ทารกนอนนานเสี่ยงน้ำตาลต่ำ

ทารกนอนนานเสี่ยงน้ำตาลต่ำ ต้องปลุกลูกกินนมทุกกี่ชั่วโมง?

Alternative Textaccount_circle
event
ทารกนอนนานเสี่ยงน้ำตาลต่ำ
ทารกนอนนานเสี่ยงน้ำตาลต่ำ

ลูกน้อยนอนนาน แรก ๆ แม่อาจจะรู้สึกดีใจ แต่รู้ไหมว่า ทารกไม่ควรนอนนานเกินไป ทารกนอนนานเสี่ยงน้ำตาลต่ำ จะส่งผลต่อพัฒนาการของทารกได้

ทารกนอนนานเสี่ยงน้ำตาลต่ำ หมั่นปลุกลูกตื่นมากินนมด้วยนะแม่

เมื่อทารกเติบโตขึ้น ลูกอาจจะนอนนานขึ้น ทำให้พ่อแม่โล่งใจได้พักยาว ๆ เสียบ้าง แต่การที่ทารกนอนนานไปก็ไม่ใช่เรื่องดีต่อพัฒนาการของทารก โดยคุณแม่จากเพจคุยกับลูก น้องเพลงพิณ ได้แชร์ประสบการณ์ว่า โครงการฝากลูกไว้กับพ่อ ครั้งแรก ว่าด้วยเรื่อง “6 ออนซ์ จุกๆ นอนยาว 6 ชม.” หมอไม่แนะนำ ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก

คุณแม่เล่าว่า ในวันที่เพลงพิณอายุ 1 เดือน 4 วัน แม่ต้องไปทำกายภาพบำบัด เนื่องจากเจ็บข้อมือ เอ็นอักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง De Quervain’s disease) โรคที่แม่มือใหม่มักจะเป็นกันเพราะการอุ้มลูก วันนั้นจึงฝากลูกให้คุณพ่อช่วยดูแล แล้วปั๊มนมไว้ให้แบ่งใส่ขวดพอดีกิน1 มื้อ (3.5 ออนซ์ ) ที่เหลือเก็บใส่ถุงสต๊อก กะว่าออกไปประมาณ 2-3 ชั่วโมง กินแค่ 1 มื้อพอ จนทำกายภาพเสร็จแล้วโทรกลับมาถามว่าเป็นยังไงบ้าง คุณพ่อบอกว่า ให้นมลูกไป 6 ออนซ์ นมปั๊ม 3.5 ออนซ์ และเสริมนมสต็อก ลูกยังขอกินอยู่

“เคยได้ยินวิธีคำนวณปริมาณน้ำนมสำหรับลูกก็คือ ประมาณ 1 ออนซ์ ต่อ 1 ชั่วโมง วันหนึ่งควรกิน 24 ออนซ์ (+-4 ออนซ์) แล้วลูกนอนไป 6 ชม. ถึงกับช็อค 6 ออนซ์ เลยเหรอ (ภาพในหัวตัดไปตอนที่เคยเลี้ยงหลาน ก็มีให้ Overfeeding ไปเหมือนกัน เพราะเห็นเด็กยังขอกิน) พอถึงบ้านจับลูกเรอยกใหญ่เลย เพราะท้องแน่นมาก”

จนถึงวันนัดพบคุณหมอ คุณแม่ได้เล่าให้คุณหมอฟัง คุณหมอบอกว่า ไม่ควรปล่อยให้ลูกน้อยนอนยาว 6 ชั่วโมง ควรปลุกให้มากินนมทุก 3 ชั่วโมง (อย่าให้เกิน 4 ชั่วโมง) เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่มีกล้ามเนื้อ ไม่มีอาหารสะสม พอเข้าชั่วโมงที่ 4 เป็นต้นไป น้ำตาลในเลือดจะลดลง พอตื่นมาก็จะหิวมาก แต่ที่อันตรายคือ ถ้าน้ำตาลลดจะมีผลต่อพัฒนาการ สรุป 6 ออนซ์ ไม่ใช่ประเด็นหลักของคุณหมอ แต่นอนยาว 6 ชั่วโมง ดูจะอันตรายมากกว่า เลยอยากมาแชร์ประสบการณ์ให้คุณแม่มือใหม่ระวังด้วยนะคะ

คุณแม่ยังเล่าเพิ่มเติมกับแม่ ABK ด้วยว่า น้องเป็นลูกคนแรก แม่ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกว่าอยากจะเลี้ยงเอง ส่วนคนในครอบครัว จะคอยช่วยเหลือ จากเหตุการณ์วันนั้น คุณหมอย้ำว่า ให้กินนมทุก 3-4 ชม. ถ้าลูกหลับยาว เราต้องปลุกมากินเป็นมื้อ ๆ แล้วแต่ละมื้อที่ให้กิน ควรให้กินจนอิ่ม แม่เองก็จะได้ไม่เหนื่อยด้วย ช่วงแรก ๆ น้องตื่นเองทุก 2-3 ชั่วโมง จึงไม่มีปัญหา ตอนที่น้องนอนยาว 4 ชั่วโมง เราก็ดีใจ รู้สึกสบาย ได้นอนยาว มาอีกวัน นอนยาว 6 ชม. เดาว่า มื้อก่อนหน้าคงกินอิ่มมาก ๆ แม่ก็สบายตัว ลูกหลับ แม่ก็หลับ ไม่อยากปลุก พอตื่นมาลูกดูหิวมาก ขอกินนมไม่อิ่มสักทีจนพุงกาง แต่คุณหมอบอกว่า น้องยังตัวเล็ก ไม่มีกล้ามเนื้อเหมือนผู้ใหญ่ ที่จะมีพลังงานสะสม ดึงมาใช้ตอนชั่วโมงปลาย ๆ เพราะฉะนั้น ตอนชั่วโมงที่ 4 ขึ้นไป ค่าน้ำตาลในเลือดจะตก เป็นสาเหตุให้ตื่นมาแล้วหิวมาก กินไม่อิ่ม อาจจะ Overfeeding ได้ ที่สำคัญการขาดน้ำตาลในเลือดยังส่งผลต่อพัฒนาการของลูก นอกจากนี้ การที่เด็กร้องเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ใช่แค่หิวนม พ่อแม่จึงต้องทำความรู้จักกับลูกให้มากขึ้น เพื่อคอยสังเกตว่าที่ลูกร้องเพราะอะไร ถ้าแก้ปัญหาได้ตรงจุดที่ลูกต้องการ ลูกก็จะไม่งอแง

ทารกนอนนานเสี่ยงน้ำตาลต่ำ
ทารกนอนนานเสี่ยงน้ำตาลต่ำ

หากลูกนอนหลับยาว นานเกิน 4 ชั่วโมง คุณแม่สามารถปลุกทารกให้ตื่นขึ้นมากินนมได้ โดยเฉพาะช่วง 2 เดือนแรกของชีวิต

ความเสี่ยงของภาวะน้ำตาลต่ำ

หมอวิน เพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ ได้อธิบายถึงภาวะน้ำตาลต่ำไว้ว่า เด็กก่อน 4 เดือน ยังไม่ควรหลับยาว เสี่ยงต่อการเกิดน้ำตาลต่ำในตอนกลางคืน ในช่วง 2 เดือนแรก หากเด็กนอนยาวเกิน 4 ชั่วโมง ต้องปลุกมาเข้าเต้าหรือกินนม เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ หากน้ำตาลยิ่งต่ำลูกจะยิ่งซึมแล้วหลับยาว ทารกบางรายหลับยาวจนเกิดอาการชักได้ โดยเฉพาะเด็กที่น้ำหนักตัวน้อย

ลูกกินนมแม่มากแค่ไหนถึงจะดี

ทารกแรกเกิดมักจะกินนมแม่บ่อยครั้ง เพราะตื่นบ่อยซึ่งเป็นผลดีกับการกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็ว โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรก ๆ หลังคลอด จึงจำเป็นต้องปลุกลูกขึ้นมากินนม ถ้าลูกนอนนานเกิน 3 ชั่วโมง เพื่อลดปัญหาเต้านมคัดและน้ำนมลดของตัวแม่เอง สำหรับการดูดนมควรให้ทารกดูดนมทั้ง 2 ข้าง เริ่มจากดูดนมเต้าแรกจนเกลี้ยงเต้าก่อนเปลี่ยนข้าง มื้อถัดไปให้ดูดจากเต้าที่สองในมื้อที่ผ่านมา วิธีเข้าเต้าแบบนี้ลูกจะได้รับประโยชน์จากน้ำนมส่วนหน้า ซึ่งมีน้ำและน้ำตาลแล็กโทสมากกว่า รวมถึงน้ำนมส่วนหลัง ซึ่งมีไขมันมากกว่า กรณีที่ลูกอิ่มจากเต้าเดียวให้สลับกินนมจากอีกข้างในมื้อถัดไป

ทารกนอนนานเสี่ยงน้ำตาลต่ำ
ทารกนอนนานเสี่ยงน้ำตาลต่ำ

สำหรับช่วงวัย 1-2 เดือนแรก ทารกควรดูดนมแม่ตอนกลางคืน เพราะน้ำนมส่วนหลัง ซึ่งมีไขมันมากกว่าจะกระตุ้นการสร้างน้ำนมให้มีมากตอนกลางคืน ควรให้ลูกดูดนมมื้อดึกอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยเฉพาะในช่วง 2 – 3 สัปดาห์แรก จะช่วยให้ฮอร์โมนโปรแลกตินในเลือดสูงตลอดเวลา ดีต่อการสร้างน้ำนมแม่ แต่คุณแม่ที่ยังไม่แน่ใจว่า ลูกควรกินนมมากแค่ไหนในแต่ละช่วงวัย ลองมาดูจำนวนออนซ์และความถี่การให้นมที่เหมาะสม ดังนี้

  • ช่วงวัยแรกเกิด-2 เดือน ปริมาณนม 1-3 ออนซ์ต่อครั้ง ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมงหรือ 8-12 ครั้ง รวม 24 ออนซ์ต่อวัน
  • 2-3 เดือน ปริมาณนม 3-4 ออนซ์ต่อครั้ง ทุก ๆ 3-4 ชั่วโมงหรือ 6-8 ครั้ง รวม 24-32 ออนซ์ต่อวัน
  • 3-6 เดือน ปริมาณนม 4-8 ออนซ์ต่อครั้ง ทุก ๆ 3-4 ชั่วโมงหรือ 6-8 ครั้ง รวม 24-32 ออนซ์ต่อวัน
  • 6-7 เดือน ปริมาณนม 6-8 ออนซ์ต่อครั้ง ทุก ๆ 4-5 ชั่วโมงหรือ 5-6 ครั้ง รวม 32 ออนซ์ต่อวัน เริ่มให้อาหารเสริมลูก 1 มื้อ
  • 7-9 เดือน ปริมาณนม 6-8 ออนซ์ต่อครั้ง ทุก ๆ 4-5 ชั่วโมงหรือ 5-6 ครั้ง รวม 32 ออนซ์ต่อวัน เริ่มให้อาหารเสริมลูก 2 มื้อ
  • 9-12 เดือน ปริมาณนม 7-8 ออนซ์ต่อครั้ง ทุก ๆ 4-5 ชั่วโมงหรือ 3-5 ครั้ง รวม 24 ออนซ์ต่อวัน เริ่มให้อาหารเสริมลูก 3มื้อ

พ่อแม่ควรดูแลไม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป พร้อมทั้งคอยสังเกตอาการ Overfeeding เช่น ทารกร้องเสียงดังแอะ ๆ บิดตัวเหยียดแขนขา พุงใหญ่ มีเสียงครืดคราดในคอ หรือแหวะนม ทำให้ลูกไม่สบายตัว หากลูกอาเจียนบ่อย ๆ จะทำให้กรดจากกระเพาะอาหารย้อนออกมาทำให้หลอดอาหารเป็นแผลได้

หากให้นมลูกเป็นประจำในปริมาณที่เหมาะสม ทารกจะเติบโตอย่างแข็งแรง มีพัฒนาการที่สมวัย พ่อแม่จึงต้องดูปริมาณน้ำนมในแต่ละวันว่าเพียงพอหรือไม่ และอย่าลืมจับลูกเรอทุกครั้งเพื่อให้เจ้าตัวน้อยสบายตัวด้วยนะ

อ้างอิงข้อมูล : เพจคุยกับลูก น้องเพลงพิณ, เพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ และ thaibf.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

หมอตอบชัด!!แม่ให้นมกินน้ำอัดลม ชา กาแฟ คาเฟอีนส่งถึงลูกไหม

พุงยุบหุ่นปัง!งานวิจัยเผยแม่ให้นมเผาผลาญ500 แคลอรี่ /วัน

อาการสำลักเข้าปอด ทารกสำลักนม อันตรายถึงชีวิต

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up