รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี ตีลูกดีไหม

รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี เป็นภัยต่อพัฒนาการลูกลงโทษแบบไหนถึงดี

Alternative Textaccount_circle
event
รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี ตีลูกดีไหม
รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี ตีลูกดีไหม

รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี เมื่อการตีมีข้อเสียต่อพัฒนาการลูก ยังอยากสอนเขาด้วยการตีอีกไหม มาดูวิธีการสอนแบบไม่ตี ได้ดีเหมือนกัน วิธีดีๆเพื่อลูก

รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี เป็นภัยต่อพัฒนาการลูก แล้วลงโทษแบบไหนถึงดี!!

เมื่อผู้เชื่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็กแนะ สุภาษิต ” รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี ” อาจใช้ไม่ได้กับยุคปัจจุบัน การตี การลงโทษที่รุนแรงส่งผลต่อพัฒนาการของลูก ซ้ำร้ายยังมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของเขาไปยันโต

ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็ก เผยว่า การตีเด็ก คิดง่ายๆ ก็เหมือนการใช้ยาฆ่าหญ้า มันได้ผลทันที เด็กหยุดกระทำผิด แต่ก็เหมือนยาพิษ ต้องใช้บ่อยๆ และสะสมเยอะกัดกินจิตใจเขา หมอเองทำงานด้านบำบัดเจอคนไข้รายหนึ่งอายุ 40 ปีแล้ว เป็นโรคซึมเศร้า เพราะถูกพ่อตีตั้งแต่เด็ก เขาหวาดกลัวตลอด และก็ไปตีสามีของเขาอีก เป็นวงจรต่อไป จากการวิจัยพบว่าเด็กที่ได้รับความรุนแรงจะล้มเหลวด้านบุคลิกภาพ ซึมเศร้า บางรายถึงกับฆ่าตัวตาย ทำให้เด็กมีการเรียนรู้ที่ผิดตั้งแต่เล็กด้วย

รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี ดีจริงหรือ
รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี ดีจริงหรือ

สมองส่วนคิดวิเคราะห์ พัฒนาเต็มที่ในวัย 25 ปี!!

เรามาทำความเข้าใจกับพัฒนาการของเด็ก จากคำแนะนำของ พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร หรือหมอโอ๋ กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยว่า ต้องเข้าใจก่อนว่าในช่วงเด็ก สมองส่วนอารมณ์ของเราจะทำงานเร็ว เด็กใช้อารมณ์ตอบโต้กับสิ่งที่เข้ามาในชีวิตเขา แต่สมองส่วนคิดวิเคราะห์ การใช้เหตุผลจะยังไม่พัฒนามาก จะเต็มที่ในวัย 25 ปี การคาดหวังให้ลูกทำอะไรที่เกินวัยเป็นสิ่งที่ไม่เป็นไปตามพัฒนาการสมอง เหมือนให้เขาทำอะไรเกินข้อจำกัดไป

“ในวัยเด็ก สมองส่วนอารมณ์จะต่อสู้ในสถานการณ์ต่างๆ กันไป หากเด็กสู้บ่อยๆ โตมาก็จะเป็นคนใช้ความรุนแรง หากเด็กหนีก็จะเป็นคนปกปิดความผิด หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า และถ้าเด็กยอม นั่นก็เพราะว่าเขากลัว เขาจะติดกับความรู้สึกกลัว มองว่าตนขี้แพ้ สู้ใครก็ไม่ได้ ทั้งหมดส่งผลต่อบุคลิกภาพของเขาตอนโต ซึ่งการที่สมองส่วนอารมณ์ทำงานก็จะกระตุ้นส่วนอารมณ์มากกว่าความคิด ครอบครัวและครูอาจต้องมีสติและความยับยั้งชั่งใจ ก่อนที่ความเคยชินจะทำร้ายลูกๆ”

รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี ⇒ รักวัวให้ผูก รักลูกให้…

จากงานวิจัยที่สำรวจในพื้นที่ 4 จังหวัดโดยองค์การช่วยเหลือเด็ก พบว่าพ่อแม่มากกว่าร้อยละ 79 ตีลูกของตน โดยส่วนใหญ่เชื่อว่าการตีเด็ก และทำให้อายเพียงเล็กน้อย สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมโดยไม่ทำให้เด็กเจ็บปวด ขณะที่พ่อแม่กว่าร้อยละ 66.9 เชื่อว่าการลงโทษทางกายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย และครอบครัวมากกว่าร้อยละ 67 เชื่อว่าครูมีสิทธิทางกฎหมายในการตีเด็กที่มือได้ พ่อแม่ร้อยละ 78.9 ยังเห็นด้วยว่าการขู่ให้เด็กกลัวเป็นเครื่องมือในการลงโทษที่ดี และพ่อแม่สามารถทำได้ ขัดกันกับความคิดเห็นของเด็กส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 60.8 ที่อยากให้พ่อแม่พูดกับเขาดีๆ อธิบายถึงเหตุผลที่ทำผิดมากกว่าการลงโทษ

เมื่อผลสำรวจออกมาแล้วพบว่า ผู้ใหญ่ พ่อแม่ยังคงเห็นความสำคัญของการ “ตี” ว่าเป็นการสั่งสอนที่สามารถทำให้ลูกดีขึ้นได้ ในขณะที่เด็กไม่เข้าใจความหมายของการตี การลงโทษที่รุนแรงของผู้ใหญ่ เด็กอยากให้อธิบายเหตุผล สอน หรือพูดดี ๆ เสียมากกว่า ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าตี หรือไม่ตี แต่อยู่ที่ว่า ตีอย่างไร??

การลงโทษเด็กที่รุนแรง ส่งผลต่อพัฒนาการ
การลงโทษเด็กที่รุนแรง ส่งผลต่อพัฒนาการ

เมื่อไหร่ที่ควร ตี หรือลงโทษลูก

พฤติกรรมที่เป็นปัญหาร้ายแรง ที่ต้องทำการหยุดพฤติกรรมนั้นอย่างทันที คือ กรณีทำร้ายตัวเอง ทำร้ายคนอื่น และการทำลายข้าวของ ทั้ง 3 พฤติกรรมนี้ พ่อแม่สามารถเลือกใช้การตีได้ แต่ต้องไม่ใช่การตีด้วยอารมณ์โกรธ หรือฉุนเฉียว แต่เป็นการตีจากความรัก ความปรารถนาดี พร้อมอธิบายถึงเหตุผลให้เด็กเข้าใจ

รูปแบบในการตีเด็กที่เหมาะสม

  • ไม่ควรตบหน้า
  • ไม่ใช้การตีด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นการทำร้ายเด็ก เช่น ไม้เรียว ไม้แขวนผ้า เข็มขัด เป็นต้น
  • แนะนำให้ใช้มือตีมือของเด็ก ทำให้สามารถประมาณน้ำหนักมือได้
  • สีหน้าท่าทางต้องจริงจัง ไม่ใช่เกรี้ยวกราด อาละวาด ด่าทอ ต้องมีท่าทีที่หนักแน่น
  • บอกถึงเหตุผลในการตี ว่าพ่อแม่เองก็ไม่ได้มีความสุขที่ต้องตีเขา และการกระทำใดที่ลูกต้องได้รับโทษ

มาถึงจุดนี้ คุณพ่อคุณแม่คงเริ่มเข้าใจแล้วว่า การตีลูก นั้น ไม่ใช่วิธีเดียวที่จะปรับพฤติกรรมเจ้าจอมดื้อ จอมซน ให้กลับมามีพฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับ การลงโทษทำให้เด็กติดลบทั้ง IQ (Intelligence Quatient) TQ (Thinking Quatient) และ EQ (Emotion Quatient)

จำกัดเวลาเล่น อีกหนึ่งการลงโทษที่ไม่มีไม้เรียว
จำกัดเวลาเล่น อีกหนึ่งการลงโทษที่ไม่มีไม้เรียว

ตีลูกได้ตั้งแต่อายุกี่ขวบ ?

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข  กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับรับรู้เหตุและผลของเด็ก โดยทั่วไปเด็กอายุก่อน 3 ขวบ ไม่เคยนึกถึงวิธีการตี เพราะส่วนใหญ่เด็กที่ไม่รู้ความ การสื่อสารยังเป็นข้อจำกัดอยู่ การตีเป็นสิ่งที่รุนแรงเกินไป เด็กยังไม่รู้เรื่องเหตุและผล ยังไร้เดียงสาอยู่ เช่น เด็กเอามือไปแหย่ปลั๊กไฟ จะบอกว่าเด็กทำร้ายตัวเองคงไม่ใช่ แต่เด็กที่เริ่มเข้าใจเหตุและผลบ้างแล้วประมาณ 3 ขวบ การที่เขาไปตีเด็กคนอื่นเพื่อแย่งชิงสิ่งของ ก็ควรถูกห้ามด้วยสายตาที่จริงจัง ขึงขัง และบอกว่า ถ้าหนูตีเพื่อนหนูถูกตี เด็กก็จะเรียนรู้ว่าทำไม่ได้ แต่ถ้าเด็กโมโหเอาหัวโขกฝา ทึ้งผมตัวเอง ก็ต้องจับมือเขารวบแน่น ๆ และสบตาบอกเขาว่า หนูทำตัวเองเจ็บไม่ได้ เพราะแม่เสียใจ หนูถูกตี ทำท่าตีมือให้เขารู้ว่าต้องโดนตีแบบนี้ ซึ่งการตีที่มือน้อยกว่าที่เด็กทำร้ายตัวเอง มันเป็นสัญลักษณ์การลงโทษ

อ่านต่อ >>ถ้าไม่ตี แล้วจะสอนอย่างไรให้ได้ดี คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up