บุลลี่ บุลลี่ที่โรงเรียน

อาม่าคุกเข่าอ้อนวอน! แก๊งวัยรุ่นหยุด บุลลี่ หลานชาย

Alternative Textaccount_circle
event
บุลลี่ บุลลี่ที่โรงเรียน
บุลลี่ บุลลี่ที่โรงเรียน

 

ทำไมเด็กถึงรังแกคนอื่น ?

เหตุผลที่เด็กรังแกอาจระบุได้ยาก อาจเกิดจากปัจจัยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายองค์ประกอบ สิ่งเหล่านี้บางส่วนอาจรวมถึง

  • ไม่ได้รับความสนใจจากครอบครัว : เด็กมักจะไวต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัว ความรู้สึกด้านลบที่เกิดขึ้นอาจทำให้เขาแสดงพฤติกรรมชดเชยความเจ็บปวดออกมาอย่างไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น หากพ่อแม่ต้องหย่าร้างหรือทะเลาะกันอย่างต่อเนื่อง เด็กอาจรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง การแยกจากกันอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กที่จะรับมือ เขาหรือเธออาจเรียกร้องความสนใจด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งวิธีเรียกร้องความสนใจที่ได้ผลดีที่สุด เด็กมักจะเลือกใช้การทำตัวให้มีปัญหา ทะเลาะกับเด็กคนอื่น เพราะพฤติกรรมด้านลบจะเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่ หรือพ่อแม่ได้ดีกว่าด้านบวก
  • ต้องการการยอมรับ : เด็กบางคนที่รังแกเพื่อน เพราะเขาต้องการความเป็นหัวหน้า ต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน ให้รู้สึกเหมือนเป็นผู้นำกลุ่ม จึงต้องแสดงพฤติกรรมรุนแรง ข่ม เพื่อให้ตัวเองดูมีอำนาจ
  • ปรากฎการณ์โดมิโน : เด็กที่เห็นการกลั่นแกล้งรอบตัว หรืออาจตกเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้ง ก็อาจกลายเป็นผู้รุกราน หรือบุลลี่คนอื่นเสียเอง ก็พบได้เช่นกัน การกลั่นแกล้งเป็นพฤติกรรมที่เรียนรู้ และเด็กๆ อาจเลียนแบบสิ่งที่พวกเขาเห็น เยาวชนบางคนอาจกลั่นแกล้งเพื่อให้เข้ากับกลุ่มเพื่อนฝูง
  • เติบโตมาจากครอบครัวที่พี่น้องชอบกลั่นแกล้ง : วิธีที่พี่น้องปฏิบัติต่อกันที่บ้านมีบทบาทสำคัญ พี่น้องอาจกลั่นแกล้งน้องชายหรือน้องสาว ซึ่งอาจส่งผลต่อวิธีที่เด็กปฏิบัติต่อเพื่อนฝูง กลายเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ส่งต่อไปยังห้องเรียน จากการทำวิจัยพบว่าคนที่เคยถูกรังแกมาก่อนอย่างน้อย 2 ครั้ง มักจะทำพฤติกรรมนี้กับคนอื่นเช่นกัน โดยพวกเขามองว่านี่คือการโต้ตอบอย่างหนึ่ง
  • ไม่ยอมรับความแตกต่างของเพื่อนในกลุ่ม : เหตุผลที่นักเรียนถูกรังแกบ่อยที่สุดคือรูปร่างหน้าตา เชื้อชาติ/ชาติพันธุ์ เพศ ความทุพพลภาพ ศาสนา และรสนิยมทางเพศ เยาวชนบางคนมีพฤติกรรมรังแกเนื่องจากขาดความเข้าใจในการยอมรับความแตกต่าง เห็นสิ่งที่แตกต่างจากตนเป็นเรื่องตลก
  • การเลี้ยงดู & สั่งสอน : กว่า 66% ของคนที่ยอมรับว่าเคยบุลลี่คนอื่น เป็นเพศชาย วัฒนธรรมทางสังคม จะสั่งสอนให้เด็กผู้ชายเข้มแข็ง ไม่แสดงความอ่อนแอออกมาให้เห็น ดังนั้นจึงเสมือนเป็นใบสั่งห้ามให้เด็กชายไม่กล้าแสดงความรู้สึก ไม่เหมือนกับผู้หญิงที่สามารถบอกความรู้สึก แสดงความอ่อนแอออกมาได้ พฤติกรรมนี้ทำให้เมื่อเด็กผู้ชายโตขึ้นเขาก็อาจจะรู้สึกหมดกำลังใจ และเริ่มจะแสดงออกด้วยพฤติกรรมก้าวร้าวแทน และนี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ชายมักมีเรื่องชกต่อยหรือกลั่นแกล้งกันรุนแรงมากกว่าผู้หญิง

    เมื่อลูกถูกเพื่อน บุลลี่ ในโรงเรียน
    เมื่อลูกถูกเพื่อน บุลลี่ ในโรงเรียน

เมื่อลูกแกล้งเพื่อน…ควรช่วยลูกอย่างไร??

  • ให้ความสนใจในเชิงบวกที่บ้าน : การให้ความสนใจกับลูก ที่จะสามารถช่วยแก้ไขพฤติกรรมการกลั่นแกล้งเพื่อนได้นั้น ต้องเป็นความสนใจในเชิงบวก ส่งเสริมความสนใจที่ยกย่องจุดแข็งของลูก และสร้างความมั่นใจในตนเองให้เกิดแก่เขา
  • ให้ความรู้แก่บุตรหลานของคุณเกี่ยวกับความแตกต่าง : การให้ลูกได้เรียนรู้ว่า แต่ละคนมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันสามารถช่วยให้พวกเขาเข้าใจโลกที่หลากหลายที่เราอาศัยอยู่ได้ดีขึ้น และจะทำให้พวกเขาเข้าใจเมื่อพบผู้ที่มีความต่าง ไม่เห็นเป็นเรื่องตลก
  • ความเมตตาและการรวมตัวแบบอย่าง:เด็กเล็กกำลังเรียนรู้วิธีมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น สิ่งสำคัญสำหรับพ่อแม่คือต้องแสดงตัวอย่างการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างให้เกียรติ และเป็นแบบอย่างของการเอาใจใส่ผู้อื่น

ช่วยลูกรับมือ การบุลลี่

หลายครั้งที่การบูลลี่เกิดขึ้นเพียงเพราะความสนุกชั่ววูบ ความโกรธชั่วคราว หรือเป็นเพียงการตัดสินใจชั่วขณะ แต่ผลที่ตามมาอาจมากมายและส่งผลยาวนานสำหรับผู้ถูกกระทำ ดังนั้นการรู้จักรับมือกับการบูลลี่อาจช่วยหลีกเลี่ยงบาดแผลทั้งทางกาย ใจ และสังคม  ดังนี้

  • นิ่งเฉย การนิ่งเฉยต่อการบุลลี่ แม้ดูเหมือนไม่สามารถช่วยรับมือได้ แต่กลับทำให้การบุลลี่สิ้นสุดโดยเร็ว เนื่องจากว่า เด็กที่ชอบรังแกคนอื่นนั้น ทำไปเพื่อเพิ่มความสนใจ แต่เมื่อผู้ถูกกระทำเลือกที่จะนิ่งเฉย ผู้ลงมือบูลลี่อาจรู้สึกเบื่อและถอยทัพไปเองในที่สุด
  • ตอบโต้อย่างสุภาพ ด้วยคำพูดและการแสดงออกว่าไม่ได้รู้สึกสนุก หรือไม่ชอบการกระทำรวมถึงวาจาต่างๆ ที่ถูกกล่าวถึงด้วยคำพูดและท่าทีสุภาพ ไม่ตะโกน ขึ้นเสียง หรือใช้คำหยาบคาย รวมถึงชี้แจงอย่างชัดเจนหากเรื่องที่ถูกกล่าวหาไม่เป็นจริง
  • พูดคุยกับเพื่อนร่วมชะตากรรมเพื่อช่วยกันแก้ไข บางครั้งการถูกบูลลี่ไม่ได้เกิดขึ้นกับบุคคลเพียงคนเดียว การหาผู้ร่วมถูกกระทำจะเป็นการเพิ่มหลักฐานและพยานว่า ผู้บูลลี่สร้างเรื่องขึ้นทำร้ายเหยื่อมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง นอกจากนี้เพื่อนร่วมชะตากรรมอาจเป็นที่ปรึกษาคลายทุกข์ได้เป็นอย่างดี
  • เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม หากการบูลลี่นั้นทำร้ายร่างกายหรือจิตใจจนยากยอมรับ การเปลี่ยนที่ทำงาน กลุ่มเพื่อน ก็อาจช่วยฟื้นฟูภาวะบอบช้ำจากการถูกบูลลี่ได้เร็วขึ้น
  • ปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ หลายครั้งที่การบูลลี่ล้ำเส้นเหยื่อจนกัดกินจิตใจ สร้างบาดแผล จนผู้ถูกกระทำไม่สามารถอยู่ในสังคมต่อไป บางกรณีอาจกลายเป็นความเครียด ปลีกตัวจากสังคม ไปจนถึงขั้นเก็บกด เป็นโรคซึมเศร้า และจบลงด้วยการฆ่าตัวตาย ดังนั้นทางออกที่ดีคือการพบผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็นนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ เพื่อปรึกษา ทำการรักษาอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ

    ปรับพฤติกรรม สอนลูกไม่ บุลลี่ เพื่อน
    ปรับพฤติกรรม สอนลูกไม่ บุลลี่ เพื่อน

การบุลลี่ ไม่ใช่แค่การเล่นกันของเด็ก แต่เป็นปัญหาที่เกาะกินใจกับเด็กที่กำลังประสบพบเจอ การบูลลี่ที่ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นด้วยการเผชิญหน้าเท่านั้น วันหนึ่งเราอาจตกเป็นเหยื่อการบูลลี่ทางโซเชียลจากผู้ที่ไม่เคยรู้จักกันเลย  หรืออาจตกเป็นเหยื่อร่วมกระทำการบูลลี่บุคคลอื่น แม้กระทั่งเป็นผู้เริ่มบูลลี่โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น ควรหยุดคิด ไตร่ตรองสักนิดก่อนแชร์ กดไลค์ เขียน หรือพูด เพื่อจะได้ไม่ส่งต่อการกระทำที่ด้อยค่าผู้อื่น ทำให้เขารู้สึกอับอาย เสื่อมเสีย เพราะแม้ว่าเราจะลบออกด้วยวิธีใด ก็ยังคงฝังในจิตใจของผู้ที่ถูกบุลลี่เสมอ

ในทางกลับกัน หากต้องเผชิญปัญหาในฐานะเหยื่อของการ บูลลี่ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกตั้งรับอย่างมีสติ เงียบเฉยบ้าง ตอบโต้ ชี้แจงให้ถูกจังหวะ ไม่คิดแค้น เครียด หรือวิตกกังวลเกินไป รวมถึงเลือกที่จะใช้ชีวิตในสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี เหมาะสมกับตัวเอง ปิดรับเรื่องราวทางโซเชียลบ้าง และข้อสำคัญ หากหาทางออกไม่ได้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.kvc.org/https://www.samitivejhospitals.com

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

7 วิธีสร้างเกราะป้องกัน ลูกถูกบูลลี่ และไม่ให้ลูกบูลลี่คนอื่น

เมื่อลูกถูก bully ลองใช้เทคนิคสุดเฟี้ยวฉบับแม่ญี่ปุ่นกัน!!

เปิดเหตุผล!! พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน งานวิจัยชี้จากสิ่งนี้นี่เอง

เลี้ยงลูกแบบ วีแกน ดีไหม เลี้ยงยังไงไม่ให้ลูกขาดสารอาหาร

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up