วิธีกักตัวที่บ้าน

ติดโควิด 5 วิธีกักตัวที่บ้าน ดูแลตัวเองและลูกๆ ระหว่างรอเตียง

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีกักตัวที่บ้าน
วิธีกักตัวที่บ้าน

#ติดโควิด จะมี วิธีกักตัวที่บ้าน ยังไงให้ปลอดภัยต่อตัวเองและลูกๆ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยอดผู้ติดเชื้อหลักหมื่นต่อวัน บุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ หาเตียงไม่ได้ แผนกฉุกเฉิน  ICU เต็ม ผู้ป่วยกลุ่มอาการสีเขียว ต้องรักษาตัวเองที่บ้าน รวมถึง กลุ่มสีเหลือง ต้องเฝ้าดูอาการตัวเองที่บ้านระหว่างรอเตียง ควรปฏิบัติตัวอย่างไร คุณหมอแป๊กกี้ เจ้าของเพจ Dr.Pakky หม่ามี้หมอเด็ก ได้แนะแนวทาง 5 วิธีกักตัวที่บ้าน อย่างปลอดภัย ป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายคนในครอบครัว ดังนี้

ในช่วงสถานการณ์ที่โควิดระบาดมากๆ นี้  มีคน 4 กลุ่มที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน คือ

4 กลุ่มที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน

1. คนที่ติดเชื้อโควิดและอาการไม่มากจะจัดอยู่ในกลุ่มคนอาการสีเขียว ซึ่งสามารถกินยาและดูแลอาการของตัวเองที่บ้านได้

2. คนที่ตรวจแล้วพบเชื้อโควิดแล้วมีอาการอยู่ในกลุ่มสีเหลืองที่อยู่ในช่วงรอเตียง

3. คนที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิดแต่ตัวเองรอตรวจอยู่ (เพราะคิวนาน)

4. คนที่ตรวจโควิดครั้งแรกแล้วไม่พบเชื้อ ต้องรอตรวจครั้งที่สอง

คนเหล่านี้จำเป็นต้องกักตัวเองอยู่บ้าน แต่การอยู่ร่วมบ้านเดียวกันกับคนในครอบครัวต้องมีความระวังอย่างมากที่จะไม่แพร่กระจายเชื้อให้กับคนที่เรารักในครอบครัว เชื้อโควิดเป็นเชื้อที่มีการติดต่อกันผ่านทางเดินหายใจ และการสัมผัสเอาเข้าปาก และยังสามารถพบเชื้อในอุจจาระได้ด้วย ดังนั้น หมอสรุปการปฏิบัติตัวคร่าวๆ มาดังนี้ค่ะ

5 วิธีกักตัวที่บ้าน ให้ปลอดภัยต่อตัวเองและลูกๆ

1. แยกบริเวณให้ชัดเจน

ควรแยกห้องนอน ห้องน้ำ ถ้าในบ้านไม่สามารถแยกห้องน้ำได้ ให้ใช้เป็นคนสุดท้าย แล้วทำความสะอาดลูกบิด ที่รองนั่งทุกครั้งหลังใช้ และเนื่องจากมีการพบเชื้อในอุจจาระ จึงต้องปิดฝาชักโครกก่อนที่จะกดชักโครกทุกครั้งเพราะอาจจะทำให้เชื้อแพร่กระจายได้

2. แยกของกิน ของใช้ทุกอย่างจากคนในบ้าน

ไม่ทำอาหารให้คนอื่นทาน ไม่กินอาหารร่วมสำรับเดียวกัน  ไม่กินอาหารพร้อมกับคนอื่น ต้องแยกมากินคนเดียวในห้องแยกนะคะ อุปกรณ์การกินก็ต้องแยกจากคนอื่นด้วยค่ะ

3. ใส่หน้ากากตลอดเวลา

ใส่หน้ากากตลอดเวลา ถ้ามีคนอื่นอยู่ในบริเวณห้องด้วย แต่ถ้าอยู่คนเดียวในห้องปิดก็ไม่ใส่หน้ากากได้

4. สังเกตอาการตัวเอง

ว่าเหนื่อยขึ้นไหม มีแน่นหน้าอก กินอาหารได้ไหม มีอาการอย่างไร วัดไข้ วัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว กินยาตามแพทย์สั่ง ถ้ามีอาการเล็กน้อยทั่วไปสามารถกินยาตามอาการได้เลย เช่น มีไข้ก็กินยาลดไข้  แน่นจมูก มีน้ำมูกก็กินยาลดน้ำมูกแน่นจมูกได้ ไอกินยาแก้ไอได้ แต่ถ้ามีอาการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ให้ติดต่อแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที

สังเกตอาการ โควิด

5. มีการสื่อสารกับคนในครอบครัวหรือ เพื่อนๆ หรือเจ้าหน้าที่ทางโทรศัพท์ตลอด

ในบ้านที่มีลูกและต้องแยกจากลูก ต้องสื่อสารกับลูกเลยค่ะ (ทางวิดิโอคอล) บอกเค้าว่าคุณอยู่ในช่วงกักตัวโควิดซึ่งอาจจะติดต่อสู่ลูกได้ เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วจะได้กลับมาอยู่ด้วยกันเหมือนเดิม หมั่นให้กำลังใจตัวเอง โรคนี้ในคนส่วนใหญ่อาการมักไม่มาก คล้ายกับหวัดนะคะ เมื่อเวลาผ่านไป 10-14 วันอาการมักจะดีขึ้นตามลำดับ แต่มีคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น อายุมาก มีโรคประจำตัวซึ่งจะมีอาการรุนแรงได้

ดังนั้น อยากให้ทุกคนมีกำลังใจต่อสู้กับสงครามเชื้อโรคนี้ แล้วเราจะผ่านไปด้วยกันนะคะ สู้ๆ นะคะ

ด้วยความห่วงใย จากหมอแป๊กกี้ เพจ Dr.pakky หม่ามี้หมอเด็ก

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 


Heatlh Quotient ฉลาดดูแลสุขภาพ หนึ่งใน Power BQ 10 ความฉลาดที่เด็กยุคใหม่ควรมี เริ่มต้นที่คุณพ่อคุณแม่ เตรียมพร้อมในการดูแลรักษาสุขภาพลูกน้อย และทุกคนในครอบครัว รวมถึง สอนให้ลูกน้อยรู้จักดูแลรักษาสุขภาพตนเอง เพราะร่างกายที่แข็งแรงเป็นต้นทุนชีวิตที่ดี สู่การเรียนรู้สิ่งต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ


ติดตามเรื่องราวน่ารู้ และมุมมองในการดูแลเด็ก กับคุณหมอแป๊กกี้

ได้ที่เพจ Dr.pakky หม่ามี้หมอเด็ก

หมอแป๊กกี้

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เช็กสิทธิรับ เงินเยียวยาโควิด ม.33 ม.39-40 ต้องทำยังไง ได้เงินวันไหน?

ลูก เครียดเพราะเรียนออนไลน์ พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร?

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up