น มีการสะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดัง ขยับ ศีรษะเวลาที่คุณพ่อคุณแม่เอามือลูบที่แก้มลูกเบาๆ กำนิ้วมือ นิ้วเท้า เวลาที่ถูกสัมผัส
  • ยิ้ม และร้องไห้ เป็นการสื่อสารบอกว่าต้องการอะไร เช่น ร้องเมื่อหิว ร้องเวลาที่รู้สึกเปียกชื้น หรือ ยิ้มออกมา อัตโนมัติ(โบราณว่ายิ้มให้แม่ซื้อ) รวมทั้งเริ่มเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้มากๆ (ใบหน้าคุณพ่อคุณแม่) จำกลิ่นของพ่อแม่ได้

นี่คือพัฒนาการโดยรวมของทารกในช่วง 1 เดือนแรก ทีนี้เรามาสังเกตสัญญาณพัฒนาการช้าของลูกทารกกันค่ะ ว่าจะมีจุดสังเกตใดบ้างที่บ่งชี้ว่า ลูกพัฒนาการช้า

ทารกพัฒนาการช้า จะรู้ได้อย่างไร ?

จุดสังเกตทั้ง 7 จุดนี้เป็นสิ่งที่บอกได้ในเบื้องต้นว่า ทารกพัฒนาการช้า หรือไม่อย่างไร พัฒนาการช้าคือ พัฒนาการการเติบโตของร่างกายโดยรวมทั้งหมด และหากพบว่าลูกมีความผิดปกติ ทีมแม่ABK แนะนำให้พาลูกไปตรวจพัฒนาการกับกุมารแพทย์ทันทีนะคะ

1. ศีรษะ

ศีรษะเล็ก หรือใหญ่เกินไป บ่งบอกถึงการเจริญเติบโตของสมอง อาจบ่งบอกถึงการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ เช่น ขาดอากาศขณะคลอด หรือเป็นโรคทางพันธุกรรม ขนาดเส้นรอบศีรษะของเด็กโดยปกติ มีดังนี้

แรกเกิด – 3 เดือน เส้นรอบศีรษะยาว 35 เซนติเมตร

วัย 3 เดือน เส้นรอบศีรษะจะยาวประมาณ 40 เซนติเมตร

วัย 1 ขวบ เส้นรอบศีรษะจะยาวประมาณ 45 เซนติเมตร

วัย 2 ขวบ เส้นรอบศีรษะจะยาวประมาณ 47 เซนติเมตร

วัย 5ขวบ เส้นรอบศีรษะจะยาวประมาณ 50 เซนติเมตร

2. หู

สังเกตพัฒนาการช้าของลูกอีกหนึ่งจุด ก็คือที่ใบหูทั้ง 2 ข้าง นั่นคือ ใบหูผิดรูป อยู่ต่ำหรือสูงเกินไปจนสังเกตได้ ติ่งหูยาวผิดปกติ มีรูด้านหน้าหู หรือหูไม่มีรู หรือ เมื่อลูกน้อยอายุ 6 เดือนแล้ว แต่ยังไม่สามารถหันตามเสียง ไม่ตอบสนองกับเสียงที่ได้ยิน เช่น ไม่สะดุ้ง ตกใจ เมื่อมีเสียงดัง แนะนำว่าลองให้ลูกน้อยฟังเสียงที่มีโทนเสียงแตกต่างกัน เสียงที่มีความซับซ้อน หรือการพูดคุยตอบโต้ จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการฟังให้ลูกน้อยได้ค่ะ

 

ทารกพัฒนาการช้า

3. ตา

สังเกตพัฒนาการจากดวงตา เช่น ตาห่างจนผิดปกติ ตาเหล่เข้า ตาเหล่ออก ถ้ามีแสงสะท้อนจากรูม่านตาเป็นสีขาว แสดงว่ามีความผิดปกติอยู่ด้านหลังรูม่านตา อาจเป็นต้อ มีเนื้องอก หรือจอประสาทตาลอก เมื่อมองตามวัตถุแล้วตามแกว่ง ไม่จับจ้องที่วัตถุ ไม่สบตา แนะนำให้คุณแม่หาของเล่นที่มีสีสันสดใส เคลื่อนไหวได้ เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นซ่อนของ เพื่อช่วยกระตุ้นให้ลูกได้ฝึกการเคลื่อนไหวของดวงตา ให้มองตามวัตถุนั้นๆ ค่ะ

4. จมูก

สังเกตพัฒนาการจากจมูก เช่น ดั้งจมูกบี้ หรือเชิดมากเกินไป รวมถึงใบหน้าโดยรวม เช่น หางตาชี้ กระหม่อมแบน ลิ้นใหญ่ ซึ้งอาจเป็นอาการของดาวน์ซินโดรม ไม่ตอบสนอง หรือไม่มีปฏิกิริยาต่อกลิ่นต่างๆ เช่น ไม่นิ่วหน้า หรือจาม เมื่อได้กลิ่นฉุน ซึ่งโดยปกติเด็กทารกจะต้องเริ่มได้กลิ่นตั้งแต่อายุประมาณ 3 วัน โดยหันไปตามกลิ่นแม่ที่คุ้นเคย

5. ปาก

ปากบาง จนไม่เห็นริมฝีปาก หรือปากแหว่งเพดานโหว่ พูดไม่ชัด ติดอ่าง เสียงผิดปกติ ไม่เล่นเสียง หรือส่งเสียงอ้อแอ้ ไม่โต้ตอบคำพูดตามวัย มีพัฒนาการทางภาษาช้า เช่น 2 ขวบแล้ว ยังพูดด้วยคำที่ไม่มีความหมาย ไม่ทำตามคำสั่ง และไม่พยายามพูดกับคนอื่น

คุณพ่อ คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการพูดของลูกน้อยได้ จากการตอบสนองเสียงอ้อแอ้ ชวนลูกพูดคุยโต้ตอบ เหมือน พูดคุยกันรู้เรื่อง หรือชวนออกเสียงด้วยคำง่ายๆ ให้ลูกน้อยได้เลียนเสียง หรือเล่นเกมเป่าฟองสบู่ เป่าลูกโป่ง หรือเป่าน้ำใน  แก้ว จะช่วยในการฝึกกล้ามเนื้อเพดานช่องคอ และการใช้ลมออกเสียง

6. ลิ้น

ลูกน้อยมีลิ้นใหญ่ ลิ้นยืดออกมา ขณะอ้าปากอ้อแอ้ น้ำลายไหลย้อย อ้าปากกว้างไม่หุบ ไม่กลืนนม ไอและสำลักอบ่อยๆ  แนะนำให้นวดกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบริมฝีปากลูก เพื่อทำให้เกิดการดูด โดยวางนิ้วชี้กับนิ้วหัวมือลงบนคาง ใต้ริมฝีปากล่าง  แล้วลากออกเป็นเส้นตรงจนสุดขอบปากล่างทั้งสอง ประมาณ 5-10 ครั้ง

7. แขนขา และลำตัว

แขนขายาวไม่เท่ากัน ไม่สามารถควบคุมลำตัวเพื่อทรงตัวให้มีสมดุลขณะถูกอุ้ม เช่น 3 เดือนคอยังไม่แข็ง 9 เดือนแล้วยังไม่คว่ำ คลาน หรือ 1 ขวบแล้วลูกยังหยิบของเล่นไม่ได้ กำมือไม่ได้ ข้อต่อติด บิดหมุนรอบไม่ได้ หากพบความผิดปกติของลูกไมต้องรอให้ถึง 3 เดือน หรือ 1 ขวบ คุณแม่ควรพาลูกไปตรวจพัฒนาการร่างกายกับกุมารแพทย์ทันทีในช่วง 1-2 เดือนแรก เพื่อที่คุณหมอจะได้ให้วิธีในการกระตุ้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้ออย่างถูกต้องตั้งแต่ต้นค่ะ

การสังเกตลูกน้อยตั้งแรกเกิด จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รู้ปัญหาในเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที และเมื่อพบว่าลูกมีพัฒนาการ ด้านร่างกายช้า แนะนำว่าควรพาลูกน้อยไปพบกุมารแพทย์ทันที เพื่อทำการคัดกรอง และประเมินพัฒนาการอย่างละเอีย ไม่ ว่าจะเป็นการตรวจทางพันธุกรรม ตรวจการมองเห็น และการได้ยิน ฯลฯ  เพื่อที่ลูกน้อยจะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องในการกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านค่ะ

อย่างไรทีมแม่ABK ขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทุกครอบครัวนะคะ …ด้วยความห่วงใย

อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ

40 กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ ขยับแขน ขา ปล่อยพลัง อยู่บ้านก็สนุกได้ 

รวมรายชื่อ หมอพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลชื่อดัง ที่แม่ควรเซฟเก็บไว้ 

“เสื้อผ้าเด็กทารก” เลือกยังไง ? ให้ลูกน้อยใส่สบายที่สุด 

หมอเตือน! อาการไข้หวัดใหญ่ คล้ายกับโควิด-19 ติดร่วมกันได้ทำให้ป่วยหนัก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , oknation 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up