เด็กสมาธิสั้น

ผู้เชี่ยวชาญกังวล!!ภาวะ “TikTok Brain” ทำ เด็กสมาธิสั้น

Alternative Textaccount_circle
event
เด็กสมาธิสั้น
เด็กสมาธิสั้น

“TikTok Brain”

หนึ่งในแอปพลิเคชั่นที่มาแรง โดยเฉพาะในหมู่เด็ก ๆ ในยุคนี้ เห็นจะเป็น TikTok สื่อโซเซียลที่เน้นการแสดงคลิปขนาดสั้น ๆ ที่ผู้ใช้สามารถสร้าง และลงเรื่องราวให้กับผู้ใช้รายอื่น สามารถรับชมกันได้อย่างง่าย TikTok คือแอปพลิเคชันที่เป็นบริการเครือข่ายสังคมสัญชาติจีน ติ๊กต็อกเป็นบริการประเภทไมโครบล็อกกิง (micro-blogging) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาวิดีโอสั้น ๆ ความยาวไม่เกิน 15 วินาที เช่น การแสดงทักษะหรือท่าเต้น การแสดงมุกตลก การร้องตามด้วยริมฝีปาก (ลิปซิงก์) เป็นต้น

ประเด็นเรื่องผลกระทบของคลิปขนาดสั้นๆ ต่อสมองของผู้ใช้งาน กำลังอยู่ในความสนใจในหมู่ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการของเด็กๆ รวมถึงนักจิตวิทยาในต่างประเทศ แม้จะยังไม่มีงานวิจัยออกมามากมายนัก แต่ก็ยังคงเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรหันมาสนใจ ด้วยความนิยมของ ติ๊กต๊อก ที่ในหมู่เด็กไม่มีใครไม่รู้จัก แถมใช้เวลากับมันไม่น้อยเลยทีเดียวในหนึ่งวัน
tiktok brain เด็กสมาธิสั้น
tiktok brain เด็กสมาธิสั้น
อ้างอิงจากบทความของ The Wall Street Journal ถึงการเกิด TikTok Brain ที่ส่งผลกระทบกับวิธีการทำงานของสมอง หนึ่งในงานศึกษาไม่กี่ชิ้น  ที่เจาะจงถึงผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชั่น TikTok กับการทำงานของสมอง Douyin (ซึ่งเทียบเท่ากับ TikTok ในประเทศจีน โดย ByteDance Ltd บริษัทแม่จีนรายเดียวกัน) พบว่าคลิปวิดีโอสั้น ๆ ที่ถูกเลือกสรรให้อยู่หน้าฟีดโดยเครื่องมือแนะนำของแอปพลิเคชั่นเอง ในการเลือกแต่คลิปที่มีเนื้อหาที่เราระบุไว้ว่าสนใจ เมื่อสแกนสมองของนักศึกษาชาวจีนพบว่า สมองจะได้รับการกระตุ้นอย่างมากที่จะทำให้เกิดการเสพติด ในผู้ที่ดูคลิปที่ป้อนให้นั้น และยังพบว่าบางคนมีปัญหาในการควบคุมเวลา ไม่สามารถที่จะหยุดดูได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเจ้อเจียงของจีนเขียนว่า “เราคาดการณ์ว่าบุคคลที่มีความสามารถในการควบคุมตนเองได้ต่ำจะมีปัญหาในการเปลี่ยนความสนใจจากวิดีโอที่ชื่นชอบ”
นั่นเป็นเหตุผลว่า TikTok ทำให้เด็กไม่สามารถวางมือถือ หรือหยุดเล่นได้ในเวลาที่เหมาะสม เพราะตัวเขาเองไม่เกิดการรับรู้ว่าเรื่องเวลาว่านานแค่ไหนแล้วขณะเล่น ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้ ทางโฆษกหญิงของ TikTok กล่าวว่าบริษัทต้องการให้วัยรุ่น วัยเด็ก สามารถจัดการกับเวลาให้ได้ จึงได้ทำการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเพื่อจำกัดการใช้แอพอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น TikTok จะไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีอายุ 13 ถึง 15 ปีได้รับการแจ้งเตือนแบบพุชหลัง 21.00 น. TikTok ยังเตือนผู้ใช้ให้หยุดพักเพื่อออกไปข้างนอก หรือพักสมองโดยอาจเป็นการหาของว่าง หรือพักไปทำอย่างอื่น เป็นระยะ
“TikTok เป็นเครื่องสร้างสารโดปามีน” จอห์น ฮัตตันกุมารแพทย์และผู้อำนวยการศูนย์การอ่านและการรู้หนังสือของโรงพยาบาลเด็กซินซินนาติ กล่าว “ถ้าอยากให้ลูกสนใจ ก็ต้องฝึกสมาธิ”
ตอนนี้โซเชียลมีเดียต่างๆ เป็นเหมือนกับโรงงานผลิตลูกกวาดขนาดใหญ่ ที่ผลิตลูกกวาดต่างๆ ออกมาให้กับเด็กๆ กินทุกวัน (เขาเปรียบเทียบคลิปสั้นๆ ว่าเป็นลูกกวาด) ปัญหาที่จะตามมาก็คือ เมื่อกินลูกกวาดนี้เข้าไปเรื่อยๆ จนเคยชิน พวกเขาจะคุ้นเคยกับการได้รับสารโดปามีน (สารที่ก่อให้เกิดความสุข) อย่างรวดเร็ว และด้วยความที่มันเป็นคลิปสั้นๆ เด็กๆ ก็จะต้องการเสพลูกกวาดเหล่านี้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และกว่าที่ผู้ใหญ่จะขอร้องให้เด็กๆ ไปเสพอย่างอื่นแทนบ้าง มันก็อาจจะสายไปแล้ว
“ตอนนี้เหมือนกับเราให้เด็กๆ ใช้ชีวิตอยู่ในร้านขายลูกกวาด แต่เราบอกให้พวกเขาเลิกกินของเหล่านั้น และเปลี่ยนมากินผักแทน” วิลเลียมส์ ระบุกับ Wall Street Journal
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.wsj.com
อยากให้ลูกมีสมองดี ต้องเลิกติดจอ
อยากให้ลูกมีสมองดี ต้องเลิกติดจอ

พ่อแม่จะหยุดภาวะ TikTok Brain ได้อย่างไร??

คอร์เทกซ์ (cortex) สมองส่วนหน้า สมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการวางแผนหรือโปรแกรมพฤติกรรมเกี่ยวกับการรับรู้ที่ซับซ้อน บุคลิก การตัดสินใจ และเกี่ยวข้องกับการควบคุมความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับสังคม ภารกิจหลักในสมองส่วนนี้ก็คือการควบคุมความคิดและการกระทำให้สอดคล้องกันไปตามเป้าหมายที่อยู่ภายในใจ สมองส่วนนี้จะยังไม่เจริญเต็มที่ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ดังนั้นจึงเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เป็นผลให้พวกเขาไม่มีทางเลือกนอกจากต้องเพิ่มปริมาณการเสพคลิปสั้นจากสื่อนี้ทุกวัน แล้วพ่อแม่จะทำอะไรได้บ้าง…

1.กำหนดเวลาในการเล่นให้ชัดเจน
แม้ว่าทาง TikTok จะเพิ่มฟีเจอร์ในการเตือนให้มีการหยุดพัก แต่พ่อแม่ ผู้ปกครองควรตั้งข้อกำหนดเรื่องเวลาในการใช้สื่อเทคโนโลยีให้กับลูกอย่างชัดเจนเอง จะเป็นการดีกว่า เพราะจะทำให้เด็กมีระเบียบวินัยในตนเอง ว่าควรเล่นระยะเวลาเท่าไรจึงจะเหมาะสม เช่น กำหนดให้เล่นได้วันละไม่เกิน 1 ชม. และวันหยุดอาจเพิ่มเป็น 2 ชม. เป็นต้น

2.สอดส่อง…ดูแล
คอยดูว่าสิ่งที่ลูกเล่นอยู่คืออะไร มีความเหมาะสมมากน้อยแค่ไหนกับวัยของเขา อย่างเกมที่มีความรุนแรง เช่น เกมปล้น ยิง หรือฆ่าฟันกันก็ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเท่าไร แต่การสอดส่อง ไม่ใช่เป็นการบ่นด่า พ่อแม่ควรเข้าหาลูกด้วยความเป็นเพื่อน พูดคุยด้วยเหตุด้วยผล หากเราสามารถเล่นด้วยไปกับลูกก็จะทำให้เด็กรับฟังความคิดเห็นของเรามากกว่าการตั้งท่าติ เพียงฝ่ายเดียว

3.ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ใช้สื่อเทคโนโลยี
เด็กวัยต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรเล่นหรือดูสื่อเหล่านี้เด็ดขาด เพราะมีผลทำให้พัฒนาการล่าช้า และในเด็กแรกเกิดถึง 3 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุด ในการเรียนรู้ เนื่องจากสมองของเด็กจะพัฒนาสูงสุด ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมโดยรอบจะเป็นตัวกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมองในช่วงต้น หากปล่อยให้เด็กใกล้ชิดสื่อเหล่านี้มากเกินไปโดยไม่กำหนดเวลาดูหรือเลือกสื่อ ที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลเสียหลายด้าน

4.เล่นได้…แต่ไม่ใช่เจ้าของ
บางครั้งเมื่อเห็นว่าลูกอยากได้อุปกรณ์เทคโนโลยีก็ซื้อให้ แต่สิ่งที่ตามมาคือลูกจะแสดงความเป็นเจ้าของ มักโกรธและแสดงอารมณ์รุนแรงเมื่อพ่อแม่บอกให้หยุดเล่น จนทำให้ไม่สามารถควบคุมการใช้งานสิ่งเหล่านี้ของลูกได้ ฉะนั้น พ่อแม่ยังต้องคงความเป็นเจ้าของ แต่ให้สิทธิ์ลูกๆ ในการเล่นได้บ้าง เพื่อควบคุมเวลาในการเล่นอุปกรณ์เทคโนโลยีของลูกได้

จำกัดเวลาอยู่หน้าจอ
จำกัดเวลาอยู่หน้าจอ

5.เปิดโอกาสให้ลูกเจอโลกในด้านอื่นบ้าง
เด็กสมัยนี้มักจะเล่นแต่แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือเกม จนทำให้ขาดการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ หรือสังคม และทำให้การเล่นแบบใช้จินตนาการอย่างเด็กรุ่นก่อนๆ ขาดหายไป ส่งผลให้ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กลดลง ดังนั้น พ่อแม่ควรจัดสรรเวลาให้ลูกอย่างสมดุล โดยให้เขาทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง เช่น เล่นกีฬา เต้น ร้องเพลง วาดรูป สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์  วิ่งเล่นกับเพื่อนๆ บ้าง

6.ดึงความสนใจของลูกออกจากจอบ้าง
เวลาที่เด็กใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีแล้วไม่สนใจเมื่อพ่อเม่เรียกหรือพูดคุยด้วย พ่อแม่ควรเดินเข้าไปใกล้ๆ เพื่อให้เขาสบตา หรือถ้ายังไม่สนใจอีกควรเดินไปสะกิดที่ตัวของเด็ก เพื่อให้เขาฟังในสิ่งที่พูด

7.พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี
ไม่ว่าเราจะตั้งกฎเกณฑ์ด้วยความหวังดีกับลูกมากเพียงใด หากแต่เราไม่ได้เป็นตัวอย่าง ต้นแบบที่ดีให้แก่เขา กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านั้นก็คงไร้ประโยชน์ ดังนั้นพ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูกด้วย อยากให้ลูกเป็นเช่นไรเราก็ควรทำแบบนั้นเช่นเดียวกัน ให้เวลาคุณภาพกับลูก เพราะถึงอย่างไรสิ่งที่ลูกต้องการมากที่สุดย่อมหนีไม่พ้นพ่อแม่อย่างแน่นอน

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.bangkokhospital.com /www.matichon.co.th/th.wikipedia.org/The MATTER

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

6 ปัจจัยสำคัญ ช่วยพัฒนาสมอง ทำให้ลูกฉลาด

พัฒนาการสมองลูก จะเร็วจะช้าขึ้นอยู่ที่พ่อแม่

รับมืออย่างไรเมื่อลูกทำผิดซ้ำๆ ประจาน ให้จำหรือซ้ำแผลใจลูก

ลูกมีโทรศัพท์มือถือ…เร็วไปหรือเปล่า

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up