ข้อผิดพลาดในการเลี้ยงลูก

9 ข้อผิดพลาดในการเลี้ยงลูก ที่อาจทำลายอนาคตของลูกได้

Alternative Textaccount_circle
event
ข้อผิดพลาดในการเลี้ยงลูก
ข้อผิดพลาดในการเลี้ยงลูก

ข้อผิดพลาดในการเลี้ยงลูก – ทุกคนทำผิดพลาดในการเลี้ยงลูกได้เสมอ แม้ว่าเราจะมีวุฒิภาวะที่ดีหรือเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม อย่างไรก็ตามการทำหน้าที่พ่อแม่ไม่มีคำว่าสมบูรณ์แบบ และเราอาจไม่สามารถเข้าใจได้ตลอดเวลาว่าการกระทำต่างๆ ของเราจะส่งผลอย่างไร เช่น พฤติกรรมหรือแนวทางในการเลี้ยงลูก บางครั้งเราอาจคิดไม่ทันว่าการสอนลูกการว่ากล่าวตักเตือนลูกจะส่งผลอย่างไรกับลูกบ้าง

ซึ่งวิธีการเลี้ยงลูกสอนลูกบางวิธีทำส่งผลกระทบในเชิงลบมากกว่าผลดี ข้อผิดพลาดง่ายๆ ทั่วไป ที่พ่อแม่มักทำสามารถนำไปสู่ปัญหาระยะยาวอนาคตของลูกได้  เพราะอนาคตของลูก ส่วนหนึ่งอยู่ที่พ่อแม่เป็นผู้คอยส่งเสริมสนับสนุนผลักดัน วันนี้เรามาดูกันค่ะว่าข้อผิดพลาด 9 ข้อ ที่อาจส่งผลกระทบที่ไม่ดี มีอะไรบ้าง

9 ข้อผิดพลาดในการเลี้ยงลูก ที่อาจทำลายอนาคตของลูกได้

1. ลงโทษเด็กต่อหน้าผู้อื่น

บางครั้งแม่และพ่อก็โกรธลูกที่ทั้งซนทั้งดื้อ  อาจตะโกนด่าว่า และทำโทษลูกต่อหน้าคนอื่น ในช่วงเวลาเช่นนี้ พวกเขาไม่ได้คิดถึงคนอื่น ๆ ว่าจะมองอย่างไรเพราะโฟกัสไปที่ลูก แต่จริงๆ แล้วเด็ก ๆ สนใจความคิดเห็นของผู้คนรอบข้างมากว่าที่เราคิด การทำให้ลูกรู้สึกอับอายในที่สาธารณะจะทำลายความมั่นใจในตนเองของเด็ก ๆ มันทำให้พวกเขารู้สึกละอายใจได้มาก และเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะสลัดมันออกไปหากพวกเขามีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยจะเป็นมิตรต่อสภาพจิตใจเช่นนี้อยู่บ่อยๆ

2. อิทธิพลจากอดีต

สิ่งที่เกิดขึ้นในวัยเด็กของพ่อแม่อาจมีบ้างที่ทิ้งรอยประทับที่ไม่ดีไว้ที่เกิดจากการเลี้ยงดู ทำให้เราเลือกที่จะเป็นหรือไม่พ่อแม่แบบไหน เราต้องไม่ทำผิดซ้ำรอยของพ่อและแม่หรือปู่ย่าตายายของลูกเรา สิ่งสำคัญคือต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดและพยายามปกป้องคนรุ่นหลังจากอารมณ์เชิงลบต่างๆ เหล่านี้

ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันเราทราบแล้วว่าการลงโทษทางร่างกายมีแต่จะส่งผลในทางลบ แต่พ่อแม่สมัยใหม่หลายคนยังคงใช้วิธีการลงโทษแบบนี้ และพยายามหาเหตุผลว่าเมื่อก่อนพ่อแม่ก็ทำกับพวกเขาเช่นเดียวกันเวลาลูกดื้อลูกซน  เราไม่ควรแก้ตัวในการทำผิดของเราโดยพูดว่า “ พ่อแม่ของฉันทำแบบนี้ฉันก็จะทำเช่นกัน” แต่เราควรพยายามเป็นคนที่ทำลายวงจรทีไม่ดีเหล่านี้แทนที่จะรักษาให้มันดำเนินต่อไป

ข้อผิดพลาดในการเลี้ยงลูก
ข้อผิดพลาดในการเลี้ยงลูก

3. การหักห้ามใจตัวเองมากเกินไป

อย่าคิดว่าการแสดงความรักกับลูกมากเกินไป เช่นการกอดลูกบ่อยๆ จะเป็นเรื่องที่ไม่ดี ถ้าเราไม่กอดลูกบ่อยๆ และไม่บอกพวกเขาว่าเรารักพวกเขาพวกเขาอาจเกิดความแตกแยกอารมณ์จากครอบครัว หรือเมื่อเราไม่รับฟังความรู้สึก และความคิดเห็นต่างๆ ของพวกเขา หรือเฉยเมยลูกในเวลาที่พวกเขาต้องการเรา มีโอกาสอย่างมาก ที่ลูก ๆ ของเราจะปฏิบัติในลักษณะเดียวกันกับคนอื่น ๆ และอาจเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะสนิทสนมกับใครสักคน หรือเชื่อใจคนอื่น พวกเขาจะเป็นคนที่ไม่ค่อยมีเพื่อน หรือไม่อาจสร้างครอบครัวต่อไปได้ในอนาคต

ส่อง 10 เคล็ดลับ เลี้ยงลูกให้เป็นอัจฉริยะ แบบชาวยิว

7เทคนิคเลี้ยงลูกให้มั่นใจด้วยคำชมและ คำพูดให้กำลังใจ

10 วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด สอนลูกฉลาดรู้ ฝึกลูกฉลาดทำ

4. ลักษณะนิสัยที่ไม่ดีต่างๆ 

พ่อแม่เป็นแบบอย่างของลูก และมีความเชื่อมโยงอย่างมากระหว่างนิสัยของมารดาและน้ำหนักที่เพิ่มในบุตร สำหรับผู้หญิงที่พยายามมีวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีความเสี่ยงของโรคอ้วนในเด็กจะลดลง 75% นักวิจัยอ้างว่านิสัยที่ดีซึ่งมีอิทธิพลเชิงบวกต่อเด็ก คือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มหรือดื่มแอลกอฮอล์แม้เพียงเล็กน้อย

นอกจากนี้เด็กเล็กยังมีโอกาสเป็นโรคอ้วนน้อยกว่า 30% หากพ่อของพวกเขาใช้เวลาเล่นกับพวกเขามาก ๆ

5. การชดเชยมากเกินไป

ความไม่พอใจเก่า ๆ ในอดีตของเราที่มีต่อแม่และพ่อของเรา อาจนำไปสู่การเกลียดชังวิธีการเลี้ยงดูของพวกเขาอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่พวกเขาทำถูกต้องก็ตาม ด้วยเหตุนี้เมื่อเราเริ่มต้นครอบครัวของเราเองเราอาจผลักดันมันไปไกลเกินไปเมื่อพยายามทำสิ่งที่แตกต่างออกไป

ตัวอย่างเช่น หากพ่อแม่ของเราเผด็จการเกินไปเราอาจให้อิสระกับลูกมากเกินไป และการปล่อยลูกมากเกินไปอาจส่งผลดีต่อเด็กได้ พวกเขาอาจรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งและไม่ต้องการได้มากกว่าที่เราคิด

6. ตามใจหรือปกป้องมากเกินไป

บ่อยครั้งที่พ่อแม่คิดว่าลูกชายและลูกสาวของพวกเขาพิเศษและไม่เหมือนใครและพยายามทำสิ่งต่างๆ ให้ลูกดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนกลายเป็ฯการตามใจที่เกินขอบเขต สำหรับคนทั่วโลกแล้วลูกของเราเป็นแค่เด็ก และถ้าพวกเขาเคยชินกับการตามใจและต้องได้ทุกอย่างที่ต้องการ พวกเขาก็อาจเติบโตมาเป็นคนเห็นแก่ตัวที่มีความรู้สึกผิดธรรมชาติเป็นคนที่ยากที่จะสื่อสารด้วย

เด็กที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้จะมีความผิดหวังมากมายในชีวิตนอกบ้าน และพวกเขาจะไม่รู้เลยว่าจะจัดการกับมันอย่างไร ในขณะเดียวกันการเลี้ยงลูกแบบป้องกันหรือปกป้องลูกมากเกินไปอาจทำให้ลูก ๆ ของคุณเกิดความกลัวต่อสิ่งต่างๆ ได้ง่าย ดังนั้นพวกเขาจะกลัวที่จะรับผิดชอบหรือออกไปนอกคอมฟอร์โซน เช่น การพบปะกับคนใหม่ๆ หรือการเริ่มต้นธุรกิจ ซึ่งทำให้ขาดโอกาสดีๆ ในชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย

ข้อผิดพลาดในการเลี้ยงลูก

7. การทำลายความไว้วางใจ

ต้องมีกฎเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับพฤติกรรม แต่เด็ก ๆ ก็ควรเข้าใจว่าพวกเขาสามารถไว้วางใจพ่อแม่ของตนได้ และความไว้วางใจของเด็ก ๆ (โดยเฉพาะวัยรุ่น) นั้นสูญเสียได้ง่ายมากๆ หากพ่อแม่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองและมักทำให้พวกเขาหวาดกลัว สิ่งนี้อาจนำไปสู่การสูญเสียความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับครอบครัวและไม่รู้สึกว่าได้รับการปกป้องจากพ่อแม่

เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีทั้งกายและใจได้เมื่อครอบครัวของพวกเขาเป็นเกราะป้องกันที่ปลอดภัยที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถจะออกไปสำรวจโลกได้อย่างเต็มที่

8. พฤติกรรมก้าวร้าว

เด็ก ๆ เรียนรู้วิธีจัดการกับปัญหาโดยการเฝ้าดูพ่อแม่เมื่อต้องรับมือกับความยากลำบาก บางครั้งด้วยธรรมชาติของเด็กเอง ทั้งการเล่นซนตามไว้ การเอาแต่ใจตามประสา ที่ทำให้พ่อแม่อาจหงุดหงิดควบคุมอารมณ์ไม่ได้และอาจพลาดใช้ความรุนแรงก้าวร้าวกับลูกไป จำไว้ว่าการหยาบคายกับลูกหรือแสดงอารมณ์เชิงลบต่อพวกเขาตั้งแต่อายุยังน้อย อาจนำไปสู่ปัญหาในการจัดการความโกรธในอนาคตของลูกได้มากกว่าที่เราคิด

9. หลีกหนีจากปัญหา

วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการ “ยุติ” ปัญหา คือ การเดินหนีและลืมมันไป แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าสิ่งต่างๆ จะคลี่คลายได้ด้วยตัวมันเองอย่างที่ผู้ใหญ่หลายคนเชื่อ หลังจากทะเลาะกันอย่างรุนแรงระหว่างพ่อแม่และลูกคุณต้องพยายามแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งหัวใจสำคัญคือ การคืนความไว้วางใจ

ในการทำเช่นนี้คุณต้องใจเย็น ๆ และพูดอย่างเป็นกลางไม่มีอคติ แสดงความเคารพต่อลูกของคุณ ในตอนแรกให้ฟังพวกเขาเพื่อบอกให้พวกเขารู้ว่าคุณสนใจว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร และพยายามมองปัญหาจากมุมมองของพวกเขา จากนั้นพูดถึงความรู้สึกของคุณอธิบายเหตุผลที่คุณโกรธ และขอโทษ นี่เป็นวิธีแสดงให้เด็กเห็นว่าคุณไม่ใช่ศัตรูและคุณจะได้รับความไว้วางใจอีกครั้ง

เห็นได้ชัดว่าพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและข้อผิดพลาดต่างๆ ในการเลี้ยงลูก สามารถทำให้เกิดผลเสียกับลูกได้มากมาย หากคุณพ่อคุณแม่ปลูกฝังแนวทางที่ถูกที่ควรให้กับลูกอย่างเหมาะสมและพอดีก็จะป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดต่างๆ ที่อาจส่งผลเสียกับลูกได้ในอนาคต การรู้จักตามใจให้พอดีมีขอบเขตมีกติกา การทำให้ลูกไว้วางใจ การใส่ใจลูกและยื่นมาเข้าช่วยเมื่อมีปัญหา การไม่ใช้ความรุนแรงกับลูก ตัวอย่างเหล่านี้ หากคุณพ่อคุณแม่ทำได้อย่างสม่ำเสมอจะเป็นการส่งเสริมให้ลูกเกิดทักษะความฉลาดด้วย Power BQ หลายด้าน อาทิ ความฉลาดทางอารมณ์ EQ , ความฉลาดต่อการเผชิญกับปัญหา AQ, ความฉลาดในการคิดบวก OQ, ความฉลาดของการเข้าสังคม SQ  เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : brightside.me

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เปิดเทคนิค เลี้ยงลูกแบบสวีเดน ฝึกลูกให้อยู่เป็นในสังคม

วิธีการเลี้ยงลูกเชิงบวก ไม่ดุ ไม่ตี ปูพื้นฐานชีวิตลูกให้ดีใน 3 ปีแรก

3 บทบาทของพ่อแม่ สิ่งสำคัญในการเลี้ยงลูกยุคนี้โดย พ่อเอก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up