ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ VSโควิด19กับวัคซีนป้องกันในสถานการณ์ปัจจุบัน

Alternative Textaccount_circle
event
ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ ในสถานการณ์การระบาดของโควิด19 ยังคงน่าห่วงไม่น้อยไปกว่ากัน แล้ววัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่ช่วยป้องกันยังจำเป็นอยู่ไหม ฉีดร่วมกับวัคซีนโควิดได้หรือไม่

ไข้หวัดใหญ่ VS โควิด19 กับวัคซีนป้องกันในสถานการณ์ปัจจุบัน!!

การระบาดของเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ เป็นสิ่งที่ยากต่อการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โอกาสในการติดเชื้อมีสูง เพราะมันสามารถลอยอยู่ในอากาศรอบตัว ไวรัสทางเดินหายใจที่ระบาดในปัจจุบัน และก่อให้เกิดอาการรุนแรงจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในบางรายนั้น เป็นโรคที่เราควรเฝ้าระวัง นั่นคือ โรคไข้หวัดใหญ่ และไวรัสโควิด 19 ซึ่งทั้งสองโรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสทางเดินหายใจ และมีอาการใกล้เคียงกัน

ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้ออินฟลูเอนซา (Influenza Virus) ซึ่งโรคชนิดนี้ถูกพบมานานแล้ว โดยมีระยะฟักตัวเพียง 1-3 วัน  โรคไข้หวัดใหญ่สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดเอ บี และซี  โรคไข้หวัดใหญ่อาจมีอาการเริ่มต้นเหมือนไข้หวัด  ส่วนใหญ่สามารถหายเป็นปกติได้ใน 1-2 สัปดาห์ แต่บางรายอาจมีความรุนแรงทำให้เกิดปอดอักเสบและเสียชีวิตได้

ไข้หวัดใหญ่ ตัวร้อน ปวดเมื่อยตามร่างกาย
ไข้หวัดใหญ่ ตัวร้อน ปวดเมื่อยตามร่างกาย

โรคโควิด-19 หรือ COVID-19 เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มโคโรนา (Coronavirus) สายพันธุ์ใหม่ ต้นตอของไวรัสชนิดนี้มาจากสัตว์ที่เป็นตัวกลางที่แพร่เชื้อสู่มนุษย์ มีระยะฟักตัว 2-14 วัน ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้โดยผ่านสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น การไอหรือจาม น้ำลาย เป็นต้น เมื่อได้รับเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นไข้และพบความผิดปกติด้านระบบทางเดินหายใจ โดยพบว่าบางรายที่มีโรคประจำตัวหรือเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ มักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เมื่อติดเชื้อโควิด-19  ยิ่งส่งผลให้มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

อาการของไข้หวัดใหญ่ & โควิด 19 มีความเหมือนและต่างอย่างไร ?

โรคไข้หวัดใหญ่

โรคโควิด19

มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส มีไข้สูงเกิน 37.5องศาเซลเซียส
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก เหนื่อยล้ามาก ปวดกล้ามเนื้อ
ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น ปวดศีรษะ
เบื่ออาหาร เบื่ออาหาร
คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้ง ๆ เจ็บคอ มีน้ำมูก ไอแห้ง ๆหายใจลำบาก
บางรายอาเจียน คลื่นไส้ แพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 48 ชั่วโมงก่อนมีอาการ

ในปัจจุบันทั้งโรคไข้หวัดใหญ่ และโควิด19 มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนโควิด 19 จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการป้องกันการเกิดโรคทั้งสอง และช่วยลดความรุนแรงของโรคได้อีกด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนโดยเร็ว

แม้ว่าในสถานการณ์การระบาดของโควิด19 ที่ทางภาครัฐได้มีการเร่งระดมฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน จนทำให้บางคนเกิดคำถามขึ้นในใจว่า แล้วเรายังควรต้องไปรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่อีกหรือไม่ ในเมื่ออาการต่าง ๆ ของทั้งสองโรคมีอาการคล้ายเคียงกัน สามารถป้องกันร่วมกันได้หรือไม่ จะเห็นได้ว่าแม้ทั้งสองโรคจะมีที่มาจากไวรัสทางเดินหายใจเหมือนกัน แต่เป็นคนละชนิดกันดังที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้นวัคซีนในการป้องกันเชื้อจึงแตกต่างกัน และที่สำคัญเราไม่ควรละเลยที่จะเฝ้าระวัง ไข้หวัดใหญ่ เพราะเป็นโรคที่อัตราการเสียชีวิตสูงเช่นกัน

ไข้หวัดใหญ่ กับเด็กเล็กต้องเฝ้าระวัง
ไข้หวัดใหญ่ กับเด็กเล็กต้องเฝ้าระวัง

ความรุนแรงของไข้หวัดใหญ่ที่สูงขึ้นในปัจจุบันและอนาคต

ปัจจุบัน เริ่มมีรายงานจากหลายประเทศ โดยเฉพาะในทวีปยุโรปที่พบว่า เกิดความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่สูงขึ้น รวมถึงในสหรัฐอเมริกาที่พบการระบาดในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีรายงานการวิจัยจาก University of Pittsburgh สหรัฐอเมริกา ที่คาดการณ์ว่า ฤดูไข้หวัดใหญ่ปี 2021-2022 มีแนวโน้มจะรุนแรงกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้มีจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการป่วยในฤดูกาลก่อนการระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ เราสามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการหนักถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ เมื่อมีการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น 20-50% จากปีก่อนๆ

สธ.คาดครึ่งปีหลัง 2565 “โควิด” แนวโน้มลดลง เตือนไข้หวัดใหญ่-ไข้เลือดออกอาจสูงขึ้นการพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพในปี 2565 มีเรื่องที่ต้องแจ้งเตือน ได้แก่ โรคโควิด 19 หากไม่มีการกลายพันธุ์ที่มีนัยสำคัญ คาดว่าครึ่งปีหลัง จำนวนผู้ติดเชื้อจะลดลง เนื่องจากคนไทยฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นตามเป้าหมาย มีการฉีดเพิ่มเติมในเด็ก ไข้หวัดใหญ่ คาดว่าผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า คือ 22,817 ราย โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนและปลายฝนต้นหนาว เนื่องจากช่วงต้นปี 2565 การใส่หน้ากากอนามัยของคนไทยยังดี แต่ช่วงปลายปีหากสถานการณ์ดีขึ้น การใส่หน้ากากอนามัยลดลง อาจมีการระบาดของโรคเพิ่มขึ้นได้

ที่มา www.thaigov.go.th/ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565
วัคซีน ไข้หวัดใหญ่
วัคซีน ไข้หวัดใหญ่

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามชนิดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่คาดว่าจะระบาดในปีนั้น ๆ ในประเทศไทยพบการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ได้ทั้งปีแต่พบได้มากขึ้นในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ดังนั้นจำเป็นต้องฉีดวัคซีนทุกปีเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน สามารถฉีดซ้ำได้ภายใน 6 เดือน ถึง 1 ปี

ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  • ป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ถึง 70 – 90%
  • ลดการติดเชื้อในหูชั้นกลางได้ 36% ในเด็ก
  • ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ 60% ในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
  • ลดอัตราการตายจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้ 70 -80 % ในผู้สูงอายุที่มากกว่า 65 ปี

เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เคยเกิดขึ้นมานานแล้ว และมีวัคซีนในการป้องกัน  ทำให้ร่างกายของเรามีภูมิคุ้มกันระดับหนึ่ง แต่ในทางกลับกันโรคโควิด-19 เป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา ทำให้เมื่อติดเชื้อเข้าไปในร่างกาย เชื้อมักจะลามไปสู่ปอดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดอาการปอดบวม ปอดอักเสบได้มากกว่าไข้หวัดใหญ่ ซึ่งโรคโควิด-19 ยังไม่มีการรักษา 100 % แต่จะรักษาไปตามอาการเท่านั้น  หากคุณรู้ตัวอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรเข้ารับการคัดกรองเชื้อโควิด-19 เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และลดโอกาสการแพร่เชื้อ

วิธีปฎิบัติตัวป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ทุกสายพันธุ์!!

นอกจากการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ป้องกันไว้แล้ว อย่างที่ทราบกันดีว่าเชื้อไข้หวัดใหญ่มีหลายสายพันธุ์ ดังนั้นวัคซีนอาจไม่ครอบคลุมเพียงพอ การป้องกัน และดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์จึงเป็นสิ่งที่ช่วยได้

หมั่นล้างมือ ป้องกันเชื้อไวรัสได้
หมั่นล้างมือ ป้องกันเชื้อไวรัสได้

ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด : ป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ทุกสายพันธุ์

ปิด : ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม

ล้าง : ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ

เลี่ยง : หลีกเลี่ยงคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย

หยุด : หยุดเมื่อป่วย หยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมในสถานที่แออัด

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ กับโควิด 19

จากการศึกษาในประเทศอังกฤษ พบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ร่วมกัน มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคร่วมกันถึง 5.92 เท่า ดังนั้นการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

จากการศึกษาในกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า กลุ่มที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ มีแนวโน้มที่จะลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิดได้ และการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาก่อนการติดเชื้อโควิด-19 จะช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดการใช้เครื่องช่วยหายใจ และลดระยะเวลาการเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนโควิด 19
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนโควิด 19

ทั้งยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นในสหรัฐอเมริกาและบราซิล ที่ระบุว่าการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ส่งผลในเชิงบวกต่อการเจ็บป่วยของโควิด-19 สามารถลดอัตราการเสียชีวิตลงจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้ถึง 10% ด้วยเช่นกัน
การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ควรฉีดเป็นประจำทุกปี และล่าสุดศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) และในอีกหลายๆ ประเทศ รวมถึงสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ประกาศถึงแนวทางการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี ว่าสามารถฉีดร่วมกับวัคซีนโควิด-19 ในวันเดียวได้ โดยหากใครอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและยังไม่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่ปีที่แล้ว ขอให้รีบรับวัคซีนให้เร็วที่สุด

ข้อมูลอ้างอิงจาก โรงพยาบาลพญาไท/ โรงพยาบาลศิครินทร์ /www.thairath.co.th

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A รุนแรงและอันตรายกว่าทุกสายพันธุ์

เมื่อลูกเป็น มะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก ควรดูแลอย่างไร

โชคดีที่โชคร้ายเมื่อลูกต้อง ยอมแพ้ จงสอนลูกให้ล้มแล้วลุกไว

หมากฝรั่งติดคอ ลูกทำไงดี!กลืนลงท้องเลยได้ไหม?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up