เป็นพ่อแม่ที่ดี

50 แนวทาง เป็นพ่อแม่ที่ดี วิธีเป็นสุดยอดพ่อแม่มีแค่นี้!

Alternative Textaccount_circle
event
เป็นพ่อแม่ที่ดี
เป็นพ่อแม่ที่ดี

เป็นพ่อแม่ที่ดี – อย่างที่รู้กันว่า อาชีพพ่อแม่ เป็นงานที่ไม่สามารถลาออกหรือขอยกเลิกสัญญาได้ เป็นงานที่ว่ากันว่าเหนื่อยยากที่สุดที่คนคนหนึ่งจะได้รับมอบหมาย แต่เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคนยินดีและเต็มใจที่จะเหน็ดเหนื่อย อดทน อดหลับอดนอน ตลอดจนพัฒนาตัวเองในหลายๆ ด้าน เพื่อที่จะทำหน้าที่พ่อแม่ให้ดีที่สุด หวังเพียงให้ลูกเป็นคนดี คนเก่ง เติบโตอย่างสมบูรณ์พร้อม และสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อาจยังรู้สึกว่าตัวเองไม่มีเข็มทิศชี้ทาง ว่าคำนิยามของการเป็นพ่อแม่ที่ดี ควรเป็นอย่างไร ต้องทำแบบไหน ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นพ่อแม่ที่ดีได้ วันนี้เรามีแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้คุณได้ชื่อว่า เป็นสุดยอดคุณพ่อคุณแม่มาฝากกันค่ะ

50 แนวทาง เป็นพ่อแม่ที่ดี วิธีเป็นสุดยอดพ่อแม่มีแค่นี้!

1.ดูแลเอาใจใส่ลูกในขอบเขตที่เหมาะสม

  • ส่งเสริมในสิ่งที่ลูกสนใจ  แสดงความรักของคุณด้วยการสนับสนุนและกำหนดทิศทางชีวิตให้ลูกๆ เพื่อให้ลูกของคุณสามารถสำรวจและค้นพบในสิ่งที่พวกเขาสนใจได้อย่างปลอดภัย ท่ามกลางโลกในยุคดิจิทัลอันสับสนวุ่นวาย
  • ให้อิสระทางความคิด สิ่งสำคัญของเด็กวัยเตาะแตะ คือ การได้รับอิสรภาพ ดังนั้นเมื่อลูกมีพัฒนาการที่ดีในะระดับหนึ่งแล้ว เราควรฝึกกิจวัตรประจำวันง่าย ๆ ให้ลูก เช่น เก็บที่นอน กินข้าวเอง แต่งตัวเอง เป็นต้น การให้เด็กๆ ฝึกมีความรับผิดชอบ จะช่วยสร้างความภาคภูมิใจ และความมั่นใจในตนเองให้กับลูกได้เป็นอย่างดี
  • อย่าพยายามแก้ไขปัญหาทุกอย่างให้ลูก เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ค้นพบวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง เมื่อคุณยอมรับความผิดหวังเล็กๆ น้อยๆ ของเด็กด้วยความรัก โดยไม่รีบเข้าไปช่วยลูกในทันที ลูกจะได้รู้จักกับ การพึ่งพาตนเอง และความยืดหยุ่นทางอารมณ์พร้อมที่จะลุกขึ้นจากความผิดพลาดได้เสมอ อย่างมั่นคง
  • จำไว้ว่าวินัยไม่ใช่การลงโทษ การบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่างๆ กับลูก เป็นเรื่องของการสอนเด็ก ๆ ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไรในสังคม และช่วยให้พวกเขามีความรับผิดชอบ เอาใจใส่ และสามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองได้
  • อย่าวางกฎเกณฑ์ให้ลูกเข้มงวดนัก เด็ก ๆ วัยนี้อาจไม่เข้าใจกฎและข้อบังคับต่างๆ ที่ซับซ้อนมากเกินไปหากคุณไม่ทำให้มันเคลียร์ ทางที่ดีอย่าใส่ใจหรือไปกะเกณฑ์กับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ของลูกมากเกินไป เช่น การเลือกเสื้อผ้าของลูก การพูดจาภาษาเด็กที่อาจฟังไม่ได้ศัพท์บางครั้ง เป็นต้น แต่สิ่งที่ควรมุ่งเน้น และควรให้สำคัญมากกว่า เช่น การไม่ใช้กำลังต่อกัน การพูดจาหยาบคาย หรือ การโกหกพ่อแม่ เป็นต้น
เป็นพ่อแม่ที่ดี
เป็นพ่อแม่ที่ดี

2. สร้างเวลาคุณภาพกับลูก

  • เล่นกับลูกๆ  ปล่อยให้ลูกมีอิสระในการเลือกกิจกรรมต่างๆ และไม่ต้องกังวลกับกฎเกณฑ์อะไรมากนัก เพียงทำให้เป็นธรรมชาติ และมีความสุขไปกับลูก
  • อ่านหนังสือด้วยกันทุกวัน สิ่งนี้สามารถเริ่มต้นได้เลยตั้งแต่ลูกเป็นทารก ทารกชอบฟังเสียงของพ่อแม่ การกอดลูก การที่ลูกได้ใกล้ชิดกับพ่อแม่และหนังสือถือเป็นประสบการณ์ของความผูกพันที่ดี ที่จะทำให้ลูกมีนิสัยรักการอ่านหนังสือไปตลอดชีวิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ตัวต่อลูกอย่างมาก
  • กำหนดเวลาพิเศษประจำวัน ให้ลูกของคุณเลือกกิจกรรมที่คุณจะได้อยู่กับลูก เป็นเวลา 10 หรือ 15 นาที โดยไม่มีการขัดจังหวะ ไม่มีอะไรดีไปกว่าการแสดงความรักของคุณในช่วงเวลาพิเศษนี้
  • ส่งเสริมเวลาของพ่อ ทรัพยากรที่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการพัฒนาชีวิตของลูก ๆ คือ เวลาที่ลูกได้อยู่กับพ่อตั้งแต่ยังแบเบาะ เด็กที่มีพ่อที่มีส่วนร่วมด้วยเสมอจะเรียนได้ดีขึ้นในโรงเรียน มีแนวโน้มที่จะแก้ปัญหาได้สำเร็จ และสามารถรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ดี
  • สร้างความทรงจำที่อบอุ่น ลูก ๆ อาจจะจำอะไรที่คุณพูดกับพวกเขาไม่ได้ในช่วงที่พวกเขายังเล็ก แต่พวกเขาจะสามารถจำช่วงเวลาดีๆ ของครอบครัวที่สร้างความอบอุ่นใจให้กับพวกเขาได้ เช่น เวลาที่พ่อแม่กล่อมเข้านอน หรือคืนเล่านิทานที่พ่อแม่ทำร่วมกับลูกๆ ได้อย่างแม่นยำ

3. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก

  • เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกได้เดินตาม เด็ก ๆ เรียนรู้จากการดูพ่อแม่เป็นแนวทางปฏิบัติ การสร้างแบบจำลองพฤติกรรมที่เหมาะสมน่าเคารพจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการพูดหรือบอกเฉยๆ ว่าลูกๆ ต้องทำอะไร
  • สารภาพและยอมรับผิด หากคุณทำอะไรที่ผิดพลาดไป นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแสดงให้ลูกเห็น ว่าควรขอโทษอย่างไร และเมื่อไหร่
  • ใช้ชีวิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสดงให้ลูก ๆ เห็นคุณค่าในการดูแลสิ่งแวดล้อม  การรีไซเคิลนำกลับมาใช้ใหม่ การประหยัดทรัพยากร อาจใช้เวลาช่วงบ่ายวันหยุดไปกับลูกๆ เพื่อให้ลูกช่วยเก็บขยะรอบ ๆ ละแวกบ้าน
  • พูดความจริงเสมอ คุณต้องการให้ลูกพูดความจริงกับคุณใช่ไหม? เช่นเดียวกันเลยค่ะ
  • จูบและกอดคู่สมรสของคุณต่อหน้าเด็ก ๆ  ชีวิตการครองรักของพ่อและแม่เป็นตัวอย่างที่ดีของการให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคุณทั้งสองที่จะทำสิ่งนี้ให้ชัดเจน
  • เคารพความแตกต่างในการเลี้ยงลูก สนับสนุนแนวทางของคุณและคู่ของคุณในการเลี้ยงลูก ควรให้เกียรติซึ่งกันและกัน การวิพากษ์วิจารณ์ หรือโต้เถียง ทะเลาะเบาะแว้งกับคู่รักของคุณ อาจบั่นทอนชีวิตสมรส และความรู้สึกปลอดภัยของลูกได้มากกว่าที่เราคิด

เป็นพ่อแม่ที่ดี

4. รู้วิธีที่ดีที่สุดในการชื่นชมลูก

  • ให้คำชมตามสมควร แทนที่จะพูดง่ายๆว่า “คุณเยี่ยมมาก” พยายามเจาะจงว่าบุตรหลานของคุณทำอะไรเพื่อให้สมควรได้รับการตอบรับในเชิงบวก คุณอาจพูดว่า “การรอจนกว่าฉันจะปิดโทรศัพท์เพื่อขอคุกกี้นั้นยากและฉันชอบความอดทนของคุณมาก”
  • ชื่นชมและสนับสนุนในการทำความดี เมื่อคุณสังเกตเห็นว่าลูกของคุณทำสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือเป็นประโยชน์ให้เขารู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไร เป็นวิธีที่ดีในการเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดีเพื่อให้เขามีแนวโน้มที่จะทำต่อไป
  • ซุบซิบเกี่ยวกับลูก ๆ ของคุณ ความจริง: สิ่งที่เราได้ยินนั้นมีศักยภาพมากกว่าสิ่งที่เราได้รับการบอกเล่าโดยตรง ทำให้คำชมมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยให้ลูกของคุณ “จับ” คุณกระซิบคำชมเกี่ยวกับเขากับคุณยายพ่อหรือแม้แต่ตุ๊กตาของเขา

5. เชื่อมั่นในตัวเอง

  • ให้ตัวเองหยุดพัก แวะซื้ออาหารจากร้านแบบ ไดร์ฟ ทรูว์ บ้าง เมื่อคุณเหนื่อยเกินไปที่จะทำอาหารทานเอง สิ่งนี้ไม่ได้ทำให้คุณเป็นพ่อแม่ที่ไม่ดีค่ะ
  • เชื่อสัญชาตญาณของคุณ ไม่มีใครรู้จักลูกของคุณดีไปกว่าคุณ ทำตามสัญชาตญาณของคุณในเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ของเขา หากคุณคิดว่ามีอะไรผิดพลาด
  • เพียงพูดว่า “ไม่” ต่อต้านการกระตุ้นให้ต้องรับภาระหน้าที่พิเศษในที่ทำงาน หรือเป็นแกนนำอาสาสมัครที่โรงเรียนของลูกๆ ถ้าทำได้ คุณจะไม่มีวันเสียใจ ที่ได้ใช้เวลากับลูก ๆ มากขึ้น
  • อย่ายอมรับการดูหมิ่นจากลูกของคุณ อย่ายอมให้เธอหยาบคายหรือพูดเรื่องที่ทำร้ายคุณ หรือใคร ๆ ถ้าลูกทำเช่นนั้นให้บอกอย่างหนักแน่นจริงจังว่าคุณจะไม่ยอมให้มีการดูหมิ่นทุกรูปแบบ
  • ทำตามแผนของคุณ สื่อสารกับที่มีส่วนในการคนดูแลลูกทุกคน ไม่ว่าจะเป็นสามี ภรรยา ปู่ย่าตายาย หรือคนรับเลี้ยงเด็ก พี่เลี้ยงเด็ก ทั้งนี้ เพื่อช่วยเสริมสร้างค่านิยมและพฤติกรรมที่คุณต้องการปลูกฝัง ซึ่งรวมถึงทุกอย่างตั้งแต่การกล่าวขอบคุณและการมีน้ำใจ เป็นต้น

6. ไม่ลืมที่จะสอนทักษะทางสังคม

  • ถามคำถามลูก ๆ  สามคำถามทุกวัน ศิลปะการสนทนาเป็นทักษะทางสังคมที่สำคัญ แต่พ่อแม่มักละเลยที่จะสอน ถามเด็ก ๆ เช่น “คุณสนุกที่โรงเรียนไหม”; “คุณทำอะไรในงานเลี้ยงที่คุณไป?”; หรือ “พรุ่งนี้บ่ายวันพรุ่งนี้คุณอยากไปที่ไหน”
  • สอนเด็ก ๆ ด้วยเคล็ดลับความกล้าหาญนี้ บอกให้พวกเขาสังเกตสีตาของคนเสมอ การสบตาจะช่วยให้เด็กที่ลังเลมีความมั่นใจมากขึ้น และจะช่วยให้เด็ก ๆ กล้าแสดงออกมากขึ้น และมีโอกาสน้อยที่จะถูกเลือก
  • รับรู้ถึงอารมณ์ที่รุนแรงของลูก เมื่อลูกของคุณขาดการควบคุมทางอารมณ์ ให้ถามเขาว่า “ลูกรู้สึกอย่างไร” และ “อะไรจะทำให้ดีขึ้น” แล้วฟังเขา เขาจะหายจากอารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่ายขึ้น ถ้าคุณปล่อยให้ลูกพูดระบายออกไป

เป็นพ่อแม่ที่ดี

7. หมั่นปลูกฝังเรื่องความกตัญญู

  • แสดงให้ลูกเห็นการรับผิดชอบในฐานะพลเมืองดี หาวิธีช่วยเหลือผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ ลูกๆ จะรู้สึกถึงคุณค่าในตนเองได้โดยการได้เป็นอาสาสมัครในการทำประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวม
  • ไม่สนับสนุนการเอาแต่ใจ โปรดจำไว้ว่าลูกไม่ควรทำตัวเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ดังนั้นจงอย่ายอมอ่อนข้อต่อการเอาแต่ใจโดยไร้เหตุผลของลูก
  • พูดถึงความหมายของการเป็นคนดี เริ่มต้นได้ตั้งแต่เนิ่นๆ อาจสอดแทรกไปในการอ่านนิทานก่อนนอนของคุณให้ถามลูกวัยเตาะแตะของคุณว่าตัวละครในนิทานเป็นคนมีจิตใจดีหรือไม่อย่างไร การเป็นคนดีของตัวละครตัวนั้นๆ ได้ผลตอบรับที่ดีอย่างไร เป็นต้น
  • อธิบายให้ลูกฟังว่าเหตุใดค่านิยมจึงมีความสำคัญ   เป็นธรรมดาที่คนใจดี ใจกว้าง ซื่อสัตย์ และให้ความเคารพผู้อื่นจะทำให้คนรอบข้างรู้สึกดี ที่สำคัญกว่านั้น คือ คนที่ทำดีย่อมรู้สึกดีกับตัวเอง จงสอนสิ่งนี้ให้กับลูกอย่างสม่ำเสมอ
  • “ชั่วโมงแสดงความขอบคุณ”  ทุกคืนในมื้อค่ำ ให้ทุกคนวนกันพูดไปรอบ ๆ โต๊ะ ผลัดกันพูดคุยเกี่ยวกับผู้คนต่างๆ ที่มีน้ำใจ และเมตตาต่อคุณในวันนั้น อาจฟังดูซ้ำซาก แต่สิ่งนี้จะทำให้ทุกคนในครอบครัวรู้สึกดีได้

8. การกินใครว่าไม่สำคัญ จงทำให้มีคุณค่า

  • สนับสนุนให้ลูกได้ลองทานของดีๆ หากลูกของคุณปฏิเสธอาหารดีๆ มีประโยชน์ที่คุณอยากให้ลูกทาน อย่าเพิ่งรู้สึกท้อ คุณอาจต้องเสนอให้ลูกทานอีกหกหรือแปดครั้งหรือสิบครั้งก่อนที่ลูกจะทาน ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจได้ว่าลูกคุณจะชอบ
  • หลีกเลี่ยงการทะเลาะเรื่องการกิน เด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง จะรู้ไดโดยสัญชาตญาณว่าต้องกินมากน้อยแค่ไหน ถ้าเขาไม่ยอมทานอาหารที่อยู่ในจานให้หมดก็ไม่ต้องกังวลจนเกินไปค่ะ
  • รับประทานอาหารพร้อมกัน อย่างน้อยหนึ่งมื้อในแต่ละวัน การนั่งลงที่โต๊ะด้วยกันเป็นวิธีที่ผ่อนคลายสำหรับทุกคนในการเชื่อมต่อถึงกันเป็นช่วงเวลาแห่งการแบ่งปันข่าวสาร พูดคุย หรือเล่าเรื่องตลก นอกจากนี้ยังช่วยให้บุตรหลานของคุณพัฒนานิสัยการทานที่ดีต่อสุขภาพได้
  • ให้บุตรหลานของคุณกำหนดเมนู  หรือสั่งอาหารที่ลูกชอบมาสัปดาห์ละครั้ง ให้ลูก ๆ ได้เลือกเมนูที่ตัวเองชอบหรืออยากทานด้วยตัวเอง

9. บอกรักลูกอย่างสม่ำเสมอ

  • รักลูกเท่า ๆ กัน  ในกรณีที่มีลูกมากกว่าหนึ่งคน ควรดูแลความรู้สึกทั้งของพี่และน้อง
  • พูดว่า “พ่อแม่รักลูก” พูดคำนี้ เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกอยากจะพูด แม้ว่าจะเป็นวันละ 800 ครั้งก็ตาม
  • ระลึกถึงสิ่งที่พ่อแม่คุณสั่งสอน เด็ก ๆ ไม่ใช่ของคุณตลอดไป พวกเขาจะมีเวลาใกล้ชิดอยู่กับคุณเพียงชั่วคราว สิ่งที่คุณจะทำได้ดีที่สุดคือจงพยายามอย่างเต็มที่เพื่อช่วยให้พวกเขาเติบโตเป็นคนดีในสังคมและก้าวอย่างมั่นคงด้วยขาของตัวเองได้
  • นี่แหละชีวิตคนเป็นพ่อแม่ จริงอยู่ ที่การเป็นพ่อแม่ คือ งานที่เหนื่อยที่สุดในโลก ไหนจะต้องทำบ้านให้เป็นระเบียบ ซักผ้ากองพะเนินเทินทึก ไล่ตามเก็บของเล่นที่เกลื่อนกลาด แต่ลูกของคุณแค่หัวเราะสนุกไปวันๆ จงจำไว้ว่า จะอย่างไรก็แล้วแต่ พยายามอย่าใส่อารมณ์กับลูกหากคุณกำลังเหนื่อยเกินไปทางที่ดีควรสงบสติอารมณ์ก่อน

10. กระตุ้นพลังสมองและกิจกรรมทางกายให้ลูกๆ

  • สอนลูกให้แสดงความต้องการ การที่เด็กพูดไม่ได้ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีอะไรที่ลูกอยากจะพูด สัญญาณง่ายๆ สามารถช่วยให้คุณรู้ว่าลูกต้องการอะไรและรู้สึกอย่างไรก่อนที่ลูกจะมีคำพูดจะบอกคุณ
  • ทีวีหรือหน้าจอต่างๆ ควรอยู่แค่ในห้องนั่งเล่น การวิจัยพบว่าเด็กที่มีทีวีในห้องนอนมีเกณฑ์น้ำหนักตัวมากขึ้น นอนพักผ่อนน้อยลง และมีปัญหากับการเรียน มีทักษะทางสังคมที่แย่ลง
  • ให้เด็ก ๆ ได้เคลื่อนไหว ผลการวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าพัฒนาการทางสมองในเด็กเล็กเชื่อมโยงกับระดับกิจกรรมของพวกเขา ในระหว่างวันคุณควรปล่อยให้เด็กวัยหัดเดินของคุณได้เดินแทนการนั่งรถเข็นเด็กบ้าง หรือหาโอกาสให้ลูกวัยเรียนได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สิ่งนี้จะส่งผลดีต่อพัฒนาการในหลายด้านของลูก

11. ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสุขภาพ

  • พาลูกไปฉีดวัคซีน จงให้ความสำคัญกับสุขภาพของลูกเป็นอันดับแรก เช่นการพาลูกไปฉีดวัคซีนตามกำหนด
  • ปกป้องรอยยิ้มสวยๆ ของลูก การส่งเสริมให้ลูกแปรงฟันวันละสองครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์จะช่วยป้องกันฟันผุได้เป็นอย่างดี
  • ระมัดระวังเรื่องความปลอดภัย ดูแลบ้านของคุณให้สะอาด และอย่าปล่อยให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบอยู่ในอ่างน้ำ หรือใกล้แหล่งน้ำตามลำพัง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าติดตั้งคาร์ซีทในรถอย่างถูกต้องและควรให้ลูกหลานสวมหมวกนิรภัยเมื่อขี่จักรยานหรือสกูตเตอร์ทุกครั้ง
  • ทำตามคำแนะนำขแงเพทย์  ลูกของคุณมีไข้ ไม่สบาย ปวดหัวตัวร้อน ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรให้ลูกใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะยาที่ดีที่สุดคือการพักผ่อนอย่างเพียงพอ การได้ดื่มน้ำสะอาด และการมีโภชนาการที่ดี การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาทางการแพทย์ เช่น การเกิดเชื้อดื้อยาได้ หากเลือกใช้ยารักษาที่ไม่เหมาะสมกับอาการ
  • เก็บครีมกันแดดไว้ข้างๆ ยาสีฟัน สำหรับเด็กเล็กๆ ผิวพรรณอาจยังบอบบาง คุณพ่อคุณแม่อาจต้องใส่ใจเรื่องการปกป้องดูแลผิวของลูกจากแสงแดดบ้าง ถ้าเป็นไปได้ให้ทาโลชั่นกันแดดสำหรับเด็กให้ลูกทุกวันเหมือนส่วนหนึ่งของกิจวัตรตอนเช้าเช่นเดียวกับการแปรงฟัน
  • พาลูกน้อยเข้านอน  ตอนที่ลูกๆ กำลังเคลิ้มๆ วิธีนี้ช่วยให้ลูกของคุณเรียนรู้ที่จะปลอบตัวเองให้เข้านอนและป้องกันปัญหาก่อนนอนได้
  • รู้ว่าเมื่อไหร่ลูกควรเข้าห้องน้ำ สังเกตสัญญาณสองอย่างที่บ่งบอกว่าลูกของคุณพร้อมที่จะใช้กระโถน คือ ลูกรู้สึกได้ถึงความอยากที่จะฉี่ (ซึ่งแตกต่างจากการรู้ว่าเขาฉี่แล้ว)  และ ลูกเดินมาขอให้คุณเปลี่ยนผ้าอ้อม

การมอบสิ่งที่ดีให้กับลูก ทั้งเรื่องการสอนและปลูกฝังสิ่งที่ดีงาม การสนับสนุนลูกในเรื่องต่างๆ ตามสมควร ไม่ลืมที่จะสอนทักษะทางสังคมให้กับลูก การสร้างกฎเกณฑ์ให้ลูกปฏิบัติเพื่อสร้างวินัยอย่างยั่งยืน ตลอดจนการให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพที่ดี และอื่นๆ อีกมากมาย จะช่วยเสริมสร้างทักษะความฉลาดด้านต่างๆ ด้วย Power BQ ให้ลูกได้ อาทิ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) , ความฉลาดในการเข้าสังคม(SQ), ความฉลาดทางคุณธรรม(MQ) ซึ่งทักษะด้านต่างๆ หากคุณพ่อคุณแม่ปลูกฝังลูกตั้งแต่ยังเล็กก็จะเกิดเป็น ทักษะที่ยั่งยืนติดตัวลูกไปในวันที่ลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในสังคมได้ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : parents.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

9 เทคนิคต้องรู้ สอนลูกให้ชอบอ่าน พ่อแม่ต้องทำแบบนี้!

เตือนภัยพ่อแม่! ชุดว่ายน้ำเด็ก สีไม่สดใส อันตรายกว่าที่คิด

ความสัมพันธ์ในครอบครัว สำคัญมากต่ออนาคตลูก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up