โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โควิด 19

โควิดปรับเป็น โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ติดมาต้องทำไง !!

Alternative Textaccount_circle
event
โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โควิด 19
โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โควิด 19

ปฎิบัติตัวอย่างไร เมื่อ โควิด-19 ถูกปรับเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง

ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาเราคุ้นเคยดีกับมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ที่ใช้เป็นแนวทางในการยึดถือปฎิบัติ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการดูแลตนเองป้องกันโรค หรือแนวทางเมื่อป่วย เป็นผู้ติดเชื้อ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ โควิด-19 ได้ลดระดับความรุนแรงลง ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวไปข้างต้น จนกลายเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังดังนี้แล้ว ทำให้หลาย ๆ คนเกิดความสงสัยกันขึ้นมาแล้วว่า การปฎิบัติตัวต่อโรคโควิด19 ต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร ขอแบ่งแยกแนวทางการปฎิบัติตัวต่อโรคโควิด-19 หลัง 1 ตุลาคม 2565 ออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

การปรับมาตรการป้องกันโรค และการตรวจ ATK

  1. ผู้ที่มีอาการป่วยทางเดินหายใจ แนะนำให้ปฏิบัติตนตามมาตรการ DMHTT โดยเฉพาะการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เมื่อต้องใกล้ชิดผู้อื่น โดยมาตรการ DMHT คือแนวทางปฎิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้ในการชะลอการระบาดของ โควิด-19 โดยโฆษก ศบค. นพ. ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน มักให้ความหมายของ DMHTT อย่างเข้าใจง่ายเป็นภาษาไทยว่า
    • อยู่ห่างไว้
    • ใส่มาก์สกัน
    • หมั่นล้างมือ
    • ตรวจให้ไว
    • ใช้ไทยชนะ (และหมอชนะ)
  2. ประชาชนทั่วไป ให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเข้าไปในสถานที่แออัด หรือพื้นที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท เช่น โรงพยาบาล สถานที่ดูแลผู้สูงอายุ/เด็กเล็ก และให้ตรวจ ATK เมื่อมีอาการป่วย และการฉีดวัคซีนป้องกัน
  3. สำหรับหน่วยงาน องค์กร สถานประกอบการ ให้คัดกรองอาการป่วยของพนักงานเป็นประจำ หากมีพนักงานป่วยจำนวนมากให้รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที

ทางเพจหมอแล็บแพนด้า ก็ได้ออกมาให้คำแนะนำต่อการปฎิบัติเมื่อเป็นโรคโควิด-19 ในยามที่โควิดเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังเช่นกัน ด้วยความห่วงใย และเป็นห่วงว่าถึงแม้ โควิด-19 จะปรับลดระดับความรุนแรงของการระบาดลงไปแล้วก็ตาม แต่ระดับความรุนแรงของโรคยังคงอยู่เท่าเดิม โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน เพราะหากได้รับเชื้อในกลุ่มเหล่านี้ ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อมีอาการรุนแรงได้เช่นเดิม ดังนั้น แม้ว่าเราจะไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือได้รับวัคซีนป้องกันโควิด แล้วก็ตาม การดูแลป้องกันตนเองตามที่แนะนำก็ยังคงจำเป็น เพื่อให้เราห่างไกลจากโรคโควิดนี้ได้ และไม่นำไปติดต่อคนที่รักด้วยเช่นกัน

May be an image of 6 people and text

มาตรการดูแลรักษาผู้ป่วย ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19

มาตรการดูแลรักษาผู้ป่วยจะแบ่งตามระดับความรุนแรงของอาการ มีดังนี้

  1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี ไม่ต้องกักตัว เข้าไทยไม่ต้องยื่นเอกสารวัคซีน-ผลATK  เริ่ม 1 ต.ค.นี้ สิทธิรักษาเหมือนโรคทั่วไป “คนไข้สีแดง”ใช้ UCEP Plus รักษาทุกที่ได้จนหาย
  2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงและไม่มีปัจจัยเสี่ยง 2 กลุ่มนี้ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) โดยให้สังเกตอาการที่บ้าน กินยาต้านไวรัส หรือยารักษาตามอาการตามที่แพทย์สั่ง ลดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นด้วยมาตรการ DMHTT
  3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง หรือไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบที่ไม่รุนแรง
  4. ผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวมต้องรับออกซิเจน 2 กลุ่มนี้จะรักษาในสถานพยาบาลแบบผู้ป่วยใน

ทั้งนี้ การเข้ารับบริการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการฟรีได้เช่นเดิม ตามสถานพยาบาลที่ตนเองมีสิทธิอยู่ (สิทธิบัตรทอง สิทธิสวัสดิการข้าราชการ และสิทธิประกันสังคม) เป็นการปรับระบบเหมือนกับการเข้ารับการรักษาโรคอื่น ๆ อธิบดีกรมควบคุมโรค ย้ำฉีดวัคซีนฟรี แม้ “โควิด-19” จะกลายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พร้อมเผยผู้ป่วยที่เสียชีวิตมากกว่าครึ่ง ไม่ได้รับวัคซีนและอายุเกิน 60 ปี แนะไปรับวัคซีนโดยเร็ว

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.thairath.co.th/www.bangkokbiznews.com / กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อันตราย!! 8 โรค ที่แถมมาจากโรงพยาบาล ต้องระวังโรคอะไรบ้าง?

ไม่เสียเวลารอ บัตรทอง รับยาที่ร้านขายยาใกล้บ้านได้แล้ว

โรคผื่นกุหลาบ ในเด็ก ลูกไข้สูงเฉียบพลัน ตัวร้อนไม่หาย พ่อแม่ต้องระวัง!

วิ่งซ่อนต่อสู้วิธี เอาตัวรอด จากเหตุกราดยิงทักษะที่ลูกควรรู้

คลิปจำลองเหตุรถชน 5 แบบเผยให้เห็น คาร์ซีทแรกเกิด ปกป้องลูกได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up