โรคประจำตัว ที่ควรเฝ้าระวัง ขณะตั้งครรภ์

Alternative Textaccount_circle
event

โรคประจำตัว ที่ควรเฝ้าระวัง ขณะตั้งครรภ์ หากเรามีสุขภาพที่ดี ช่วงเวลาตั้งครรภ์คงจะเป็นช่วงเวลาที่ดี และวิเศษสุด แต่ถ้าขณะตั้งครรภ์เรามีโรคประจำตัวขึ้นมาล่ะ ท้องนี้จะมีปัญหาไหม?

โรคประจำตัว ที่ควรเฝ้าระวัง ขณะตั้งครรภ์

 

โรคประจำตัว ที่ควรเฝ้าระวัง ขณะตั้งครรภ์

 

รู้จัก โรคสำคัญ … ทำตั้งครรภ์มีปัญหา

ความจริงแล้ว โรคประจำตัว ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของแม่และลูกในช่วงตั้งครรภ์นั้นมีค่อนข้างมาก แต่จะขอกล่าวถึงโรคสำคัญที่อันตรายต่อแม่ และพบบ่อย เริ่มจาก โรคประจำตัว ที่อันตรายมากที่สุดก่อน นั่นคือ

โรคหัวใจ    

เป็นโรคที่อันตรายมากต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ แบ่งได้เป็น 2 แบบคือ

1. ความพิการแต่กำเนิดของหัวใจ ส่วนใหญ่จะพบว่ามีหัวใจรั่ว เส้นเลือดจากหัวใจห้องซ้ายหรือห้องขวาตีบ ทำให้เลือดที่หัวใจปั๊มได้ไม่ดี  ซึ่งในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ปริมาณน้ำหรือเลือดในร่างกายจะเพิ่มขึ้นมากกว่าคนทั่วไปถึง 40% อยู่แล้ว ส่งผลทำให้หัวใจต้องปั๊มและสูบฉีดโลหิตเพิ่มขึ้น หัวใจจะทำงานหนักมาก

ซึ่งหากใครรู้ว่าตัวเองป่วย แนะนำให้รักษาตั้งแต่เนิ่นๆ กินยาสม่ำเสมอ หรือหากใครเป็นลิ้นหัวใจรั่ว ปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีที่ช่วยในการผ่าตัดได้ เพียงแต่หลังการผ่าตัด และขั้นตอนการดูแลรักษาต้องใช้ยาที่มีผลต่อลูกในครรภ์ หากคุณแม่กำลังรักษาโรคหัวใจและต้องใช้ยา ควรแจ้งสูติแพทย์ ให้รู้พื้นฐานของโรคและยาที่ใช้ แพทย์ก็จะสามารถดูแลคุณแม่และแนะการใช้ยาในแม่ท้องที่ไม่ส่งผลอันตรายต่อลูกน้อยได้ตลอดการตั้งครรภ์

2. โรคหัวใจรูมาติก ซึ่งอาจเกิดจากไม่สบายเป็นหวัดแล้วมีการติดเชื้อไปที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจรั่วโดยไม่รู้ตัว รู้สึกแค่เหนื่อยง่าย จึงไม่ได้ไปตรวจหรือรักษา แต่พอตั้งท้องจะรู้ได้ทันทีเพราะเกิดความผิดปกติรุนแรง

กรณีที่คุณแม่เป็นโรคหัวใจรูมาติกแล้วไม่รู้ตัวจนตั้งครรภ์จะมีปัญหามาก และไม่สามารถปล่อยไปได้  เพราะหากแพทย์รู้ว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ในขณะที่เป็นโรคหัวใจรูมาติก อาจจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์(ทำแท้ง) ทันที เพราะลิ้นหัวใจที่รั่ว จะทำให้น้ำหรือเลือดไหลไปท่วมหรือสะสมที่อื่นเช่น ปอด จนไปเพิ่มความดันเลือดในช่องปอดให้สูง จะทำให้คุณแม่เสียชีวิตเพราะหัวใจวายได้นั่นเอง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

โรคเบาหวาน

ปัจจุบันมีคนเป็นเบาหวานเยอะขึ้นมาก เพราะอาหารและพฤติกรรมการกินในปัจจุบัน ซึ่งความจริงแล้วผู้หญิงที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่มักจะตั้งครรภ์ยาก เพราะระบบธรรมชาติภายในร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ไข่ไม่ตกหรืออื่นๆ ซึ่งหากไม่รักษา หรือไม่ได้รับอินซูลินก็มักจะไม่ค่อยตั้งท้อง  แต่กรณีที่เป็นเบาหวานแล้วท้องขึ้นมา จะมีผลทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อยทันทีนั่นคือ

  • ผลต่อลูกน้อยในครรภ์ เมื่อเลือดคุณแม่มีน้ำตาลสูง  ลูกที่เกิดขึ้นตอนมีน้ำตาลสูงในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก มักจะเป็นโรคหัวใจ หรือมีความเสี่ยงพิการแต่กำเนิด นอกจากนี้ในระหว่างตั้งครรภ์น้ำตาลในร่างกายคุณแม่ที่สะสมไว้เยอะๆ จะทำให้ปอดลูกไม่ค่อยทำงาน หลังคลอดลูกจะหายใจเองไม่ได้  ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ  รวมถึงลูกจะตัวใหญ่ คลอดยาก ทำให้ต้องผ่าคลอด  หรือบางคนไม่ได้ผ่าคลอด เมื่อลูกตัวใหญ่ เวลาคลอดก็จะฟกช้ำ เพราะถูกบีบถูกดึงออกมา ทำให้ลูกไหปลาร้าหัก หรืออวัยวะอื่นๆ บาดเจ็บได้
  • ผลต่อคุณแม่ เมื่อคุณแม่มีน้ำตาลสูง ก็อาจส่งผลให้ความดันโลหิตสูงตามมา มีความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ และอื่นๆและเมื่อลูกน้อยที่ได้รับน้ำตาลจากแม่มากๆ ลูกตัวใหญ่ คลอดยาก คุณแม่ก็ต้องผ่าคลอดโดยไม่จำเป็น ร่างกายบอบช้ำ และอาจจะตกเลือดจนเป็นอันตรายได้

ติดตาม โรคประจำตัวที่ควรเฝ้าระวัง ขณะตั้งครรภ์ คลิกต่อหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up