CPR

CPR ช่วยชีวิตลูกจากการสำลัก ของติดคอ หากลูกหมดสติ

Alternative Textaccount_circle
event
CPR
CPR

CPR การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ช่วยเหลือผู้ป่วยที่กำลังจะหยุดหายใจ หรือหัวใจกำลังจะหยุดเต้น ให้กลับมาหายใจ หรือลมหายใจไหลเวียนได้ตามปกติ

CPR ช่วยลูกจากการสำลัก ของติดคอ หากหมดสติ ไม่หายใจ

หากลูกเกิดการสำลัก ของติดคอ คุณพ่อคุณแม่ควรตั้งสติให้ดี รีบช่วยเหลือลูกให้เร็วที่สุด ทุกวินาทีที่ผ่านไปหมายถึงชีวิตของลูกคุณ ทีมกองบรรณาธิการ ABK ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ขั้นตอนการทำCPR และการช่วยลูกเมื่อเกิดการสำลัก ของติดคอ

เรียนรู้การทำ CPR
เรียนรู้การทำ CPR

CPR ช่วยลูกจากการสำลัก ของติดคอ หากหมดสติ ไม่หายใจ

CPR คือ ย่อมาจาก Cardiopulmonary resuscitation ความสำคัญของการทำ CPR ตอนนี้อยู่ที่การปั๊มหัวใจ ที่ต้องทำให้ถูกต้อง และทันเวลา เพราะหากสมองขาดออกซิเจนไปเกิน 4 นาที สมองอาจเสียหายได้

เราสามารถเข้าไปทำCPR ให้กับผู้ป่วยที่หมดสติ ลมหายใจอ่อนหรือหยุดหายใจ หัวใจใกล้หยุดเต้น หรือหยุดเต้นไปแล้ว เช่น จมน้ำ หัวใจวาย สำลักควันไฟจากที่ที่เกิดไฟไหม้ อุบัติเหตุต่างๆ

ขั้นตอนการทำCPR มีดังนี้

  1. ตรวจดูความปลอดภัยบริเวณรอบๆ ตัวผู้ป่วย เช่น มีของแหลมคม มีกระแสไฟฟ้า มีน้ำมัน มีไฟ หรือสิ่งอันตรายอื่นๆ หรือไม่ ถ้าดูไม่ปลอดภัย อย่าเพิ่งเข้าไป เรียกกู้ภัยมาช่วยเหลือดีกว่า
  2. ปลุก โดยการตบที่บ่าทั้ง 2 ข้าง เรียกเพื่อดูว่าผู้ป่วยยังมีสติหรือไม่
  3. โทร 1669 โดยบอกรายละเอียดผู้ป่วย จำนวนผู้ป่วย สถานที่เกิดเหตุ และเบอร์โทรติดต่อกลับ หากผู้ป่วยไม่ได้สติ และหยุดหายใจ แจ้งให้ทีมช่วยเหลือทราบ เพื่อให้นำเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ หรือ AED มาด้วย หรือเปิดลำโพงโทรศัพท์ เพื่อทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
  4. จับผู้ป่วยให้นอนหงายอยู่บนพื้นราบแข็ง จัดแขนให้อยู่ข้างลำตัว ไม่บิดไปมา
  5. นั่งคุกเข่าข้างผู้ป่วย วางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก (ตำแหน่งตรงกลางระหว่างหน้าอก ระดับเดียวกับหัวนมพอดี) และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ และกระดกปลายนิ้วมือด้านล่างขึ้น โน้มตัวไปข้างหน้า ให้แขนตั้งฉากกับผู้ป่วย จะทำให้ส้นมือเป็นจุดที่สัมผัสกับตัวผู้ป่วยเพียงจุดเดียว ไม่วางมือลงไปบริเวณแผ่นอกทั้งหมด เพราะจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ซี่โครงด้านซ้ายได้ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที สามารถปั๊มหัวใจตามจังหวะเพลง “สุขกันเถอะเรา” ของสุนทราภรณ์, “Staying Alive” ของ Bee Gees หรือ “Imperial March” เพลงธีมของ Darth Vader ในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ได้
  6. การกดหน้าอกในเด็กอายุ 1-8 ปี ใช้สันมือ 1 หรือ 2 ข้าง กดลึก 5 ซม. ส่วนทารกอายุ 1 เดือน – 1 ปี ใช้ 2 นิ้ว คือ นิ้วกลางและนิ้วนาง กดลึก 4 ซม.
  7. ควรทำCPR ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าทีมแพทย์ หรือหน่วยกู้ภัยจะมา หากคุณไม่เคยเข้ารับการฝึกทำCPR มาก่อน ให้กดหน้าอกเพียงอย่างเดียวไปเรื่อยๆ หากคุณเคยทำCPR แล้ว อาจกดหน้าอกสลับกับการเป่าปากช่วยหายใจได้ โดยกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับมาเป่าปากช่วยหายใจ 2 ครั้ง นับเป็น 1 รอบ
  8. เป่าปากโดย ให้ใช้สันมือกดที่หน้าผาก และ 2 นิ้วอีกข้างเชยคาง เพื่อเปิดทางเดินหายใจ ขณะทำการเป่า ประกบปากให้สนิท ใช้ 2 นิ้วบีบจมูก แล้วเป่า สังเกตให้หน้าอกของผู้ป่วยยกขึ้น ทำทั้งหมด 5 รอบ ประมาณ 2 นาที
  9. กดหน้าอก 200 ครั้ง โดยทำอย่างต่อเนื่องประมาณ 2 นาที พร้อมประเมินอาการของผู้ป่วย ด้วยการตบไหล่ และเรียกเสียงดัง ๆ ถ้าไม่มีคนช่วย ให้พักได้ไม่เกิน 10 วินาที จากนั้นให้ทำการกดหน้าอกต่อ จนกว่าผู้ป่วยจะมีความเคลื่อนไหว หรือไอ หรือมีผู้นำเครื่องช็อคหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ AED มา

การสำลักสิ่งแปลกปลอมตกเข้าไปอยู่ในทางเดินหายใจ อาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดลม ทำให้ขาดออกซิเจน และชีวิตหากช่วยเหลือไม่ทัน

ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้สำลัก

ในกรณีที่เป็นเด็กเล็ก หรืออายุน้อยกว่า 1 ปี

  1. กรณีไม่หมดสติ ตรวจดูอาการทางเดินหายใจอุดกั้น เช่น ร้องไม่มีเสียง ไอไม่ออก
  2. หาที่นั่ง หรือนั่งคุกเข่า ใช้มือจับอยู่ที่บริเวณกรามของเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้กดที่คอเด็ก จับเด็กคว่ำบนแขน วางแขนที่หน้าขาด้านเดียวกัน พร้อมทั้งเหยียดขาออกไป ให้ศีรษะเด็กอยู่ต่ำกว่าลำตัว ใช้แขนและลำตัวของเราหนีบขาเด็ก ใช้ 2 นิ้วดันคางเด็ก เพื่อเปิดทางเดินหายใจ
  3. ใช้สันมืออีกข้างนึง ทุบที่บริเวณระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้าง ทุบพอประมาณ 5 ครั้ง
  4. ใช้มืออีกข้างจับเด็กพลิกหงายหน้าขึ้น โดยให้ศีรษะอยู่ต่ำกว่าลำตัว เปิดปากดูว่าเห็นสิ่งที่อุดกั้นทางเดินหายใจหรือเปล่า ถ้ามองเห็นสามารถหยิบออกได้ แต่ถ้าไม่เห็น ไม่ควรล้วง หรือควานหา เพราะสิ่งที่อุดกั้นอาจจะลงไปลึกกว่าเดิม ใช้ 2 นิ้วกดหน้าอก 5 ครั้ง
  5. ทำสลับกันไปมาจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะออกมา
  6. ในกรณีที่หมดสติ ให้ทำปฏิบัติการกู้ชีพ หรือCPRและขอความช่วยเหลือ
  7. ทำปฏิบัติการกู้ชีพ หรือCPRจนความช่วยเหลือมาถึง
ช่วยเด็กสำลัก ในกรณีเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
ช่วยเด็กสำลัก ในกรณีเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี

ในกรณีที่เป็นเด็กโต

  1. กรณีไม่หมดสติ ถามว่าพูดได้ไหม ให้ลงมือช่วยเมื่อเห็นว่า พูดไม่มีเสียง หากเห็นสิ่งแปลกปลอมค่อยดึงเอาสิ่งแปลกปลอมออกมา แต่ถ้าไม่เห็น ไม่ควรล้วง หรือควานหา เพราะสิ่งที่อุดกั้นอาจจะลงไปลึกกว่าเดิม
  2. เข้าไปที่ด้านหลังของผู้ป่วย หากเป็นเด็กให้คุกเข่า โอบแขนทั้ง 2 ข้างไว้ใต้รักแร้ กำมือไว้ แล้ววางบริเวณเหนือสะดือใต้ลิ้นปี่ มืออีกข้างจับมือที่กำหมัดไว้
  3. รัดกระตุก แรง ๆ เร็ว ๆ ขึ้นไปข้างบน ลักษณะคล้ายจะยกผู้ป่วยขึ้น (abdominal thrust)
  4. ทำซ้ำจนสิ่งแปลกปลอมออกมา
  5. ในกรณีที่หมดสติ ให้ทำปฏิบัติการกู้ชีพ หรือCPRและขอความช่วยเหลือ
  6. ทำปฏิบัติการกู้ชีพ หรือCPRจนความช่วยเหลือมาถึง
ช่วยเด็กสำลัก ในกรณีเป็นเด็กโตและผู้ใหญ่
ช่วยเด็กสำลัก ในกรณีเป็นเด็กโตและผู้ใหญ่

บทความนี้ ทีมกองบรรณาธิการ ABK นำข้อมูลมาฝาก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้เรียนรู้การทำ CPR และวิธีการช่วยเหลือลูก เมื่อลูกเกิดการสำลัก ของติดคอ เผื่อวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน จะได้นำมาช่วยลูก หรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือได้ทันท่วงทีนะคะ

ทีมกองบรรณาธิการ ABK ขอเชิญคุณพ่อคุณแม่ที่สนใจร่วมทำ Workshop ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เรียนรู้การทำ CPR และการช่วยเหลือเมื่อลูกเกิดสำลักกับผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่งาน Amarin Baby & Kids Fair ครั้งที่ 22 จัดวันที่ 8-11 กันยายน 2565 ณ ไบเทค บางนา

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

โชคดีพ่อทำเป็น! ปั๊มหัวใจ ลูกชาย 3 ขวบจมน้ำ รอดหวุดหวิด!

ผู้เชี่ยวชาญแชร์!! วิธีช่วยเหลือ+ป้องกัน เมื่อ “เด็กจมน้ำ”

10 วิธีป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน สำหรับเด็กเล็ก

ไส้กรอกอันเดียว เกือบทำให้ลูกน้อยเสียชีวิต

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://bangpakok3.com, www.chulalongkornhospital.go.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up