โรคลีเจียนแนร์

ไม่ล้างแอร์ ลูกเสี่ยงป่วย โรคลีเจียนแนร์ -ไข้ปอนเตียก

Alternative Textaccount_circle
event
โรคลีเจียนแนร์
โรคลีเจียนแนร์

ไม่ล้างแอร์ ลูกเสี่ยงป่วย โรคลีเจียนแนร์ -ไข้ปอนเตียก

อากาศเมืองไทยร้อนมากถึงขีดสุดนะคะ สิ่งที่หลายบ้านขาดไม่ได้เลยก็คือ เครื่องปรับอากาศหรือแอร์ ที่คุณพ่อคุณแม่คิดว่าช่วยทำให้เจ้าตัวเล็กหลับสบาย และตื่นขึ้นมาท่ามกลางความสดชื่นอยู่ตลอดเวลา แต่หากไม่ได้มีการตรวจสอบสภาพ และดูแลความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ก็มีโอกาสที่เชื้อไวรัส เชื้อรา และแบคทีเรีย จะเติบโตและแพร่พันธุ์โรคต่างๆ มาสู่ทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียลิจิโอเนลลานิวโมฟิวลา หากหายใจเอาฝอยละอองน้ำที่มีเชื้อนี้ปนเปื้อนเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ  ทำให้เกิด โรคลีเจียนแนร์ -ไข้ปอนเตียก ได้ค่ะ

โรคลีเจียนแนร์ -ไข้ปอนเตียก คืออะไร

เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเฉียบพลันจากสิ่งแวดล้อม เชื้อก่อโรค ได้แก่ เชื้อ Legionellae  โรคนี้สามารถก่อให้เกิดอาการทางคลินิกได้ 2 รูปแบบ ได้แก่

1.แบบมีอาการปอดอักเสบรุนแรง มีไข้สูง ไอ หนาวสั่น อัตราป่วยตายสูง เรียกว่า “โรคลิเจียนแนร์ (LEGIONELLOSIS)” 

2.แบบมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ไม่มีปอดอักเสบ เรียกว่า “ไข้ปอนเตียก (PONTIAC FEVER)” 

วิธีการแพร่โรคโดยเชื้อเข้าสู่ร่างกายคนทางระบบทางเดินหายใจ โดยคนหายใจเอาเชื้อนี้เข้าไป

โรคลีเจียนแนร์
ไม่ล้างแอร์ ลูกเสี่ยงป่วย โรคลีเจียนแนร์ -ไข้ปอนเตียก

อาการของโรค

มีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลียปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และมีไข้สูง โดยทั่วไปมักพบอาการใน 2 – 5 วัน ปวดท้อง และอุจจาระร่วงเกิดขึ้นตามมา โรคลีเจียนแนร์เป็นสาเหตุของโรคปอดบวมและมีอาการไอ ไม่มีเสมหะ ปอดมีการอักเสบเป็นปื้นหรือจุดขาว ถ้าเป็นมากอาจพบลุกลามได้ในปอดทั้งสองข้าง การป่วยค่อนข้างรุนแรงและอาจจะทำให้การหายใจล้มเหลว

ส่วนผู้ป่วยไข้ปอนเตียกจะสามารถหายได้เองและไม่มีอาการปอดอักเสบหรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

เชื้อของโรคลีเจียนแนร์ พบได้ที่ไหน?

โรคลีเจียนแนร์ ไม่ใช่โรคใหม่ สามารถพบได้ทั่วโลกทั้งเขตร้อนและเขตหนาว มีเชื้อลีจิโอเนลลา (Legionella) เป็นเชื้อก่อโรค โดยเชื้อจะปนเปื้อนมากับละอองน้ำและเข้าสู่ทางเดินหายใจ

เชื้อชนิดนี้มักพบในบริเวณที่มีน้ำขังนิ่ง มีความชื้นสูงและมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่มักจะพบในระบบเครื่องปรับอากาศหรือถังเก็บน้ำระบายความร้อน ที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่โดยเฉพาะในโรงแรม นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในก๊อกน้ำ เครื่องทำน้ำร้อน และฝักบัวอาบน้ำที่ไม่มีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างถูกต้อง

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคลีเจียนแนร์

ประชาชนทั่วไปที่มีร่างกายแข็งแรง จะไม่มีอาการป่วยใด ๆ สำหรับกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ และผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน โรคไต โรคปอดเรื้อรัง หรือโรคมะเร็ง

ทำความสะอาดแอร์เป็นประจำ เพื่อป้องกันโรค

ควรมีการล้างทำความสะอาดแอร์เป็นประจำ โดยดูตามความเหมาะสมจากสภาพแวดล้อม และการใช้งาน หากเป็นแอร์ตามบ้าน ควรล้างแผ่นกรองอากาศด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค โดยใช้น้ำฉีดแรง ๆ ที่ด้านหลังและด้านที่ไม่ได้รับฝุ่น ให้ฝุ่นและสิ่งสกปรกหลุดออกอย่างน้อยเดือนละครั้ง และควรล้างแอร์แบบเต็มระบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เช่นเดียวกัน แต่หากใช้เป็นประจำทุกวัน ควรล้างทำความสะอาดประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง เพื่อช่วยลดเชื้อโรคที่อาจสะสมอยู่ในแอร์ และประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่งด้วย

 สำหรับการล้างแอร์แบบระบบรวม ควรเปิดน้ำทิ้งจากหอหล่อเย็นให้แห้ง เมื่อไม่ได้ใช้ทำความสะอาด ขัดถู คราบไคล ตะกอน เติมน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อฆ่าเชื้อรา และทำความสะอาดหอหล่อเย็นอย่างน้อย 1 – 2 ครั้งต่อเดือน ไม่ให้มีตะไคร่เกาะ

โดยทำลายเชื้อโดยใส่คลอรีนให้มีความเข้มข้น 10 ppm เข้าท่อที่ไปหอผึ่งเย็นให้ทั่วถึงทั้งระบบไม่น้อยกว่า 3 – 6 ชั่วโมง หลังจากนั้นรักษาระดับคลอรีนให้ความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 0.2 ppm และสำหรับแอร์ในห้องพักต้องทำความสะอาด ถาดรองน้ำที่หยดจากท่อคอยส์เย็นทุก 1 – 2 สัปดาห์ ไม่ให้มีตะไคร่เกาะ หรือใส่น้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ทั้งนี้ ตามมาตรฐานประกาศกรมอนามัย เรื่อง ข้อปฏิบัติการควบคุมเชื้อลิจิโอเนลลาในหอผึ่งของอาคารในประเทศไทย และสำหรับแอร์ที่ใช้ตามบ้านเรือน เมื่อเปิดแอร์ควรสังเกตว่าอากาศที่ออกมาจากแอร์ มีกลิ่นเหม็น หรือมีกลิ่นอับหรือไม่ หากมีกลิ่น ในเบื้องต้น ควรล้างทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศที่อยู่ในแอร์ด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หากล้างทำความสะอาดแล้วกลิ่นไม่หาย ควรเรียกช่างเพื่อทำความสะอาดแบบเต็มระบบ

การรักษา โรคลีเจียนแนร์ -ไข้ปอนเตียก

ไข้ปอนเตียกจะจำกัดตัวมันเองและไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

สำหรับคำแนะนำในการรักษาโรคลีเจียนแนร์ คือ ยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจในกลุ่มฟลูโอโรควิโนโลน (Fluoroquinolones) เช่น ยาลีโวฟลอกซาซิน (Levofl oxacine) หรือยาแมคโครไลด์ (Macrolide) ชนิดใหม่ ยาอะซิโทรมัยซิน (Azithromycin)

การศึกษาจากการสังเกตชี้ให้เห็นว่ายาลีโวฟลอกซาซิน (Levofl oxacine) อาจจะมีผลข้างเคียงมากกว่ายาแมคโครไลด์ (Macrolide) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ยาไรแฟมปิซิน (Rifampicin) ถูกนำมาใช้ร่วมด้วยในผู้ป่วยที่การรักษาล้มเหลว แต่ข้อมูลที่ใกล้เคียงข้อสนับสนุนนี้ยังมีไม่เพียงพอ

แต่ยาในกลุ่มยาเพนิซิลินเพนิซิลลิน (Penicillin), ยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins) และยาอะมิโนกลัยโคไซด์ (Aminoglycosides) จะใช้รักษาไม่ได้ผล

แม้เครื่องปรับอากาศจะช่วยให้ลูกน้อยพ้นจากโรคี่อาจเกิดจากวามร้อนได้ แต่หากไม่รักษาความสัอาด ก็อาจทำให้ลูกน้อยเจ็บป่วยรุนแรงได้เช่นกัน ขอให้คุณพ่อคุณแม่รักษาความสะอาดนะคะ เพื่อความปลอดภัยค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย, PPTV HD

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทวามดี ๆ คลิก

น้ำผึ้ง ป้อนทารก ระวังอันตราย!จากภาวะโบทูลิซึม

ระวัง! พบจุลินทรีย์ทำให้เกิดโรคใน สาหร่ายหมีแพนด้า

สัตว์เลี้ยงระบบปิดก็มีสิทธิ หมา แมวติดพิษสุนัขบ้า

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up