เปิดกฎหมาย 6 ประเทศ ห้ามตีเด็ก ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครู ถือว่าผิดกฎหมาย!

Alternative Textaccount_circle
event

รวมประเทศที่มีกฎหมาย “ห้ามตีเด็ก” ประเทศที่มีการคุ้มครองเด็ก ป้องกันการกระทำรุนแรงต่อเด็ก ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ครู หรือใครก็ตาม หากทำร้ายเด็ก ถือว่าทำผิดกฎหมายทันที!

เปิดกฎหมาย “ห้ามตีเด็ก” มีในประเทศใดบ้าง?

ความคิดที่ว่าพ่อแม่และครู มีสิทธิหรือแม้แต่หน้าที่ที่จะต้องลงโทษเด็กทางร่างกายมีมานานแล้วในสังคมไทย เพราะเข้าใจกันไปว่าการลงโทษด้วยการตีหรือทำร้ายทั้งทางร่างกายหรือจิตใจ เป็นการสอนให้เด็กรู้จักจำหากทำผิด ต่อไปจะได้ไม่ทำผิดซ้ำอีก แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีมุมมองใหม่ ๆ ที่เล็งเห็นว่าการตีเด็ก หรือทำร้ายเด็กเพื่อสอน เป็นความคิดที่ผิด เพราะนอกจากจะเป็นการทำให้เด็กรู้สึกเจ็บปวดทางร่างกายแล้ว และยังส่งผลกระทบต่อเด็กทางจิตใจอย่างยากที่จะเยียวยาได้ รวมถึงส่งผลต่อบุคลิกภาพ แนวคิด และนิสัยของเด็กในอนาคต ดังนี้

เด็กที่ถูกทำร้าย มีผลต่อร่างกาย จิตใจ และพัฒนาการอย่างไรบ้าง?

  1. กลัว วิตกกังวล จนมีอาการทางกาย เช่น ปวดท้อง อาเจียน เป็นต้น หากอาการกลัว วิตกกังวล ยังไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้า และอยากฆ่าตัวตายได้
  2. มีความยอมรับนับถือตนเองต่ำ (Low self esteem) ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง (Lacking of self confidence)  ขาดความมั่นคงในจิตใจ (insecure) หวาดระแวงว่าผู้อื่นคิดร้าย (Paranoid) ภาวะรู้สึกว่าตนอ่อนแอ (Powerlessness) มักชอบเรียกร้องความสนใจ (Attention seeking)
  3. อารมณ์แปรปรวน ก้าวร้าว ไม่สามารถคิดเป็นเหตุเป็นผล ไม่สามารถใช้หรือยอมรับเหตุผล ไม่สามารถเข้าใจกฎแห่งเหตุและผล เพ้อฝัน มีกระบวนการทางความคิดที่แตกต่างจากบรรทัดฐานทางสังคม
  4. เด็กที่ถูกทำร้ายจะเกิดการ block หรือขัดขวางการสื่อสารระหว่างสมองส่วนอารมณ์ กับสมองส่วนหน้า หรือระหว่างสมองส่วนหน้ากับสมองส่วนหลัง หมายความว่าอาการที่เกิดขึ้นกับเด็กเหล่านี้ข้างต้นที่เห็นได้ชัดคือ เด็กจะทำอะไรโดยขาดความยับยั้งชั่งใจ

ผลกระทบต่อเด็กที่ถูกทำร้ายมีมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นไม่ควรมีเด็กคนใดต้องใช้ชีวิตอย่างหวาดกลัว เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับการปกป้องคุ้มครองจากความรุนแรง การถูกทำร้าย การถูกละเลยทอดทิ้ง และการถูกแสวงประโยชน์ แนวคิดนี้ จึงได้มีการร่างกฎหมายว่าด้วยการห้ามการลงโทษเด็กในหลาย ๆ ประเทศ และยังมีการให้คำมั่นที่จะห้ามไม่ให้มีการลงโทษเด็ก ในรัฐภาคีสมาชิกของสมาพันธ์ในยุโรปอีกด้วย มีประเทศใดบ้างที่มีกฎหมายนี้? มีการลงโทษอย่างไรบ้าง? อ่านได้ที่นี่

รวมประเทศที่มีกฎหมายห้ามตีเด็ก

  1. ประเทศสวีเดน

ห้ามลงโทษเด็ก
ห้ามลงโทษเด็ก

ประเทศสวีเดน เป็นประเทศแรกที่เริ่มกฎหมาย ห้ามตีเด็ก โดยในปี ค.ศ. 1979 รัฐสภาสวีเดนลงคะแนนเสียงให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายว่าด้วยเด็กและผู้ปกครอง เพื่อให้ครอบคลุมการห้ามการลงโทษทางร่างกายและการปฏิบัติต่อเด็กอย่างไร้ศักดิ์ศรี ปัจจุบันนี้กฎหมาย ระบุไว้ในมาตราที่ 6 วรรคที่ 1 ว่า:

“เด็กทุกคนพึงมีสิทธิที่จะได้รับการดูแล ความมั่นคงและการเลี้ยงดูที่ดีเด็กทุกคนพึงได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพในความเป็นปัจเจกบุคคล และจะต้องไม่ถูกลงโทษทางร่างกายหรือการปฏิบัติอย่างไร้ศักดิ์ศรีใดๆ ก็ตาม”

กฎหมายดังกล่าวห้ามไม่ให้พ่อแม่เลี้ยงดูบุตรโดยใช้ความรุนแรงหรือการปฏิบัติที่เป็นการทารุณจิตใจ แต่มิได้ห้ามไม่ให้พ่อแม่ยับยั้งบุตรในกรณีที่จะเป็นการป้องกันไม่ให้บุตรหรือผู้อื่นได้รับอันตรายใด ๆ ก็ตาม

ขณะที่การห้ามการลงโทษทางร่างกายในประมวลกฎหมายว่าด้วยเด็กและผู้ปกครองมิได้มีบทลงโทษในตัวของมันเอง แต่การกระทำอันขัดต่อข้อห้ามดังกล่าวจะถูกลงโทษตามมาตรา 3 วรรคที่ 5 ของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งกล่าวว่า ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเกิดอาการบาดเจ็บทางร่างกาย ทุกข์ทรมาน เจ็บปวด หรือทำให้อยู่ในสภาพไร้ความสามารถ ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน ทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือหากการทำร้ายร่างกายนั้น ไม่สาหัส ผู้นั้นพึงต้องถูกปรับหรือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หากผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำจะต้องระวางโทษอย่างน้อยหนึ่งปีจนถึงสูงสุด สิบปี โดยไม่คำนึงว่าผู้ถูกกระทำนั้นจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ โดยกฎหมายนี้ ครอบคลุมถึงผู้ใหญ่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคุณครู หรือญาติ ก็ต้อง ห้ามตีเด็ก

2. ประเทศตุรกี

ในตุรกีการลงโทษเด็กทางร่างกาย ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นการทำร้ายร่างกาย มีโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 1 ปีและไม่เกิน 3 ปี นอกจากนี้ยังมีปัจจัยในการพิจารณาเพิ่มโทษ เช่น หากศาลเห็นว่าผู้ถูกทำร้ายอยู่ในภาวะและอายุที่ไม่สามารถป้องกันตนเองได้ หรือเป็นลูกของผู้ทำร้าย หรือการลงโทษนั้น ๆ ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานเป็นอันตรายต่อชีวิต ให้ถือว่าเป็นการกระทำที่ร้ายแรง ต้องจำคุกสูงสุดถึง 18 ปี

3. ประเทศสกอตแลนด์

สกอตแลนด์เป็นประเทศแรกในกลุ่มสหราชอาณาจักรที่ออกกฎหมายห้ามทำโทษเด็กด้วยการทำร้ายร่างกาย โดยระบุว่า พ่อแม่และผู้ดูแลเด็กสามารถใช้กำลังอย่างสมเหตุสมผล เพื่อฝึกให้เด็กอยู่ในระเบียบวินัย ในส่วนของการพิจารณาว่าการลงโทษของผู้ปกครองหรือพ่อแม่ เป็นเรื่องสมเหตุสมผลหรือไม่ ศาลจะดูปัจจัยต่าง ๆ เช่น ลักษณะการลงโทษ ระยะเวลาและความถี่ในการลงโทษ อายุของเด็กที่ถูกลงโทษ ตลอดจนผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของเด็ก แต่หากมีการลงโทษที่ไม่สมเหตุสมผล รัฐบาลสกอตแลนด์ สนับสนุนขั้นตอนที่จะทำให้เด็กได้รับการปกป้องจากการถูกทำร้ายร่างกาย เช่นเดียวกับการคุ้มครองผู้ใหญ่ คือ ผู้ที่ทำร้ายเด็ก จะถูกลงโทษเช่นเดียวกับการทำร้ายผู้ใหญ่

ครูตีเด็ก
ครูตีเด็ก

4. ประเทศตุรกี

ในตุรกีการลงโทษเด็กทางร่างกาย ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นการทำร้ายร่างกาย มีโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 1 ปีและไม่เกิน 3 ปี นอกจากนี้ยังมีปัจจัยในการพิจารณาเพิ่มโทษ เช่น หากศาลเห็นว่าผู้ถูกทำร้ายอยู่ในภาวะและอายุที่ไม่สามารถป้องกันตนเองได้ หรือเป็นลูกของผู้ทำร้าย หรือการลงโทษนั้น ๆ ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานเป็นอันตรายต่อชีวิต ให้ถือว่าเป็นการกระทำที่ร้ายแรง ต้องจำคุกสูงสุดถึง 18 ปี

5. ประเทศแคนาดา

ในแคนาดาพ่อแม่สามารถลงโทษลูกทางร่างกาย เพื่อฝึกวินัยให้แก่ลูกได้ เช่นการตีลูก แต่การลงโทษนั้น มีข้อจำกัดหลายประการ และการลงโทษนั้น ๆ จะต้องเป็นการลงโทษที่สมเหตุสมผล ซึ่งหมายความว่าจะไม่ส่งผลให้เกิดอันตรายหรือมีแนวโน้มที่จะเกิดอันตรายต่อร่างกาย เช่น การลงโทษที่เกี่ยวข้องกับการตบหรือการตีศีรษะ การใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่มือเปล่าในการลงโทษ และการตีเด็กด้วยความโกรธหรือเพื่อตอบโต้สิ่งที่เด็ก เป็นต้น การกระทำเหล่านี้ ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่สมเหตุสมผลและขัดต่อกฎหมาย

6. ประเทศฝรั่งเศส

ในวันที่ 4 ก.ค. 2562 สมาชิกวุฒิสภาฝรั่งเศสลงมติเห็นชอบร่างกฎหมายห้ามตีเด็กเพื่อสั่งสอน โดยร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ระบุโทษที่พ่อ-แม่ หรือผู้ปกครองจะได้รับ หากกระทำความผิด แต่กฎหมายฉบับนี้ส่งผลทำให้คู่แต่งงานใหม่ทุกคู่นับตั้งแต่กฎหมายนี้บังคับใช้ จะต้องแลกเปลี่ยนคำสาบานเพิ่มขึ้นอีก 1 ประโยคที่ระบุว่า “ผู้ปกครองไม่มีสิทธิที่จะใช้ความรุนแรงทั้งทางร่างกายหรือจิตใจกับเด็ก ๆ” และประโยคดังกล่าวจะปรากฎอยู่บนหน้าปกของสมุดบันทึกสุขภาพเด็กชาวฝรั่งเศสอีกด้วย

 

การเลี้ยงดูเด็กโดยไม่ใช้ความรุนแรง ห้ามตีเด็ก ไม่ได้หมายความว่าเด็ก ๆ จะสามารถทำทุกอย่างที่ตนต้องการได้ อย่างไรก็ตาม เด็กยังต้องพึ่งพาพ่อแม่ในการให้ความช่วยเหลือและแนะแนวทางที่เหมาะสม การว่ากล่าว ตักเตือนด้วยเหตุผล การเป็นตัวอย่างที่ดี ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสอนให้เด็กไม่ทำผิดได้เช่นกัน

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

รวมข่าวครูทำร้ายเด็ก ความรุนแรงในสังคม ที่นับวันมีแต่เพิ่ม

วิธีลงโทษลูกเมื่อลูกทำผิด โดยไม่ต้องตี หรือดุด่า

ตีลูก ความเชื่อที่ผิดๆ ของพ่อแม่คนไทยกับการลงโทษลูก

9 วิธีสอนลูก เมื่อลูกทำผิด ลงโทษลูกอย่างไร ถ้าไม่ตี!

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : Ministry of Health and Social Affair – Sweden, www.bangkokbiznews.com, news.thaipbs.or.th, ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก, Wikipedia

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up