ติดไข้หวัดใหญ่จากโรงเรียน

พ่อแม่ต้องทำอย่างไร เมื่อลูก ติดไข้หวัดใหญ่จากโรงเรียน

Alternative Textaccount_circle
event
ติดไข้หวัดใหญ่จากโรงเรียน
ติดไข้หวัดใหญ่จากโรงเรียน

พ่อแม่ต้องทำอย่างไร เมื่อลูก ติดไข้หวัดใหญ่จากโรงเรียน

ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่พบได้ตลอดปี เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ต้นเหตุคือไวรัสที่มีชื่อว่า “อินฟลูเอนซา” (Influenza virus) ที่อยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ และติดต่อผ่านการไอ จาม หรือหายใจรดกัน ดังนั้นจึงติดกันง่ายมากแน่นอน หากมีเด็กป่วยไปโรงเรียนแล้วลูกเราอยู่ใกล้ชิด แล้วพ่อแม่ต้องทำอย่างไรเมื่อลูก ติดไข้หวัดใหญ่จากโรงเรียน

รู้จักเชื้อไข้หวัดใหญ่

เชื้อไข้หวัดใหญ่มี 3 ชนิดใหญ่ๆ เรียกว่า ชนิด A, B และ C โดยแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อยๆ อีกมาก โดยการเกิดโรคแต่ละครั้งจะเกิดจากพันธุ์ย่อยเพียงพันธุ์เดียว เมื่อเป็นสายพันธุ์ไหนแล้วร่างกายจะมีภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์นั้น จึงสามารถติดเชื้อสายพันธุ์ที่ไม่เคยเป็นได้ มีระยะฟักตัว 1-4 วัน

เชื้อไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์อาจผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำให้เกิดการระบาดใหญ่ และการระบาดแต่ละครั้งจะตั้งชื่อตามแห่งต้นกำเนิด เช่น ไข้หวัดฮ่องกง, ไข้หวัดรัสเซีย, ไข้หวัดสิงคโปร์ และไข้หวัดใหญ่ A H1N1 2009 เป็นต้น

อาการเมื่อลูก ติดไข้หวัดใหญ่จากโรงเรียน

  • มีไข้สูงเกิดขึ้นทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย เบื่อ อาหาร ขมในคอ อาจมีอาการเจ็บในคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอแห้ง ๆ จุกแน่นท้อง แต่เด็กบางคนก็อาจไม่มีอาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดเลยก็ได้
  • ไข้สูงกว่าหวัดธรรมดา ประมาณ 38.5-40 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-4 วัน แล้วค่อยๆ ลดลง
  • ไอ และอ่อนเพลีย อาจจะเป็นอยู่ 1- 4 สัปดาห์ แม้ว่าอาการอื่นๆ จะทุเลา แล้วก็ตาม
  • หน้าแดง เปลือกตาแดง อาจมีน้ำมูกใส คอแดงเล็กน้อยหรือไม่แดงเลย (ทั้งๆ ที่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บคอ) ส่วนมากมักตรวจไม่พบอาการผิดปกติอื่นๆ
ติดไข้หวัดใหญ่จากโรงเรียน
พ่อแม่ต้องทำอย่างไร เมื่อลูก ติดไข้หวัดใหญ่จากโรงเรียน

พ่อแม่ต้องทำอย่างนี้เมื่อ ติดไข้หวัดใหญ่จากโรงเรียน

  • คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูก คล้ายกับการดูแลเมื่อลูกเป็นไข้หวัด คือ ให้ลูกนอนพักผ่อนมาก ๆ ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าวต้ม และโจ๊ก รวมทั้งให้ลูกดื่มน้ำเปล่า น้ำหวานหรือน้ำผลไม้มาก ๆ
  • พ่อแม่สามารถให้ยาตามอาการ เช่น ยาลดไข้แก้ปวด ยาแก้ไอ ยาแก้หวัด เป็นต้น ทั้งนี้ ในเด็กควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน
  • หากพาไปพบแพทย์ แพทย์จะให้กินยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะพิจารณาการรักษาเป็นราย ๆ ไป
  • หากลูกมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย อาจจะต้อง ได้รับยาปฏิชีวนะ โดยจะมีอาการน้ำมูกหรือเสมหะสีเหลืองหรือเขียว, ไซนัสอักเสบ, หูชั้นกลางอักเสบ, หลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ เป็นต้น
  • สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ เช่น ไข้สูง ซึม หายใจหอบเหนื่อย ผิดปกติ หรือในเด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง/โรคเรื้อรัง/เด็กเล็กน้อยกว่า 2 ปี ควรดูแลสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

ป้องกันไข้หวัดใหญ่ในเด็กอย่างไร

เด็ก ๆ ทั่วไปที่ร่างกายแข็งแรงดี ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับไข้หวัดทั่วไป โดย

  • ให้ล้างมือบ่อยๆ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
  • สวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัยปิดปาก/จมูก เมื่อออกนอกบ้าน
  • ไม่พยายามเอามือขยี้ตา แคะจมูกหรือเอามือเข้าปาก
  • ควรพาบุตรหลานเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี

ใครควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

  • เด็กอายุ 6-23 เดือน และผู้ที่ใกล้ชิดกับบุคคลที่ได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่
  • ผู้ใหญ่อายุ 55 ปีขึ้นไป
  • เด็กอายุ 6-18 ปี ที่มีโรคเบาหวาน, โรคไต, โรคเลือด, ภูมิคุ้มกันเสื่อม หรือต้องรักษาด้วยยาแอสไพริน เป็นประจำนานๆ
  • ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอดเรื้อรัง, หอบหืด, โรคหัวใจ, โรคไต, เบาหวาน, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง, ผู้พิการทางสมองช่วยเหลือตนเองไม่ได้, ผู้ที่อ้วนมาก
  • ผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลอยู่เป็นประจำในปีที่ผ่านมา
  • ผู้ป่วยที่เคยเป็นปอดอักเสบมาก่อน
  • บุคคลากรทางการแพทย์, เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ, เจ้าหน้าที่ในสถานเลี้ยงเด็ก, สถานบริบาลคนชรา, สถานบำบัดผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  • หญิงมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสที่ 3 ของครรภ์
  • นักทัศนาจร ที่จะเดินทางไปต่างถิ่นที่อาจมีการระบาด

ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดย ภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นสูงสุดหลังฉีดวัคซีนประมาณ 2 สัปดาห์ และอยู่ได้นานประมาณ 1 ปี สามารถป้องกันสูงสุดที่ 6-8 เดือนแรก จากนั้นภูมิคุ้มกันจะค่อย ๆ ลดลง

คนที่ห้ามฉีดวัคซีน

  • เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน
  • ผู้มีประวัติแพ้ไข่ไก่ชนิดรุนแรง ถ้าแพ้แบบไม่รุนแรง เช่น เป็นผื่นสามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ต้องเฝ้าดูอาการอย่างน้อย 30 นาที หลังฉีด
  • ผู้ที่เจ็บป่วยเฉียบพลัน
  • มีไข้สูง แต่ถ้าป่วยด้วยโรคเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่เป็นข้อห้ามในการฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่มีปฏิกิริยาแทรกซ้อนที่รุนแรง หลังได้รับวัคซีนครั้งที่ผ่านมา

คุณพ่อคุณแม่ควรตระหนักในเรื่องการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กับลูกน้อยเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเล็กที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไป และคนที่อยู่ใกล้ชิดเด็ก เพราะการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สามารถช่วยปกป้องคนที่คุณรักและตัวคุณเองได้

ขอบคุณข้อมูลจาก

โรงพยาบาลพญาไท, โรงพยาบาลสมิติเวช

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เช็กเลย! อาการ โอมิครอน ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ต่างกันอย่างไร

ไข้หวัดใหญ่ VSโควิด19กับวัคซีนป้องกันในสถานการณ์ปัจจุบัน

สปสช. ให้ 7 กลุ่มเสี่ยง วอล์กอินฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฟรี

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up