เข้าใจ “เดอะวันเดอร์วีค” รับมือลูกงอแงแบบไม่มีสาเหตุ!

Alternative Textaccount_circle
event

เคยไหมคะ? อยู่ ๆ ลูกก็มีพฤติกรรมงอแงแบบไม่มีสาเหตุ ภาวะนี้เรียกว่า The Wonder Weeks (เดอะวันเดอร์วีค) ซึ่งหากพ่อแม่รู้เท่าทันและเข้าใจ ก็จะรับมือกับพฤติกรรมนี้ได้ง่าย ๆ

เข้าใจ “เดอะวันเดอร์วีค” รับมือลูกงอแงแบบไม่มีสาเหตุ!

แม่ ๆ หลาย ๆ คน น่าจะเคยมีประสบการณ์ที่อยู่ ๆ ลูกน้อยก็ร้องไห้แบบไม่มีสาเหตุ งอแงเป็นพิเศษ ตอนกลางคืนก็ไม่ยอมนอน แถมยังตื่นบ่อย ๆ พอดูดนมแล้วซักพักก็ร้องอีก นมก็ทานจนอิ่มแล้ว ผ้าอ้อมก็ไม่ได้เปียกชื้น ดูแล้วก็ไม่น่าจะปวดท้องหรือไม่สบาย แล้วเป็นเพราะอะไรนะ ลูกถึงอยู่ ๆ ก็งอแงแบบไม่มีสาเหตุ? ทีมแม่ ABK ขอนำบทความจากนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน Dr. Franciscus Xaverius (Frans) Plooij และ Dr. Hetty van de Rijt ที่ได้ศึกษาพฤติกรรมของเด็กแรกเกิดจนถึงขวบปีแรก และเรียกภาวะที่อยู่ ๆ ลูกน้อยก็งอแงนี้ว่า The Wonder Weeks (เดอะวันเดอร์วีค)

The Wonder Weeks คืออะไร?

ทารกทุกคนต้องผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบาก การวิจัยพบว่า ทารกมีการเปลี่ยนแปลงทางสมองที่สำคัญ 10 ขั้น ตั้งแต่แรกเกิด – 20 เดือนแรกของชีวิต ในช่วงเวลานี้ พวกเขาจะได้เรียนรู้มากกว่าครั้งอื่น ๆ ในการก้าวกระโดดแต่ละครั้งพัฒนาการทางจิตใจของลูกน้อยจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากซึ่งส่งผลต่อผลต่อสุขภาพ สติปัญญา รูปแบบการนอนของเขาและอารมณ์ของลูกน้อย

The Wonder Weeks (เดอะวันเดอร์วีค) ก็คือช่วงเวลาที่ทารกมีการเปลี่ยนแปลงทางสมองและพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเด็กทารกวัยแรกเกิด – 1 ขวบจะมีการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการอย่างเร็วมาก ๆ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ ก็จะรู้สึกตื่นเต้นที่ลูกสามารถชันคอได้ หยิบจับได้ นั่งได้ พลิกคว่ำได้ แต่สำหรับลูกน้อย การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้ทารกรู้สึกตกใจที่เมื่อตื่นมาแล้วสภาพแวดล้อมอยู่ ๆ เปลี่ยนไป (จริง ๆ แล้วสภาพแวดล้อมไม่ได้เปลี่ยนไปแต่อย่างใด แต่เป็นที่สมองและความรู้สึกของลูกต่างหากที่เปลี่ยนไป) ทำให้ลูกเข้าใจโลกในมุมที่ต่างออกไป ทำให้ลูกน้อยงอแงเป็นพิเศษที่อยู่ ๆ ก็เจอสิ่งที่ตนเองไม่คุ้นชิน

The Wonder Weeks
The Wonder Weeks

อย่างไรก็ตามช่วงพัฒนาการก้าวกระโดด (Leap) หรือ เดอะวันเดอร์วีค นี้จะอยู่เพียงไม่นาน เมื่อหมดสัปดาห์ลูกน้อยก็ควรที่จะกลับมามีกิจวัตรตามปกติ ซึ่ง Dr. Franciscus Xaverius (Frans) Plooij และ Dr. Hetty van de Rijt ก็ได้แบ่งช่วงพัฒนาการก้าวกระโดด (Leap) ออกเป็น 10 Leap ดังนี้

Mental Leap 1 – การเปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก

ในช่วงสัปดาห์ที่ 4 – 5 หลังคลอด คุณพ่อคุณแม่จะเห็นได้ว่าทารกน้อยเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งพ่อแม่และลูกน้อยได้ทำความรู้จักซึ่งกันและกันบ้างแล้ว ในช่วงนี้ ทารกจะมีประสาทสัมผัสที่ดีขึ้นกว่าเดิม จะสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ชัดเจนขึ้น มีประสาทสัมผัสที่ไวขึ้น

Mental Leap 2 – ค้นพบรูปแบบใหม่

เมื่อลูกอายุได้ 8 สัปดาห์ ลูกน้อยจะเริ่มสัมผัสโลกในรูปแบบใหม่ ๆ เขาจะสามารถจดจำรูปแบบง่าย ๆ ในโลกรอบตัวเขาและในร่างกายของเขาเองได้ เช่น ลูกอาจค้นพบมือและเท้าของตัวเอง และใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อฝึกฝนทักษะในการควบคุมท่าทางของแขนหรือขา หรือลูกอาจจะตื่นตาตื่นใจกับแสงที่ส่องเงาบนผนังห้องนอนอย่างไม่รู้จบ คุณอาจสังเกตเห็นลูกน้อยศึกษารายละเอียดของกระป๋องบนชั้นวางของในร้านขายของชำหรือฟังเสียงตัวเองที่เปล่งออกมาสั้น ๆ เช่น อ่า เอ่อ เอ่อ เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้ คือสัญญาณการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการพัฒนาจิตใจของทารก การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้เขาได้เรียนรู้ทักษะชุดใหม่ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือให้ความช่วยเหลือและให้กำลังใจกับลูกน้อย เพื่อให้ลูกน้อยไม่ตกใจกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

Mental Leap 3 – โลกแห่งการเปลี่ยนผ่าน

การก้าวกระโดดครั้งใหญ่ครั้งที่ 3 ในชีวิตของลูกน้อยจะเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ 11 – 12 ใน Leap ที่ 2 ลูกจะทำได้แค่เพียงเตะหรือขยับแขนขาไปมาได้ แต่ในช่วงนี้ ลูกจะเริ่มทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น ขยับตัวดุ๊กดิ๊กเหมือนตุ๊กตา สามารถกำของเล่นกรุ๊งกริ้งและเขย่าได้ ในช่วงนี้เด็กจะสามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวจากประสาทสัมผัสได้ดี เช่น เสียงดังเบา เสียงแมวกระโดดข้ามพื้น แสงในห้องที่หรี่ลงเมื่อดวงอาทิตย์ลับหลังก้อนเมฆ เป็นต้น

Mental Leap 4 – รับรู้ถึงเหตุการณ์

เมื่อลูกอายุได้ 19 สัปดาห์ (หรือ 18 – 20 สัปดาห์) ในการก้าวกระโดดครั้งที่แล้ว ลูกน้อยสามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงแบบง่าย ๆ ของเสียง การเคลื่อนไหว แสง รส กลิ่น และเนื้อสัมผัส แต่การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเหล่านี้ต้องเป็นแบบง่าย ๆ เท่านั้น ทันทีที่สิ่งเหล่านี้ซับซ้อนขึ้น ลูกก็จะตามไม่ทัน แต่ในการก้าวกระโดดครั้งนี้ ลูกจะสามารถเข้าใจและลำดับเหตุการณ์ได้ดีขึ้น เช่นเมื่อลูกบอลหล่นลงพื้น บอลก็จะกระเด้งขึ้นมา หรือ เมื่อมีคนกระโดดขึ้น สักพักก็จะลงมาอยู่ที่พื้น เป็นต้น ในช่วงนี้ ลูกจึงเริ่มทดลองทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อสังเกตุปฎิกิริยาของสิ่ง ๆ นั้น หรือปฎิกิริยาของคุณพ่อคุณแม่ จะสังเกตได้จากเมื่อลูกน้อยทำเสียงใดเสียงหนึ่ง แล้วเราแกล้งตกใจ ลูกจะรู้สึกสนุกกับมัน

Mental Leap 5 – เข้าใจความสัมพันธ์

ประมาณ 26 สัปดาห์หลังคลอด ลูกน้อยของคุณจะเริ่มแสดงสัญญาณของการก้าวกระโดดครั้งสำคัญอีกครั้ง หากคุณสังเกตอย่างใกล้ชิด คุณจะเห็นเขาทำหรือพยายามทำสิ่งใหม่ ๆ มากมาย ไม่ว่าเขาจะคลานได้ในขั้นนี้หรือไม่ก็ตามเขาจะมีความคล่องตัวมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในขณะที่เขาเรียนรู้ที่จะประสานการทำงานของแขนและขาและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย จากความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ตอนนี้เขาสามารถเริ่ม เข้าใจความสัมพันธ์หลายประเภทระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่ประกอบเป็นโลกของเขา

ความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ลูกน้อยของคุณสามารถรับรู้ได้ในขณะนี้ คือ ระยะห่างระหว่างสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง เราถือว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องทั่วไป แต่สำหรับทารก การค้นพบนี้น่าตกใจในโลกของเขา

Mental Leap 6 – จัดระเบียบความคิด

ในช่วงสัปดาห์ที่ 37 (หรือระหว่างสัปดาห์ที่ 36-40) คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นลูกน้อยของคุณพยายามทำสิ่งใหม่ ๆ ลูกจะเริ่มสำรวจสิ่งต่าง ๆ เช่น หยิบจุดเล็ก ๆ ขึ้นมาจากพื้นแล้วตรวจดูอย่างระมัดระวังระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ หรือลองบีบกล้วยหรืออาหารด้วยนิ้วเล็ก ๆ ตอนนี้ลูกน้อยของคุณสามารถรับรู้ได้ว่าวัตถุ ความรู้สึก สัตว์ และคนบางอย่างอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นหมวดหมู่ ตัวอย่างเช่น กล้วยมีลักษณะ สัมผัส และรสชาติที่แตกต่างจากผักโขมแต่เป็นอาหาร

ลูกงอแง
ลูกงอแง

Mental Leap 7 – เรียนรู้ที่จะจัดลำดับ

เป็นที่รู้กันดีว่าตามธรรมชาติของเด็กน้อย มักจะชอบทำเรื่องยุ่ง ก่อนหน้านี้ ลูกจะชอบแยกชิ้นส่วน โยนสิ่งต่าง ๆ ไปรอบ ๆ และบีบทุกอย่างที่ขวางหน้า แต่ในช่วงสัปดาห์ที่ 46 นี้ ลูกจะเริ่มทำสิ่งที่ตรงกันข้าม ลูกจะเริ่มนำสิ่งต่าง ๆ มาต่อกัน รวมกัน และจะเริ่มเรียนรู้ลำดับขั้นตอน ว่าควรทำสิ่งใดก่อนถึงสิ่งใดหลัง เช่น จะตักอาหารเข้าปาก ต้องจับช้อน เอาช้อนวางลงไปในถ้วยแล้วตักอาหาร แล้วเอาช้อนเข้าปาก เป็นต้น

Mental Leap 8 – The World of Programs

ในช่วงนี้ลูกจะมีอายุได้ 55 สัปดาห์ หรือประมาณ 13 เดือน พัฒนาการทางด้านร่างกาย จะเริ่มฝึกเดิน เดินได้ แต่ในทางความคิด ลูกจะเริ่มรู้ว่าจะต้องจัดการกับแนวคิดเรื่องการจัดลำดับอย่างไร จะเข้าใจว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัวมีขั้นตอนของมัน

Mental Leap 9 – เรียนรู้หลักการ

อายุ 64 สัปดาห์ ลูกจะเริ่มมีความเข้าใจในเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัวมากขึ้น เริ่มทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้

  • ทำความคุ้นเคยกับสิ่งต่าง ๆ นอกบ้าน
  • เริ่มชำนาญเรื่องภาษามากขึ้น
  • รู้จักเลียนแบบคนอื่น
  • เล่นสวมบทบาทในชีวิตประจำวัน
  • ฝึกควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น
  • รู้จักวางแผน
  • เริ่มสั่งให้ทำตามที่ตนเองต้องการ
  • มีความดราม่ามากขึ้น
  • เริ่มเรียกร้องความสนใจ
  • สามารถแยกความแตกต่างระหว่างของของตนเองและของของคนอื่น
  • เริ่มเข้าข้างแม่
  • รู้จักการเจรจาและต่อรอง
  • เริ่มทดลองด้วยคำว่า “ใช่” และ “ไม่ใช่”
  • รู้วิธีหาใครมาทำสิ่งต่าง ๆ ให้
  • เรียนรู้ที่จะทำบางสิ่งบางอย่างร่วมกัน
  • ต้องการช่วยงานบ้าน

Mental Leap 10 – เรียนรู้ระบบ

ด้วยการก้าวกระโดดครั้งที่ 10 เมื่ออายุ 75 สัปดาห์ (17 เดือน) เด็กวัยหัดเดินจะได้รับความสามารถใหม่ในการรับรู้และจัดการกับ “ระบบ” ลูกจะเริ่มเข้าใจด้วยว่าเขาสามารถเลือกได้ว่าเขาอยากเป็นแบบไหน เช่น ซื่อสัตย์ มีน้ำใจ อดทน  เป็นต้น หรือเขาอาจจะเลือกที่จะเป็นตรงกันข้ามก็ได้ จากจุดนี้ คุณพ่อคุณแม่จะเห็นว่าลูกพัฒนาในเรื่องของความรู้สึกผิดชอบชั่วดีโดยการรักษาค่านิยมและบรรทัดฐานของเขาอย่างเป็นระบบ

รู้สาเหตุกันแล้วใช่ไหมล่ะคะ ว่าในบางครั้งทำไมลูกถึงร้องไห้งอแงแบบไม่มีสาเหตุ ลองสังเกตดูนะคะว่าช่วงที่ลูกงอแง อยู่ในช่วง เดอะวันเดอร์วีค ตามที่ได้กล่าวข้างต้นหรือไม่ หากอยู่ในช่วง เดอะวันเดอร์วีค ก็สามารถเข้าใจได้ว่าที่ลูกงอแงเพราะอะไร สิ่งที่ควรทำคือคอยปลอบให้ลูกไม่ตกใจกลัวสิ่งใหม่ ๆ ที่ลูกต้องเผชิญอยู่ลำพังนั่นเองค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

8 วิธี “กระตุ้นสมอง” ทารกแรกเกิด ยิ่งทำลูกยิ่งฉลาด

นี่คือสายตาของเด็กทารกที่มองเห็นพ่อแม่ในแต่ละเดือน จนถึงอายุ 1 ขวบ

ของเล่นเสริมพัฒนาการ เด็กแรกเกิด-6 เดือน แบบไหนเหมาะกับวัยลูก?

ถอดรหัส 18 ภาษาทารก ลูกร้องแบบนี้..แปลว่าอะไรนะ?

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.thewonderweeks.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up