หวัดลงกระเพาะ

หวัดลงกระเพาะ ระบาดในเด็กเล็ก! วิธีรับมือเมื่อลูกอาเจียน-ท้องเสีย

Alternative Textaccount_circle
event
หวัดลงกระเพาะ
หวัดลงกระเพาะ

หวัดลงกระเพาะ ติดต่อกันได้อย่างไร?

ไวรัสทั้ง 3 ชนิดที่ได้กล่าวไปนั้น มักจะมากับเชื้อโรคและอากาศ คือ เมื่อมีอาการ ไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ เชื้อไวรัสดังกล่าวจะออกมาด้วย จากนั้นเชื้อไวรัสจะเกาะอยู่บริเวณต่าง ๆ ตามสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น อาหาร ลูกบิดประตู ของเล่นเด็ก ฯลฯ สำหรับเด็กเล็กที่อยู่ในวัยที่ชอบเอามือเข้าปาก หรือเอาของเล่นเข้าปาก จึงมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่าย

การรับประทานอาหารหรือการดื่มน้ำซึ่งปนเปื้อนเชื้อไวรัสเหล่านี้ หรือการกลืนเชื้อไวรัสจากเครื่องใช้ที่เปื้อนอุจจาระ อาเจียน หรือน้ำลายของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ รวมทั้งการรับประทานอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อนโดยไม่ผ่านการปรุงสุก เช่น หอยนางรมดิบ ก็ทำให้ติดโรคในระบบทางเดินอาหารเหล่านี้ได้เช่นกัน

นอกจากนี้ การคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคนี้โดยตรง ก็ทำให้ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เช่น การใช้แก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน หรือส้อมร่วมกับผู้ป่วย และการสัมผัสมือ เสื้อผ้า หรือผ้าอ้อมที่มีเชื้อไวรัสติดอยู่

วิธีสังเกตอาการว่าลูกเป็น หวัดลงกระเพาะ หรือไม่?

ไวรัสลงกระเพาะอาจมีอาการคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารจากแบคทีเรีย โดยมีอาการเบื้องต้น ดังนี้

  • อุจจาระเป็นน้ำ ซึ่งมักไม่มีเลือดปนแต่อาจเกิดขึ้นได้หากติดเชื้อรุนแรง
  • เป็นตะคริวบริเวณท้อง และปวดท้อง โดยไม่ได้ปวดเฉพาะที่จุดใดจุดหนึ่ง
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือทั้ง 2 อย่าง
  • ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อ หรือข้อ
  • มีไข้ต่ำ รู้สึกหนาวสั่น
  • ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด

อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อ 12-48 ชั่วโมง และอาจมีอาการรุนแรงแตกต่างกันตามเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรค ซึ่งอาการป่วยมักหายได้เองภายใน 1-3 วัน แต่อาจป่วยยาวนานได้ถึง 10 วัน อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการ และไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการรุนแรง ดังต่อไปนี้

  • ทารก
    • อาเจียนนานหลายชั่วโมง
    • ไม่ปัสสาวะนานกว่า 6 ชั่วโมง
    • อุจจาระเป็นเลือด หรือเหลวมาก
    • กระหม่อมบุ๋ม ตาโหล
    • ปากแห้ง หรือร้องไห้โดยไม่มีน้ำตา
    • นอนมาก ซึมลง หรือไม่ตอบสนอง
  • เด็กเล็ก
    • มีไข้สูง
    • ซึมลง หรือกระสับกระส่ายผิดปกติ
    • งอแง ไม่สบายตัว หรือปวดท้องมาก
    • อุจจาระเป็นเลือด
    • เสี่ยงเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรง โดยควรสังเกตจากการเปรียบเทียบปริมาณน้ำที่ดื่มกับการปัสสาวะว่าผิดปกติหรือไม่
ไวรัสโรต้า
ไวรัสโรต้า

การรักษาและการป้องกัน หวัดลงกระเพาะ

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาเฉพาะ จะรักษาตามอาการ เมื่อพบว่าลูกมีอาการเข้าข่ายติดเชื้อไวรัสดังกล่าว หากเกิดอาการคลื่นไส้รุนแรงให้กินเกลือแร่ทดแทนการขาดน้ำในร่างกายทันที หากมีอาการอาเจียน ให้คุณพ่อคุณแม่พยายามป้อนอาหารอ่อน น้ำสะอาด นมหรือน้ำหวาน ผ่านการใช้ช้อนชา ไม่ควรสัมผัสกับมือโดยตรง พยายามป้อนอาหารทีละนิด รอดูอาการภายใน 30 นาที แล้วค่อยป้อนใหม่ หากมีอาการอาเจียนน้อยลง พยายามป้อนอาหารให้มากขึ้น เพราะอาหารจะทำให้ร่างกายมีพลังงาน สร้างภูมิต้านทานและลดเชื้อโรคลงได้ในที่สุด สังเกตว่าเด็กมีอาการดีขึ้นได้จากอาการหิว ถ้าอาการแย่ลง กินอาหารไม่ได้และอาเจียนรุนแรงขึ้น ต้องส่งพบแพทย์เพื่อให้น้ำเกลือทันที

ปัจจุบัน คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรต้า โดยการพาลูกไปหยอดวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า และแม้ว่าเชื้อไวรัสอะดีโน และเชื้อไวรัสโนโร จะยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันไม่ให้ลูกติดเชื้อได้ดังนี้

  • ผู้เลี้ยงเด็กต้องหมั่นล้างมือทุกครั้ง
  • ก่อนจะหยิบจับอาหารหรือชงนมให้เด็กที่กินนมผสม รวมทั้งขวดนม จุกนม ต้องล้างทำความสะอาดหลังการใช้ทันทีและฆ่าเชื้อโดยการต้มจนเดือดอย่างน้อย 10 – 15 นาที
  • ควรชงนมในปริมาณที่กินหมดในครั้งเดียว ถ้ายังกินไม่หมดควรมีฝาครอบจุกให้มิดชิดและไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 2 ชม

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นทำความสะอาดของเล่น ของใช้ ต่าง ๆ ที่ลูกอาจจะหยิบจับเอาเข้าปากได้ เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจเข้าสู่ร่างกายของลูกได้

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจคลิก

ตารางวัคซีน 2564 ปีนี้มีปรับรายละเอียด? ลูกต้องฉีดอะไร ตอนไหนบ้าง เช็กเลย!

ลูกชอบอมมือ-เอามือเข้าปาก พรากชีวิตลูกได้จากโรคท้องเสียในเด็ก

RSV คือ อะไร? เตรียมรับมือกับไวรัสอันตรายในหน้าฝน

อนุมัติแล้ว! เด็กไทยฉีด “วัคซีน HIB” ฟรี!! ป้องกันได้ 5 โรค

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : พบแพทย์, สสส., www.hfocus.org, pidst.or.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up