สร้างวินัยเชิงบวก

4 เทคนิค “สร้างวินัยเชิงบวก” พูดแบบไหน?..ให้ลูกยอมทำตามแต่โดยดี

Alternative Textaccount_circle
event
สร้างวินัยเชิงบวก
สร้างวินัยเชิงบวก

สอนลูกแบบไหน ให้ลูกรู้สึกว่าเราไม่ได้สั่งหรือบังคับให้ลูกทำ มาดู 4 เทคนิค สร้างวินัยเชิงบวก รู้จักพูดให้ลูกเข้าใจและยอมทำตามด้วยความเต็มใจ กันค่ะ

4 เทคนิค “สร้างวินัยเชิงบวก” พูดแบบไหน?..ให้ลูกยอมทำตาม

ทำความเข้าใจกับ “เหตุผล” ของลูก

การที่เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น โมโหร้าย ตี ทำร้าย กัด พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู ไม่แบ่งปัน ไม่ทำตามกฎกติกา พฤติกรรมเหล่านี้ ไม่ได้เป็นเพราะลูกอยากจะทำตัวไม่ดีให้พ่อแม่ดุหรอกนะคะ พฤติกรรมเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่มีเหตุผลของลูกซ่อนอยู่ ดังนี้

  1. ลูกยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ สาเหตุหลักที่ลูกอาละวาด โมโหร้ายนั้น เป็นเพราะว่า สมองของเด็กวัยนี้ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ จึงยังไม่รู้ถึงวิธีการรับมือเมื่อมีอารมณ์โกรธ และยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหมือนผู้ใหญ่ ดังนั้น เมื่อลูกโกรธ และลูกต้องการระบายอารมณ์โกรธ สิ่งที่ทำได้คือการอาละวาดให้หายโมโหนั่นเอง
  2. ลูกอยู่ในวัยที่กำลังเรียนรู้ถึงกฎเกณฑ์และกติกา เด็กวัยนี้กำลังอยู่ในวัยที่ลองผิดลองถูก ในบางครั้งลูกก็อาจจะอยากที่จะแหกกฎเกณฑ์ที่พ่อแม่รวมถึงคนรอบข้างตั้งไว้ดูบ้าง เพื่อดูว่าพ่อแม่จะมีปฏิกิริยาอย่างไร และผลของการแหกกฎเกณฑ์ครั้งนี้เป็นอย่างไร
  3. เด็กกำลังเรียนรู้ภาษา เด็กวัย 2 ขวบจะยังไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่พูดได้ 100% ดังนั้นการที่พ่อแม่คาดหวังให้ลูกจะสามารถเข้าใจสิ่งที่พ่อแม่กำลังพูดกำลังสอนได้เหมือนผู้ใหญ่เลย เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
  4. พ่อแม่คาดหวังมากไปหรือเปล่า? ลอง​คิด​ถึง​การ​เปลี่ยน​แปลง​ที่​เกิด​ขึ้น​กับ​เด็ก​วัย​สอง​ขวบ ที่ตั้ง​แต่​เกิด​มา พ่อ​แม่​คอย​ดู​แล​เอา​ใจ​ใส่​เขา​ทุก​อย่าง ​เช่น วิ่งไปหาทันทีเมื่อลูกร้องไห้ เพื่อดูว่าลูกหิวนมหรือไม่ ต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือไม่ พ่อ​แม่​ทำ​ทุก​อย่าง​เพื่อ​ให้​ลูก​รู้สึก​สบาย​ขึ้น ​เพราะ​ลูก​​ยัง​ช่วยเหลือ​ตัว​เอง​ไม่​ได้ แต่เมื่อลูกอายุสอง​ขวบ เริ่มที่จะสื่อสารสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น สามารถทำอะไรเองได้มากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการเดินไปหยิบสิ่งที่ต้องการ การกินอาหารได้เอง ลูกจะ​เริ่ม​รู้​ว่า​พ่อ​แม่​ไม่​ได้​ทำ​อะไร​ให้​เขา​ทุก​อย่าง​อีก​ต่อ​ไป เมื่อพ่อแม่ไม่ทำสิ่งต่าง ๆ ​ให้​ลูกเหมือนตอนเป็นทารก แถมยังต้องการให้ลูกทำ​ตาม​ที่​พ่อ​แม่ต้องการ ตามกฎกติกาต่าง ๆ ​เด็ก​วัย​สอง​ขวบ​จึงอาจ​ไม่​ยอม​รับ​การ​เปลี่ยน​แปลงนี้ จึง​เริ่ม​ต่อต้าน​ด้วย​การ​ร้อง​อาละวาด

การที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ทราบถึงเหตุผลของลูก และดุด่าว่ากล่าวเพื่อไม่ให้ทำอีก จึงไม่ใช่ทางออกที่เหมาะสม เพราะเมื่อลูกไม่ได้รับการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ก็จะทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อไปอีกเรื่อย ๆ ดังนั้น เมื่อรู้ถึงสาเหตุที่ลูกอาละวาดแล้ว ทีมกองบรรณาธิการ ABK ก็มีวิธีรับมือและ สร้างวินัยเชิงบวก ให้กับเด็กอาละวาด เอาแต่ใจ มาฝากค่ะ

พูดแบบไหน?..ให้ลูกยอมทำตามแต่โดยดี

วินัยเชิงบวก
วินัยเชิงบวก

บางครั้งการออกคำสั่งก็ไม่ได้ช่วยให้ลูกเชื่อฟัง แต่อาจทำให้ต่อต้านกว่าเดิมด้วย

การ “สร้างวินัยเชิงบวก” ถือเป็นเรื่องที่พ่อแม่ยุคใหม่ต้องรู้จัก

เป็นการสอนและฝึกฝนเด็กให้มีพฤติกรรมตามที่เราคาดหวัง ด้วยการใช้การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

ตรงกับธรรมชาติการรับรู้และการเรียนรู้ของเด็ก

สร้างวินัยเชิงบวก
สร้างวินัยเชิงบวก
“สั่ง” แบบนี้ ไม่ดีแน่ “สอน” แบบนี้สิ ใช่เลย!
ใช้คำพูด “ห้าม” “ไม่ได้” “อย่า” “หยุด” เช่น

ห้ามเอามือเข้าปากนะ

เล่นต่อไม่ได้นะ เราจะกลับบ้านกันแล้ว

อย่าอมข้าว

หยุดร้องไห้

ใช้คำ ขอบคุณ ตามด้วยพฤติกรรมที่เราต้องการให้ลูกทำ เช่น

แม่ขอบคุณที่หนูจับช้อน แล้วตักข้าวเข้าปากเอง

ขอบคุณที่หนูเลิกเล่น แล้วกลับบ้านกับแม่

แม่ขอบคุณที่หนูเคี้ยวข้าว

ขอบคุณที่หนูใช้คำพูดดีๆ กับแม่

เลี้ยงลูก
เลี้ยงลูก
“สั่ง” แบบนี้ ไม่ดีแน่ “สอน” แบบนี้สิ ใช่เลย!
สั่งให้ทำกิจวัตรประจำวัน “เดี๋ยวนี้!” เช่น

“ตื่นเดี๋ยวนี้!”

“ไปอาบน้ำเดี๋ยวนี้!”

“เก็บของเล่นเดี๋ยวนี้!”

ให้ทางเลือกและให้ลูกตัดสินใจ เช่น

“หนูจะตื่นเลยหรือจะนอนต่ออีก 5 นาที”

“หนูจะเอาของเล่นพี่เป็ด หรือพี่ปลาโลมาไปอาบน้ำด้วย”

“หนูจะให้แม่ช่วยเก็บของเล่นหรือหนูจะเก็บคนเดียว”

พูดกับลูก
พูดกับลูก
“สั่ง” แบบนี้ ไม่ดีแน่ “สอน” แบบนี้สิ ใช่เลย!
สั่งให้ทำกิจวัตรประจำวัน “ดีๆ” เช่น

“นั่งดีๆ!”

“พูดดีๆ!”

บอกพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น

“นั่งหลังตรง ก้นติดเบาะ เท้าติดพื้นค่ะลูก”

“หนูกลืนข้าว แล้วค่อยพูดครับ”

สร้างวินัยเชิงบวก
สร้างวินัยเชิงบวก
“สั่ง” แบบนี้ ไม่ดีแน่ “สอน” แบบนี้สิ ใช่เลย!
ขู่ ให้ทำ เช่น

“ถ้าทานข้าวไม่เสร็จ ไม่ต้องไปเล่น จะปล่อยให้อยู่คนเดียวเลย”

บอกพฤติกรรมที่ต้องการให้เด็กทำ ตามด้วยสิ่งที่เขาอยากทำ เช่น

“เมื่อกินข้าวหมดแล้ว ไปเล่นได้เลยค่ะ”

 

จะเห็นว่า “การสั่ง” ไม่สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจของลูกได้ เนื่องจากในขณะที่ลูกอยากทำสิ่งหนึ่ง แล้วถูกห้ามหรือสั่งลูกจะรู้สึกว่าพ่อแม่ขัดใจ ทำให้เขาไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ และเกิดความรู้สึกไม่ดี ความไม่มั่นคงทางจิตใจที่เกิดขึ้นจะทำให้ลูกไม่พร้อมรับฟังสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่พูด และจะใช้พลังงานทั้งหมดในการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือต่อต้าน เพื่อให้ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ

ในทางตรงกันข้ามหากคุณพ่อคุณแม่ใช้เทคนิคเชิงบวกด้วย  “การสอน” เช่น การขอบคุณ การให้ทางเลือก และการบอกพฤติกรรมที่เหมาะสม จะสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจของลูกน้อย เพราะลูกจะไม่รู้สึกว่าพ่อแม่ห้ามในสิ่งที่เขาอยากทำและไม่รู้สึกถูกต่อว่าจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทำให้เขาอยู่ในอารมณ์ที่พร้อมจะรับฟัง เรียนรู้สิ่งที่พ่อแม่บอก และอยากจะทำตามด้วยตัวเอง เมื่อใช้เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวกในการสื่อสารเป็นประจำแล้ว เด็กๆ ก็จะมีโอกาสได้ฝึกฝนพฤติกรรมที่เหมาะสมจนติดเป็นนิสัยและกลายเป็นวินัยในตนเองได้นั่นเอง

การ สร้างวินัยเชิงบวก จึงเป็นหนทางหนึ่งที่ควรนำมาใช้ “สอน” แทนการ “สั่ง”เพื่อปลูกฝังให้เด็กมีหัวใจสวย ปัญญาเลิศเชิดชูคุณธรรมและอารมณ์ดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

8 วิธี สร้างวินัยเชิงบวก ง่ายๆ ป้องกันลูกดื้อ เริ่มได้ตั้งแต่ 1 ขวบ

เลี้ยงลูกวินัยเชิงลบ ส่งผลต่อพัฒนาการสมอง

6 ข้อสอนลูกเป็น คนดี มีภูมิคุ้มกัน ชีวิตพบแต่ความสุข

วิธีสอนลูกเรียนเก่ง เริ่มต้นได้ที่บ้าน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก อ.ดร. ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์สาขาพัฒนาการมนุษย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up