2. เลือดกำเดาไหล และเลือดออกตามไรฟัน

การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน ซึ่งเป็นเรื่องปกติของคนตั้งครรภ์ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลอดเลือดในจมูกขยายตัวได้ และปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นจะไปช่วยเพิ่มแรงกด แรงดันต่อหลอดเลือด ซึ่งเป็นส่วนที่มีความบอบบางเหล่านั้นทำให้เส้นเลือดแตกได้ง่าย นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดกำเดาไหล ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ ธรรมดาที่เลือดกำเดาไหล ขณะตั้งครรภ์ การที่มีเลือดกำเดาไหลออกมาเพียงเล็กน้อย เป็นครั้งคราว แล้วอีกสักพักก็หยุดไหลถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่อันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ แต่หากเลือดไหลในปริมาณมาก ไม่หยุดเกิน 30 นาทีควรรีบพบแพทย์

และเหตุผลเดียวกันนี้ที่ทำให้เหงือกของคุณรู้สึกบวมและบอบบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสที่ 2 ในการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ นักวิจัยชาวดัตช์พบว่าเลือดออกตามไรฟันเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงในช่องปากที่พบบ่อยที่สุดที่สตรีมีครรภ์ต้องเผชิญ

วิธีหยุดเลือดกำเดาไหลขณะตั้งครรภ์

  • นั่งหรือยืนให้หัวตั้งตรง เพราะการทำแบบนี้จะช่วยลดความดันในหลอดเลือดภายในจมูก และจะช่วยให้เลือดออกช้าลงได้
  • ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้บีบปีกจมูกเข้าหากัน บีบโดยไม่ปล่อยออกมาเป็นเวลา 10 นาที
  • หากยังมีเลือดไหลอยู่ ให้เอนไปข้างหน้าเล็กน้อยและหายใจเข้าทางปากเพื่อให้เลือดไหลออกมาทางจมูกแทนที่จะไหลลงมาทางด้านหลังคอ
  • อมน้ำแข็งหรือวางเจลประคบเย็น ที่ด้านหลังคอหรือหน้าผากเพื่อช่วยให้เลือดแข็งตัว
  • หลังจากที่บีบจมูกผ่านไป 10 นาทีค่อยๆ ปล่อยมือที่บีบอยู่เบา ๆ เพื่อดูว่าเลือดหยุดไหลหรือไม่ หากยังมีเลือดออกให้ลองทำตามขั้นตอนนี้อีกครั้งเป็นเวลา 10 นาที
  • อย่านอนหรือเอนศีรษะลง เพราะอาจทำให้คุณกลืนเลือดลงไป และอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนได้

    อาการแพ้ท้อง ไม่เป็นอันตราย บรรเทาได้ด้วยการดูแล
    อาการแพ้ท้อง ไม่เป็นอันตราย บรรเทาได้ด้วยการดูแล

3. Nesting อาการแพ้ท้อง…อยากจัดบ้าน

หากในช่วงไตรมาสที่ 3 คุณรู้สึกอยากรื้อบ้านและสร้างใหม่ โปรดจงรู้ไว้ว่า คุณไม่ได้เป็นแบบนี้เพียงคนเดียว เชื่อหรือไม่ว่า มันคือสัญชาตญาณในการทำความสะอาด และจัดระเบียบใหม่เพื่อเตรียมพร้อมรับลูกน้อยของคุณนั่นเอง เฉกเช่นเดียวกับแม่นกที่ทำรังเตรียมวางไข่ แม่แมว แม่หนูแฮมสเตอร์ก็เช่นกัน ซึ่งเราเรียกอาการนี้ว่า Nesting (การทำรัง)

Nesting คือพลังที่ผู้หญิงมักได้รับในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้คุณแม่ทำความสะอาด และจัดระเบียบบ้านเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเกิดของลูกน้อยในครรภ์ มันเกือบจะเหมือนกับนาฬิกาเวลาที่ร่างกายของคุณกำลังบอกคุณว่า ‘คุณต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อมสำหรับทารก’” ดาริน เอล-ชาร์ สูติแพทย์ในออตตาวากล่าว “มันเป็นโหมดป้องกัน แต่คุณอาจพบว่ามันทำให้คุณมีประสิทธิผลอย่างเหลือเชื่อ เพราะคุณแม่จะมุ่งมั่นที่จะทำทุกอย่างให้สำเร็จ”

สิ่งที่ควรระวังในอาการแพ้ท้องอยากจัดบ้าน

มีสติอยู่เสมอเมื่อสัญชาตญาณการทำรังเกิดขึ้น อย่าปีน เอื้อมมือเกิน เอื้อมจนสุดปลายมือ หรือยกของหนักเกินไป และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงภัย เช่น ยืนบนบันไดเพื่อขัดเพดานห้องน้ำ เลี่ยงการใช้น้ำยาทำความสะอาดที่รุนแรงและเป็นพิษ  และยังคงต้องเปิดหน้าต่าง และสวมถุงมือตลอดแม้จะใช้น้ำยาแบบสูตรอ่อนโยนก็ตาม

4. ผมและเล็บ ยาวและหนาขึ้น

ภายในสัปดาห์ที่ 20 คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนจะสังเกตเห็นว่าผม และเล็บดูเหมือนจะยาวเร็ว และหนากว่าปกติ การที่ผมดูหนาขึ้น เพราะผมของคุณแม่ไม่ร่วงทุกวัน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงขึ้น และการไหลเวียนโลหิตที่เพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุของอาการเหล่านี้ เพราะฮอร์โมนเป็นสารอาหารในการสร้างผมและเล็บ ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในInternational Journal of Dermatologyเมื่อเดือนเมษายน 2016 ได้ศึกษาสตรีมีครรภ์มากกว่า 300 คน และพบว่ามากกว่าครึ่งสังเกตว่าเล็บของพวกเขาเปลี่ยนไปตั้งแต่ตั้งครรภ์

ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด ช่วยลดอาการแพ้ท้องได้
ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด ช่วยลดอาการแพ้ท้องได้

5. มือและเท้าแดง คัน

คุณแม่อาจพบว่าผิวหนังบริเวณท้องที่กำลังขยายใหญ่ขึ้นอาจมีอาการคันเมื่อยืดออก เช่นเดียวกับมือและเท้าของคุณแม่ ปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นไปยังผิวหนัง และระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงขึ้นเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ฝ่ามือ และผิวหนังที่มีเลือดมากจนเห็นเป็นสีแดง ส่งผลให้มีอาการคันซึ่งไม่ใช่เรื่องน่ากังวลใด ๆ

6. ตะคริวที่ขาบ่อย ๆ 

“แม่ท้องบางคนเป็นตะคริวที่ขาอย่างเจ็บปวดในตอนกลางคืน”

ตะคริว เกิดจากการขาดแคลเซียม และมีฟอสฟอรัสมากเกินไปในกระแสเลือด เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ขาทั้งสองข้างของคุณแม่ต้องแบกรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ระบบหมุนเวียนโลหิตตึงแน่นเกินไปบริเวณขา ทำให้เกิดตะคริวได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • ท่าบรรเทาอาการตะคริวที่ถูกต้อง ค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อออกให้อยู่ในความยาวที่ปกติของกล้ามเนื้อนั้น ๆ และให้ยืดกล้ามเนื้ออยู่จนกระทั่งหายปวด อาจใช้เวลาประมาณ 1 – 2 นาที แล้วลองปล่อยมือดูว่ากล้ามเนื้อนั้นๆ ยังเกร็งอยู่หรือไม่ ถ้ายังมีอยู่ให้ทำซ้ำจนกระทั่งปล่อยมือแล้วไม่มีอาการเกร็งตัว
  • เสริมสารอาหารด้วยการดื่มนม และการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว เมล็ดฟักทอง รวมถึงปลาเล็กปลาน้อย หรืออาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม จะช่วยลดการเกิดตะคริวได้ ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นตะคริวขณะเข้านอนตอนกลางคืนบ่อยๆ ก่อนนอนควรดื่มนมให้มากขึ้น และยกขาสูง ใช้หมอนรองขาให้สูงจากเตียงประมาณ 10 ซม. (4 นิ้ว)