หวัดลงกระเพาะ

หวัดลงกระเพาะ ระบาดในเด็กเล็ก! วิธีรับมือเมื่อลูกอาเจียน-ท้องเสีย

Alternative Textaccount_circle
event
หวัดลงกระเพาะ
หวัดลงกระเพาะ

หวัดลงกระเพาะ หรือ ไวรัสลงกระเพาะ โรคที่มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด แต่มีอันตรายมากกว่าหากไม่รีบรักษา โดยเฉพาะหากโรคนี้เกิดขึ้นกับทารก และเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี

หวัดลงกระเพาะ ระบาดในเด็กเล็ก! วิธีรับมือเมื่อลูกอาเจียน-ท้องเสีย

หวัดลงกระเพาะ คืออะไร?

แม่ ๆ มักจะคุ้นชินกับโรคไวรัสลงกระเพาะ ซึ่งโรคนี้มักจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเป็นน้ำ ทำให้คิดว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือระบบทางเดินอาหารอักเสบ แต่จริง ๆ แล้ว ตัวร้ายของโรคไวรัสลงกระเพาะ คือเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสนี้นอกจากอาการไอ จาม มีไข้ และมีน้ำมูกแล้ว ไวรัสนี้ยังทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน และถ่ายเป็นน้ำร่วมด้วย นี่เป็นเพราะเชื้อไวรัสได้เข้าไปเกิดอาการอักเสบที่บริเวณกระเพาะอาหาร หรือบริเวณลำไส้ เมื่อมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไปแล้ว ทำให้โรคนี้ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคหวัดธรรมดา ไม่ได้อันตรายร้ายแรงอะไร แต่ทราบไหมคะว่าเมื่อเป็น หวัดลงกระเพาะ แล้ว หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

ไวรัสลงกระเพาะ หรือ หวัดลงกระเพาะ คือ ภาวะติดเชื้อไวรัสในกระเพาะอาหารและลำไส้ อาจเกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรค หรือใช้เครื่องใช้ที่มีอุจจาระ อาเจียน หรือน้ำลายปนเปื้อนเชื้อโรคติดอยู่ รวมทั้งการคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคนี้โดยตรง ผู้ป่วยมักอุจจาระเป็นน้ำ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีไข้ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักหายจากโรคนี้ได้เอง แต่เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแออาจมีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ อีกทั้งยังไม่มีวิธีรักษาภาวะนี้โดยตรง ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการรักษาประคับประคองตามอาการจนกว่าจะหายดี ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารและน้ำดื่มที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค และล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันโรค

ไวรัสลงกระเพาะ
ไวรัสลงกระเพาะ

เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคหวัดลงกระเพาะ มีหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ได้แก่

  1. โรต้าไวรัส หรือ Rotavirus มักจะพบได้บ่อยในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะทารกที่มีอายุ 3-15 เดือน เนื่องจากเด็กในวัยนี้จะชอบเอามือเข้าปาก หรือหยิบสิ่งของเข้าปาก ผู้ป่วยมักมีอาการปรากฏหลังได้รับเชื้อแล้ว 1-3 วัน และอาจป่วยนาน 3-7 วัน แม้ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่มักไม่แสดงอาการ แต่อาจเป็นพาหะแพร่เชื้อสู่เด็กเล็กได้เช่นกัน เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อโรต้าไวรัสแล้ว จะทำให้มีส่งไข้ อาเจียน ท้องเสีย และปวดท้อง และในเด็กเล็กที่ภูมิคุ้มไม่มากพอ อาจมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง หรือมีสัญญาณของภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ลำตัวเย็น ปัสสาวะลดลง ตาโหล ได้ (อ่านต่อ รู้จัก ไวรัสโรต้า ต้นเหตุลูกน้อยท้องร่วง พร้อมราคาวัคซีน)
  2. โนโรไวรัส หรือ Norovirus เป็นไวรัสในกลุ่มที่ก่อ “โรคหวัดลงกระเพาะหรือ สต็อมมัค ฟลู (stomach flu)” โรคนี้จะปรากฏอาการของโรคหลังได้รับเชื้อเข้าไปเพียง 24-48 ชั่วโมง หรือเกิดอาการได้เร็วกว่านั้น หากเริ่มมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเนื้อปวดตัว อาเจียน ปวดท้องมาก ท้องเสีย อ่อนเพลีย อาการของโรคจะเป็นอยู่ไม่นานเพียงวันสองวัน และอาการมักไม่หนัก แต่ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกว่าไม่สบายเอามาก ๆ ทีเดียว สำหรับเด็ก ผู้สูงวัย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอมักมีอาการหนักกว่าหนุ่มสาว (อ่านต่อ แม่แชร์! ลูกอึเป็นเมือกจาก ไวรัส โนโร หากเป็นหนัก อาจตายได้)
  3. อะดีโนไวรัส หรือ Adenovirus เชื้อไวรัสอะดีโน ทําให้เกิดอาการ ผิดปกติได้หลายแบบ ทั้งในระบบทางเดินหายใจ ระบบ ทางเดินอาหาร และตา การติดเชื้อไวรัสอะดีโนทําให้เกิดอาการได้หลายแบบ เช่น คออักเสบ ตาแดง ปอดอักเสบ และอุจจาระร่วง นอกจากนั้น ยังอาจทําให้เกิดอาการรุนแรงโดยเฉพาะเกิดปอดอักเสบ ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และในเด็กเล็ก

จะเห็นได้ว่าไวรัสแต่ละชนิด ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดอาการร้ายแรงถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะภาวะขาดน้ำ ดังเช่นข่าวที่พบกันได้บ่อย ๆ ว่ามีผู้ป่วยท้องเสียจนเสียชีวิต ดังนั้น ทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่ระบาด อาการ และการป้องกัน หวัดลงกระเพาะ มาฝากค่ะ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ หวัดลงกระเพาะ ติดต่อกันได้อย่างไร? มีอาการอย่างไร? และวิธีการป้องกัน

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up