OQ (Optimist Quotient)

8 วิธีเลี้ยงลูก ให้มี OQ (Optimist Quotient) ฉลาดมองโลกในแง่ดี ส่งผลดีต่อชีวิต

Alternative Textaccount_circle
event
OQ (Optimist Quotient)
OQ (Optimist Quotient)

วัยเด็กเป็นช่วงวัยที่สำคัญสำหรับการส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน รวมถึงด้านความคิด สอนให้ลูกได้คิดบวก เป็นเด็กที่มี OQ (Optimist Quotient) ความฉลาดในการมองโลกในแง่ดี ซึ่งก็จะทำให้เป็นมีสุขภาพจิตดี เมื่อเกิดปัญหาก็มีสติตั้งรับที่จะแก้ไข ไม่เครียดจนเกินไป ทำให้สามารถเรียนรู้ที่จะเอาชนะอุปสรรคและเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง นอกจากการส่งเสริมให้ลูกมี IQ และ EQ ดี ยังมีอีก Q อีกหนึ่งตัวที่จะทำให้ลูกเก่ง ดี และมีความสุข นั่นคือการสร้าง OQ หรือ ความฉลาดด้านการมองโลกแง่ดี

เด็กที่มี “OQ” นั้นจะทำให้มองเห็นคุณค่าในตัวเองและรู้จักให้คุณค่าต่อผู้อื่นด้วย ซึ่งผลต่อความคิดในทางบวกในระยะยาวก็จะมีผลต่อจิตใจและร่างกาย ทำให้เป็นเด็กที่ร่าเริง แจ่มใส จิตใจดี กล้าที่จะยอมรับผิดเพื่อที่จะแก้ไขให้ดีและถูกต้อง โดยรวมแล้วเป็นการมองทุกสิ่งในแง่ดีมากกว่าแง่ร้ายนั่นเอง และนี่คือเคล็ดลับ วิธีสร้างความฉลาดในการมองโลกในแงดี ที่จะช่วยพัฒนามุมมองที่สดใสและมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ชีวิตในทุก ๆ วันให้กับเจ้าตัวเล็ก

8 วิธีเลี้ยงลูก ให้มี OQ (Optimist Quotient)
ฉลาดมองโลกในแง่ดี คิดบวก มีผลดีต่อชีวิต

1.พ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดในการมองโลกในแง่ดี

เด็ก ๆ จะมองเห็นทัศนคติและเรียนรู้ที่จะมองโลกในแง่ดี มีความยืดหยุ่นในสถานการณ์ที่เหมาะสมจากคุณพ่อคุณแม่ที่แสดงให้เห็นและสอนลูก ไม่ขี้บ่นหรือโวยวายในสถานการณ์แย่ ๆ ให้ลูกฟัง พยายามรับมือกับสถานการณ์อย่างสงบ ใช้คำพูดที่เป็นกำลังใจมากกว่าในด้านลบ เช่น ถ้าลูกกลับมาด้วยผลสอบที่ต่ำกว่า แทนที่คุณแม่จะโกรธและต่อว่า ก็ให้ใช้วิธีคิดบวกมากขึ้น เพื่อให้มองเห็นเรื่องดี ๆ มากกว่าเรื่องแย่ อาจจะเป็นคำพูดว่า “คราวหน้าพยายามกันใหม่นะ” หากคิดถึงแต่สิ่งแย่ ๆ ก็จะทำให้ไม่พอใจ ซึ่งลูกก็จะเรียนรู้ทัศนคติเหล่านี้ผ่านประสบการณ์จากคุณพ่อคุณแม่นั่นเอง ดังนั้นในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ การปลูกฝังให้ลูกมี OQ ถือเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างต่อชีวิตลูกได้ในระยะยาว

OQ Optimist Quotient

2.สอนลูกให้รู้จักแบ่งปัน มีน้ำใจ

การได้ช่วยเหลือใครบางคนหรือมีความเอื้อเฟื้อแบ่งปันต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคสิ่งของที่ไม่ใช่แล้ว การพาลูกเป็นจิตอาสา การแบ่งขนม ผลัดกันเล่นของเล่นกับเพื่อน ฯลฯ การได้ทำในสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่จะทำให้เด็ก ๆ เกิดความภาคภูมิใจ มีความสุข ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้จากความคิดบวกนั่นเอง

3.กระตุ้นให้ลูกได้ลองทำหรือกล้าทำในสิ่งที่แปลกใหม่

เด็กทุกคนล้วนอยู่ใน comfort zone ของพ่อแม่ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ปกป้องโอ๋เจ้าตัวน้อยมากเกินไป ไม่กล้าให้ลูกได้ลองทำกิจกรรมต่าง ๆ เพราะกลัวลูกจะเจ็บ กล้วลูกจะอาย ก่อนที่จะได้ทำ ผลของการให้ลูกอยู่แต่ในโซนที่ปลอดภัยของพ่อแม่ ก็จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตในอนาคตที่ทำให้ลูกไม่มีความมั่นใจ เป็นการให้ลูกได้มองโลกในแง่ร้ายมากกว่าแง่ดี ดังนั้น ควรปล่อยให้ลูกได้เล่นอย่างมีอิสระ กระตุ้นให้ลูกได้ลองทำ พิชิตสถานการณ์ที่ยากลำบาก  โดยมีคำพูดเสริมกำลังใจ ในขณะเดียวกันคุณพ่อคุณแม่ก็คอยดูลูกอยู่ในสายตา และเริ่มที่จะให้เด็ก ๆ ได้ลองรับมือกับความเสี่ยงหรือกิจกรรมที่ตื่นเต้นบ้าง เช่น การไปทัศนศึกษา/ การเข้าค่ายพักแรมกับโรงเรียน โดยไม่ตามไปดู ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลหากลูกอยู่ในความดูแลของหน่วยงานที่รับรองความปลอดภัย หากลูกได้ลองทำอะไรใหม่ ๆ ด้วยตัวเองก็เท่ากับช่วยให้ลูก “ทำได้” สร้างความรู้สึกเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง

มองโลกในแง่ดี

4.สอนให้ลูกรักรู้จักช่วยเหลือตนเองในแต่ละกิจวัตรประจำวันได้

ลูกในวัยตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป ต่างก็มีพัฒนาการตามวัยที่พร้อมจะช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เริ่มต้นตั้งแต่การแต่งตัวตัว การล้างหน้า แปรงฟัน เก็บที่นอน รู้จักเปิด ปิด ไฟในห้องนอน ช่วยงานบ้านของคุณแม่ Tamar Chansky, Ph.D. นักจิตวิทยาเด็กและนักเขียน กล่าวเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้เด็ก ๆ พ้นจากความคิดในเชิงลบ คือ การได้ทำในบ้านงานที่พ่อแม่มอบหมายให้อย่างเหมาะสมกับวัยของเด็ก เช่น เด็กอายุ 2 ขวบสามารถเก็บของเล่นให้ถูกที่ เด็กอายุ 3 ขวบสามารถถอดเสื้อที่สกปรกของเขาใส่ลงตะกร้าผ้า เด็กอายุ 4ขวบ สามารถนำจานอาหารไปใส่ไว้ที่อ่างล้างจาน เด็กอายุ 5 ขวบสามารถเอาขยะไปทิ้งได้ เด็กอายุ 6 ขวบสามารถแยกประเภทผ้าได้ เมื่อภารกิจทำอย่างเรียบร้อย คุณพ่อคุณแม่ควรชื่นชมทุกครั้ง เพื่อให้ลูกรู้สึกภาคภูมิใจ และสร้างทัศนคติที่ดี โดยปลูกฝังให้คิดว่า “ทำได้” ลูกก็จะมองโลกในแง่ดี และสามารถเอาชนะอุปสรรคผ่านพ้นไปได้

อ่านต่อ 8 วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาดมองโลกในแง่ดี คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Summary
Review Date
Reviewed Item
OQ (Optimist Quotient)
Author Rating
51star1star1star1star1star

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up