พัฒนาการลูก

หยุด!! เปรียบเทียบ พัฒนาการลูก ส่งเสริม-เข้าใจ ลูกโตตามวัยแบบแฮปปี้

Alternative Textaccount_circle
event
พัฒนาการลูก
พัฒนาการลูก

คุณพ่อ คุณแม่ หลายคนมักจะวิตกกังวลเกี่ยวกับ พัฒนาการลูก การเจริญเติบโตของลูกน้อย และมีหลายคนที่มักจะเปรียบเทียบ พัฒนาการลูก กับเด็กคนอื่นๆ เมื่อเห็นว่าเด็กในรุ่นราวคราวเดียวกันสามารถพูดได้ หรือเดินได้แล้ว ในขณะที่ลูกของเรายังไม่สามารถทำอะไรได้ เหตุผลสำคัญคืออะไร เรามีคำตอบ

หยุด!! เปรียบเทียบ พัฒนาการลูก

ส่งเสริม-เข้าใจ ลูกโตตามวัยแบบแฮปปี้

พัฒนาการลูก ทำไมไม่ควรเปรียบเทียบ?

มีคุณแม่จากทางบ้าน สอบถามมากับทีมกองบรรณาธิการ ABK ว่าอยากจะเลิกเปรียบเทียบลูกของตัวเองกับลูกของคนอื่นเสียที โดยเฉพาะเวลาที่เข้าไปดูในอินเทอร์เน็ต บ่อยครั้งที่คุณแม่ต้องชะงักทันที เมื่อได้ไปอ่านเจอว่าลูกของคนอื่นทำโน่นได้ ทำนี่ได้ ก่อนลูกของเราด้วยซ้ำ จริงอยู่ว่าอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์ในการให้ความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ในการเลี้ยงลูก แต่ก็นำไปสู่การเปรียบเทียบโดยที่คุณแม่เองก็ไม่ได้ตั้งใจ หากคุณแม่ยังต้องการที่จะใช้อินเทอร์เน็ต หรือเว็บไซต์ต่างๆ เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ในการเลี้ยงลูกต่อไป แม่น้องเล็กมีข้อเตือนใจเกี่ยวกับ พัฒนาการลูก มาฝากค่ะ

1. เด็กทุกคนล้วนต่างกัน

ไม่ว่าคุณแม่จะได้รู้ ได้เห็นอะไรในโลกออนไลน์ ความจริงที่ว่า “เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการ แต่เร็วช้า คล้ายและต่างในเส้นทางของตัวเอง” ก็ยังคงเป็นเช่นนั้น เช่น ทารกคนหนึ่งอาจคลานเอาๆ และชอบปีนป่าย แต่ก็ไม่ค่อยได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก (นิ้วมือ) หยิบจับสิ่งของ ขณะที่ทารกอีกคน (อายุเท่ากัน) ชอบสำรวจมือตัวเองมากและชอบใช้มือหยิบจับไปทุกสิ่งโดยไม่สนใจจะคลานเลย ก็ถือว่าเด็กทั้งคู่มีพัฒนาการที่ก้าวหน้าเหมือนกัน สิ่งสำคัญที่คุณพ่อ คุณแม่ควรดูคือ ลูกของคุณมีพัฒนาการที่ก้าวหน้า ไม่หยุดนิ่ง หรือถดถอย

พัฒนาการลูกน้อย
เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการ แต่เร็วช้า คล้ายและต่างในเส้นทางของตัวเอง

2. ให้ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเป็นเพียง “แนวทาง”

หากจะใช้ข้อมูลพัฒนาการด้านต่างๆ จากอินเทอร์เน็ต ควรใช้เป็นแนวทางให้รู้ลักษณะและทิศทางโดยรวมของพัฒนาการนั้น เช่น เด็กอายุ 1 ขวบ 6 เดือนคนหนึ่งอาจพูดได้ 100 คำ ขณะที่อีกคนพูดได้เพียง 10 คำ แต่ใช้ภาษาท่าทางสื่อสารได้ดีมาก เด็กทั้งสองคนนี้ก็มีพัฒนาการปกติเหมือนกัน

ประโยชน์ของข้อมูลพัฒนาการต่างๆ คือ การให้ข้อมูลไว้เป็นช่วง (เช่น ระหว่างอายุ 1 ขวบ 6 เดือนถึง 2 ขวบเด็กในช่วงวัยนี้จะพูดได้มากขึ้นๆ) เพื่อให้คุณพ่อ คุณแม่นำไปดูความก้าวหน้าของลูก มากกว่าการเจาะจงไล่ตามให้ได้ตามจำนวนต่างๆ ที่บอกไว้อย่างเอาเป็นเอาตาย สิ่งสำคัญที่สุด คือ หากคุณพ่อ คุณแม่กังวลเรื่องพัฒนาการของลูกมาก ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญดีกว่าค่ะ

อ่าน “ดูแลสุขภาพอนามัยส่งเสริมพัฒนาการลูก” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up