อาการโอไมครอนในเด็ก

พ่อแม่ต้องรู้!! อาการโอไมครอนในเด็ก เจอสัญญาณต่อไปนี้ พบแพทย์ทันที

Alternative Textaccount_circle
event
อาการโอไมครอนในเด็ก
อาการโอไมครอนในเด็ก

โควิด 19 สายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน ระบาดเป็นวงกว้างมากขึ้นในประเทศไทย สายพันธุ์นี้ก่อให้เกิดอาการอย่างไรในเด็ก อาการโอไมครอนในเด็ก รุนแรงแค่ไหน เจอสัญญาณอย่างไรต่อไปนี้ ที่ควรพบแพทย์ทันที

พ่อแม่ต้องรู้!! อาการโอไมครอนในเด็ก

เจอสัญญาณต่อไปนี้ พบแพทย์ทันที

นับตั้งแต่เกิดการระบาดของ Coronavirus COVID-19 ในปี คศ.2019 เป็นต้นมา ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อในวัยผู้ใหญ่แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว พบอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง และมีอัตราการเสียชีวิตสูง แต่กลับพบว่าวัยเด็ก มีอาการป่วยเล็กน้อยถึงปานกลาง ทั้งยังไม่มีสัญญาณอันตราย หรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยเด็กมีภาวะอ้วน เป็นโรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือภาวะผิดปกติทางระบบประสาทก็มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้เช่นกัน และล่าสุดกับสายพันธุ์โอไมครอน อาการจะเป็นอย่างไรมาดูกัน

โอไมครอนโควิดสายพันธุ์ใหม่ แพร่กระจายได้ง่ายและรวดเร็ว

ปัจจุบันได้มีการค้นพบโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ระบาดไปทั่วทุกมุมโลกรวมทั้งในประเทศไทย ตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นสูงแบบก้าวกระโดด เป็นผลให้กระทรวงสาธารณสุข ได้ยกระดับสถานการณ์ โควิด-19 ให้เป็นระดับ 4

โอไมครอน
โควิด 19 สายพันธุ์โอไมครอน

โควิดสายพันธุ์โอไมครอนนี้ มีการกลายพันธุ์ของยีนมากกว่า 50 ตำแหน่ง โดย 32 ตำแหน่งเกิดขึ้นบนโปรตีนหนามแหลม ที่เรียกว่า Spike Protein ซึ่งเป็นโปรตีนที่ไวรัสใช้ในการเข้าสู่เซลล์ร่างกายมนุษย์ ซึ่งพบมากกว่าทุกสายพันธุ์ และมากกว่าสายพันธุ์เดลตา ถึง 2 เท่า นอกจากนี้ยังพบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเราถึง 10 ตำแหน่ง ทำให้เชื่อกันว่า โอไมครอนจะแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา เข้าสู่ระบบร่างกายมนุษย์ได้ง่ายขึ้น หลบภูมิคุ้มกันได้มากขึ้นและมีแนวโน้มต้านประสิทธิภาพวัคซีน

โควิด-19 โอไมครอน ติดมากแสดงอาการน้อย หากไม่แสดงอาการ ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาล

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยพบโควิด-19 โอไมครอน มากขึ้น จากการสำรวจผู้ติดเชื้อโอมิครอน 100 รายแรกของไทย พบว่าอาการที่เข้าข่ายว่าเป็นการติดเชื้อโควิด-19 โอไมครอนประกอบด้วย ไอ 54% เจ็บคอ 37% มีไข้ 29% ปวดกล้ามเนื้อ 15% มีน้ำมูก 12% ปวดศีรษะ 10% หายใจลำบาก 5% และได้กลิ่นลดลง 2%  โดยที่ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ ซึ่งควรรักษาด้วยการ Home Isolation หรือ Community Isolation ก่อน ส่วนที่มีอาการนั้น หากตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวก ก็จะดำเนินการส่งตรวจ PCR และส่งตัวเข้ารักษาหากอาการหนักต่อไป

ผู้ติดเชื้อโอไมครอน
ผู้ติดเชื้อโอไมครอน อาการไม่รุนแรง แต่แพร่เชื้อได้ง่าย

ส่วนนายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กล่าวถึงอาการและวิธีการดูแลตัวเองหากติดเชื้อโอไมครอนว่า หากอาการไม่มากให้รักษาตามอาการ เช่น กินยาแก้ไข้ กินยาลดน้ำมูก กินยาแก้ไอ กินยาละลายเสมหะ ดื่มน้ำมาก ๆ พักผ่อน นอนหลับให้พอเพียง ทำใจให้สบาย หมั่นสังเกตอาการ ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 5 วันจะดีขึ้นเอง โดยมีตัวอย่างจากในสหรัฐอเมริกามีคนติดเชื้อวันละ 1 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่บ้าน ไม่ได้รักษาในโรงพยาบาล ซื้อยาจากร้านขายยาโดยไม่ต้องพบแพทย์

เช็คอาการโควิดในเด็ก แตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างไร

เด็กป่วย
เด็กป่วยโควิด มีอาการต่างจากผู้ใหญ่อย่างไร

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โอไมครอนว่า ในประเทศอังกฤษนั้น การติดเชื้อโอไมครอนของเด็กและผู้ใหญ่ติดง่ายพอ ๆ กัน ส่วนอาการป่วยของเด็กโดยทั่วไปแล้วไม่ต่างจากผู้ใหญ่มากนัก

นอกจากนี้ ข้อมูลของสาธารณสุขในประเทศอังกฤษ หรือ National Health Service: NHS ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการเมื่อเด็กมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนไว้ว่า อาการส่วนมากคล้ายกับสายพันธุ์หลัก เช่น อุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส มีไข้ คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามส่วนต่าง ๆ ร่างกาย เจ็บ หรือระคายเคืองคอ การรับกลิ่น หรือการรับรสไม่เหมือนเดิม มีอาการไออย่างหนัก มักไอบ่อยใน 1 ชั่วโมง แต่ในเด็กจะมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ตรงที่มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง รู้สึกเบื่ออาหาร และเหนื่อยหอบ

อาการใหม่ “โอไมครอน” ในเด็ก ผื่นขึ้น 3 แบบ ส่งสัญญาณติดแน่

ขณะเดียวกัน มีรายงานล่าสุดจากผู้เชี่ยวชาญที่ ZOE รวบรวม อาการโอไมครอนในเด็ก ผลปรากฏว่าอาการผื่น ได้แก่ ลมพิษ ผดร้อน และชิลเบลนส์ มักพบในเด็ก โดยแยกอาการดังนี้

  • ลมพิษ มีลักษณะเป็นผื่น ตุ่มบวม และรอยนูนแดงตามร่างกาย ทำให้เกิดอาการคันและเจ็บ มักเกิดขึ้นบริเวณฝ่ามือ หรือฝ่าเท้า ตามข้อมูล การติดเชื้อโควิด อาจทำให้เกิดลมพิษซึ่งส่วนใหญ่มักพบในเด็ก
  • ผดร้อน มีลักษณะเป็นตุ่มน้ำ รอยแดง และมีอาการคันทั่วร่างกาย พบได้บ่อยบริเวณข้อศอก, เข่า, หลังมือ และเท้า ซึ่งแพทย์ในลอนดอน เตือนว่า เด็กที่ติดเชื้อ “โอมิครอน” มีอาการผื่นเกิดขึ้น โดยพบเด็กประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ อาการดังกล่าว ควบคู่ไปกับความเหนื่อยล้า ปวดหัว และเบื่ออาหาร
  • ชิลเบลนส์ มีลักษณะผื่นสีแดง หรือสีม่วงอยู่เหนือผิวหนังบริเวณมือและเท้าเป็นหย่อม ๆ บางครั้งอาจมีลักษณะคล้ายแผลพุพองและอาการบวม ทำให้เกิดความเจ็บปวดและแสบร้อน โดยส่วนใหญ่พบในเด็กและวัยรุ่น

หากพบผื่นที่มีอาการเหล่านี้ในเด็ก ประกอบกับอาการที่คล้ายไข้หวัด ให้ระวังไว้เลยว่านี่คือสัญญาณเตือนว่า ลูกอาจติดโควิด ให้พบแพทย์ทันที

ป้องกันโอไมครอนในเด็กได้อย่างไร

เนื่องจากจำนวนเด็กติดโควิดมีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กรมการแพทย์และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้ให้คำแนะนำ เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิดในเด็กและครอบครัว ดังนี้

การป้องกันเชื้อโอไมครอนในเด็ก
การป้องกันเชื้อโอไมครอนในเด็ก
  • สอนให้เด็กล้างมือให้สะอาด สวมหน้ากากให้ถูกวิธี
  • ให้เด็กกินอาหารปรุงสุก นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ให้เด็กเล่นในบ้าน เว้นระยะห่าง ใกล้ชิดคนอื่นให้น้อยที่สุด
  • งดพาเด็กออกไปที่สาธารณะโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ควรดูแลอย่างใกล้ชิด
  • หากมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในบ้าน ให้แยกของใช้ส่วนตัว แยกพื้นที่จากคนในครอบครัว แยกรับประทานอาหาร
  • พ่อแม่ผู้ปกครองที่กลับมาจากการทำงาน ควรอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
  • ผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กไม่ควรออกไปนอกบ้าน ถ้าจำเป็น เมื่อกลับมาถึงบ้านต้องอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า ทันที

 

ท่ามกลางการระบาดของโควิด19 -โอไมครอน หากพ่อแม่ผู้ปกครอง ป้องกันตนเองและลูกหลานอย่างระมัดระวัง และหากติดแล้วก็ให้ตระหนักแต่ไม่ตระหนก คอยสังเกตอาการ หากไม่รุนแรงมากให้ดูแลตามอาการ และควรเข้าระบบสาธารณสุข เพื่อรับการแนะนำที่ถูกต้อง แต่หากอาการหนัก ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว เพียงเท่านี้ก็สามารถลดระดับความรุนแรงของอาการป่วยจากโควิด 19 – โอไมครอนได้

ข้อมูลอ้างอิงจาก คมชัดลึก, อมรินทร์ทีวี

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

โอมิครอน เดลตา เดลตาครอน รู้จัก เข้าใจ ไม่ตื่นกลัว!!

มั่นใจได้ สธ.เตรียมตัวรับมือผู้ป่วยเด็ก โอไมครอน เอาอยู่

โควิดไทยระลอกใหญ่สุด รอบ 2 ปี “ติดเชื้อเพิ่มขึ้น” แต่ “รุนแรงน้อยลง”

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up