โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โควิด 19

โควิดปรับเป็น โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ติดมาต้องทำไง !!

Alternative Textaccount_circle
event
โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โควิด 19
โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โควิด 19

โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง คืออะไร เมื่อประกาศปรับลดโควิด 19 เหลือแค่ให้เฝ้าระวัง หากติดโควิดช่วงนี้แล้วจะต้องปฎิบัติตัวอย่างไร เรามีคำตอบ

เมื่อโควิดปรับเป็น โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ติดมาต้องทำไง !!

โควิด 19 โรคติดต่อที่แพร่ระบาดรุนแรงในช่วงปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีประกาศให้ โรคโควิด 19 ปรับลดจาก “โรคติดต่อร้ายแรง” เป็น ” โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ” เริ่ม 1 ตุลาคม 2565 นี้ โรคทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร ข้อปฎิบัติในการติดเชื้อแตกต่างกันหรือไม่ คงเป็นคำถามที่ชวนสงสัย หากเราติดเชื้อโควิดขึ้นมาในช่วงนี้ ไม่ต้องกังวล เรามีคำตอบให้คุณ

“หมอยง”ชี้ 8 เหตุผล ทำไมโควิด-19 ถึงเป็น โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง!!

หมอยง ยก 8 เหตุผล ทำไม “โควิด-19” ถึงเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เช่นเดียวกับ “ไข้หวัดใหญ่” พร้อมเชื่อว่าทุกอย่างจะดีขึ้นเรื่อยๆ คนส่วนใหญ่จะมีภูมิต้านทาน ยาที่ใช้รักษาก็จะดีขึ้น

ที่มา : Yong Poovorawan
ที่มา : Yong Poovorawan

วันที่ 2 ต.ค. 2565 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเรื่อง “โควิด-19 เป็นโรคประจำฤดูกาล หรือโรคที่ต้องเฝ้าระวัง” โดยระบุว่า เมื่อโควิด-19 เป็นโรคประจำฤดูกาล หรือโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ หรือโรคทางเดินหายใจอื่นๆ อีกหลายโรค ทั้งนี้เพราะ

  1. ประชากรส่วนใหญ่มีการติดเชื้อไปแล้ว น่าจะถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด ร่วมกับการได้รับวัคซีนเป็นบางส่วน เมื่อรวมผลภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการได้รับวัคซีนและการติดเชื้อ ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจะสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ ทำให้ความรุนแรงของโรคลดลง
  2. ประชากรที่ได้รับวัคซีน ไม่ว่าจะได้กี่เข็ม ก็สามารถติดเชื้อได้ แต่ความรุนแรงลดลงเป็นที่ยอมรับได้ ต่อไปเราจะมุ่งเน้น เรื่องของการกระตุ้นด้วยวัคซีน เฉพาะในกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น เช่นเดียวกับ “ไข้หวัดใหญ่”
  3. การระบาดของโรคนี้ จะอยู่ในรูปแบบของโรคทางเดินหายใจประจำฤดูกาล จะระบาดมากในฤดูฝนตั้งแต่เดือน มิ.ย. ถึงกลางเดือน ก.ย. แล้วก็จะลดลงเป็นประจำทุกปี และจะไประบาดเพิ่มอีกครั้งหนึ่งแต่ไม่สูงมาก ในเดือน ม.ค. ถึงเดือน มี.ค. แล้วจะเป็นวงจรเช่นนี้ทุกปี การลดลงของโรคตั้งแต่เดือน ก.ย. ถึงเดือน ธ.ค. เป็นเหตุปัจจัยปกติของโรคประจำฤดูกาล ทุกปีอยู่แล้ว เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่
  4. การให้วัคซีนในอนาคต ไม่มีวัคซีนไหนเป็นวัคซีนเทพ อย่างที่เคยเรียกร้อง วัคซีนทุกตัวไม่ต่างกันเลย และวัคซีนที่ควรให้ ควรให้ก่อนฤดูฝน เพื่อป้องกันการเพิ่มขึ้นในฤดูฝน และกลุ่มเสี่ยง เป็นกลุ่มแรกที่ควรจะได้รับวัคซีนเช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ วัคซีนในอนาคตไม่ว่าจะเป็น 2 สายพันธุ์ หรือ 3 สายพันธุ์ ก็เป็นเพียงแค่ลดความรุนแรงของโรคเท่านั้น ไม่ได้หวังเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  5. ในผู้ที่ติดเชื้อและเป็นกลุ่มเสี่ยง ควรได้ยาต้านไวรัสให้เร็วที่สุดทันที ที่ตรวจเอทีเคเป็น 2 ขีด ถ้าให้เร็วจะลดระยะเวลาการดำเนินโรคลงได้ 3 วัน
  6. ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้ว มีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ และในอนาคตเมื่อประชากรส่วนใหญ่มีพื้นฐานภูมิต้านทาน ความรุนแรงของโรคในกลุ่มที่มีร่างกายแข็งแรงปกติ จะน้อยลง เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่
  7. ในอนาคตที่แย่งกันจองวัคซีนจากต่างประเทศ จะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว เพราะไม่มีวัคซีนไหนเป็นวัคซีนเทพ ซึ่งขณะนี้วัคซีนที่อยู่ในประเทศไทย ก็มีเหลือเป็นจำนวนมากมาย และในที่สุดก็จะต้องหมดอายุไปตามกาลเวลา โรงงานวัคซีนหลายแห่งลดการผลิต บางแห่งก็ปิดไปก็มี
  8. การปฏิบัติตนให้แข็งแรง ป้องกันโรค ลดการแพร่กระจายโรค อย่างที่เรารู้จะช่วยลดการระบาดของโรคลง แต่ไม่สามารถที่จะทำให้โรคหมดไป และเราจะต้องอยู่ด้วยกัน ด้วยความจริง และเชื่อว่าทุกอย่างจะดีขึ้นเรื่อยๆ คนส่วนใหญ่จะมีภูมิต้านทาน ยาที่ใช้รักษาก็จะดีขึ้น โควิด-19 จะเป็นโรคทางเดินหายใจโรคหนึ่

    โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
    โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

โรคติดต่ออันตราย แตกต่างจาก โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อย่างไรกันนะ??

ความหมาย

  • โรคติดต่ออันตราย หมายถึง โรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูง และสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว ได้แก่ กาฬโรค  โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นต้น
  • โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หมายถึง โรคติดต่อที่ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ การวิเคราะห์ข้อมูล จัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการรายงาน และการติดตามผลของการแพร่ของโรคอย่างต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการที่เป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรค

ระยะเวลาสังเกตอาการ

ระยะเวลาที่กำหนดให้รายงานสถานการณ์/ผู้ป่วยต้องสงสัย เปลี่ยนจากทุก 3 ชม. เป็นรายวัน หรือไม่เกิน 7 วัน

  • โรคติดต่ออันตราย ต้องรายงานให้กรมควบคุมโรคทราบทันที อย่างช้าไม่เกิน 3 ชม. ผู้สัมผัสต้องโดนกักตัว หรือคุมไว้สังเกตอาการตามระยะการฟักตัวของเชื้อ และจะมีการประกาศ “เขตติดโรค” นอกราชอาณาจักร โดย รมต.กระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ หากพบผู้ป่วยต้องสงสัยแล้วไม่รายงานโรค หรือ ผู้สัมผัสไม่ให้ความร่วมมือ หรือ มีผู้ขัดขวางการปฏิบัติงาน จะมีความผิดทั้งจำและปรับ (โทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท)
  • โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ต้องรายงานให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทราบ โดยรายงานสัปดาห์ละ 1 ครั้ง บังคับให้ทุกโรงพยาบาล และห้อง Lab ทั้งรัฐและเอกชนมีหน้าที่รายงานสถานการณ์/ผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อ ไม่มีมาตรการกักกันหรือคุมไว้สังเกตของผู้สัมผัส หากไม่รายงานตามหน้าที่ก็จะมีความผิด โทษปรับ 20,000 บาท

    หมั่นล้างมือ หนึ่งในมาตรการป้องกัน โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
    หมั่นล้างมือ หนึ่งในมาตรการป้องกัน โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

ขั้นตอนการแจ้งเหตุ

  • โรคติดต่ออันตราย หากพบผู้ป่วยต้องสงสัย เจ้าบ้าน แพทย์ผู้ทำการรักษา เจ้าของ หรือผู้ควบคุมสถานประกอบการ ผู้ทำการชันสูตร มีหน้าที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ สังกัดกรมควบคุมโรคในส่วนกลาง หรือเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคในพื้นที่นั้นๆ โดยต้องแจ้งด้วยวิธีที่เร็วที่สุดภายใน 3 ชั่วโมง นับแต่พบผู้ที่เป็นโรคโควิด-19 หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็น
  • โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หากพบผู้ป่วยต้องสงสัย มีหน้าที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ในสังกัด สสจ. หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ สังกัดสำนักอนามัย กทม. ภายใน 7 วัน นับแต่พบผู้ที่เป็นโรคโควิด-19 หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็น โดยสามารถแจ้งได้หลากหลายช่องทาง ได้แก่
      1. แจ้งโดยตรงต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
      2. แจ้งทางโทรศัพท์
      3. แจ้งทางโทรสาร
      4. แจ้งเป็นหนังสือ
      5. แจ้งทางอีเมล
      6. แจ้งโดยวิธีการอื่นที่อธิบดีกรมควบคุมโรคกำหนดเพิ่มเติม

 

อ่านต่อ >>ข้อแนะนำการปฎิบัติตัว เมื่อติดเชื้อโควิด-19 ที่ถูกปรับเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up