หยุดก่อนแม่!ทำตามเขาแต่หนูเสี่ยง ป้อนกล้วยลูก ถึงตาย

Alternative Textaccount_circle
event

ป้อนกล้วยลูก ทารกใคร ๆ ก็ป้อนกันไม่เห็นเป็นไรจริงหรือ? เมื่อแม่วัยใสป้อนกล้วยทารกจนเกิดวิจารณ์สนั่นโซเซียล ใครอยู่ทีมไหนบ้าง มาฟังความเห็นคุณหมอกัน

หยุดก่อนแม่!ทำตามเขาแต่หนูเสี่ยง ป้อนกล้วยลูก ทารกถึงตาย

ยังคงเป็นประเด็นถกเถียงกันมาไม่หยุด กับการ ป้อนกล้วยลูก ในเด็กทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เตือนกันมาหลายครั้งแล้วว่า การป้อนกล้วยเด็กอ่อนนั้นอันตรายถึงชีวิต แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังพบเห็นคุณแม่บางท่านยังคงป้อนกันอยู่ ด้วยเหตุผลส่วนตัวของแต่ละคน แต่ก็เป็นไปในทางเดียวกันว่า “ก็ป้อนกันมาแบบนี้ตั้งนาน ลูกก็โตขึ้นมาได้ไม่เห็นเป็นอะไร”

โซเซียลเดือด ความเห็นแตก เรื่อง ป้อนกล้วยลูก
โซเซียลเดือด ความเห็นแตก เรื่อง ป้อนกล้วยลูก

ข่าวเศร้า: ทารกกินกล้วย เสียชีวิต! ด้วยวัยเพียง 7 วัน

แต่กับบางครอบครัวเป็นเรื่องที่น่าอึดอัดใจมากกว่านั้น เมื่อคำสอนความเชื่อโบราณทำตามกันมานั้น เข้ามาเป็นประเด็นในการเลี้ยงลูกระหว่างคนรุ่นใหม่กับรุ่นเก่า จนกลายเป็นปัญหาครอบครัวกันไป วันนี้ ทีมแม่ ABK ขอเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงช่วยกันกระจายข่าว ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อมิให้เกิดเรื่องน่าเศร้ากับลูก กับหลาน กับเด็กทุกคนกันอีกต่อไป

ข่าวเศร้า : ยายดื้อป้อนกล้วยทารก เกิดมาแค่ 10 วันก็ต้องจบชีวิต

ล้างความเชื่อ!! ป้อนกล้วยเด็กอ่อนมาตั้งแต่โบราณ ไม่เป็นไรใช่ว่าไม่อันตราย

ความเชื่อ ความเคยชินกับการเลี้ยงเด็กตั้งแต่โบราณในเรื่องการป้อนกล้วย ป้อนอาหารเด็กอ่อนนั้น เป็นเรื่องที่เราควรทำความเข้าใจเสียใหม่กับคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย และคุณแม่บางท่าน เพราะถึงแม้ว่าประสบการณ์การเลี้ยงเด็กของคนรุ่นก่อน จะมีการป้อนกล้วย ป้อนอาหารลูกแล้วไม่เกิดอันตราย สามารถเติบโตขึ้นมาได้ แต่ใช่ว่าเรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เนื่องจากในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สภาพร่างกายของทารกนั้นมีระบบย่อย และดูดซึมอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ไม่สามารถย่อยอาหารได้เหมือนดั่งร่างกายของผู้ใหญ่ จึงไม่ควรนำอาหารที่ไม่เหมาะสมกับร่างกายทารกมาป้อนให้เขา

กล้วย สำหรับเด็กอ่อนอันตราย
กล้วย สำหรับเด็กอ่อนอันตราย

กรมอนามัยล้างความเชื่อ/ย้ำเป็นช่วงสำคัญทารกต้องกินนมแม่อย่างเดียว

นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัยเปิดเผยว่า จากข่าวในสังคมออนไลน์ที่แม่สูญเสียลูก เนื่องจากปู่กับย่าได้ป้อนยาลูกกลอนพร้อมกล้วยหอมและกระเทียม โดยบอกว่าทำกันมาตั้งแต่โบราณ แต่หลังจากนั้นเด็กเสียชีวิตซึ่งแพทย์ระบุว่าร่างกายเด็กไม่สามารถรับได้ ความเชื่อและการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลก และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ เด็กควรได้กินนมแม่อย่างเดียวติดต่อกันตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน โดยไม่ต้องให้น้ำหรืออาหารอื่น เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารครบถ้วน ย่อยง่ายและถูกสร้างมาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของทารกที่มีระบบย่อยและดูดซึมอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่

หากกินอาหารอื่นที่ไม่ใช่นมแม่เข้าไป อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติ เช่น ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเสีย แพ้อาหาร และเสี่ยงเสียชีวิตจากลำไส้อุดตัน แต่หลังจากทารกอายุครบ 6 เดือน เมื่อระบบย่อยและดูดซึมอาหารพัฒนาได้ค่อนข้างสมบูรณ์แล้วจึงให้เริ่มกินอาหารที่เหมาะสมตามวัย เช่น กล้วยน้ำว้า ไข่แดง ข้าว ผัก ผลไม้ และสารอาหารอื่นๆ ควบคู่กับกินนมแม่ต่อเนื่องไปจนถึงอายุอย่างน้อย 2 ขวบ

ทั้งนี้ นมแม่ ถือเป็นอาหารที่มีคุณค่าที่สุดสำหรับลูก มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด ที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต พัฒนาสมอง จอประสาทตา ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว นมแม่ในระยะ 1-7 วันแรก จะมียอดน้ำนมที่เรียกว่า หัวน้ำนม หรือโคลอสตรัม ถือเป็นยอดอาหารที่อุดมไปด้วยสารคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ครบถ้วน ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำนมแม่มีภูมิคุ้มกันสูงสุด เปรียบเสมือนได้รับวัคซีนหยดแรกของชีวิต เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ ทารกที่ดื่มนมแม่จึงมีภูมิต้านทานต่อต้านเชื้อโรค และช่วยลดอัตราเสี่ยงเกิดโรคต่างๆ

ข้อมูลอ้างอิงจาก siamrath.co.th

ร่วมด้วยช่วยกัน หยุดพฤติกรรมเสี่ยงต่อทารก

พฤติกรรมเสี่ยงต่อทารก พฤติกรรมหนึ่ง นั่นคือ การป้อนกล้วย หรือป้อนอาหารใด ๆ ต่อเด็กทารกก่อน 6 เดือน นับเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงอันตราย เสี่ยงทำให้ทารกเสียชีวิตได้ มาดูโทษของการป้อนอาหารเด็กอ่อน ก่อนจะทำพฤติกรรมตาม ๆ กันมานี้กันเถอะ

โทษของการป้อนกล้วยลูก

  1. ทำให้เด็กขาดอาหาร เนื่องจากสารอาหารที่มีอยู่ในกล้วย หรืออาหารอื่นนั้น ทารกยังไม่สามารถย่อย และดูดซึมนำมาใช้ได้ดีพอ อาหารที่สามารถทำให้ลูกได้รับอย่างเต็มที่นั่นคือ นมแม่ เราสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวจนถึง 6 เดือนโดยไม่ต้องเสริมอาหารอะไรอื่น แต่หากนมแม่ไม่เพียงพอ แนะนำว่าสามารถรับประทานนมผงเสริมได้ โดยหากเสริมด้วยนมผงสามารถให้เด็กจิบน้ำตามได้
  2. อาจเกิดภาวะลำไส้อุดตัน เพราะ เด็กไม่มีเอนไซม์ในการย่อยเหมือนผู้ใหญ่ กล้วยแม้ว่าจะดูย่อยง่ายในผู้ใหญ่ แต่ไม่ใช่สำหรับเด็กเล็ก
  3. ขาดอากาศหายใจจากภาวะทางเดินหายใจอุดตัน หากมีเศษอาหารแม้เพียงชิ้นเล็ก ๆ หลุดเข้าไปในหลอดลมขณะป้อนอาหาร อาจทำให้เด็กหายใจไม่ได้ ขาดอากาศหายใจถึงแก่ชีวิตได้

นมแม่อย่างเดียว ถึง 6 เดือน เพียงพอแล้ว!!

นมแม่เป็นอาหารที่มากด้วยคุณค่า มีสารอาหารที่จำเป็นเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเด็กทารกแรกเกิด – 6 เดือนโดยไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริมใด ๆ แม้แต่น้ำเปล่า นอกจากนี้นมแม่ยังเป็นอาหารที่สามารถย่อย และดูดซึมได้ดี ซึ่งเหมาะกับระบบทางเดินอาหารของทารก ที่มีข้อจำกัดในการสร้างน้ำย่อย และดูดซึมอาหาร ที่ไม่มีประสิทธิภาพมากเท่ากับผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงอยากรณรงค์ให้ใช้นมแม่เพียงอย่างเดียวในการเลื้ยงลูก ถูก ดี มีอยู่กับตัว ต้องนมแม่สิแน่จริง!

ฟังคำแนะนำจากคุณหมอ!!

ในการกินอาหารต่างๆ นั้น ลําไส้ของคนเราจะมีการย่อยการดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร โดยใช้น้ำย่อยหลายชนิดที่สร้างจากกระเพาะอาหาร ตับ และตับอ่อน แต่ระบบทางเดินอาหารของทารกแรกเกิดมีข้อจําากัดในการสร้างน้ำย่อยเหล่านี้ ทําให้การย่อยการดูดซึมอาหารไม่มีประสิทธิภาพมากเท่ากับผู้ใหญ่

อาหารของทารกแรกเกิดที่ดีที่สุดคือนมแม่ ซึ่งสามารถย่อยและดูดซึมได้ดี  แต่ถ้าหากป้อนอาหารอื่นๆ ให้แก่ทารกแรกเกิด เช่น ข้าวหรือกล้วย อาหารเหล่านี้จะไม่สามารถย่อยและดูดซึมในกระเพาะอาหารและลําไส้ของทารกได้ และจะก่อให้เกิดปัญหาลําไส้อุดตันจากเศษอาหารที่ไม่ย่อยนี้ได้ ถ้ารุนแรงมากอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดลําไส้เลยทีเดียว

ร่างกายของทารกจะมีความพร้อมที่จะรับอาหารอื่นๆ นอกจากนมเมื่ออายุประมาณ 4 เดือน เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุด และมีสารอาหารครบถ้วนสําหรับทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน จึงแนะนําให้เริ่มอาหารชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากนมแม่เมื่ออายุได้ 6 เดือนขึ้นไปค่ะ

Volume:ฉบับที่ 14 เดือน พฤษภาคม 2557 Column:Believe it or not
Writer Name:พญ.อรพร ดำรงวงศ์ศิริ
สาขาวิชาโภชนวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.rama.mahidol.ac.th
เด็กเกิดภาวะลำไส้อุดตัน เพราะ ป้อนกล้วยลูก
เด็กเกิดภาวะลำไส้อุดตัน เพราะ ป้อนกล้วยลูก

ภาวะลำไส้อุดตันในทารก

ภาวะที่สิ่งต่าง ๆ เช่น น้ำ อาหาร น้ำย่อย หรือของเหลวต่าง ๆ ในลำไส้ไม่สามารถเคลื่อนผ่านในลำไส้ได้ตามปกติ ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด อึดอัด ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน และไม่ผายลม เรียกภาวะดังกล่าวว่า ภาวะลำไส้อุดตัน ซึ่งอาการที่ปรากฎนั้นจะค่อย ๆ เกิดขึ้นทีละน้อย จึงทำให้ไม่เป็นที่สังเกต จนกระทั่งมีอาการหนัก ปวดท้องอย่างรุนแรงถึงทราบว่า เด็กมีภาวะลำไส้อุดตัน

ปวดท้องลำไส้อุดตัน แตกต่างจากปวดท้องธรรมดาอย่างไร?

อาการปวดท้องของผู้มีภาวะลำไส้อุดตัน มักเริ่มต้นจากตรงกลางหน้าท้องใกล้สะดือ ไม่ต่ำกว่านั้น และไม่เปลี่ยนตำแหน่งที่ปวด แต่ถ้ามีการอุดตันลำไส้ใหญ่ จะปวดตรงส่วนล่างของหน้าท้อง

นมแม่ อาหารที่ดีที่สุดของเด็กทารก
นมแม่ อาหารที่ดีที่สุดของเด็กทารก

อาการที่ควรสังเกตก่อนสาย!!

อย่างที่ทราบกันดีว่าอาการที่แสดงถึงภาวะลำไส้อุดตันนั้นจะเกิดทีละน้อย ทำให้สังเกตยากแล้ว หากเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับทารกที่ไม่สามารถบอกกล่าวถึงความรู้สึกของตนเองได้ด้วยแล้วยิ่งทำให้การสังเกตถึงโรค ยากขึ้นไปอีก แต่เราสามารถสังเกตอาการร่วมต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อประเมินอาการภาวะลำไส้อุดตันในทารกได้

  • มีอาการท้องผูกติดต่อกันนาน แม้พ่อแม่จะหาวิธีการบรรเทาอาการท้องผูกอย่างไรก็ไม่สามารถถ่ายได้
  • อาการอึดอัดท้อง แน่นท้อง ร้องไห้งอแง
  • เมื่อสวนอุจจาระ จะมีน้ำปนออกมา ต่อมาน้ำที่ออกมาจะใส
  • อาเจียน ช่วงแรก ๆ จะมีเศษอาหารปนออกมาเหมือนอาเจียนทั่ว ๆ ไป จากนั้นจะเป็นสีเขียว สีน้ำตาล (มีน้ำดีปนออกมา) และมีกลิ่นคล้ายอุจจาระ
  • ลมหายใจมีกลิ่นผิดปกติ
  • คลำช่องท้องอาจพบก้อนเนื้อ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อันตรายถึงชีวิต!! ป้อนข้าวลูกท่านอน ทารกสำลักถึงตาย

apgar score คือ อะไร? การประเมินสุขภาพทารกที่แม่ควรรู้

ถอดรหัส 18 ภาษาทารก ลูกร้องแบบนี้..แปลว่าอะไรนะ?

3 สาเหตุ ทารกผมร่วง ลูกผมน้อย ผมบาง โดยคุณหมอแป๊กกี้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up