ฝึกลูกให้มีสมาธิ

10 เคล็ดลับ ฝึกลูกให้มีสมาธิ ลูกไม่วอกแวกง่าย ทำอะไรก็ฉลุย!

Alternative Textaccount_circle
event
ฝึกลูกให้มีสมาธิ
ฝึกลูกให้มีสมาธิ

 ฝึกลูกให้มีสมาธิ –  เด็กๆ ที่บ้านมีปัญหาการจดจ่อกับการทำงานบ้านที่คุณมอบหมายหรือการเรียนหรือไม่? ปกติแล้วเด็กวัยเตาะแตะส่วนใหญ่ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความอยากรู้อยากเห็นอาจเสียสมาธิจนวอกแวกได้ง่ายดายต่อสิ่งที่มากระตุ้น อย่างไรก็ตามสมาธิเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียน การทำการบ้าน แม้แต่การเล่น และเพื่อให้หน้าที่ต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบเสร็จสมบูรณ์ได้ตามเวลาที่กำหนดสำหรับผู้ใหญ่อย่างเราๆ  อาจสามารถพัฒนาสมาธิได้ด้วยวิธีต่าง ๆ มากมาย แต่สำหรับเด็กเราจำเป็นต้องใช้วิธีการที่ต่างออกไป

ความจริงแล้ว สมาธิก็เหมือนกล้ามเนื้อที่ต้องออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเสริมสร้าง เด็กบางคนเกิดมา“ แข็งแกร่ง” ในด้านนี้มากกว่าคนอื่น ๆ แต่เด็ก ๆ ทุกคนสามารถเรียนรู้กลยุทธ์และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติที่ช่วยปรับปรุงความสามารถในการมุ่งความสนใจ และรักษาความสนใจของพวกเขาได้ พ่อแม่สามารถช่วยลูกเพิ่มสมาธิได้หลายวิธี ซึ่งวิธีต่างๆ ต่อไปนี้ จะสอนให้เด็กรู้จักกฎเกณฑ์บางอย่างซึ่งจะช่วยให้พวกเขาโฟกัสกับสิ่งที่สำคัญในชีวิตได้ง่ายขึ้นวอกแวกน้อยลง และอยู่เป็นสุขมากขึ้นในขณะที่ต้องทำการบ้านหรือทำงานต่างๆ

10 เคล็ดลับ ฝึกลูกให้มีสมาธิ ลูกไม่วอกแวกง่าย ทำอะไรก็ฉลุย!

1. แบ่งงานใหญ่ออกเป็นงานเล็ก ๆ

การทำงานใหญ่หรือท้าทายความสามารถ อาจต้องใช้สมาธิและวินัยอย่างมากในการทำให้สำเร็จลุล่วง ดังนั้นวิธีที่จะช่วยให้เด็กๆ จัดการกับงานยากๆ เหล่านี้ได้ คือ การแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อย ๆ แล้วค่อยๆ ทำให้สำเร็จ สิ่งนี้สามารถนำไปใช้ได้กับการทำการบ้าน งานบ้าน และการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ การค่อยๆ ทำทีละเล็กทีละน้อย แต่ทำอย่างสม่ำเสมอ และมีเวลากำหนดที่ชัดเจน สามารถนำไปสู่ความสำเร็จของงานใหญ่ๆ งานยากๆ ได้ในไม่ช้า ง่ายต่อการโฟกัสได้อย่างเต็มที่และยังให้ความรู้สึกถึงความคืบหน้าของงานอีกด้วย งานยากๆ ที่ต้องใช้เวลาความทุ่มเทความมุ่งมั่น อาจดูเป็นเรื่องหนักใจและสามารถทำให้เกิดความไม่เต็มใจและการผัดวันประกันพรุ่งในการเริ่มต้นที่จะทำได้หากคิดว่าต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว  ดังนั้นหากลูกของคุณมีการบ้านที่ค่อนข้างยาก ควรบอกลูกให้เริ่มจัดการลงมือทำตั้งแต่เนิ่นๆ ให้ค่อยๆ ทำให้สำเร็จไปทีละส่วน

10 เทคนิค สอนการบ้านลูก ให้สำเร็จ แบบไม่เสียน้ำตา

10 นิสัยที่ควรสอนลูก ปูทางให้เป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต

9 เทคนิคต้องรู้ สอนลูกให้ชอบอ่าน พ่อแม่ต้องทำแบบนี้!

2. ลดหรือกำจัดสิ่งรบกวน

สำหรับเด็ก ๆ แล้วการจัดการกับสิ่งรบกวนต่างๆ รอบตัวอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นพ่อแม่ต้องคอยตรวจตราสภาพแวดล้อมที่พวกเขาเรียนรู้ ทำการบ้าน หรือแม้แต่เรียนออนไลน์ ให้ปราศจากสิ่งรบกวนให้มากที่สุด

ระมัดระวังเป็นพิเศษเรื่องการเปิดโทรทัศน์  เปิดเพลงเสียงดัง หรือเสียงอื่นใดที่อาจเบี่ยงเบนรือรบกวนความสนใจและสมาธิของเด็กๆ

3. งดใช้โทรทัศน์และโทรศัพท์มือถือ

ไม่ควรดูทีวีขณะทำการบ้านเพราะจะรบกวนสมาธิ ข้อความและการเล่นโซเชียลมีเดียยังขัดขวางการตั้งสมาธิของเด็กๆ ได้ ทางที่ดีควรส่งเสริมและสอนบุตรหลานของคุณว่าไม่ควรอ่านข้อความหรือใช้โทรศัพท์มือถือขณะเรียนและทำการบ้าน

ฝึกลูกให้มีสมาธิ
ฝึกลูกให้มีสมาธิ

4. ทำการบ้านในช่วงเวลาเดียวกันทุกวัน

การทำกิจกรรมเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ทุกวัน ในเวลาเดิมเป็นประจำ ในที่สุดจะเปลี่ยนเป็นนิสัยได้ หากเด็กนั่งทำการบ้านในเวลาเดิมทุกวัน เมื่อถึงเวลาที่ต้องเริ่มทำการบ้านและเรียนรู้บทเรียนใหม่อาจไม่จำเป็นต้องพยายามจดจ่อมากนัก เนื่องจากพวกเขาจะคุ้นเคยและเคยชินว่าถึงเวลาทำการบ้านแล้ว วิธีนี้ยังช่วยให้เด็กๆ ตั้งใจเรียนได้มากขึ้นอีกด้วย

5. ให้ลูกมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ

การมีกิจกรรมทางกาย หรือการได้ออกกำลังกายบางอย่าง เช่น วิ่งเล่น กระโดดโลดเต้น นอกเวลาการทำการบ้าน หรือแม้แต่ระหว่างพักเบรกจากการทำการบ้าน และงานต่างๆ อาจเป็นวิธีที่ช่วยระบายพลังงานส่วนเกินหรือความตึงเครียดของสมองออกไป วิธีนี้จะช่วยให้เด็กๆ ไม่กระสับกระส่าย ลดความรู้สึกเบื่อหน่ายและช่วยให้โฟกัสกับงานได้ง่ายขึ้นเมื่อต้องกลับมาลงมือทำงานต่อ

วิธีส่งเสริม กิจกรรมทางกาย ช่วยลูกให้แข็งแรง สมองดี!

3 เหตุผลที่พ่อแม่ควรหมั่น ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพ โดย พ่อเอก

ให้ ลูกเล่นเลอะเทอะ บ้างสิดี! เลอะแบบนี้ ดีต่อพัฒนาการ!

6. ให้เด็ก ๆ ได้เล่นสนุก

การมอบหมายให้เด็กๆ ทำงานมากเกินไป หรือใช้เวลาอยู่กับการเรียนและการบ้านมากเกินไป อาจทำให้เด็กๆ รู้สึกเหนื่อยล้า สมองไม่ปลอดโปร่งได้ ในฐานะพ่อแม่คุณควรให้เวลาพวกเขาอย่างเพียงพอสำหรับการได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนานตามวัย เพื่อไม่ให้พวกเขารู้สึกกดดันกับชีวิตมากเกินไป

7. พักผ่อนให้เพียงพอ

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเด็กได้นอนหลับอย่างเพียงพอในตอนกลางคืนและพักผ่อนในระหว่างวันด้วย มีการวิจัยหลายชิ้นที่ เชื่อมโยงถึงเรื่อง การนอนหลับให้เพียงพอส่งผลต่อสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงาน และความรู้ความเข้าใจที่ดีขึ้น

8. กำหนดเวลาสำหรับการบรรลุเป้าหมาย

ตั้งเวลาในการทำเป้าหมายให้สำเร็จ เช่น สิบนาที ยี่สิบนาทีเป็นต้น ซึ่งพ่อแม่อาจบังคับและคอยกระตุ้นให้ลูกโฟกัสเพื่อให้บรรลุเป้าหมายภายในเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตามคุณควรระมัดระวังในเรื่องนี้เนื่องจากเด็กบางคนอาจพบว่าการกำหนดเวลา การมีข้อจำกัดต่างๆ เป็นสิ่งที่กดดันเกินไป และอาจทำให้พวกเขาวิตกกังวลและรบกวนสมาธิได้

ฝึกลูกให้มีสมาธิ

9. ให้ลูกเล่นบอร์ดเกม 

คุณสามารถฝึกและเสริมสร้างความสามารถในการโฟกัสของเด็กโดยให้เด็กๆ เล่นบอร์ดเกมที่ต้องใช้ความคิด มีเกมประเภทนี้มากมายที่หาซื้อได้ในร้านค้าที่ขายเกมสำหรับเด็ก บอร์ดเกมสำหรับเด็กเล็กนั้น จะเป็นบอร์ดเกมที่เน้นการใช้ความคิด และสมาธิ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นไปพร้อมกับลูกๆ ได้ ซึ่การใช้บอร์ดเกมเป็นตัวช่วยเป็นอีกวิธีที่ทำให้เด็ก ๆ ได้ฝึกสมาธิโดยอยู่กับกิจกรรมที่ทำได้ เด็กๆ จะได้ใช้ทั้งใช้สมาธิ การวางแผน และการใช้ความจำผสมผสานความสนุกสนานเข้ากับสมาธิ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ เกิดสมาธิในการทำสิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้นค่ะ

10. ให้เวลาพักก่อนเริ่มงานใหม่

การให้ลูกได้พักเบรกสักครู่หลังจากที่ทำงานชิ้นแรกเสร็จ ระหว่างรอเริ่มงานใหม่ จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกเกิดความรู้สึกเครียดหรือรู้สึกต่อต้าน นอกจากนี้หากคุณต้องการผลลัพธ์ที่ดีขึ้น คุณจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายส่วนตัวคุณต้องปรับปรุงสมาธิของตัวเองก่อน จากนั้นคุณจะสอนลูกของคุณได้ดีขึ้น

ความสามารถในการมีสมาธิและรักษาความสนใจในงานทุกประเภทเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากช่วยให้เด็กเรียนรู้และปรับปรุงซึ่งนำไปสู่ความมั่นใจในตนเอง และความภาคภูมิใจในตนเองในเชิงบวก ตลอดจนสามารถมองโลกในแง่บวกได้จากการมีสมาธิที่ดี เพราะความนิ่งสงบ จะช่วยปรับความคิดเชิงลบให้กลับมาเป็นความคิดบวกได้ ซึ่งเมื่อลูกมีความมั่นใจในการทำสิ่งต่างๆ และมีความภาคภูมิใจในตัวเอง อีกทั้งยังสามารถในการจัดการกับความคิดเชิงลบด้วยการมีสมาธิที่เต็มเปี่ยม จะช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ เกิดทักษะความฉลาดรอบด้านที่สำคัญด้วย Power BQ  ได้หลายด้าน อาทิ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)  , ความฉลาดของการเข้าสังคม (SQ)  และ ความฉลาดในการคิดบวก (OQ) เป็นต้นค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : successconsciousness.com , nelsonrealty.net

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ฝึกสมาธิ ให้ลูกได้ตั้งแต่วัยอนุบาลง๊าย..ง่ายแค่ 4 ขั้นตอน!

ลูกสมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย เริ่มเป็นเด็กก้าวร้าว เพราะติดไอแพด

ลูกไม่นิ่ง ซน อยู่ไม่สุข เข้าข่าย โรคสมาธิสั้น หรือไม่? พ่อแม่ช่วยแก้ยังไง!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up