ไฟเซอร์เด็ก 5-11 ปี อาการข้างเคียง

รู้ไว้ก่อนฉีด!อาการข้างเคียงวัคซีน ไฟเซอร์เด็ก ฝาส้ม

Alternative Textaccount_circle
event
ไฟเซอร์เด็ก 5-11 ปี อาการข้างเคียง
ไฟเซอร์เด็ก 5-11 ปี อาการข้างเคียง

วัคซีน ไฟเซอร์เด็ก ที่จะเริ่มฉีดให้เด็ก 5-11 ปีกำลังเป็นที่กังวลใจของพ่อแม่ว่าควรฉีดดีหรือไม่ มาเช็กอาการข้างเคียงเมื่อฉีด ข้อดีข้อเสียรู้ไว้ก่อนตัดสินใจ

รู้ไว้ก่อนฉีด!อาการข้างเคียงวัคซีน ไฟเซอร์เด็ก ฝาส้ม

วัคซีนป้องกันไวรัสโควิด -19 สำหรับเด็ก กำลังเป็นประเด็นข้อถกเถียงกันถึงความจำเป็นในการให้บุตรหลานได้รับวัคซีนป้องกันดังกล่าวดีหรือไม่ เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ ในช่วงต้นมีผู้ป่วยเด็กจากเชื้อดังกล่าวไม่มาก และถึงได้รับเชื้อเปอร์เซ็นต์การป่วยหนักรุนแรง หรือถึงขั้นเสียชีวิตในเด็กก็มีน้อย ข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า 98% ไม่มีอาการ ส่วนที่พบเสียชีวิตในกลุ่มอายุ 6-12 ปี จากจำนวนกว่าแสนราย มี 10 คน ส่วนใหญ่เป็นโรคประจำตัว ส่วนอายุ 1-6 ปี เสียชีวิต 5 คน ที่ตายส่วนใหญ่เด็กโต หรืออายุน้อยมาก ๆ ต่ำกว่า 1 ขวบหรือ 1 เดือน แต่เมื่อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ โดยเฉพาะเชื้อปัจจุบัน เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน มีสถิติที่มากขึ้นว่า พบผู้ป่วยเด็กมากขึ้น และอัตราการป่วยรุนแรงในเด็กก็เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ทำให้เริ่มมีการพิจารณาการฉีดวัคซีนในเด็กกันขึ้น

อ่านต่อ งานวิจัยชี้ !!เด็กป่วยโควิดส่วนใหญ่หายเป็นปกติได้ภายในหนึ่งสัปดาห์

ผู้ป่วยโควิด-19ในเด็ก เพิ่มมากขี้นในปัจจุบัน
ผู้ป่วยโควิด-19ในเด็ก เพิ่มมากขี้นในปัจจุบัน

ไฟเซอร์เด็ก ฝาสีส้ม (Pfizer)

วัคซีนไฟเซอร์ที่ใช้สำหรับเด็กเล็ก 5-11 ปี จะแตกต่างจากวัคซีนไฟเซอร์ที่ใช้ในกลุ่มผู้ใหญ่ โดยได้ให้จุดสังเกตไว้ที่ฝาของบรรจุภัณฑ์ของวัคซีนเป็นฝาสีส้ม (Orange cap) ซึ่งมีปริมาณ 10 ไมโครกรัมต่อโดส แตกต่างจากวัคซีนไฟเซอร์ที่ใช้ในกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีปริมาณ 30 ไมโครกรัมต่อโดส และมีจุดสังเกตเป็นฝาสีม่วง (Purple cap) และได้กำหนดไว้ว่าไม่ควรนำมาใช้ทดแทนกัน ควรใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มอายุที่ระบุไว้เท่านั้น

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 26 ม.ค. 2565 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวที่กระทรวงสาธารณสุข ถึงกรณีวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ฝาสีส้ม เพื่อฉีดในเด็กอายุ 5-11 ปี ว่า ช่วงเช้าที่ผ่านมา วัคซีนลอตแรกจำนวน 3 แสนโดส ส่งถึงประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว และจะทยอยส่งต่อเนื่องทุกสัปดาห์ โดยในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค. 2565) จะมีการส่งวัคซีนฝาสีส้มรวม 3.5 ล้านโดส จากทั้งหมด 10 ล้านโดส ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบประมาณจัดซื้อไว้แล้ว น่าจะเพียงพอสำหรับกลุ่มเด็กเล็กนี้

“ให้ได้แน่ใจว่าตอนนี้วัคซีนอยู่ในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะมีการส่งวัคซีน ส่งเอกสารให้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ตรวจสอบคุณภาพ หลังจากผ่านกระบวนการก็จะมีการส่งวัคซีนไปที่จุดฉีดปลายทางทั่วประเทศต่อไป ในเที่ยวนี้จะส่งวัคซีนกระจายไปทั่วประเทศพร้อมๆ กัน”

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.thairath.co.th
วัคซีน ไฟเซอร์เด็ก อายุ 5-11 ปี
วัคซีน ไฟเซอร์เด็ก อายุ 5-11 ปี

แพทย์ย้ำ วัคซีนไฟเซอร์เด็กจำเป็น!!

ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ ย้ำเด็กเล็กควรฉีดวัคซีนโควิด ลดรุนแรงและเสียชีวิต ลดภาวะอักเสบทั่วร่างกาย หรือมิตซี(MIS-C) เผยวัคซีนเด็กอายุ 5-11 ปี อาการข้างเคียงน้อยกว่าเด็กโต
เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2565 ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ นพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แถลงข่าวการฉีดวัคซีนโควิดในเด็กอายุ 5-11 ปี โดย ศ.นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า เด็กที่ติดเชื้อโควิด 19 มักไม่มีอาการหรืออาการน้อยถึง 98% การเสียชีวิตก็น้อย แต่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนโควิด 19 เพื่อป้องกันด้วย โดยเฉพาะเด็กมีโรคประจำตัวเรื้อรังที่มีโอกาสรุนแรงและเสียชีวิตได้ รวมถึงจะได้ไม่แพร่เชื้อให้คนในครอบครัว นอกจากนี้ ช่วงประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา เราพบภาวะอักเสบทั่วร่างกาย หรือมิตซีในเด็กที่ติดเชื้อโควิดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการไม่ติดเชื้อ และไม่เป็นก็จะดีกว่า
ศ.นพ.สมศักดิ์ ยังได้ระบุว่าขอให้มั่นใจได้ เพราะอ้างอิงจากรายงานจากทั่วโลก และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ให้การรับรองวัคซีนไฟเซอร์เอาไว้แล้ว ย้ำว่าไม่ต้องกังวลการฉีดวัคซีนชนิด mRNA ในอเมริกาฉีดเด็กไปเกือบ 9 ล้านคนแล้วไม่มีปัญหา นอกจากแขนบวมนิดหน่อย และไม่เกิน 2 วันอาการก็หายหมด ส่วนข้อมูลวัคซีนซิโนแวค และซิโนฟาร์ม ยังไม่มี และอย.ก็ยังไม่ให้การรับรอง ซึ่งการฉีดวัคซีนในเด็กต้องรอข้อมูลที่ปลอดภัย การฉีดวัคซีนในเด็กมีความจำเป็น และควรฉีดวัคซีนที่มีการรับรองจาก อย. และเป็นไปตามคำแนะนำ
มีไข้ อ่อนเพลีย อาการข้างเคียงวัคซีน ไฟเซอร์เด็ก
มีไข้ อ่อนเพลีย อาการข้างเคียงวัคซีน ไฟเซอร์เด็ก

อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์เด็ก

จากการรายงานสถิติการฉีดวัคซีนไปแล้ว เราจะพบอาการข้างเคียงที่สามารถพบได้ มีเป็นอาการเฉพาะที่ กับอาการทั่วไป ดังนี้
อาการเฉพาะที่ที่พบบ่อย
  • อาการปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด 71-74%
  • อาการปวดบวมรุนแรง 0.6%

อาการทั่วไปที่พบบ่อย

  • อ่อนเพลีย 39%
  • ปวดหัว 0.3%
  • ไข้สูง หนาวสั่น (หายเองหลังทานยาลดไข้ ) 0.1%
  • ปวดกล้ามเนื้อ 0.1%
ส่วนมากจะอาการไม่รุนแรงและหายไปได้เองใน 1- 2 วัน ซึ่งเมื่อเทียบกับการฉีดในเด็กโต จากข้อมูลสหรัฐอเมริกาเกิดผลข้างเคียงในเด็กเล็กค่อนข้างน้อย เพราะปริมาณที่ฉีดมีปริมาณน้อยกว่า

โรคหัวใจ กับการฉีดวัคซีน mRNA

วัคซ๊น mRNa ป้องกันโควิด -19
วัคซ๊น mRNa ป้องกันโควิด -19
นพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า นอกจากสิ่งที่กังวลเรื่องอาการข้างเคียงหลังฉีดแล้ว ยังมีสิ่งที่กังวลอีกเรื่อง คือ อาการข้างเคียงเรื่องโรคหัวใจ ซึ่งยอมรับว่ามีจริง แต่ว่าทุกรายสามารถรักษา และหายเป็นปกติได้หมด โดยในสหรัฐอเมริกาพบว่าฉีดไป 8-9 ล้านคน มีอาการข้างเคียงเกี่ยวกับโรคหัวใจ 11 คนแต่ไม่รุนแรง และหายได้เอง ทั้งนี้ สหรัฐฉีดวัคซีนแต่ละเข็มห่าง 3 สัปดาห์ ส่วนออสเตรเลียฉีดห่าง 8 สัปดาห์ พบภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ผลข้างเคียงน้อยลง และปัญหาโรคหัวใจก็น้อยลงด้วย ดังนั้น ฉีดห่างน่าจะดีกว่า เราจึงแนะนำของไทยอย่างที่โรงเรียนฉีดห่าง 8 สัปดาห์ ส่วนโรงพยาบาลเป็น 3-12 สัปดาห์ สำหรับเด็กมีโรคเรื้อรัง แต่เพื่อความไม่ประมาท ให้ผู้ปกครองเบาใจ จึงมีการจัดระบบเครือข่ายการส่งต่อดูแล โดยหากเด็กที่ฉีดวัคซีนแล้วเกิดอาการสงสัยใน 2 กลุ่มโรค ให้รีบพามาโรงพยาบาลใกล้บ้านทันทีเพื่อประเมินอาการ คือ
  1. กลุ่มโรคหัวใจในช่วง 2-7 วัน ได้แก่ เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว เหนื่อยง่าย ใจสั่น ซึ่งตามสถิติมักพบในช่วงวันที่ 2 ของการฉีด แต่หากเกิดในวันแรกก็พามาได้เช่นกัน
  2. กลุ่มอาการอื่น ไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส ปวดหัวรุนแรง อาเจียนรับประทานอะไรไมได้ เด็กซึมหรือไม่รู้สึกตัว

ถ้ามีอาการสงสัยใน 2 กลุ่มโรค ให้หาโรงพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งเรามีกุมารแพทย์กระจายทั่วประเทศ 2 พันกว่าราย ในทุกจังหวัดโรงพยาบาลอำเภอหลายแห่งมีกุมารแพทย์ที่สามารถประเมินอาการได้ว่าสามารถรักษาตรงนั้น หรือต้องส่งต่อระดับโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งหากยังเกินศักยภาพก็สามารถส่งมายังสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โดยมีไลน์ และสายด่วน 1415 ให้ปรึกษา และมีฟาสต์แทร็กในรายที่สงสัยรุนแรงเพื่อเข้ารับการดูแลด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำว่า หลังฉีดวัคซีนแล้ว เมื่อกลับบ้านไม่ควรให้เด็กออกกำลังกาย ปีนป่าย ว่ายน้ำ ซุกซนต่าง ๆ ให้พักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ 

ข้อมูลอ้างอิงจาก workpointtoday.com/www.thairath.co.th
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

แม่ต้องระวัง! โรคแทรกซ้อนโควิด-19 ในเด็ก ทำลูกป่วยหนัก

ลูกมีตุ่มคล้ายยุงกัด แต่ไม่คันเฝ้าระวัง โรคฮีน็อค อันตราย!

อุทาหรณ์..แม่เตือน ล้างขวดนม ผิดวิธี เสี่ยงทำลูกติดเชื้อในกระเพาะอาหารได้

ตั้งชื่อเล่นลูก 100 ชื่อเล่นไทยๆ ลูกชาย ลูกสาว เพราะดี มีความหมาย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up