รับมือผู้ป่วยเด็ก โอไมครอน

มั่นใจได้ สธ.เตรียมตัวรับมือผู้ป่วยเด็ก โอไมครอน เอาอยู่

Alternative Textaccount_circle
event
รับมือผู้ป่วยเด็ก โอไมครอน
รับมือผู้ป่วยเด็ก โอไมครอน

โอไมครอน โควิด19 กลายพันธุ์ที่ติดเชื้อง่ายกว่าเดิม พบติดมากในเด็กจึงเป็นที่น่ากังวล แต่ สธ.ให้ความมั่นใจด้วยการเตรียมพร้อมรับมือ ทั้งเตียง ระบบ และยาอีกเพียบ

มั่นใจได้ สธ.เตรียมตัวรับมือผู้ป่วยเด็ก โอไมครอน เอาอยู่!!

โอไมครอน คืออะไร น่ากลัวแค่ไหน??

WHO หรือองค์การอนามัยโลก ประกาศยกระดับให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด โดยมีรหัสที่เรียกว่า โควิดสายพันธุ์ ​B.1.1.529 หรือ โอไมครอน Omicron ถูกรายงานว่าพบครั้งแรก ในตอนใต้ของทวีปแอฟริกาใต้ ที่ประเทศบอตสวานา

การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในครั้งนี้ เนื่องจากมีการกลายพันธุ์ของยีนมากถึง 50 กว่าตำแหน่ง โดย 32 ตำแหน่งเกิดขึ้นบนโปรตีนหนามแหลม หรือที่เรียกว่า Spike Protein ซึ่งเป็นโปรตีนที่ไวรัสใช้ในการเข้าสู่เซลล์ของร่างกายมนุษย์ ซึ่งพบมากกว่าทุกสายพันธุ์ และมากกว่าสายพันธุ์เดลตา ถึง 2 เท่า และพบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเราถึง 10 ตำแหน่ง จึงเป็นสาเหตุให้ไวรัสตัวใหม่นี้ ติดง่ายมากกว่าเดิม และพบการระบาดในเด็กมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย

โอไมครอน ไวรัสกลายพันธุ์ โควิด 19
โอไมครอน ไวรัสกลายพันธุ์ โควิด 19

เช็ก 8 อาการ ติดเชื้อโอไมครอน หรือยังนะ??

พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. เปิดเผยข้อมูลอาการของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ “โอไมครอน” ในประเทศไทย ที่มีอาการ 41 ราย โดย 8 อาการที่พบมากที่สุด มีดังนี้

  1. ผู้ป่วยมีอาการไอ พบได้ 54%
  2. มีอาการเจ็บคอ พบได้ 37%
  3. เป็นไข้ ตัวร้อน พบได้ 29%
  4. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ พบได้ 15%
  5. คัดจมูก มีน้ำมูก พบได้ 12%
  6. ปวดหัว ปวดศีรษะ พบได้ 10%
  7. หายใจลำบาก พบได้ 5%
  8. จมูกไม่ได้กลิ่น พบได้ 2%

ซึ่งจะเห็นได้ว่า การติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ “โอไมครอน” ที่เป็นการติดเชื้อจากระบบทางเดินหายใจในส่วนบน จะไม่มีลักษณะลงปอด ทำให้เป็นการยาก ที่เราอาจจะพบเจอผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้ปะปน มารับประทานอาหารร่วมกับเรา อยู่ในสถานที่ที่ทำงานเดียวกันกับเรา ก็ทำให้เราจำเป็นต้องมีการระมัดระวัง โดยกระทรวงสาธารณสุข เน้นย้ำให้สวมหน้ากากอนามัย 2 ชั้น ก็ยังสามารถที่จะป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.komchadluek.net

โอไมครอนในเด็ก!!

มีรายงานจากหลายประเทศทั่วโลกว่า อัตราการติดเชื้อโควิด สายพันธุ์โอไมครอนในเด็กเพิ่มขึ้นกว่าสายพันธุ์อื่น อัตราการป่วยนอนโรงพยาบาลในเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี ลงมานั้นอยู่ในระดับพอกันระหว่าง Omicron โอไมครอนและเดลต้า สิ่งที่น่ากังวล คือ กลุ่มเด็กเล็กนั้นยังไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ จึงควรได้รับการดูแลป้องกัน และถึงแม้ว่าช่วงวัย 5-11 ปีจะเพิ่งได้รับการอนุมัติให้ใช้วัคซีนได้ แต่คงต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะกว่าจะฉีดได้อย่างครอบคลุม

เด็กติดเชื้อ โอไมครอน เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
เด็กติดเชื้อ โอไมครอน เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ความมั่นใจ!!

รพ.เด็กพร้อมรับมือเด็กติดเชื้อ

ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงแผนรองรับเด็กติดเชื้อโควิด-19 ว่า ได้เตรียมพร้อมมาระยะหนึ่งแล้ว มีเป้าหมายป้องกันกลุ่มเด็กเล็กอายุ 5-11 ขวบ ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 สถาบันสุขภาพเด็กฯเตรียมความพร้อมได้ดีทั้งศักยภาพ เตียงรองรับผู้ป่วยโควิดในทุกกลุ่มอาการที่มีการติดเชื้อ โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอนที่ต่างประเทศ พบว่ามีเด็ดติดเป็นจำนวนมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ โดยมีเตียงรองรับเด็กป่วยโควิด-19 ทั้งหมด 70 เตียง มีเด็กรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 5 ราย เป็นกลุ่มอาการสีเหลือง ส่วนความคืบหน้าการฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 5-11 ขวบ ที่ประชุมกระทรวงฯ คาดว่าจะเริ่มฉีดได้ในเดือน ก.พ.65 ขอย้ำว่าเด็กกลุ่มนี้ควรได้รับวัคซีนเร็วที่สุด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนจึงน่าเป็นห่วงมากที่สุด ขอให้ทุกโรงพยาบาลเตรียมพร้อมให้มากที่สุดสำหรับเด็กกลุ่มนี้

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.thairath.co.th
สธ.ให้ความมั่นใจเตียงมีพอรับผู้ป่วย โอไมครอน
สธ.ให้ความมั่นใจเตียงมีพอรับผู้ป่วย โอไมครอน

นอกจากนั้น กรมการแพทย์ยังได้จัดเตรียมเตียงรองรับผู้ป่วยโควิดโอไมครอนถึง 1.1 แสนเตียงทั่วประเทศ พร้อมยา และเวชภัณฑ์อีกเพียบ!!

นพ.สมศักดิ์  อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมเรื่องเตียงรักษาผู้ป่วยนั้น มีการแบ่งระดับเตียงใหม่ตามความรุนแรงของโรค โดยเตียงระดับ 1 ไม่ใช้ออกซิเจน ส่วนเตียงระดับ 2 แบ่งเป็นระดับ 2.1 ใช้ออกซิเจนระดับน้อยๆ  หรือ oxygen low flow  และระดับ 2.2 ใช้ออกซิเจนระดับสูง หรือ oxygen high flow ซึ่งกลุ่มนี้จะมีปอดอักเสบค่อนข้างมาก และค่าออกซิเจนแย่ลง  ส่วนเตียงระดับ 3 ใส่ท่อร่วมกับเครื่องช่วยหายใจได้ นอกจากนี้ ยังให้คำนิยามเตียงระดับ 0 คือ Home isolation และ Community isolation

สำหรับเตียงใน รพ. ทั่วประเทศมีประมาณกว่าแสนเตียง โดยเตียงเฉพาะเป็นปอดอักเสบรุนแรง หรือระดับ 2.2  oxygen high flow กับเตียงระดับ 3  โดยพบว่าเตียงทั่วประเทศมี 11,000 เตียง จึงนำมาพิจารณาว่าจะรับคนไข้โอไมครอนได้แค่ไหน ซึ่งประมาณการณ์ว่า ผู้ติดเชื้อโอไมครองมีอาการรุนแรง นอนรพ.14 วัน มีเตียงรองรับผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงได้ 785 คนต่อวัน เมื่อทอนกลับมาเป็นผู้ป่วยทั้งหมด เตียงทั่วประเทศจะสามารถรับผู้ป่วยได้ถึง 52,300 คนต่อวัน อันนี้ยังไม่รวมกรณี Home isolation ที่สามารถรับได้อีกหลายหมื่นคน

Home isolation ปรับคุณภาพใหม่!!

“สำหรับ Home isolation  จะเป็นคำตอบของผู้ป่วยโอไมครอนที่อาจแพร่ระบาดใน 1-2 เดือนข้างหน้า เพราะครึ่งหนึ่งไม่มีอาการเลย โดยขณะนี้เราได้ทำ Home isolation คุณภาพ จากของเดิม สปสช. ระบุว่า หากตรวจ ATK  ด้วยตัวเองและพบผลบวก  เมื่อโทรไป 1330 เป็นบวกภายใน 24 ชั่วโมงจะโทรกลับ แต่ตอนนี้เราจะขอให้สถานพยาบาลที่เข้าโครงการให้ติดต่อกลับภายใน 6 ชั่วโมง ซึ่งจะเร็วขึ้น รวมทั้งยังมีการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ต่างๆ ยา รวมถึงอาหาร ได้พูดคุยกับภาคเอกชน ที่จะจัดส่งแล้ว” นพ.สมศักดิ์ กล่าว

Home Isolation (การกักตัวที่บ้าน)

  • เป็นผู้ติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยและไม้มีโรคอื่นร่วม
  • เป็นผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมาแล้ว 7 – 10 วันและแพทย์ประเมินว่าสามารถกลับไปรักษาตัวต่อที่บ้านได้
  • ผู้ป่วยสมัครใจแยกกักตัวในที่พักของตน
  • อยู่คนเดียวหรือมีผู้อาศัยร่วมไม่เกิน 1 คน
  • อายุน้อยกว่า 60 ปี และมีสุขภาพแข็งแรงน้ำหนักตัวน้อยกว่า 90 กก. หรือ ไม่มีภาวะอ้วน
  • ติดต่อ 1330 กด 14 (สปสช.) หรือแอดไลน์ @comcovid-19 เพื่อเข้าสู่ระบบ โดยจะได้รับอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาหาร และอุปกรณ์ยังชีพ
  • มีแพทย์ติดตามอาการทางระบบสื่อสารที่เหมาะสม
  • หากมีความจำเป็นจะได้รับยาฟ้าทะลายโจร และยาฟาวิพิราเวียร์ รวมถึงส่งต่อโรงพยาบาลเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง

Community Isolation (การกักตัวในชุมชน)

  • หากไม่สามารถแยกกักตัวที่บ้านได้ และในชุมชนมีการจัด
  • ตั้งศูนย์แยกโรคชุมชน (Community Isolation) ให้ติดต่อแกนนำหมู่บ้านหรืออาสาสมัคร เพื่อเข้ารับการกักตัวและรับการดูแลรักษาภายในศูนย์นี้การจัดตั้งศูนย์แยกโรคชุมชน อาจทำได้โดยการติดต่อ สปสช. (โทร. 1330)

    ยาน้ำฟาวิพิราเวียร์ สำหรับเด็ก
    ยาน้ำฟาวิพิราเวียร์ สำหรับเด็ก

เตรียมพร้อมยาน้ำฟาวิพิราเวียร์สำหรับเด็ก!!

นอกจากการที่ได้สั่งการให้สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯ หรือ โรงพยาบาลเด็กประสานงานกับโรงเรียนแพทย์ เอกชน ทางกทม. กลาโหม ตำรวจ ให้เตรียมการเรื่องเตียงเด็กแล้ว ยังได้จัดเตรียมยาสำหรับกลุ่มเด็กเล็กที่ไม่สามารถทานยาฟาวิพิราเวียร์แบบเม็ดได้ เราจึงทำแนวทางการเตรียมยาน้ำของฟาวิพิราเวียร์ จัดทำเป็นคลิปให้ทุกโรงพยาบาลเตรียมการ เพราะคาดว่าผู้ป่วยเด็กอาจมากขึ้นพอสมควร รวมทั้งได้มีเฟซบุ๊กไลฟ์ในบุคลากรสาธารณสุขให้มีการทำ Home isolation และ  Community isolation สำหรับเด็ก รวมถึงจัดเตรียมหน้ากากสำหรับผู้ป่วยเด็กโดยเฉพาะ  ส่วน Community isolation สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ต้องมีผู้ปกครองดูแล อย่างของกทม. จะมีอย่างน้อยโซนละ 1 แห่ง และจัดระบบส่งต่อ โรงพยาบาลเมื่อมีอาการรุนแรง และจัดเตรียมเตียงระดับ 3 สำหรับผู้ป่วยเด็กที่อาการรุนแรงเอาไว้อีกด้วย

วัคซีนโควิด สำหรับเด็ก 5-11 ปี มาแน่เดือนกุมภาพันธ์ 2565!!

วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เปิดเผยว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด สายพันธุ์โอไมครอน กลุ่มที่เป็นห่วงมากที่สุด คือ เด็กที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ซึ่งขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการและอาหารได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนในกลุ่มเด็กอายุ 5-11 ปี เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างสำรวจความสมัครใจของเด็ก และผู้ปกครองโดยกระทรวงศึกษาธิการ ให้โรงเรียนเป็นหลักในการสอบถาม คาดว่าจะเริ่มฉีดได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ 2565 นี้ ในระหว่างที่รอการฉีดวัคซีนจึงขอให้ผู้ปกครองเคร่งครัดมาตรการป้องกันส่วนบุคคลขั้นสูงสุด

ข้อมูลอ้างอิงจาก chulalongkornhospital.go.th / www.hfocus.org/ www.prachachat.net

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

โอไมครอน (Omicron)ในเด็กมีสิทธิ์ติดเชื้อรุนแรงแค่ไหน?

“ฝึกลูกกินเอง” การหั่นอาหาร blw หั่นกินแบบไหนไม่ติดคอ?

100 ชื่อเท่ๆ เก๋ๆ ไม่ซ้ำไม่เชย อ่านได้ทั้งภาษาอังกฤษและไทย

5 ท่าเซ็กส์ปลอดภัย ขณะตั้งครรภ์

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up