ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a ระบาดหมอชี้มีโอกาสติดเชื้อพร้อมโควิด

Alternative Textaccount_circle
event
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a

หมอมนูญเตือนพบสัญญาณการระบาดของ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a อาการใกล้เคียงโควิด หรือบางคนอาจติดเชื้อทั้ง 2 เชื้อพร้อมกันได้ แนะรีบฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยได้

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a ระบาด หมอชี้มีโอกาสติดเชื้อพร้อมโควิด!!

นายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ได้ส่งสัญญาณเตือนผ่านข้อความเฟซบุ๊ก “หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC” ไว้เกี่ยวกับการกลับมาระบาดใหม่ของ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a ที่น่ากังวลดังนี้

สัญญาณเตือนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A กำลังกลับมาระบาดใหม่ หลังจากว่างเว้นไปมากกว่า 2 ปี ทำให้ภูมิคุ้มกันของคนไทยส่วนใหญ่ต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ลดลงตามเวลา เนื่องจากไม่ได้รับเชื้อตามธรรมชาติและคนจำนวนมากไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี ขอให้คนกลุ่มเสี่ยง คนสูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัว เด็กเล็ก และหญิงตั้งครรภ์ รีบไปรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่โดยเร็ว

คนที่มีอาการสงสัยโรคโควิด มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ต่อไปนี้ต้องตรวจหาทั้งไวรัสโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่พร้อมกัน บางคนอาจติดเชื้อไวรัส 2 เชื้อในเวลาเดียวกัน (ดูรูป) ถ้าตรวจพบเชื้อไข้หวัดใหญ่ รีบให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ทันที
ผู้ป่วยหญิงอายุ 75 ปีมีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง มาพบแพทย์วันที่ 18 พฤษภาคม 2565 ด้วยไข้ 1 วัน ไอ มีเสมหะ เจ็บคอบ้าง ไม่มีน้ำมูก มึนหัว คลื่นไส้ 4 วัน อยู่บ้านเดียวกับหลานอายุ 7 ,9 ,10 ขวบ หลานทั้ง 3 คนทยอยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม
ตรวจร่างกาย ไม่มีไข้ ระดับออกซิเจนปกติ เอกซเรย์ปกติ ตรวจล้วงจมูกส่งตรวจแบบให้ผลเร็ว พบไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ตรวจ ATK สำหรับโควิด-19 ให้ผลลบ
วินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ Baloxavir กิน 2 เม็ดทันที
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2565 มีอีก 1 ครอบครัวติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เหมือนกัน
เพจหมอมนูญเตือนระวังการระบาด ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a
เพจหมอมนูญเตือนระวังการระบาด ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a
จากประเด็นข้อน่ากังวลของคุณหมอมนูญที่ส่งสัญญาณเตือนให้เราเตรียมตัวรับมือกับการระบาดใหม่ของ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a นั้น ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่กันเสียก่อนว่า มีกี่สายพันธุ์ และมีอาการแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ทำความรู้จัก โรคไข้หวัดใหญ่!!

โรคไข้หวัดใหญ่ หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ Influenza เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) มีผลต่อระบบทางเดินหายใจอย่างจมูก คอ หลอดลม อาจลามไปถึงปอดด้วยเช่นกัน ไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยคนหนึ่งสู่ผู้ป่วยอีกคนหนึ่งผ่านละอองฝอย น้ำลาย หรือเสมหะ รวมถึงการใช้ของร่วมกันของผู้ป่วย ไข้หวัดใหญ่มีความแตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาตรงที่มีความรุนแรงมากกว่า หากมีอาการหนักอาจถึงแก่ชีวิตได้

ไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบันมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ นั่นก็คือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A, B และ C ตามลำดับ

  • ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A: เชื้อไวรัสที่เกิดจากสัตว์ปีกอย่างนก ไก่ ทำให้ไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อจากสัตว์ไปสู่คน และคนสู่คนต่อไปเรื่อยๆ มีอาการเจ็บป่วยรุนแรง และอันตรายที่สุด เช่น เชื้อไวรัส H1N1
  • ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B: เชื้อไวรัสที่พบได้เฉพาะคน การติดต่อก็จะเกิดจากคนสู่คนด้วยกัน มักมีการแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาว มีอาการที่รุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์ A เช่น เชื้อไวรัสสายพันธุ์ B/Yamagata
  • ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ C: อีกหนึ่งเชื้อไวรัสที่เกิดจากคน แต่ไม่ค่อยแสดงอาการและไม่มีการแพร่ระบาดในหมู่คน แพทย์จึงไม่ให้ความสนใจกับเชื้อไวรัสชนิดนี้มากนัก

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a : สายพันธุ์ที่อันตรายที่สุด!!

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N1 เกิดจากการผสมผสานของไวรัสสายพันธุ์ของคน หมู และนก ไม่เป็นที่ปรากฏว่าเชื้อนี้ได้เริ่มติดในคนเป็นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อใด แต่เมื่อมีการระบาดเกิดขึ้นแล้ว พบว่าเป็นการแพร่กระจาย และติดต่อจากคนสู่คน เริ่มพบที่ประเทศเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ออกไปอีกหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย

ป้องกัน ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a หมั่นล้างมือ
ป้องกัน ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a หมั่นล้างมือ

แพร่เชื้ออย่างไร?

เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ  โดยการไอจามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือ หรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู  โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก

  • ผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย
  • ช่วง 3 วันแรก จะแพร่เชื้อได้มากสุด
  • และระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน

อาการที่น่าสงสัยว่าป่วย

  1. ระบบทางเดินหายใจมีความผิดปกติ อาทิ น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ
  2. ไข้ขึ้นสูง ประมาณ 38 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า
  3. อาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วยในผู้ป่วยบางราย
  4. ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว โดยเฉพาะโรคปอด โรคหัวใจ โรคเรื้อรังต่างๆ อาจส่งผลให้เกิดอาการปอดบวม หัวใจวาย และเสียชีวิตได้

โรคนี้รักษาได้ไหม?

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือยาโอลเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir)เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาดี ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำ ๆ และยังรับประทานอาหารได้ อาจไปพบแพทย์ที่คลินิก  หรือรับยา และขอคำแนะนำจากเภสัชกรใกล้บ้าน และดูแลรักษากันเองที่บ้าน โดยมีข้อควรปฎิบัติ ดังนี้

  • รับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ เป็นต้น
  • เช็ดตัวลดไข้เป็นระยะ ด้วยน้ำสะอาด ไม่เย็น
  • ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็น
  • พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มากพอ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น หากรับประทานอาหารได้น้อย อาจต้องได้รับวิตามินเสริม
  • นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี
  • ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งต้องรับประทานยาจนหมดตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ดื้อยา

    มีโอกาสติดเชื้อ 2 เชื้อ ทั้ง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a และโควิด19
    มีโอกาสติดเชื้อ 2 เชื้อ ทั้ง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a และโควิด19

ป้องกันอย่างไร?

  • รักษาร่างกายให้แข็งแแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งไข่ นม ผัก และผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงบุหรี่และสุรา
  • ล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ ใน ที่สาธารณะ
  • หลีกเลี่ยงการพบปะกับคนที่กำลังป่วย หรือเป็นหวัด
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝูงชนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า
  • หากป่วยควรเก็บตัวอยู่บ้าน และใส่หน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อให้กับคนในบ้าน
  • ปิดปาก และจมูกเวลาไอหรือจามด้วยกระดาษทิชชู่ แล้วทิ้งขยะทันที หรือใช้ผ้าเช็ดหน้าซึ่งจะใช้ซ้ำได้ 2-3 ครั้ง โดยกลับด้านสะอาดขึ้นมาใหม่ (ในกรณีที่ไม่มีกระดาษทิชชู่ ควรปิดปากและจมูกด้วยต้นแขนเสื้อ) เพื่อไม่ให้เชื้อโรคสัมผัสกับมือหรือแพร่กระจายในอากาศ
  • ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง  เมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ  ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น  โดยเฉพาะผู้ป่วย ไข้หวัดใหญ่
  • ไม่ควรกินยาแอสไพรินเองก่อนปรึกษาแพทย์ เนื่องจากยาจะออกฤทธิ์รบกวนการทำงานของเกล็ดเลือด

สร้างภูมิคุ้มกัน ลดเสี่ยงด้วยวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์

“ ..ไข้หวัดใหญ่…” โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา Influenza Virus อาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน ไม่ควรมองข้ามว่าไม่อันตราย เนื่องจากสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกัน ควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันเป็นประจำทุกปี

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ปี 2022
วัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2022 ประกอบด้วย 4 สายพันธุ์ คือ

  • ไวรัสสายพันธุ์ A มี A/H1N1 กับ H3N2 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไปทีละเล็กละน้อยเพื่อหลบหลีกวัคซีน
  • ไวรัสสายพันธุ์ B  ส่วนไข้หวัดใหญ่ B มี Victoria กับYamagata สลับกันไปมา จึงได้มีการให้วัคซีนทุกปี ทั้ง 2 สายพันธุ์

    ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ป้องกันการติดเชื้อไวรัส
    ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ป้องกันการติดเชื้อไวรัส

ใครบ้างควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์

  1. เด็ก อายุตั้งแต่ 6 เดือน ขึ้นไป จนถึง 5 ปี
  2. ผู้สูงอายุ อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
  3. สตรีมีครรภ์ หรือหลังคลอดไม่เกิน 2 สัปดาห์
  4. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน หัวใจ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

อ่านต่อ ⇒⇒ไข้หวัดใหญ่ vs โควิด19 กับวัคซีนป้องกันในสถานการณ์ปัจจุบัน

อาการของไข้หวัดใหญ่ & โควิด 19 มีความเหมือนและต่างอย่างไร ?

โรคไข้หวัดใหญ่ โรคโควิด19

มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส มีไข้สูงเกิน 37.5องศาเซลเซียส
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก เหนื่อยล้ามาก ปวดกล้ามเนื้อ
ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น ปวดศีรษะ
เบื่ออาหาร เบื่ออาหาร
คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้ง ๆ เจ็บคอ มีน้ำมูก ไอแห้ง ๆหายใจลำบาก
บางรายอาเจียน คลื่นไส้ แพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 48 ชั่วโมงก่อนมีอาการ
การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ควรฉีดเป็นประจำทุกปี และล่าสุดศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) และในอีกหลายๆ ประเทศ รวมถึงสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ประกาศถึงแนวทางการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี ว่าสามารถฉีดร่วมกับวัคซีนโควิด-19 ในวันเดียวได้ โดยหากใครอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและยังไม่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่ปีที่แล้ว ขอให้รีบรับวัคซีนให้เร็วที่สุด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up