ขั้นตอนการฝากครรภ์

แจงละเอียด! ขั้นตอนการฝากครรภ์ เตรียมตัวอย่างไร? ทำอะไรบ้าง?

Alternative Textaccount_circle
event
ขั้นตอนการฝากครรภ์
ขั้นตอนการฝากครรภ์

ขั้นตอนการฝากครรภ์ ครั้งแรก

  • คุณหมอจะซักถามประวัติอย่างละเอียด เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่นเป็นการตั้งครรภ์ที่เท่าไร ลักษณะการคลอด (ในกรณีไม่ใช่ท้องแรก) เคยแท้งหรือไม่ โรคประจำตัว ประวัติการเจ็บป่วย ยาที่กินเป็นประจำ ฯลฯ
  • คำนวณกำหนดคลอด
  • คุณหมอจะตรวจร่างกายอย่างละเอียด วัดความดันโลหิตดูการบวมตามร่างกาย ตรวจเลือดเพื่อหาหมู่โลหิต โรคทางพันธุกรรม และการติดเชื้อต่าง ๆ ตรวจปริมาณน้ำตาล ตรวจโปรตีนในปัสสาวะ
  • ตรวจครรภ์ โดยการคลำความสูงของมดลูกว่าสมควรเหมาะสมกับอายุครรภ์หรือไม่
  • ฟังการเต้นของหัวใจทารก หรืออาจจะอัลตราซาวด์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ที่เหมาะสม
  • คุณหมอให้ยาบำรุงมากินตามความเหมาะสม

ขั้นตอนการฝากครรภ์ ครั้งต่อ ๆ ไป

เนื่องจากการตั้งครรภ์ในแต่ละสัปดาห์มีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ดังนั้น ขั้นตอนการฝากครรภ์ ครั้งต่อ ๆ ไป แม่ท้องและลูกในท้องอาจได้รับการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

การตรวจครรภ์และแม่ตั้งครรรภ์

  • ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก คอตีบ และไอกรน และวัคซีนอื่น ๆ ให้แก่แม่ท้อง
  • สอนการบันทึกความถี่เมื่อรู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้น และการสังเกตตนเองเมื่อมีภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • ตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • เจาะตรวจน้ำคร่ำ หรือเจาะเลือดเพื่อหาความผิดปกติของยีนหรือโครโมโซมที่เกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ (ตรวจกับแม่ท้องที่มีความเสี่ยงเท่านั้น)
  • ตรวจภายใน (เมื่อใกล้ถึวันกำหนดคลอด) เพื่อดูลักษณะและการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก ที่กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดบุตร โดยปากมดลูกจะอ่อนนุ่มขึ้น และค่อย ๆ ขยายออกกว้างและบางลง ปากกมดลูกจะขยายกว้างถึง 10 เซนติเมตร และหดลงเมื่อคลอดทารกแล้ว
  • ตรวจหัวนม คุณหมออาจจะขอดูหัวนมว่ามีความยาวเพียงพอที่ลูกน้อยจะสามารถงับและดูดได้หรือไม่ หากพบว่าคุณแม่มีปัญหาเรื่องหัวนมแล้ว คุณหมอก็จะช่วยหาทางแก้ไข เช่น การใช้ปทุมแก้ว เป็นต้น
การฝากครรภ์
แม่ท้องจะได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็นขณะตั้งครรภ์

การตรวจทารกในครรภ์

  • อัลตราซาวด์ทารก การทำอัลตราซาวด์จะช่วยให้แพทย์วิเคราะห์ภาพรวมของร่างกายทารกได้ รวมทั้งยังช่วยระบุเพศของทารก โดยแพทย์จะใช้คลื่นเสียงที่มีความถี่สูงประมวลภาพทารกในครรภ์ออกมา เพื่อวัดการเจริญเติบโตของทารก
  • วัดการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ โดยคลำประเมินจากขนาดหน้าท้อง
  • ฟังการเต้นของหัวใจทารก เมื่อเข้ารับการตรวจครรภ์ในไตรมาสที่ 2 แพทย์จะให้ผู้ตั้งครรภ์ฟังเสียงหัวใจเต้นของทารกในครรภ์ โดยใช้เครื่องฟังเสียงหัวใจเต้นของทารกในครรภ์ (Doppler) เครื่องฟังเสียงหัวใจเต้นนี้จะจับจังหวะการเต้นของหัวใจทารกและประมวลผลออกมาเป็นเสียง หรือใช้หูฟังตรวจ (Strethtoscope) ซึ่งแพทย์จะฟังเสียงหัวใจทารกเต้นเอง โดยทั่วไปแล้ว จะได้ยินเสียงหัวใจทารกเต้นเมื่ออายุครรภ์ครบ 10-12 สัปดาห์
  • ประเมินการเคลื่อนไหว เมื่ออายุครรภ์ครบ 20 สัปดาห์ ทารกในครรภ์มักดิ้นหรือถีบท้อง และผู้ตั้งครรภ์บางรายที่เคยตั้งครรภ์มาก่อนก็อาจพบว่าลูกดิ้นก่อนอายุครรภ์ครบ 20 สัปดาห์
  • ตรวจท่าทางของทารกในครรภ์ เมื่อใกล้ครบกำหนดคลอด แพทย์จะวัดน้ำหนักและตรวจท่าของทารกว่าหันศีรษะไปทางช่องคลอดหรือไม่

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ วิธีการดูแลตัวเองระหว่างการตั้งครรภ์

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up