หัวใจอักเสบ covid19 kawazaki

หัวใจอักเสบ อาการ ที่ต้องเฝ้าระวังหากลูกป่วยCovid-19&Kawasaki

Alternative Textaccount_circle
event
หัวใจอักเสบ covid19 kawazaki
หัวใจอักเสบ covid19 kawazaki

หัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการที่พบได้ในเด็กที่ป่วย Covid-19 และ โรคคาวาซากิ พ่อแม่ควรใส่ใจหัวใจเจ้าตัวเล็ก สังเกตติดตามหากผิดปกติพบแพทย์ทันที

หัวใจอักเสบ อาการ ที่ต้องเฝ้าระวัง!หากลูกป่วยCovid-19&Kawasaki

แม้ว่าจากสถิติที่ผ่านมาของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในผู้ป่วยเด็กที่มีร่างกายแข็งแรงปกติ จะไม่รุนแรงเท่ากับผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ เด็กที่ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย

รายงานผู้ป่วยในประเทศไทยตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 โดยเป็นผู้ป่วยรายแรกที่พบนอกประเทศจีน COVID-19 เป็นไวรัสในตระกูล Corona Virus รายงานระยะแรกพบว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ และมีอาการรุนแรงส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 ที่อายุน้อยกว่า 18 ปีมีเพียง 2.2% ในประเทศจีน และ 2% ในสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อกลางปี 2563 ได้พบว่าเด็กป่วย และมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต

หัวใจอักเสบ กับโรคคาวาซากิ และ MIS-C
หัวใจอักเสบ กับโรคคาวาซากิ และ MIS-C

ประมาณกลางเดือนเมษายน 2563 (หลังเริ่มมีการระบาดอย่างหนักในยุโรปประมาณ 1 เดือน) กุมารแพทย์ในประเทศอังกฤษพบเด็กป่วยที่ไม่สามารถอธิบายได้ โดยมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ เจ็บคอ ปวดท้อง และอาเจียน บางรายมีผื่นและอาการช็อก ซึ่งคล้ายกับ Toxic Shock Syndrome และบางรายมีผื่น ตาแดง ปากแดง ซึ่งในผู้ป่วยบางคนมีอาการครบข้อบ่งชี้ของการวินิจฉัยโรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease) นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยบางรายมีการโป่งพองของเส้นเลือดโคโรนารี (Coronary Artery) เหมือนกับเด็กที่เป็น Kawasaki Disease โดยพบว่าผู้ป่วยเกือบทั้งหมดมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่แสดงว่าเคยมีการติดเชื้อ COVID-19 มาก่อน โดยอาจจะพบหรือไม่พบเชื้อในทางเดินหายใจของผู้ป่วยก็ได้

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ของประเทศสหราชอาณาจักรได้มีการออกจดหมายเตือนกุมารแพทย์เกี่ยวกับโรคดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2563 โดยให้ชื่อว่า Pediatric Multisystem Inflammatory Syndrome – Temporally Associated with COVID-19 (PIMS-TS) หลังจากนั้นได้มีการยืนยันว่าพบภาวะดังกล่าวในเด็กจากอีกหลายประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยบางรายมีอาการรุนแรงจนทำให้เด็กเกิดการเสียชีวิต ส่วนทาง Center for Disease Control (CDC) ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการออกคำเตือนเกี่ยวกับโรคนี้เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 โดยให้ชื่อว่า Multisystem Inflammatory Syndrome in Children Associated with COVID-19 (MIS-C)

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.bangkokhearthospital.com

Multisystem Inflammatory Syndrome in Children Associated with COVID-19 (MIS-C)

กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก ซึ่งเป็นภาวะที่มีการอักเสบของอวัยวะหลายระบบในร่างกายพร้อมๆ กัน มักพบมีอาการหลังหายจากโควิดแล้วประมาณ 2-4 สัปดาห์ โดยเฉพาะอาการในระบบ หัวใจ ปอด ตับ ไต สมอง ผิวหนัง ตา ระบบทางเดินหายใจ หรือ ระบบทางเดินอาหารซึ่งมีความสัมพันธ์กับโควิด

อาการ MIS-C

  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส นานเกิน 1 วัน
  • ผื่น ตาแดง ปากหรือลิ้นแดง มือเท้าแดง และพบมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตทีคอคล้ายกับโรคคาวาซากิ
  • ถ่ายเหลว ปวดท้อง อาเจียน
  • หากมีอาการรุนแรงผู้ป่วยอาจมีภาวะช็อกและเสียชีวิตได้

จะเห็นได้ว่าอาการของภาวะ MIS-C นี้จะมีอาการคล้ายคลึงกับอาการโรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease) เพราะเป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกัน คือ ภาวะ MIS-C มักพบในเด็กโต ส่วนโรคคาวาซากิจะพบในเด็กเล็กเป็นส่วนใหญ่

covid-19 กับ MIS-C
covid-19 กับ MIS-C

ภาวะ MIS-C จะเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดการตอบสนองหลังการติดเชื้อ COVID-19 ดังนั้นหากลูกหายจากการติดเชื้อCOVID-19  แล้ว พ่อแม่ยังคงต้องเฝ้าสังเกตอาการต่อไปอีกหลังจากรักษาหายแล้ว หากพบมีอาการ ไข้สูง ร่วมกับอาการผิดปกติของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ปวดท้อง อาเจียน แน่นหน้าอก มีผื่น ปวดศีรษะ ตาแดง ลิ้นแดง หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยพร้อมแจ้งประวัติว่าเคยติดเชื้อCOVID-19  เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัย และวางแผนติดตามอาการ ให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที

โรคหัวใจกับ MIS-C

โรค Multisystem Inflammatory Syndrome in Children หรือ MIS-C ทำให้เกิดภาวะอักเสบในหลายอวัยวะ มีอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยเด็กที่มีความคล้ายคลึงกับผู้ป่วยเด็กที่เป็น Kawasaki Disease หลายประการ เช่น

  • มีไข้สูง
  • ผื่น
  • ตาแดง
  • ปากแดง
  • ต่อมน้ำเหลืองโต

มีรายงานการเกิดหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่โป่งพอง (Coronary Artery Aneurysm) หัวใจอักเสบ ในผู้ป่วยบางราย แต่ก็มีลักษณะหลายประการที่แตกต่างกัน เช่น

  • อายุผู้ป่วย MIS-C มักจะเป็นเด็กโต  ซึ่งต่างจาก Kawasaki Disease ซึ่งมักเป็นในเด็กเล็ก
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร และอาการช็อกพบใน MIS-C มากกว่าในโรค Kawasaki Disease
  • ผลทางห้องปฏิบัติการที่มักพบว่ามีความรุนแรงของการอักเสบที่มากกว่า
  • ยังไม่พบว่า MIS-C มีอุบัติการณ์ที่สูงในเด็กที่มีเชื้อสายเอเชียตะวันออก ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน เหมือนที่พบใน Kawasaki Disease

เมื่อเปรียบเทียบกับโรคคาวาซากิแล้ว ผู้ป่วย MIS-C มักจะมีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ บางรายพบระบบหมุนเวียนโลหิตล้มเหลว การทำงานของหัวใจบกพร่อง ไตวายเฉียบพลัน ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะช็อก และมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้อวัยวะล้มเหลวถึงขั้นเสียชีวิตได้

ไข้สูง อาการที่ต้องเฝ้าสังเกต
ไข้สูง อาการที่ต้องเฝ้าสังเกต

Kawasaki Disease โรคคาวาซากิ

โรคคาวาซากิ (Kawasaki’s Disease)  คือโรคที่ถูกค้นพบโดยกุมารแพทย์ชาวญี่ปุ่น โทมิซากุ คาวาซากิ เป็นโรคที่พบมากในเด็กเล็กและทารก โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ในประเทศไทยพบผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ผู้ป่วยมักมีไข้สูง ผื่นคัน มือหรือเท้าบวม ผิวหนังลอกที่ฝ่ามือหรือฝ่าเท้า ปากแห้ง มีการอักเสบที่ปากและลำคอ ตุ่มขึ้นที่ลิ้นคล้ายผลสตรอว์เบอร์รี่ รวมถึงต่อมน้ำเหลืองบวม ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมและทันเวลา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

การวินิจฉัยโรคคาวาซากิ

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีไข้สูง 38 องศาเซลเซียสนาน 5 วันขึ้นไป และพบว่าผู้ป่วยมีอาการอย่างน้อย 4 อย่างจาก 5 อาการ ดังต่อไปนี้

  • อาการตาบวมและแดง โดยไม่มีขี้ตาทั้งสองข้าง
  • ริมฝีปากแห้งแตก บวมแดง ลิ้นบวม ปากและคอแห้ง
  • มีอาการปวด บวม ที่มือหรือเท้า หรือผิวหนังลอกที่ฝ่ามือหรือฝ่าเท้า
  • ผื่นแดงคันตามลำตัว
  • ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณลำคอโต คลำได้

Must Read⇒⇒ โรคคาวาซากิ อาการ ที่ต้องระวัง อันตรายจากภาวะแทรกซ้อนถึงชีวิต

โรคหัวใจกับ KAWASAKI DISEASE

ผลแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคนี้คือ การอักเสบของเส้นเลือดหัวใจ (Coronary Artery) หัวใจอักเสบ โดยในบางรายอาจทำให้เกิดการโป่งพองของเส้นเลือดหัวใจ (Aortic Aneurysm) ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและการตายของกล้ามเนื้อหัวใจเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction)

ภาวะแทรกซ้อนของโรคคาวาซากิ

ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคคาวาซากิ คือ หลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่โป่งพอง (Coronary Artery Aneurysm) เมื่อผนังหลอดเลือดไม่แข็งแรง ในขณะลำเลียงเลือดเข้าสู่หัวใจ ความดันเลือดจะทำให้ผนังของหลอดเลือดนูนหรือโป่งคล้ายบอลลูน อาจมีอาการที่ดีขึ้นได้ด้วยตัวเองเมื่อเวลาผ่านไป บางครั้งลิ่มเลือดอาจก่อตัวขึ้นที่ผนังของหลอดเลือดที่ไม่แข็งแรง จึงเป็นสาเหตุทำให้ไปอุดเส้นเลือดหัวใจ เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดออกซิเจน และเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ในบางกรณีหากหลอดเลือดโป่งพองมากจนแตกหรือฉีกขาด จะทำให้เลือดออกภายในร่างกายได้และเสียชีวิตได้

การเกิดโรคอุบัติใหม่ ทำให้เราต้องเฝ้าสังเกตอาการลูกน้อย
การเกิดโรคอุบัติใหม่ ทำให้เราต้องเฝ้าสังเกตอาการลูกน้อย

การวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบผลกระทบของโรคคาวาซากิที่มีต่อหัวใจ เช่น

  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiograph) หรือการทำเอคโคหัวใจ เป็นขั้นตอนการจำลองภาพของหัวใจและหลอดเลือดด้วยคลื่นเสียง เพื่อตรวจดูว่ามีลักษณะหลอดเลือดหัวใจผิดปกติหรือไม่
  • การตรวจเลือด (Blood Tests) ในผู้ป่วยโรคคาวาซากิอาจมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากขึ้น และเซลล์เม็ดเลือดแดงมีจำนวนน้อยลง และพบเกล็ดเลือดสูงขึ้น ดูการอักเสบของร่างกาย รวมถึงตรวจปริมาณโปรตีนไข่ขาว (Albumin) ในเลือดว่าต่ำหรือไม่ และตรวจการทำงานของตับอาจมีการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ตับ
  • การเอกซเรย์ (X-Ray) ที่บริเวณหน้าอกเพื่อตรวจสัญญาณเตือนของภาวะหัวใจล้มเหลว
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) เพื่อดูว่ามีภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่
  • การตรวจปัสสาวะ ในผู้ที่เป็นโรคคาวาซากิอาจพบเม็ดเลือดขาวปนในปัสสาวะ

ดูแลผู้ป่วย MIS-C และ KAWASAKI DISEASE

การดูแลรักษาผู้ป่วย MIS-C ในขณะนี้ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนเหมือนผู้ป่วย Kawasaki Disease เนื่องจากภาวะ MIS-C เป็นโรคที่พบใหม่ ซึ่งอาจทำให้มีอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจและระบบไหลเวียนของโลหิต ผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายที่จะเป็นโรคนี้จึงควรไปพบแพทย์ ซึ่งจะพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ผู้ป่วยที่แพทย์ลงความเห็นว่าเป็น MIS-C ควรได้รับการรักษาเป็นผู้ป่วยในเพื่อติดตามเฝ้าระวัง ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยของ Kawasaki Disease มักได้รับการรักษาเหมือนโรค Kawasaki Disease ส่วนในผู้ป่วยอื่น ๆ มักเป็นการรักษาแบบประคับประคอง ผู้ป่วยส่วนหนึ่งต้องได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก (ICU) และ/หรือให้ยากลุ่มที่ใช้ยับยั้งภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีการทำงานมากเกินกว่าปกติ

ปกป้องหัวใจเจ้าตัวน้อย ระวังการเกิด หัวใจอักเสบ
ปกป้องหัวใจเจ้าตัวน้อย ระวังการเกิด หัวใจอักเสบ

สรุป

ความคล้ายคลึงของทั้งสองโรค ไม่ว่าจะเป็น MIS-C หรือ Kawasaki Disease เพราะมาจากเป็นการทำงานของภูมิคุ้มกันของร่างกายที่สูงผิดปกติ (Autoimmune Disease) ทำให้การแสดงอาการคล้ายกัน และเนื่องจากว่าทั้งสองโรคนั้น ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับหัวใจของเจ้าตัวเล็ก ที่เป็นส่วนที่อันตรายต่อชีวิต แม้ว่าจะยังไม่สามารถหาสาเหตุแน่ชัดของทั้งสองโรคนี้ได้ ทำให้การป้องกันการเกิดโรคยังไม่สามารถทำได้ แต่หากพ่อแม่ ผู้ปกครองคอยสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิด หากเกิดอาการที่คล้ายคลึงกับที่ได้กล่าวมาข้างต้น ควรรีบพาไปพบแพทย์โยเร็ว เพราะการรักษาที่ทันท่วงที ช่วยเพิ่มโอกาสหาย และรอดชีวิตได้สูง

Must Read⇒⇒แจงแล้ว!!เด็ก 2 ขวบเสียด้วยภาวะ MIS-C หลังเด็กหายป่วนโควิด

 

ข้อมูลอ้าอิงจาก  www.pobpad.com/www.bangkokhearthospital.com/www.synphaet.co.th

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

แม่ลูก หัวใจเต้น พร้อมกันไหม จะเริ่มได้ยินเสียงหัวใจลูกเมื่อไหร่

6 ผักก้นครัว! สกัดกั้น “โรคหัวใจ” ให้ครอบครัวแบบขั้นเทพ

5 อาการสัญญาณเตือน “โรคหัวใจในเด็ก” ที่พ่อแม่ควรรู้!

ทำไม ใส่หน้ากากอนามัยนาน แล้วปวดหัว

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up