หอบ หืดในเด็ก

อย่าคิดว่าเรื่องเล็ก! ลูกอาจทรมานเพราะ หอบ หืดในเด็ก

Alternative Textaccount_circle
event
หอบ หืดในเด็ก
หอบ หืดในเด็ก

อย่าคิดว่าเรื่องเล็ก! ลูกอาจทรมานเพราะ หอบ หืดในเด็ก

คุณพ่อคุณแม่อย่ามองข้ามเวลาได้ยินเสียงหายใจลูกผิดปกติไปนะคะ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณว่าลูกกำลังได้รับความทรมานจากการหายใจแต่ไม่สามารถอธิบายบอกคุณพ่อคุณแม่ได้ ซึ่งอาจเป็นอาการของโรค หอบ หืดในเด็ก ค่ะ

โรคหอบหืด

เป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดลมของผู้ป่วยตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้นมากกว่าภาวะปกติ ทำให้หลอดลมหดเกร็งและบวม เนื่องจากการอักเสบ ผู้ป่วยจะไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจมีเสียงดังวี๊ดๆ การหอบอาจเกิดขึ้นเป็นๆ หายๆ และเรื้อรัง

โรค หอบ หืดในเด็ก

โรคหืด หรือ โรคหอบหืดในเด็ก มีลักษณะสำคัญคล้ายกับโรคหืดในผู้ใหญ่ คือ มีการอักเสบของเยื่อบุหลอดลมอย่างต่อเนื่อง เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะหลอดลมมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ มากกว่าปกติ และทำให้เกิดภาวะตีบตันของหลอดลม แต่สามารถกลับคืนภาวะปกติ หรือใกล้เคียงปกติได้ด้วยยาขยายหลอดลม

สาเหตุ

  1. กรรมพันธุ์ พบว่าถ้าผู้ป่วยมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว โอกาสที่จะเป็นโรคจะมีมากขึ้น
  2. สิ่งกระตุ้นต่างๆ โดยการหายใจเข้าไป อาหาร หรือ ยาที่รับประทาน เช่น ฝุ่น, ตัวไรฝุ่น, เกสรดอกไม้ หญ้า, ควันบุหรี่, น้ำมันรถ สารเคมี, มลพิษในอากาศ, เชื้ัอราในอากาศ ,ขนและรังแคสัตว์ เช่น สุนัข แมว, อาหาร เช่น ไข่ นม อาหารทะเล
  3. การออกกำลังกายมากๆ
  4. การติดเชื้อทางระบบหายใจ
  5. การเปลี่ยนแปลงของอากาศ
หอบ หืดในเด็ก
ลูกทรมานเพราะ หอบ หืดในเด็ก

อาการและอาการแสดง

  • ไอ มีเสมหะมาก โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย หรือ เวลากลางคืน
  • แน่นหน้าอก
  • เหนื่อยหอบ
  • หายใจลำบาก มีเสียงวี๊ดออกจากปอด

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรค หอบ หืดในเด็ก

เนื่องจากเด็กไม่สามารถสื่อความหมายหรือบอกถึงอาการหอบ หายใจแน่น หรือเหนื่อยได้เหมือนผู้ใหญ่ ดังนั้น พ่อ แม่ หรือผู้ปกครองต้องสังเกตอาการต่างๆ เหล่านี้ เช่น

  • ไอบ่อย หายใจเร็ว หน้าอกบุ๋ม บางครั้งได้ยินเสียงวี๊ด
  • อาการไอเป็นๆ หายๆ ซึ่งอาจมีไข้หรือ น้ำมูกร่วมด้วย
  • ระยะเวลาในการเป็นหวัดและไอจะนานกว่าเด็กปกติ
  • ไอมากตอนกลางคืน และเช้ามืด
  • หลังออกกำลังกายจะไอมาก หรือเหนื่อยหอบ
  • อาการไอจะดีขึ้นเมื่อได้ยาขยายหลอดลม

อาการเหล่านี้จะบ่งบอกถึงภาวะตีบแคบของหลอดลม และหลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ ซึ่งแพทย์จะซักประวัติ อาการร่วม ความถี่ ความรุนแรง ผลกระทบต่อการเรียนหรือการทำงาน การตรวจร่างกาย การทดสอบสมรรถภาพทางปอด (เด็กโต) ประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว การได้รับควันบุหรี่ รวมถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการหอบหืดเพื่อให้การวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรคหืด

 

ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีอาการหอบ หืด

  • ถ้ามีอาการหอบช่วงที่กำลังวิ่งเล่น หรือ มีอาการเหนื่อยให้หยุดพักทันที
  • หายใจเข้าอย่างปกติ และหายใจออกทางปากโดยค่อย ๆ เป่าลมออกจากปอดทีละน้อยให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้และขณะหายใจออก อาจห่อปากขณะเป่าลมหายใจออกด้วยก็ได้
  • ดื่มน้ำอุ่น ๆ มาก ๆ
  • พ่นยา หรือ กินยาแก้หอบตามแพทย์สั่ง ถ้ามียาขยายหลอดลมแบบพ่นชนิดออกฤทธิ์เร็ว ให้พ่น 2 พัฟ ซ้ำได้ 3 ครั้ง ห่างกัน 20 นาที หากอาการดีขึ้นให้พ่นยาทุก 4 – 6 ชั่วโมงต่ออีกประมาณ 24 – 48 ชั่วโมง หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์

 

การใช้ยารักษาโรคหอบหืด

แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. ยาขยายหลอดลมเพื่อบรรเทาอาการ ซึ่งมีทั้งแบบ พ่น กิน ฉีด เป็นชนิดออกฤทธิ์เร็ว ยาพ่นจะสามารถออกฤทธิ์ขยายหลอดลมได้ภายในเวลา 5 – 15 นาที และมักมีฤทธฺิ์อยู่นาน 4 – 6 ชั่วโมง ส่วนยากินมีฤทธิ์ขยายหลอดลมอยู่นาน 4 -6 ชั่วโมงเช่นกัน แต่ออกฤทธิ์ช้ากว่า ดังนั้นถ้าหากไม่มีปัญหาในการพ่นยา ควรพิจารณาใช้ยาพ่นก่อน ยกเว้นเด็กที่ไม่ยอมพ่นยา อาจใช้ยารับประทานได้
  2. ยาควบคุมอาการ เป็นยาต้านการอักเสบ ออกฤทธิ์ลดการอักเสบและลดความไวของหลอดลม มีทั้งแบบพ่น กิน ฉีด ซึ่งแบบพ่นจะให้ความปลอดภัยสูงกว่า เนื่องจากประมาณยาที่ใช้ในการพ่นมีขนาดต่ำ ยาพ่นไปที่หลอดลมโดยตรง ปัจจุบันมียาพ่นที่รวมระหว่างยาต้านการอักเสบ และยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์นานอยู่ในหลอดเดียวกัน เพื่อให้สะดวกในการใช้ และยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาด้วย

 

การจัดที่อยู่อาศัยของลูกที่เป็นหอบหืด

ห้องนอน เป็นห้องที่สำคัญเพราะเป็นห้องที่ลูกจะต้องอยู่นานที่สุด จึงต้องจัดให้สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการอยู่อาศัย

  • ห้องนอนควรมีของน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น ไม่เก็บของ หรือ หนังสือในห้องนอน ไม่ควรปูพรม
  • เครื่องนอน ควรใช้ผ่าคลุมกันไรฝุ่น
  • ที่นอน หมอน หมอนข้าง และผ้าห่มควรทำความสะอาดและนำมาผึ่งแดดบ่อยๆ
  • ผ้าม่าน และ ผ้าปูที่นอน ควรซักอย่างน้อยทุกสัปดาห์ โดยใช้น้ำอุณหภูมิมากกว่า 55 องศาเซลเซียสเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที
  • เครื่องปรับอากาศควรหมั่นทำความสะอาดหน้ากากบ่อยๆ รวมถึงทำความสะอาดพัดลม
  • ไม่เล่นของเล่น หรือ ตุ๊กตาที่เป็นขน
  • ในบ้านไม่ควรมีที่เก็บของอับชื้น หรือ ปลูกต้นไม้ในบ้านเพราะราและฝุ่นจะจับง่าย
  • เก็บอาหารให้มิดชิดเพื่อป้องกันหนูและแมลงสาป
  • ไม่ควรเลี้ยงสัตว์มีขน ถ้าจำเป็น ควรให้อยู่เฉพาะบริเวณนอกบ้านและอาบน้ำทุกสัปดาห์

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

โรงพยาบาลธนบุรี, โรงพยาบาลรามคำแหง

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

WHOเตือน ! พบเด็ก ป่วยโรคตับอักเสบเฉียบพลัน 

ไม่ล้างแอร์ ลูกเสี่ยงป่วย โรคลีเจียนแนร์ -ไข้ปอนเตียก

สัตว์เลี้ยงระบบปิดก็มีสิทธิ หมา แมวติดพิษสุนัขบ้า

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up