ข่าว คอมพิวเตอร์ ระเบิด กับ อารมณ์โกรธ

จากข่าว คอมพิวเตอร์ ระเบิดสู่ปัญหาการจัดการอารมณ์ในเด็ก

Alternative Textaccount_circle
event
ข่าว คอมพิวเตอร์ ระเบิด กับ อารมณ์โกรธ
ข่าว คอมพิวเตอร์ ระเบิด กับ อารมณ์โกรธ

คอมพิวเตอร์ ระเบิดใส่เด็กตาย สู่ข่าวเศร้ายิ่งขึ้น เมื่อพบความจริงเด็กพกปืนมาโรงเรียน สืบหาเหตุเคยทะเลาะกันมาก่อนหรือไม่ มาสอนลูกจัดการความโกรธให้ได้ก่อนสาย

จากข่าว คอมพิวเตอร์ ระเบิดสู่ปัญหาการจัดการอารมณ์ในเด็ก!!

คดีพลิกคีย์บอร์ด คอมพิวเตอร์ ไม่ได้ระเบิด เพื่อนนักเรียนคนตายโกหก ทำปืนปากกาลั่นใส่เพื่อนในห้องเรียน ขณะเข้าเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ก่อนตกใจกลัวนำปืนไปซ่อน ตร.-สหวิชาชีพ สอบเครียด ด้านพระผู้ปกครองเด็กที่ก่อเหตุให้ปากคำตำรวจ บอกเคยโดนเพื่อนต่อย ส่วนปืนไม่รู้เอามาจากไหน

ที่มา : https://mgronline.com

ข่าวเศร้าที่กำลังถกเถียงกันในโลกออนไลน์เริ่มจาก คอมพิวเตอร์ ระเบิดใส่เด็กจนเสียชีวิตในห้องเรียน เป็นประเด็นที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันยังไม่ทันได้ข้อสรุป กลับมาพบความจริงที่น่าเศร้ากว่าเดิม เมื่อตร.สืบจนพบว่าเด็กเสียชีวิตจากปืน ส่วนสาเหตุกำลังเร่งสืบสวนว่า เด็กที่เป็นเพื่อนร่วมชั้นที่ก่อเหตุนั้น เคยมีปากเสียงกันมาก่อนหรือไม่

คอมพิวเตอร์ ระเบิด เด็กเสียชีวิต ขอบคุณภาพจาก amarin TV
คอมพิวเตอร์ ระเบิด เด็กเสียชีวิต ขอบคุณภาพจาก amarin TV

จากประเด็นข่าว มีเรื่องที่น่าสนใจนำมาเป็นเรื่องที่พ่อแม่ควรต้องทบทวน  และขบคิดให้มาก เรื่อง การควบคุมอารมณ์ของเด็ก ในปัจจุบันเรามักพบกับปัญหาคล้าย ๆ กันนี้บ่อยขึ้น เมื่อเด็กที่เป็นวัยขาดวุฒิภาวะ ทำให้เกิดการกระทำที่น่าเศร้า และส่งผลเสียต่ออนาคต จนบางครั้งเลยเถิดไปยังชีวิต และทรัพย์สินของผู้อื่น ดังนั้น การสอนให้ลูกรู้จักอารมณ์ของตัวเอง การจัดการอารมณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านั้น ให้ออกมาในแนวทางที่เหมาะสม เป็นเรื่องที่พ่อแม่ควรสอนลูก โดยเฉพาะลูกที่กำลังอยู่ในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ เพราะเราไม่อาจทราบได้ว่า เด็กจะจัดการกับปัญหาของเขากันอย่างไร นำมาซึ่งข่าวอันเศร้า หลายต่อหลายครั้ง

ลูกโกรธแบบไหนน่าเป็นห่วง???

อารมณ์ของมนุษย์มีมากมายหลากหลาย ทั้งอารมณ์ในแง่บวก เช่น ดีใจ ตื่นเต้น สนุก เป็นต้น และอารมณ์ในแง่ลบ เช่น หงุดหงิด โกรธ เสียใจ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นกันได้ในทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด แต่ความสามารถในการจัดการกับอารมณ์นั้น เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่อาจยังไม่สามารถควบคุม และจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองต่าง ๆ เหล่านั้นได้ บางครั้งเด็กยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า เขากำลังมีความรู้สึกอะไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เมื่อเด็กไม่รู้ หรือไม่สามารถจัดการได้ จึงทำให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ที่น่าตกใจ หรือพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมขึ้นมาได้ ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ทั้งรุนแรง และไม่รุนแรง เช่น ลูกก้าวร้าว โวยวาย ร้องไห้ทิ้งตัว ลงไปนอนดิ้น พูดคำหยาบคาย หรือแม้แต่เหตุการณ์ในข่าวเศร้า ที่จบปัญหาด้วยการทำให้อีกฝ่ายเสียชีวิต

แต่ละคนแสดงออกถึงอารมณ์โกรธแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นอารมณ์ของแต่ละคนตั้งแต่เกิด พันธุกรรม เป็นปัจจัยอันหนึ่ง คนที่มีความอดทนต่อความคับข้องใจได้น้อยมักเป็นคนโกรธง่าย การเลียนแบบบุคคลสำคัญหรือผู้ที่ใกล้ชิดก็มีผล  และอาจขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู เช่น การเลี้ยงแบบตามใจจนเกินไปทำให้แสดงอารมณ์โมโหได้ง่าย หรือถูกสอนว่าไม่ให้แสดงความไม่พอใจ จึงมีนิสัยเก็บความรู้สึกไว้เพราะกลัวจะถูกมองว่าเป็นคนก้าวร้าว รวมทั้งคนที่มีประสบการณ์เลวร้ายในอดีตอาจแสดงความโกรธง่ายกว่า และรุนแรงกว่าคนอื่น อย่างการทารุณกรรม การบูลลี่ (Bully)คนอื่น ก็เกิดจากการตอบสนองต่ออารมณ์โกรธของตัวเอง จากประสบการณ์ และการสั่งสอนที่ได้รับมา เป็นต้น

อารมณ์โกรธ ไม่ใช่ตัวร้าย!!

อารมณ์โมโห โกรธ หงุดหงิด เศร้า เสียใจ ท้อใจ เป็นอารมณ์ด้านลบที่ไม่ใช่เรื่องที่แย่ การที่ลูกมีอารมณ์เหล่านี้เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องที่ผิดจนทำให้พ่อแม่หงุดหงิดตาม และสั่งหรือแสดงออกให้ลูกเข้าใจว่าต้องเก็บกดอารมณ์เหล่านั้นไว้ อารมณ์โกรธเป็นเรื่องธรรมชาติ และเป็นตัวที่บอกถึงการมีสุขภาพดี การที่ไม่รู้สึกโกรธเลยต่างหากเป็นเรื่องของความไม่ปกติ  ทั้งนี้เพราะความโกรธเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเจ็บปวดทางกาย และอารมณ์ ในช่วงชีวิตของคนเราเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพบกับความไม่ถูกใจหรือผิดหวังในสิ่งที่ต้องการ ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีอารมณ์โกรธเลย การที่ลูกแสดงอารมณ์โกรธออกมา พ่อแม่จึงไม่ควรหงุดหงิดตาม แต่คิดเสียว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะสอนให้ลูกรู้จัก และเรียนรู้เรื่อง อารมณ์ตนเอง สอนให้ลูกเรียนรู้วิธีที่จะบริหาร ควบคุมหรือระบายความโกรธออกมาอย่างเหมาะสมต่างหาก

ช่วยลูกจัดการอารมณ์โมโห อย่างไร
ช่วยลูกจัดการอารมณ์โมโห อย่างไร

“อย่าโมโหสิ!! อย่าโกรธแบบนี้นะ!! ใจเย็น ๆ” คุณกำลังพูดแบบนี้เมื่อลูกโกรธหรือเปล่า??

อารมณ์เป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่มีผิด ไม่มีถูก หรือสามารถบังคับกันได้ เห็นได้จากตัวพ่อแม่เอง แม้จะเป็นผู้ใหญ่แล้วยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ 100% เลย ดังนั้น การไปห้ามว่า ลูกอย่าโมโหสิ ใจเย็น ๆ ลองถามตัวเองกลับดูว่า หากเรากำลังโกรธและได้รับคำห้ามแบบนี้ เราจะรู้สึกดีขึ้นหรือไม่ การห้ามยิ่งทำให้ลูกต้องเก็บกดอารมณ์โกรธนั้นไว้แทน จนกลายเป็นเด็กที่สะสมความโกรธ ขี้ฉุนเฉียว และรอวันระเบิดออกมา

สอนลูก “ยอมรับ” ด้วยการ “สะท้อนอารมณ์” ให้เขารับรู้!!

อย่างที่ได้กล่าวไปว่า เด็กบางคนอาจจะยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ที่เขากำลังรู้สึกอยู่นั้น เรียกว่า อารมณ์แบบไหน ดังนั้น หน้าที่ของพ่อแม่คือ การช่วยสะท้อนอารมณ์ของลูก ให้เขารับรู้ และยอมรับในอารมณ์ที่เกิดขึ้น เช่น โอเค ตอนนี้ลูกกำลังโกรธนะ หรือ หนูหงุดหงิดอยู่ใช่ไหมลูก เป็นต้น การสะท้อนอารมณ์จะทำให้ลูกเกิดการับรู้อารมณ์ตัวเอง เข้าใจตัวเองขึ้น และลูกจะรู้สึกดีขึ้น ที่พ่อแม่เข้าใจ และยอมรับความรู้สึกของเขา ไม่ตัดสิน ทั้งหมดนี้จะทำให้เด็กใจเย็นลงได้เอง

“ไม่ตัดสิน” คำ ๆ นี้สำคัญมาก และมักจะเป็นเรื่องที่พ่อแม่พลาดไป เมื่อลูกรู้สึกโกรธ หรือมีอารมณ์ทางลบ การที่พ่อแม่ยอมรับ แสดงความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจแล้วยังไม่พอ ควรระวังในคำพูดของเราเพิ่มขึ้นอีกสักหน่อย ยังไม่จำเป็นต้องสอนอะไรลูกมากมายในช่วงเวลานั้น เพราะคำพูดพร่ำสอนเหล่านั้น นอกจากจะเข้าไม่ถึงความคิดลูกแล้ว ยังเป็นการผลักให้ลูกออกไปจากพ่อแม่อีกต่างหาก

อ่านต่อ>> เคล็ดลับในการฝึกวิธีการจัดการความโกรธแก่ลูก คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up