ฝึกลูกเขียนหนังสือ

10 ทักษะ ที่ลูกต้องมี! ก่อนพ่อแม่ ฝึกลูกเขียนหนังสือ

event
ฝึกลูกเขียนหนังสือ
ฝึกลูกเขียนหนังสือ

นักกิจกรรมบำบัดเด็กเผยข้อมูล! กว่าลูกจะจับดินสอได้ หรือ ฝึกลูกเขียนหนังสือ ให้เป็น ลูกต้องใช้ทักษะอะไรบ้าง? พ่อแม่ควรรู้ ก่อนฝึกลูกเขียนหนังสือ

กว่าจะ ฝึกลูกเขียนหนังสือ ได้ ต้องมีทักษะเหล่านี้ก่อน!

สำหรับเด็กเล็ก กล้ามเนื้อมัดเล็กของลูกอาจยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ การหยิบจับสิ่งของต่างๆ จะเริ่มต้นด้วยวิธีการกำมือก่อน จนกระทั่งเริ่มซับซ้อนเเละมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับ แต่ถ้าเด็กบางคนที่ไม่ได้ฝึกฝน พ่อแม่ไม่ได้คอย ฝึกลูกเขียนหนังสือ เมื่อจับดินสอหรือสิ่งของต่างๆ ก็อาจทำได้ยาก ส่งผลต่อเนื่องทำให้ไม่ยอมเขียนหนังสือ หรืออาจจับดินสอ ปากกาเเบบผิดวิธีเมื่อโตขึ้นก็เป็นได้

ซึ่งการที่เด็กจะสามารถหยิบจับสิ่งของ หรือ ฝึกลูกเขียนหนังสือ ควบคุมเครื่องเขียน ทั้งดินสอ, ปากกา หรือเเท่งสีได้นั้น ต้องอาศัยทักษะในด้านต่างๆ ทั้ง สหสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหวที่ดี เเละการควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็กในมือที่ผสานร่วมกัน

ฝึกลูกเขียนหนังสือ

สำหรับเรื่องการฝึกให้ลูกเขียนหนังสือคุณพ่อคณแม่ต้องรู้ก่อนว่า ลูกควรมีทักษะอะไรบ้าง ก่อนที่จะพัฒนาการร่างกาย บังคับใช้มือและนิ้วให้หยิบจับ และ ฝึกลูกเขียนหนังสือได้ โดยทีมแม่ ABK มีข้อมูลจาก ครูน้ำฝน เจ้าของเพจ ครูน้ำฝน นักกิจกรรมบำบัดเด็ก และ เพจ Mor-Online มาแนะนำค่ะ

พัฒนาการ “การหยิบจับดินสอ” ก่อน ฝึกลูกเขียนหนังสือ

หากอยากจะ ฝึกลูกเขียนหนังสือ พ่อแม่ต้องรู้ก่อนว่า พัฒนาการการหยิบจับดินสอของเด็กเป็นอย่างไร ซึ่งจะเริ่มจากการกำสิ่งของเเบบทั้งมือก่อน ทั้งนี้การกำ จะช่วยให้มีกำลังในการเคลื่อนไหวได้มากกว่าการใช้นิ้วมือนิ้วใดนิ้วหนึ่ง โดยลูกจะใช้หัวไหล่ในการเคลื่อนไหว ซึ่งจะค่อยๆ พัฒนารูปเเบบการวางนิ้วไปเรื่อยๆ จนถึงอายุประมาณ 4 ปี เเต่หากการพัฒนาไม่ถูกต้องจะส่งผลทำให้การเขียนที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพราะต้องใช้เเรงมาก ซึ่งเป็นเหตุทำให้ทั้งมือเเละแขนเกิดความล้าตามมาได้นั่นเอง

ฝึกลูกเขียนหนังสือ
ภาพพัฒนาการ การหยิบจับดินสอของลูก
ขอบคุณภาพจากเพจ ครูน้ำฝน นักกิจกรรมบำบัดเด็ก

ลูกเขียนหนังสือได้ตอนกี่ขวบ

ถัดมาเป็นเรื่องของ พัฒนาการเขียนหนังสือของเด็กแต่ละวัย สำหรับวัย 1-3 ขวบ จะเริ่มจากการขีดเขียนแบบไร้ทิศทาง ดูไม่เป็นรูปเป็นร่าง และไม่เป็นความหมาย เมื่อเริ่มเข้าวัย 4 ขวบ ลูกจะสามารถลากเส้นตามจุดได้แล้ว อาจจะไม่สวย ไม่ตรง แต่มีความเข้าใจเรื่องจุดต่อของเส้นปะแต่ละจุดรวมไปถึงวาดรูปทรงต่างๆ ได้ด้วย ซึ่งเมื่อลูกทำได้พ่อแม่ควรชมเชย และไม่ควรเร่งให้ลูกเขียนบ่อยหรือมากเกินไปลูกอาจเบื่อได้ค่ะ

ฝึกลูกเขียนหนังสือ
ภาพพัฒนาการ พัฒนาการเขียนหนังสือของเด็กแต่ละวัย
ขอบคุณภาพจากเพจ ครูน้ำฝน นักกิจกรรมบำบัดเด็ก

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

10 ทักษะ ที่ลูกต้องมี! ก่อนพ่อแม่ ฝึกลูกเขียนหนังสือ

อย่างไรก็ตามเด็กที่มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็กและการใช้มือที่ล่าช้าหรือบกพร่อง มักจะมีความยากลำบากในการหยิบจับดินสอและการเขียนร่วมด้วย ซึ่งทักษะที่ลูกควรมีและคุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกก่อน ที่จะไปฝึกลูกเขียนหนังสือ มีดังนี้

  1. In hand manipulation ความสามารถในการจัดการวัตถุภายในมือ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็น เนื่องจากการเคลื่อนไหวดินสอไปบนกระดาษต้องอาศัยความสามารถจำแนกการเคลื่อนไหวของนิ้วมือแต่ละนิ้วร่วมกับการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือไปด้วย โดยคุณแม่สามารถฝึกทักษะนี้ให้ลูกแต่ละวัยได้ คือ
    • 12-15 เดือน ให้ลองหยิบเหรียญด้วยปลายนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เข้ามาอยู่ในมือ
    • 2-2.5 ปี นำเหรียญที่กำในฝ่ามือเคลื่อนมายังปลายนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ หรือฝึกบิดหมุนขวดน้ำ
    • 3-3.5 ปี ให้ลูกจับและฝึกปรับตำแหน่งดินสอขึ้นลง เพื่อให้อยู่ในตำแหน่งที่เขียนได้ถนัด
    • 6-7 ปี ลูกสามารถหมุนวัตถุด้วยปลายนิ้วมือ โดยมีรอบการหมุนประมาณ 180-360 องศา หรือทำซ้ำติดต่อกันได้
  1. Crossing midline การเคลื่อนไหวแนวกลางข้ามลำตัว เป็นพัฒนาการขั้นพื้นฐานของสมองที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของสมองทั้งสองซีก เป็นทักษะจำเป็นที่ต้องพัฒนาขึ้นก่อนนำไปสู่การประสานสัมพันธ์ระหว่างตาและมือ ความถนัดของมือ การเคลื่อนไหว และความรู้ความเข้าใจอื่นๆ โดยคุณแม่สามารถฝึกทักษะนี้เช่น การเล่นพายเรือแจว บนผ้าห่มหรือรถของเล่น เพื่อให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า
  2. Bilatetal ทักษะการใช้มือทั้งสองข้างร่วมกัน ฝึกโดยให้ลูกหัดทำขนมแล้วใช้มือจับไม้บดทั้งสองข้างเพื่อบดนวดแป้ง เมื่ออายุเข้าช่วงวัย 2-3 ปี ลูกก็จะแสดงมือข้างที่ถนัดออกมาให้เห็นผ่านการหยิบจับเขียนหนังสือ หรือทำกิจกรรมต่างๆ และอายุ 5-6 ปี ก็จะแสดงมือข้างที่ถนัดอย่างชัดเจน
  3. Posture ลูกจะนั่งเขียนได้ ต้องสามารถจัดวางร่างกายให้อยู่ในแนวที่เหมาะสม และรักษาสมดุลของร่างกายเพื่อให้เกิดความมั่นคงขณะนั่งและเคลื่อนไหว
  4. Proximal control การควบคุมการทำงานของแขนและไหล่ให้มั่นคงอยู่ในตำแหน่งทิศทางเหมาะสม เพื่อให้ข้อมือ นิ้วมือ หยิบจับ เขียนได้ดี ดังนั้นถ้าเด็กที่ข้อต่อหัวไหล่หรือกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงก็จะส่งผลต่อการเขียนได้ เช่น เด็กนั่งได้ไม่นาน ลุกเดินบ่อย หรือล้าง่าย
  5. Vitual perception and Visual motor integration โดย Vitual perception คือ กระบวนการทั้งหมดที่ตอบสนองต่อการรับการแปลความหมายและการทำความเข้าใจต่อสิ่งเร้าทางสายตา ซึ่งมีองค์ประกอบหลายด้าน ยกตัวอย่างด้านที่เกี่ยวกับการเขียน เช่น
    • figure ground การแยกภาพวัตถุออกจากพื้นหลังได้ เช่น ลูกสามารถหาคำที่ต้องการแยกออกจากพื้นกระดาษได้
    • visual clorure แยกแยะวัตถุได้ แม้ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ เช่น ลูกคัดลอกงานจากกระดานได้ถึงแม้ต้องมองไกลก็สามารถมองออกว่าคือตัวอะไร
    • position in space การรับรู้ตำแหน่งทิศทางของวัตถุกับสิ่งแวดล้อม ช่วยให้เข้าใจความหมาย ใน นอก บน ล่าง ว้าย ขวาเช่น ลูกสามารถเขียนตัวอัการที่มีความใกล้เคียงกันได้อย่างถูกต้อง อย่า ถ-ภ ด-ค

ส่วน Visual motor integration เป็นการผสานการรับรู้ทางสายตาร่วมกับการเคลื่อนไหว ทำให้เด็กสามารถคัดลอกตัวเลขและตัวอักษรได้ถูกต้อง เช่น เด็กมองดูรูปทรงตัวอักษร แล้วแปลความหมายว่าคือตัวอะไร จนเขียนออกมาได้

ฝึกลูกเขียนหนังสือ
ภาพรูปทรงที่เด้กควรสามารถคัดลอกได้
ขอบคุณภาพจากเพจ ครูน้ำฝน นักกิจกรรมบำบัดเด็ก

 

  1. Kinesthesia เป็นการรับรู้ถึงน้ำหนักของวัตถุและทิศทางการเคลื่อนไหวข้อต่อและระยางค์ต่างๆ เป็นความรู้สึกทางกาย ช่วยให้ลูกสามารถกะหรือปรับแรงในขณะเขียนได้ ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางการเคลื่อนไหว ขณะเขียนตัวอักษร ซึ่งหากลูกมีปัญหาด้านนี้จะทำให้จับดินสอไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลการเขียนล่าช้า กิจกรรมที่ส่งเสริมด้านนี้ เช่น
    • ใช้นิ้วลากเส้นประ แล้วใช้ดินสอสีเขียนอีกครั้ง
    • ใช้นิ้วเขียนตัวอักษนในอากาศ /ทราย หรือบนถุงซิปที่ใส่แป้งเปียก
    • ใช้หลอดดูดน้ำนำมาสร้างเป้นตัวอักษร

ฝึกลูกเขียนหนังสือ

  1. Motor planning การเขียนแต่ละตัวต้องการความสามารถในการวางแผนการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ถ้า Kinesthesia ไม่ดี ก็จะมีความสัมพันธ์กับการวางแผนการเคลื่อนไหวที่ไม่ดีตามมา โดยการวางแผนการเคลื่อนไหวจะส่งผลต่อความสามารถของเด็กในการวางแผน ลำดับ และเขียนตัวอักษรที่ต้องการออกมาได้ เพราะการวางแผนจำเป็นต่อการกระทำการเคลื่อนไหวที่ไม่คุ้นเคยได้ จึงสำคัญเมื่อจะ ฝึกลูกเขียนหนังสือ เรียนรู้ในครั้งแรก โดยกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะด้านนี้ได้ เช่น การเต้นประกอบเพลง , เล่นเป่ายิ้งฉุบ หรือการทำเลียนแบบท่าทางของมือ
  2. Psychosocial สภาวะอารมณ์ จิตใจ แรงจูงใจในการเขียนก็สำคัญเหมือนกัน ยิ่งเด็กที่มีความยากลำบากในการเขีย มักขับข้องใจ มีความรู้สึกในคุณค่าตนเองต่ำลง ทำให้หลีกเลี่ยงที่จะเขียน ไม่อยากเขียน ดังนั้น พ่อแม่หรือคุรครู ต้องพยายามเข้าใจเด็กๆก่อน โดยวิเคราะห์หาปัญหาที่เป็นสาเหตุ แล้ว ฝึกลูกเขียนหนังสือ แบบเข้าใจ ไม่กดดัน พร้อมให้กำลังใจเสมอ
  3. Cognition ทักษะสุดท้ายในการฝึกลูกเขียนหนังสือ คือเรื่องความคิดความเข้าใจ เมื่อลูกขึ้นชั้นเรียนสูงขึ้น ต้องอ่าน เขียน สะกดคำ โดยอาสัยการทำงานของสมองหลายส่วน จึงต้องมีทักษะความรู้ความเข้าใจด้วย เช่น การจัดหมวดหมู่ แบ่งประเภท, การมีสมาธิ สนใจที่จะทำงานได้สำเร็จ, ความจำในการเก้บข้อมูลเพื่อดึงมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ EF ทักษะของสมองขั้นสูงที่ใช้ในการจัดการควบคุมตัวเอง เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการฝึกลูกเขียนหนังสือ พ่อแม่ควรรู้ก่อนด้วยว่าเด็กบางคนอาจจะเขียนหนังสือได้เร็วหรือช้าแตกต่างกัน แต่ช่วงอายุของพัฒนาการจะไม่ห่างกันมาก ถ้าต้องการให้ลูกใช้กล้ามเนื้อแขนและมือมากกว่า ก้ควรฝึกให้ลูกหัดหยิบจับเปิด ปิด สิ่งของบ่อยๆ เช่น หยิบข้าวกินเอง เปิดฝากระบอกหรือขวดน้ำ ฉีกกระดาษ เก็บของเล่น ถ้าลูกทำแบบนี้บ่อยๆพัฒนาการของลูกไปเร็วแน่นอนค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก ครูน้ำฝน เจ้าของเพจ ครูน้ำฝน นักกิจกรรมบำบัดเด็ก และ เพจ Mor-Online
www.kombinery.com

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่รูปด้านล่างได้เลย ⇓

แบบฝึกหัด ฝึกเขียนอนุบาล แจกฟรี!! กว่า 50 ใบงานอนุบาล 1-3

ลูก 5 ขวบ อ่านหนังสือไม่ได้ ทำไงดี? มาช่วยลูกให้ “อ่านออก” กัน

5 ข้อดีของ การเขียนบันทึกประจำวัน ยิ่งเขียน ยิ่งฉลาด โดย พ่อเอก

โรงเรียนเร่งอ่านเขียน แต่พ่อแม่ไม่ต้องการ ทำอย่างไร?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up