วัคซีน Pfizer

ทำความรู้จัก!! วัคซีน Pfizer ป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็ก

Alternative Textaccount_circle
event
วัคซีน Pfizer
วัคซีน Pfizer

รัฐบาลเผย!! วัคซีน Pfizer 30 ล้านโดส ทยอยเข้าไทยตุลาคมนี้ ทยอยฉีดให้เด็ก 12-18 ปี ประมาณ 4 ล้านคน ก่อนรัฐบาลเปิดให้เด็ก ๆ ได้ฉีด เรามาทำความรู้จักกับวัคซีนไฟเซอร์กันเถอะ!!

ทำความรู้จัก!! วัคซีน Pfizer ป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็ก

เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “แจงให้เคลียร์กับทีมโฆษกรัฐบาล” ถึงการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้เด็กอายุเกิน 12 ปีขึ้นไป ตามข่าวดังนี้

รัฐบาล เผยไฟเซอร์ 30 ล้านโดส ทยอยเข้าไทย ต.ค.นี้ จะทยอยฉีดให้เด็ก 12-18 ปี ประมาณ 4 ล้านคน ย้ำผู้ปกครองไม่ต้องกังวล ดูแลทุกกลุ่มแน่นอน

เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ ”แจงให้เคลียร์กับทีมโฆษกรัฐบาล” ถึงการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้เด็กอายุเกิน 12 ปีขึ้นไป ว่า ที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 7 โรค และขณะนี้รัฐบาลลงนามจัดซื้อวัคซีนวัคซีนไฟเซอร์ 30 ล้านโดส โดยจะทยอยเข้ามาในเดือน ต.ค.นี้ และจะทยอยฉีดให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ที่จะต้องไปโรงเรียนและรวมกลุ่มทางสังคม เนื่องจากได้รับการยอมรับให้ฉีดในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้

โดยกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ จะบริหารจัดการวัคซีนให้เด็กอายุระหว่าง 12- 18 ปี ที่มีประมาณ 4 ล้านคน และวันนี้ได้ฉีดให้เด็กอายุ 12-18 ปี ที่อยู่ในกลุ่ม 7 โรคเสี่ยงแล้วเหมือนกับประชาชนทั่วไป ฉะนั้นผู้ปกครองไม่ต้องกังวลเพราะรัฐบาลดูแลคนทุกกลุ่มอย่างแน่นอน

ขอบคุณข่าวจาก : ข่าวสด

สำหรับแม่ ๆ ที่มีลูกอายุ 12 – 18 ปี อาจจะกังวลถึงอาการข้างเคียงและอยากรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ วัคซีน Pfizer เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายให้ลูกเมื่อถึงเวลาที่จะได้รับวัคซีน ทีมแม่ ABK จึงขอรวบรวมข้อมูล วัคซีน Pfizer มาให้ได้อ่านกันค่ะ

วัคซีนไฟเซอร์
วัคซีนไฟเซอร์

รู้จักวัคซีนโควิดชนิดต่าง ๆ

เราทราบกันดีว่าวัคซีนโควิดนั้นมีหลากหลายชนิด มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ก่อนอื่น มาทำความรู้จักวัคซีนโควิดชนิดต่าง ๆ กันก่อนค่ะ วัคซีนโควิดในขณะนี้มีอยู่ 3 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่

  1. วัคซีนชนิด mRNA คือ การใช้สารพันธุกรรม RNA ไวรัส ส่วนที่สร้างโปรตีนหนามแหลมแล้วห่อหุ้มด้วยไขมันเพื่อให้เชลล์ของเราสร้างหนามแหลม (Spike) โปรตีนมากระตุ้นการสร้างภูมิต้านทาน วัคซีนชนิดนี้ เช่น ไฟเซอร์ – ไอโอเอ็นเทค (Pfizer – BioNTech) และโมเดอร์นา (Moderna)
    • วัคซีนนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้สูง
    • ในอดีตยังไม่มีวัคซีนที่ผลิตด้วยกระบวนการนี้ใช้ในมนุษย์มาก่อน
    • ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิ -70 ํC ถึง -20 ํC ทำให้ขนส่งได้ยากราคาแพง
  2. วัคซีนชนิดไวรัสเวคเตอร์ คือ การใช้พันธุกรรมส่วนหนามแหลมของไวรัสที่ก่อโรคโควิด-19 ฝากไว้ในไวรัสชนิดอื่นที่ไม่ก่อโรคในมนุษย์ ในการสร้างภูมิต้านทานในร่างกาย วัคซีนชนิดนี้ เช่น ออกซ์ฟอร์ด-แอสทราเซเนกา (Oxford-AstraZeneca) สปุตนิก-ไฟว์ (Sputnik V) แคนซีโน ไบโอโลจิกส์ (CanSino Biologics)
    • เป็นวัคซีนที่สามารถผลิตได้จำนวนมากอย่างรวดเร็ว
    • ราคาถูกกว่า
    • เก็บรักษาได้ง่ายในอุณภูมิเย็นธรรมดา 2-8ํ ํC
  3. วัคซีนชนิดเชื้อตาย เพาะเลี้ยงไวรัสในเซลล์เพาะลี้ยงจำนวนมาก ทำให้ตายด้วยสารเคมีทำให้บริสุทธิ์ และใส่รวมเข้ากับสารกระตุ้นภูมิ (Adjuvant) วัคซีนชนิดนี้ เช่น ซิโนแวค (Sinovac) ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ของจีน
    • วัคซีนนี้ใช้ได้คนที่มีภูมิต้นทานต่ำได้ พราะเป็นเชื้อที่ไม่ก่อโรค
    • มีความยากลำบากในการผลิต ที่ต้องใช้สถานที่ที่ปลอดภัยสูงทำให้มีราคาแพง
วัคซีนโควิด
วัคซีนโควิด

วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer Vaccine Covid) คืออะไร?

วัคซีนโควิดไฟเซอร์ คือ วัคซีนสำหรับฉีดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด SARS-CoV-2 มีชื่อทางการค้าตามเอกสารกำกับยาภาษาไทยว่า โคเมอร์เนตี (COMIRNATYTM) ปัจจุบัน มีการอนุมัติใช้กับเด็กอายุตั้งแต่ 12-18 ปี ภายในประเทศไทยเป็นชนิดแรก (ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564) โดยมีข้อมูลการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัย ดังต่อไปนี้

ประสิทธิภาพของวัคซีน Pfizer ในเด็ก

  1. วัคซีน Pfizer มีประสิทธิภาพ 100% ในการป้องกันโรคโควิด-19 ที่แสดงอาการ เมื่อเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพการป้องกันในผู้ใหญ่
  2. วัคซีน Pfizer สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในเด็ก ระดับใกล้เคียงกับผู้ใหญ่อายุ 16-25 ปี โดยมีระดับภูมิคุ้มกันอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก

ผลข้างเคียงของวัคซีน Pfizer ในเด็ก

  1. ผลข้างเคียงที่พบบ่อย เช่น เจ็บบริเวณตำแหน่งที่ฉีด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ
  2. อาการข้างเคียงเฉพาะที่ ที่เกิดขึ้นเล็กน้อย เช่น บวม แดงในตำแหน่งที่ฉีด
  3. อาการข้างเคียงทั้งระบบ เช่น ไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ
  4. และอาการข้างเคียงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเป็นอาการข้างเคียงที่พบรายงานในอัตราต่ำมาก

นอกจากนี้ยังมีอาการที่พบไม่บ่อย ดังนี้

  1. ผื่น คัน ลมพิษ ปฏิกิริยาภูมิไวเกิน (Angioedema)
  2. นอนไม่หลับ
  3. ภาวะต่อมน้ำเหลืองโต (Lymphadenopathy)
  4. ปวดตามแขนขา
  5. คัน หรือ รู้สึกไม่สบายบริเวณที่ฉีดยา

คำแนะนำจากแพทย์

จากภาพรวมข้อมูลด้านประสิทธิภาพของวัคซีน Pfizer ที่มีการฉีดในเด็กพบว่า มีผลดีมากกว่าผลข้างเคียง ซึ่งพบได้ในอัตราที่ต่ำ ปัจจุบันในประเทศไทยแนะนำให้ฉีดวัคซีนในผู้ป่วยเด็กที่มีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงซึ่งขณะนี้มีเพียงวัคซีนชนิด mRNA เช่น วัคซีน Pfizer ที่มีข้อแนะนำให้สามารถฉีดในเด็กได้ ส่วนวัคซีนชนิดอื่น ๆ เช่น วัคซีนชนิดเชื้อตาย หรือชนิดไวรัสเวกเตอร์ ยังไม่มีคำแนะนำการฉีดในเด็ก

ข้อควรระวังเมื่อต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิดไฟเซอร์ (Pfizer)

  • วัคซีนโควิดไฟเซอร์ (Pfizer) หรือวัคซีนโคเมอร์เนตี ไม่ควรใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ตัวยา หรือส่วนประกอบตัวใดตัวหนึ่งของวัคซีน
  • หากมีรายงานพบการแพ้แบบ Anaphylaxis ควรเตรียมความพร้อมการแพ้ยาขั้นรุนแรง (Anaphylactic Reaction) หลังจากฉีดวัคซีน ด้วยการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดหลังฉีดวัคซีน 30 นาที
  • พบรายงานการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหลังจากฉีดวัคซีนเข็ม 2 ภายใน 14 วัน ในผู้รับวัคซีนเพศชายวัยหนุ่ม แต่อาการไม่แตกต่างจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในสภาวะปกติ

ผู้ที่มีอาการต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อวินิจฉัย

  • อาการที่เป็นผลจากความวิตกกังวล ปฏิกิริยาของเส้นประสาทวากัส (หมดสติ) ภาวะหายใจถี่กว่าปกติ หรือปฏิกิริยาอันเนื่องมาจากความเครียด
  • มีไข้สูงเฉียบพลัน ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อน
  • ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ และความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ควรฉีดวัคซีนด้วยความระมัดระวังในผู้ที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • ยังไม่มีการทำการประเมินประสิทธิผล ความปลอดภัย และความสามารถในการสร้างภูมิในผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง แต่ในเอกสารกำกับยาระบุว่า ประสิทธิผลของวัคซีนโควิดโคเมอร์เนตีอาจลดลง

ข้อจำกัดของวัคซีนโควิดไฟเซอร์ (Pfizer)

การฉีดวัคซีนโควิดไฟเซอร์ ไม่ได้ป้องกันโรคในผู้รับวัคซีนทุกราย เช่นเดียวกับวัคซีนอื่น และยังไม่ทราบระยะเวลาป้องกันโรคที่ชัดเจน เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการศึกษาผลวิจัย

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ผู้เชี่ยวชาญคาด อนาคตโควิดจะกลายเป็น โรคระบาดในเด็กเล็ก

รู้ก่อนป้องกันได้! ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ เด็กติดโควิดเสียชีวิต คืออะไร?

แยกให้ออก ภูมิแพ้ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่กับโควิด -19 อาการ ต่างกันยังไง?

แม่แชร์ เมื่อลูกติดโควิด! วิธีรักษา – Home Isolation เด็ก

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ศ. พญ.ธนินี สหกิจรุ่งเรือง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ไทยรัฐ ออนไลน์, สำนักคณะกรรมการอาหารและยา, pfizer.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up