โอมิครอนในเด็ก

เปลี่ยนแม่เป็นหมอ เปลี่ยนพ่อเป็นพยาบาล รับมือ โอมิครอนในเด็ก

Alternative Textaccount_circle
event
โอมิครอนในเด็ก
โอมิครอนในเด็ก

โอมิครอนในเด็ก กำลังระบาดพบผู้ป่วยเด็กเพิ่มขึ้น การดูแลอย่างใกล้ชิดยังเป็นสิ่งจำเป็น ชวนเรียนรู้ไปกับเสวนาหัวข้อ ‘ปิดเทอมใหญ่ รับมือโอมิครอนในเด็กอย่างไร?

“เปลี่ยนแม่เป็นหมอ เปลี่ยนพ่อเป็นพยาบาล” รับมือ โอมิครอนในเด็ก

“หากลูกฉันติดโควิด ฉันจะทำยังไง จะพาลูกไปเข้าคิวที่โรง พยาบาล หรือจะเสี่ยงหากอาการลูกแย่หนักกว่าเดิม

มีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่?”

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ กรมกิจการเด็กและเยาวชน, กรมการแพทย์, กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข, UNICEF, ไทยพีบีเอส, สํานักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร, คลองเตยดีจัง และ HFocus จึงร่วมกันจัดเสวนาภายใต้หัวข้อ ปิดเทอมใหญ่ รับมือโอมิครอนในเด็กอย่างไร?’

เช็กอาการ โอมิครอนในเด็ก ฉบับพ่อแม่
เช็กอาการ โอมิครอนในเด็ก ฉบับพ่อแม่

เช็กอาการลูกฉบับพ่อแม่!!

ในช่วงต้นของการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับเด็กนั้น ยังไม่น่าเป็นห่วง เพราะจำนวนผู้ติดเชื้อในเด็กมีไม่มาก และถึงติดเชื้อก็แสดงอาการไม่หนักเท่าผู้ใหญ่ แต่เมื่อการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ เป็นโอมิครอน พบว่า สถานการณ์เด็กที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เนื่องจากเด็กเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอีกเป็นจำนวนมาก เพราะวัคซีนสำหรับเด็กเพิ่งได้รับการอนุมัติเมื่อไม่นานมานี้ ประกอบกับโอมิครอนเป็นเชื้อไวรัสที่ติดง่ายกว่าเดิมมาก ทำให้ในปัจจุบันเกิดความกังวลใจต่อพ่อแม่ผู้ปกครองที่เป็นห่วงบุตรหลานกลัวว่าจะติดโควิด

“ถ้าเด็กไม่มีโรคร่วม ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีอาการรุนแรงครับ และหากเราสังเกตได้ถึงความเปลี่ยนแปลง เราก็จะสามารถจำกัดความรุนแรงของโรคได้สำหรับเด็ก เราจะแนะนำให้ทำ Home Isolation เป็นส่วนใหญ่ ไม่ต้อง follow up เด็กจะไม่เหมือนผู้ใหญ่แต่ถ้ามี โรคร่วม และคุณพ่อคุณแม่ไม่สบายใจ ก็สามารถพาไปคัดกรองได้” นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว

สังเกตอาการลูก อาการที่ต้องรีบไปโรงพยาบาล!!

ถึงแม้ว่าในเด็กจะไม่แสดงอาการอย่างเด่นชัดเท่าผู้ใหญ่ และเด็กเล็กไม่สามารถบอกอาการของตนเองกับพ่อแม่ ผู้ปกครองได้ แต่เราสามารถสังเกตอาการดังต่อไปนี้ หากพบควรรีบพาลูกเข้าพบคุณหมอทันที เพื่อป้องกันอาการรุนแรง และเสี่ยงเสียชีวิตได้

  1. มีไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส
  2. เริ่มซึม
  3. ไม่ดูดนม ไม่กินข้าว หรือรับประทานอาหารได้น้อยลงกว่าเดิม
  4. หายใจเร็ว  เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  5. วัดค่าออกซิเจน พบว่ามีออกซิเจนต่ำกว่า 96

โดยพ่อแม่สามารถใช้วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นเหล่านี้ได้ สำหรับเด็กที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มอาการของโรคที่ทำให้เด็กติดเชื้อโควิดแล้วมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น โรคอ้วน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และกลุ่มโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งหากอยู่ในกลุ่มของโรคเหล่านี้ ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

เมื่อลูกมีอาการคล้ายโควิด-19 ควรไปตรวจคัดกรองหรือไม่
เมื่อลูกมีอาการคล้ายโควิด-19 ควรไปตรวจคัดกรองหรือไม่

แพทย์หญิงวารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ หัวหน้างานโรคติดเชื้อ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี อธิบายว่า จากประสบการณ์ที่สถาบันโรคเด็กแห่งชาติฯ ได้ติดตามคนไข้ที่เข้าสู่การรักษาในระบบบริการแบบ Home Isolation ช่วงแรกนั้น พบว่าจากจำนวนผู้ติดเชื้อ 900 ราย มีเพียง 12 รายที่ต้องกลับมารักษาในโรงพยาบาล คิดเป็นตัวเลขเฉลี่ยอยู่ที่ 1.3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนใหญ่การสังเกตอาการนั้น เด็กจะอยู่โรงพยาบาลไม่เกิน 2-3 คืนแรก เมื่อไข้ลดลงก็สามารถกลับไปสังเกตติดตามอาการต่อได้ที่บ้าน

“จริงๆ แล้วค่อนข้างวางใจได้ เพียงแต่เราก็ไม่ประมาท หมายความว่าในกรณีที่เรารู้ว่าเป็นเด็กกลุ่มเสี่ยง คือเด็กเล็กต่ำกว่า 1 ปี หรือเด็กที่มีโรคประจำตัว อันนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง ในกรณีที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเตียงในการนอนโรงพยาบาล เราก็จะแอดมิทสังเกตอาการ”

คุณหมอเสมือน??

คุณหมอเสมือน คือ หนึ่งในนโยบายจากภาครัฐที่ต้องการให้คุณพ่อคุณแม่มาช่วยแบ่งเบาภาระของแพทย์ในภาวะที่ยังคงมีงานล้นมือ จึงเกิดความคิดว่า “เปลี่ยนแม่เป็นหมอ เปลี่ยนพ่อเป็นพยาบาล” เกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเรามาดูความพร้อมของระบบสาธารณสุข และแพทย์โรงพยาบาลต่าง ๆ ว่ามีความพร้อมมากน้อยเพียงใด ในการรับมือกับนโยบายดังกล่าว

นายแพทย์สมศักดิ์ อธิบายว่า ปัจจัยความพร้อมทางด้านสังคมของตัวพ่อแม่เองเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง หากตัวคุณพ่อคุณแม่มีความรู้ มีการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลเด็กในช่วงโควิดก็จะสามารถคลายความกังวลและทำให้มีเวลาอยู่กับลูกได้อย่างใกล้ชิดมากกว่าเมื่อเข้าสู่ช่วงปิดเทอม

ตระหนัก ไม่ ตระหนก!!

“เราจะต้องเติมไม้หันอากาศเข้าไป เปลี่ยนตระหนกให้เป็นตระหนักเพราะว่าเด็กส่วนใหญ่มีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ที่ต้องนอนโรงพยาบาล ขณะที่เด็กอีก 95 เปอร์เซ็นต์สามารถอยู่บ้านเองได้ แต่เราบอกไปแล้วว่าเด็กต่ำกว่า 1 ปีมาคัดกรอง กลับไปอยู่บ้าน” นายแพทย์สมศักดิ์กล่าว

สิ่งหนึ่งที่จะทำให้คุณหมอเสมือน ซึ่งก็คือ พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กไม่ตระหนกตกใจเวลาลูกป่วยด้วยโควิด-19 หรือสงสัยว่าเป็นโควิดนั้น คือ การมีระบบ Line Official Account ที่จะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยตอบคำถาม ตอบข้อสงสัยต่ออาการต่าง ๆ ของลูก เสมือนหนึ่งว่าได้มาพบคุณหมอที่โรงพยาบาลจริง ๆ

Line Official Account สำหรับผู้ป่วย โอมิครอนในเด็ก
Line Official Account สำหรับผู้ป่วย โอมิครอนในเด็ก

การใช้ Line Official Account ของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯ จะเข้ามาทำหน้าที่ในการจับมือคุณแม่ให้เปรียบเสมือนเป็นหมอด้วยตัวเองผ่านการวิดีโอคอล เพื่อให้แพทย์ผู้ชำนาญการสามารถให้คำแนะนำได้ตั้งแต่ตรวจวัดสภาพการนอน เพื่อดูอัตราการเต้นของหัวใจ และการทำงานของปอด ดูกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็กเมื่อตื่นเพื่อตรวจวัดสภาพร่างกายว่าดีขึ้นหรือไม่

ธรรมชาติของ โอมิครอนในเด็ก

ปัจจัยที่ทำให้บุคลากรมีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยนอก รวมถึงการ Home Isolation ได้ เกิดจากปัจจัยของเด็ก และเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนเอง โดยเชื้อสายพันธุ์นี้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปแบ่งตัวอยู่ที่เยื่อบุทางเดินหายใจมากกว่าไปลงที่เนื้อปอด ทำให้ลักษณะธรรมชาติของเชื้อตัวนี้จะไม่ไปลงที่เนื้อปอด แต่จะทำให้เด็กมีอาการไอมากขึ้น จึงสามารถรักษาแบบตามอาการได้ในเบื้องต้น

ขณะที่ปัจจัยของตัวเด็กเอง โดยธรรมชาติเด็กจะมีระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายด้วยกัน 2 แบบ

  • แบบแรก เป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เป็นระบบภูมิคุ้มกันที่จะมีมากในช่วงวัยเด็กแล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นแบบที่สอง
  • แบบที่สอง เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดเมื่อเด็กเติบโต และได้รู้จักเชื้อโรคต่าง ๆ

    เด็กมีภูมิคุ้มกันในการรับมือกับไวรัส โควิด-19
    เด็กมีภูมิคุ้มกันในการรับมือกับไวรัส โควิด-19

อินเตอร์เฟอรอน (IFN) ระบบภูมิคุ้มกันในเด็ก

ระบบภูมิคุ้มกันในเด็ก เรียกว่า ‘อินเตอร์เฟอรอน’ Interferon (IFN) คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อกำจัดเชื้อโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อไวรัส  เซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสจะผลิตอินเตอร์เฟอรอนซึ่งจะส่งสัญญาณไปยังเซลล์อื่น ๆ ของร่างกายเพื่อต่อต้านการเติบโตของไวรัส มีข้อมูลงานวิจัยออกมามากมายยืนยันว่า อินเตอร์เฟอรอนจะหลั่งออกมามากในเด็กเมื่อมีอุณหภูมิขึ้นสูง ซึ่งเป็นกลไกทางธรรมชาติของร่างกายที่จะเยียวยาตัวเองด้วยการพักผ่อน ดังนั้นเมื่อเด็กเป็นไข้ ตัวร้อน พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องปลุกเด็กมาเช็ดตัวบ่อย ๆ หรือเรียกให้รับประทานอาหารบ่อย ๆ แต่ปล่อยให้ร่างกายได้พักฟื้น อุณหภูมิในร่างกายก็จะลดลงได้เองในช่วง 2-3 วัน

สิ่งสำคัญในการดูแลเด็กที่ป่วยโควิด-19 นั่นคือ การดูแลเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด พ่อแม่ควรศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรคอยู่สม่ำเสมอ และโปรดวางใจได้หากลูกต้องเข้ารับการรักษาแบบ Home Isolation เพราะ พ่อแม่สามารถปรึกษาคุณหมอถึงอาการต่าง ๆ ของลูกได้ทางไลน์ สะดวก ง่าย ปลอดภัย

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ)/ delphipages.live

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

พ่อแม่ต้องรู้!! อาการโอไมครอนในเด็ก เจอสัญญาณต่อไปนี้ พบแพทย์ทันที

โอไมครอน (Omicron)ในเด็กมีสิทธิ์ติดเชื้อรุนแรงแค่ไหน?

เมื่อคุณและลูก ติดโควิด ทำยังไง ? เปิดขั้นตอนการรักษาที่นี่

วัคซีนโควิด-19 ในเด็ก : ทำความเข้าใจ ปลอดภัย หายห่วง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up