โรคติดเชื้อในกระแสเลือด

โรคติดเชื้อในกระแสเลือด ในเด็ก อาการเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน แม่ควรรู้!

event
โรคติดเชื้อในกระแสเลือด
โรคติดเชื้อในกระแสเลือด

มือไม่สะอาดอย่าจับลูกเด็ดขาด! แม่เล่าอาการ ลูกวัย 3 เดือนป่วยเป็น โรคติดเชื้อในกระแสเลือด เตือน!! ก่อนสัมผัสลูกควรล้างมือให้สะอาด เพราะเชื้อโรคที่มองไม่เห็นอาจติดมากับมือทำลูกป่วยได้

สุดสงสาร! ลูกวัย 3 เดือนป่วยเป็น โรคติดเชื้อในกระแสเลือด

โรคติดเชื้อในกระแสเลือด คือ ภาวะการติดเชื้อในกระแสโลหิต อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา สามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ช่วงอายุที่ต้องเฝ้าระวังคือ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี และในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี เนื่องจากมีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรงได้มากกว่าวัยอื่น โดยเชื้อโรคมักอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายและสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเด็กโดยไม่ก่อโรค แต่เมื่อไหร่ที่ร่างกายอยู่ในสภาวะอ่อนแอก็จะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและเกิดการติดเชื้อได้

การติดเชื้อโดยทั่วไปสามารถเกิดการติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ ได้ เช่น การติดเชื้อทางเดินหายใจ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อทางเดินอาหาร และอาจไม่มีตำแหน่งการติดเชื้อที่ชัดเจน โดยการติดเชื้อดังกล่าวถ้ามีอาการรุนแรง เชื้อโรคก็สามารถผ่านเข้าไปในกระเลือดและเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วยได้ โดยการติดเชื้อร่วมกับมีสัญญาณชีพผิดปกติ และเมื่อตรวจเลือดพบว่าจำนวนเม็ดเลือดขาวผิดปกติ จะเรียกภาวะนี้ว่า Sepsis ส่วนในกรณีที่เชื้อโรคเข้าไปในกระแสเลือดร่วมด้วยจะเรียกว่า Septicemia

… เช่นเดียวกับหนูน้อยวัย 3 เดือนคนนี้ที่ป่วยเป็น โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โดยคุณแม่ได้โพสตืเตือนในเฟซบุ๊กกรุ๊ปหนึ่ง เพื่อเตือนพ่อแม่ที่มีลูกเล็กให้ระวังให้ดี ควรล้างมือให้สะอาดก่อนอุ้มลูก เพราะคุณหมอบอกว่าสาเหตุที่ ลูกติดเชื้อในกระแสเลือด ได้เกิดเพราะเชื้อโรคที่มาจากมือ โดยคุณแม่ได้เล่าอาการของน้องอย่างละเอียดไว้ว่า …

#วันนี้วันที่11แล้วค่ะ #ที่หนู ติดเชื้อในกระแสเลือด #วันนี้จะมาบอกอาการ แรกเริ่มให้แม่บ้านอื่น #ไว้สังเกตลูกๆนะคะ
  • วันแรกๆ น้องเเค่ตัวรุมๆ ค่ะ แม่ก็ให้กินยาแก้ไข้ปกติ
  • วันที่2 น้องเริ่มไข้ขึ้นสูง เลยตัดสินใจไปคลีนิคค่ะ เพราะคิดว่าสะดวกสะบาย ไม่ต้องรอคิว หมอให้ยาลดไข้ กินปกติ
  • วันที่3 น้องงอแง เริ่มไม่กินนม +ไข้สูง ก็ได้กินยาลดไข้ปกติ
  • วันที่4 น้องเริ่มมือเย็น แต่ตัวร้อน แม่คิดว่าอากาศคงเย็น และก็เริ่มถ่ายเหลว อ้วกพุ่งกินอ้วก ตัวร้อนแต่มือเริ่มเย็นขึ้น เริ่มงอแง ร้องไห้ตลอดเวลาไม่เอานมโดนตัวก็ร้อง
เลยตัดสินใจพาไปโรงพยาบาล พอมาถึง หมอก็วัดไข้ตรวจเลือด หมอให้นอนโรงพยาบาล พยาบาลมาบอกน้องเกร็ดเลือดต่ำนะแม่ น่าจะเป็นไข้เลือดออก ใจเริ่มเสีย เด็กแค่ 3 เดือนเป็นไข้เลือดออก
ตกดึก น้องมีอาการไข้สูงขึ้นเรื่อยๆ พยาบาลมารุมเช็ดตัว เช็ดจนชุ่ม เช็ดๆ ประมาณ 3 รอบ ไข้ไม่ลดค่ะ น้องเริ่มสั่นสั้นมาก สั่นแบบน่าสงสารมากๆ ตาเริ่มลอย พยาบาลอุ้มเข้าห้องเจาะเลือดเลยค่ะ เข้าไปอยู่นานพยาบาล พยาบาลเรีกไปดูสิ่งที่เห็นคือ น้องใส่สายออกซิเจนค่ะ พยาบาลบอกน้องหายใจเร็วมากนะแม่ ตอนนี้กำลังตามหมอใหญ่มาดู ตอนนั้นเริ่มจิตตก โทษเเต่ตัวเองค่ะ ที่ปล่อยมาขนาดนี้ น้ำตาไหลตลอดที่เค้าเจ็บปวด โทษตัวเอง อยากตีตัวเองมากๆ
ผ่านไป 2 ชั่วโมง พยาบาลก็อุ้มออกมา ไข้ลด โล่งอก เช้าต่อมา หมอใหญ่มาบอก ผลเลือดออกอีกรอบ หมอบอกไม่ได้เป็นไข้เลือดออกนะแม่ #น้อง ติดเชื้อในกระแสเลือด นะคะ และทำให้กระเพาะปัสวะอักเสบ ค่ะ นึกสภาพคนโตเป็นยังแสบขัดยังเจ็บขนาด แล้วเด็กตัวเล็กๆ เป็นจะขนาดไหน อันนี้โชคดีนะคะไม่ลามไปที่ปอดค่ะ
หมอได้เอาเลือดไปเพาะเชื้อว่าเป็นเชื้อตัวไหน หมอก็ให้ยาฆ่าเชื้อ ไข้ก็ขึ้นๆ ลงๆ มือเท้าเย็นมาก แล้วผลเลือดก็ออกอีกครั้ง หมอบอกเชื้อที่น้องติดคือ เชื้อดื้อยา เชื้อที่อันตรายสุด เพราะดื้อยา และต้านยา
ติดเชื้อในกระแสเลือด
ภาพ เชื้อดื้อยา จากการติดเชื้อในกระแสเลือด
ตอนนี้ก็กำลังให้ยาฆ่าเชื้อตัวที่ 4 อยู่ค่ะ หมดยาไป 3 ตัวเชื้อลดแค่ 30-50 หมอบอกน่าจะอยู่อีกยาวๆ #เชื้อโรคเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นแม่ๆ ออกนอกบ้านหรือพ่อไปทำงานกลับมาล้างมืออาบน้ำก่อนมาอุ้มลูกกันด้วยนะคะ #ฝากเป็นอุทาหรณ์ #และฝากดูอาการลูกๆ ด้วยนะคะ ถ้าตัวร้อนไข้สูง ให้เข้าโรงบาลดีกว่า #บ้านนี้เข็ดจนตายค่ะ #นึกสภาพถ้ามาช้ากว่านี้คงเสียใจตลอดชีวิต ขอบคุณค่ะที่อ่านจนจบ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจากคุณแม่ Monthiya Chiyala

 

อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแสเลือด นั้นทำได้ยาก เนื่องจากหมอไม่สามารถวินิจฉัยเพื่อระบุสาเหตุของการติดเชื้อได้อย่างชัดเจน จึงต้องใช้วิธีการตรวจหลายอย่าง ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการและความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย

การป้องกันลูกป่วยเป็น โรคติดเชื้อในกระแสเลือด

สิ่งสำคัญที่เป็นต้นเหตุของการติดเชื้อ คือ เชื้อโรคที่มีอยู่รอบตัวเรา ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยรักษาความสะอาดและสุขภาวะอนามัยทั้งของคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย เช่น ถ้าลูกยังเล็ก ก่อนสัมผัสลูกควรล้างมือให้สะอาด หมั่นเช็กเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆ อย่าปล่อยให้หมักมหมม ควรระวังให้ให้ลูกอมมือ และต้องคอยทำความสะอาดของเล่น ของใช้ที่วางใกล้มือลูกด้วย เมื่อลูกโตควรสอนให้ล้างมือบ่อยๆ ก่อนหยิบจับอาหารเข้าปาก หรือเมื่อหยิบจับสิ่งของ ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงพาลูกไปเที่ยวที่ชุมชนที่มีคนหนาแน่น หลีกเลี่ยงผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย นอกจากนี้การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดสามารถการป้องกัน หรือ ลดความรุนแรงโดยการรับวัคซีน เช่น วัคซีนฮิบ (Hib) หรือ วัคซีนไอพีดี (IPD) เป็นต้น


ขอบคุณข้อมูจาก : www.pobpad.comwww.phyathai.com

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่ภาพได้เลย 

แม่แชร์ประสบการณ์สำลักนม ทำลูกปอดติดเชื้อ มีไข้สูงชักตัวเกร็ง

ปล่อยคนแปลกหน้า จุ๊บลูก ครั้งเดียว ติดเชื้อหนักเกือบตาบอด

อุทาหรณ์! ลูกติดเชื้อจากรถเข็นในห้าง

3 โรคที่แม่ป่วย ต้องระวัง อยู่กับลูกอย่างไรไม่ให้ลูกติดเชื้อ

ลูกติดเชื้อ เพราะดูดนมผิดวิธีจริงหรือไม่?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up