พี่น้องตีกัน

7 วิธี สยบปัญหา พี่น้องตีกัน พี่น้องทะเลาะกัน ต้องรีบแก้ไข

Alternative Textaccount_circle
event
พี่น้องตีกัน
พี่น้องตีกัน

พี่น้องตีกัน – บ้านที่มีลูกหลายคน คุณพ่อคุณแม่คงรู้ดี ว่าความสัมพันธ์ฉันพี่น้องนั้นอาจมีความไม่ลงรอยในบางครั้ง  การแข่งขันระหว่างพี่น้อง ถือเป็นเรื่องท้าทายที่คนเป็นพ่อแม่จะต้องหาวิธีรับมือให้ได้เพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลายใหญ่โต ซึ่งคุณอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “มีลูก 1 คน คุณคือผู้ปกครอง แต่ถ้ามีลูก 2 คน คุณจะกลายเป็น กรรมการ ในทันที”

“ การแข่งขันระหว่างพี่น้องเป็นเรื่องยุ่งยาก” นักจิตวิทยาคลินิก รีเบคก้า เคนเนดี กล่าวว่าเด็ก ๆ มักมองว่าพี่น้องเป็นคู่แข่ง  ต้องการที่จะแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงความสนใจ หรือเรียกร้องความรัก จากพ่อแม่”

สาเหตุทั่วไปของความขัดแย้งในพี่น้อง

ขั้นแรกให้ทำความเข้าใจก่อน ว่าสาเหตุการต่อสู้ของพี่น้องเกิดจากอะไร โดยทั่วไปปัญหาพี่น้องตีกันแต่ละครั้งมักเกิดได้จากการมีบางเรื่องที่ขัดแย้งกัน เช่น ลูกต่อสู้กันเพื่อที่จะแย่งกันกวาดพื้น หรือ ใครจะเป็นคนที่ได้เลือกดูทีวีช่องโปรด หรือบางกรณีอาจเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น

ในบางครั้ง ปัญหาอาจเกิดจากความแตกต่างกันของบุคลิก บางกรณีลูกๆ อาจรู้สึกว่าไม่สามารถแก้ไขการขัดแย้งกันได้ด้วยตัวเอง ตัวอย่างเช่น เด็กอาจรู้สึกว่าแม่หรือพ่อรักพี่น้องของตนมากกว่า เด็กอีกคนอาจรู้สึกไม่พอใจ น้อยใจเพราะเขาคิดว่าเขาทำอะไรเหมือนพี่ไม่ได้ เป็นเพราะเขายังเด็กกว่า หรือพี่น้องบางคนอาจชอบอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เงียบสงบในขณะที่อีกคนชอบการเล่นผาดโผน ผจญภัย โหวกเหวกโวยวาย

กรุ๊ปเลือดบอกนิสัย ลองทายนิสัยลูกจากกรุ๊ปเลือด เด็กแต่ละคนมีนิสัยอย่างไรกันบ้าง?!

ทำไม พี่น้องนิสัยต่างกัน ทั้งที่เลี้ยงเหมือนกัน? โดย พ่อเอก

5 ลักษณะนิสัยของเด็กอารมณ์ดีมีความมั่นคงทางจิตใจ

หากคุณกำลังประสบกับปัญหา พี่น้องตีกัน ลองอ่าน 7 วิธี ที่ผู้ปกครองสามารถนำมาใช้ เพื่อช่วยลดปัญหาการแข่งขันกันระหว่างพี่น้องได้ ลองดูค่ะ

7 วิธี สยบปัญหา พี่น้องตีกัน พี่น้องทะเลาะกัน ต้องรีบแก้ไข

1. ขั้นแรกให้สอนเด็ก ๆ ถึงวิธีจัดการกับความขัดแย้งในเชิงบวก

เด็กที่ได้รับการสอนถึงวิธีจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ เช่น เปิดรับฟังความคิดเห็นและมุมมองของพี่น้อง จะมีกรอบความคิดที่ดีกว่าในการยุติข้อพิพาทต่างๆ  เด็กที่เติบโตมาโดยได้เรียนรู้วิธีป้องกัน และแก้ไขความขัดแย้งกับพี่น้องจะสามารถเจรจาและจัดการกับความสัมพันธ์ในอนาคตได้ดีทั้งในที่ทำงานและที่บ้าน การเรียนรู้วิธีจัดการกับข้อพิพาทกับพี่น้องจะช่วยให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีทักษะในการแก้ไขความแตกต่างระหว่างบุคคล และจัดการความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี

2. เน้นย้ำถึงความสามัคคีปรองดองว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทั้งครอบครัว

อธิบายให้ลูกฟังว่าครอบครัวของคุณเปรียบเสมือนทีม และเช่นเดียวกับทีมที่ดี ทุกคนไม่ว่าจะเป็นแม่พ่อและลูก ๆ ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้บ้านเกิดความสงบสุขและเปี่ยมไปด้วยความรักเห็นอกเห็นใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน การทะเลาะระหว่างสมาชิกในครอบครัว สามารถทำร้ายทั้งทีม หรือครอบครัวได้

พี่น้องตีกัน

3. เฝ้าดูห่างๆ แต่อย่าเมินเฉย

พ่อแม่บางคนเชื่อว่าการให้ให้เด็กๆ ได้จัดการกับความขัดแย้งด้วยตัวเองเป็นเรื่องที่ดี แต่สิ่งนี้จะใช้ได้ผล ก็ต่อเมื่อ เด็กๆ มีพื้นฐานของการจัดการความขัดแย้งด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ คิดบวกและยึดถือสันติวิธี แต่ถ้าการโต้เถียงรุนแรงขึ้น หรือมีความก้าวร้าวทางวาจาหรือทางกาย คุณพ่อคุณแม่ควรรีบเข้าไปห้ามทัพในทันที ให้คุณนั่งลงกับพวกเขา และพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น และแสดงท่าทีที่ชัดเจนหนักแน่นจริงจัง ว่าการทะเลาะเบาะแว้งกันไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตามไม่ใช่แนวทางปฏิบัติของครอบครัวคุณ

4. ฟังความทั้งสองข้าง

เรื่องราวจะมีสองด้านเสมอในการต่อสู้ของพี่น้อง พยายามให้เด็กๆ แต่ละคน รู้สึกว่าคุณรับฟังโดยไม่ตัดสิน มีอคติ  บ่อยครั้งที่เด็ก ๆ รู้สึกดีขึ้นมาก หลังจากได้ระบายปัญหากับพ่อแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขารู้สึกว่าจะได้รับความเป็นธรรมจากพ่อแม่อย่างแน่นอนด้วยเหตุและผล

เทคนิค ช่วยลูกค้นพบตัวเอง รู้จักตัวเองไว โตไปชีวิตรุ่ง

เข้าถึงใจลูกด้วยการ รับฟังลูก อย่างใส่ใจ ทักษะที่พ่อแม่ยุคใหม่ต้องไม่มองข้าม

เทคนิค ช่วยลูกค้นพบตัวเอง รู้จักตัวเองไว โตไปชีวิตรุ่ง

5. กระตุ้นให้เด็ก ๆ เจาะจงถึงปัญหา

บอกลูกของคุณให้จดจ่อกับสิ่งที่พวกเขาไม่พอใจ มากกว่าที่จะพูดล่ากล่าวพี่น้อง ตัวอย่างเช่น หากลูกของคุณไม่พอใจที่พี่น้องชอบเป็นคนเลือกก่อนเสมอว่าจะเล่นเกมอะไร พวกเขาควรพูดถึงปัญหา แทนที่จะพูดว่า “พี่นี่ขี้โกงจัง!” โดยให้ลูกฝึกพูดในทำนองว่า “เรามีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการเลือกเกมนะ”  แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมแย่ๆ ของพี่น้อง สิ่งนี้จะทำให้การทะเลาะเบาะแว้งคลี่คลายลงได้

พี่น้องคุยกัน

6.ขอให้ลูกแนะนำวิธีแก้ปัญหาบางอย่าง ให้ลูกของคุณคิดสถานการณ์หรือวิธีบางอย่างที่ยุติธรรมสำหรับทั้งสองฝ่าย กระตุ้นให้พวกเขาสวมบทบาทของอีกฝ่ายก่อนที่พวกเขาจะให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาเหล่านั้น

7.สร้างแบบจำลองพฤติกรรมการแก้ปัญหาที่ดี

เด็ก ๆ เฝ้าดูและเรียนรู้จากพ่อแม่เสมอ การยุติความขัดแย้งจากวิธีที่คุณพ่อคุณแม่จัดการปัญหากับคู่ครอง เพื่อนและครอบครัวของเรา หากเราเคารพ ให้เกียรติกันเสมอแม้จะมีความขัดแย้งกันบ้าง ลูก ๆ ของเราจะเรียนรู้และนำทักษะการแก้ไขความขัดแย้งเหล่านั้นมาใช้ได้เองค่ะ

การปลูกฝังการแก้ปัญหา เรื่อง พี่น้องทะเลาะกันหาด้วยวิธีเชิงบวกและเน้นสันติ และการเป็นแบบอย่างที่ดีในการแก้ปัญหาต่างๆ ของคุณพ่อคุณแม่ ถ้าลูกได้รับการอบรมสั่งสอนในแนวทางเหล่านี้ แน่นอนว่าเด็กๆ จะเติบโตไปพร้อมกับทักษะด้าน ความฉลาดทางคุณธรรม(MQ) เป็นคนที่รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่เห็นแก่ตัว คิดดี ทำดี พูดดี ความเมตตาปรานี และรู้จักให้อภัยผู้อื่นได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งกับการใช้ชีวิตในสังคมที่ใหญ่ขึ้นต่อไปในอนาคตของลูกๆ ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : sports.yahoo.com,verywellfamily.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

15 มารยาททางสังคม สอนลูกให้มีติดตัวไว้ โตขึ้นไปมีแต่คนรักและเอ็นดู

เลี้ยงลูกให้พี่น้องรักกันคุณเองก็ทำได้!

สอนให้พี่น้องรักกัน ด้วย 7 วิธีง่ายๆ ในการปลูกฝังที่พี่คนโต

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up