สั่งสอนลูก

อย่าหาทำ! 10 ข้อผิดพลาดในการ สั่งสอนลูก ที่พบได้บ่อย!

Alternative Textaccount_circle
event
สั่งสอนลูก
สั่งสอนลูก

การ สั่งสอนลูก ให้มีวินัย  รู้ว่าอะไรควรไม่ควร อาจเป็นเรื่องท้าทายสำหรับพ่อแม่ หากคุณได้ลองใช้วิธีต่างๆ เพื่อให้ลูกของคุณเชื่อฟังหรือเข็ดหลาบ แต่ลูกยังคงไม่สะทกสะท้าน หากคุณตัดสินใจทำบางอย่างที่ไม่เหมาะสมกับลูกด้วยอารมณ์ หรือ ความสิ้นคิด สิ่งเหล่านั้นอาจทำลายความพยายามในการสร้างวินัยที่คุณเคยทำมาทั้งหมดได้ค่ะ ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดต่อไปนี้ และจงอดทนในแนวทางที่ถูกต้องที่คุณเคยทำมาตลอด เพื่อให้ลูกมีพฤติกรรมที่ค่อยๆ ดีขึ้นได้ในอนาคต

อย่าหาทำ! 10 ข้อผิดพลาดในการ สั่งสอนลูก ที่พบได้บ่อย!

 

1.ดุลูกในที่สาธารณะ

คุณควรจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นอันตรายกับลูก เช่น วิ่งเล่นบนถนน หรือ ผลักเด็กคนอื่นออกจากชิงช้า  แต่สิ่งที่คุณไม่ควรทำอย่างยิ่งในการ ลงโทษหรือสั่งสอนลูก คือการตีสั่งสอนลูกต่อหน้าคนอื่น เพราะเมื่อคุณทำเช่นนั้น ลูกอาจจะจดจ่ออยู่กับผู้อื่นรอบตัวมากกว่าสิ่งที่คุณพยายามจะสอนเขา  Erica Reischer,  มองหาสถานที่ส่วนตัวที่คุณสามารถพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีใครเห็นหรือได้ยิน หากคุณไม่สามารถหาพื้นที่สำหรับพูดคุยได้ในขณะนั้น ให้บอกลูกถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแบบสั้น ๆ และบอกให้ลูกรู้ว่าคุณจะคุยเรื่องนี้ที่บ้านในภายหลัง

2.ให้คำแนะนำที่คลุมเครือ

หากคุณเคยบอกเคยสอนลูกหลายต่อหลายครั้งว่าอย่าโยนสิ่งของต่างๆ ภายในบ้าน แต่ดูเหมือนจะไม่เป็นผล นั้น เป็นเพราะลูกอาจยังไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณต้องการสอนอย่างแท้จริง  การสอนให้ลูกไม่ทำในสิ่งต่างๆ ที่ไม่เหมาะไม่ควร ต้องไม่ใช่แค่การพูดกับลูกว่า “อย่าทำ…”  แต่ควรต้องบอกให้ชัดเจนและกำหนดแนวทางให้ลูกรู้ บอกลูกว่าสิ่งที่ควรทำกับสิ่งของที่ลูกโยนเหล่านั้น คืออะไร เช่น “แทนที่ลูกจะโยนชุดนอน ลูควรแขวนชุดนอนของลูกไว้ในตู้เสื้อผ้า” เป็นต้น

สั่งสอนลูก
สั่งสอนลูก

3.ให้รางวัลจูงใจในทางที่ผิด

คุณอาจเคยซื้อขนมเพื่อแลกกับการหยุดความซนและพฤติกรรมที่เหนือการควบคุมของลูกที่เคาน์เตอร์ชำระเงินในซูเปอร์มาร์เก็ต วิธีนี้อาจใช้ได้ผลแค่ในนาทีนั้น “การให้รางวัลกับพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็ก” เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง  หากคุณทำแบบนี้เป็นประจำ ก็อย่าได้แปลกใจถ้าลูกของคุณจะแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการในครั้งต่อไป หน้าที่ของพ่อแม่คือ การสอนให้ลูกตระหนักว่าพฤติกรรมที่เหมาะสมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การรอคอยอย่างอดทน หรือการทำตัวดีกับพี่น้องไม่ได้มาพร้อมกับสิ่งของใด ๆ ตอบแทนเสมอไป

เทคนิค สร้างวินัยให้ลูก แบบไม่ทำให้ลูกรู้สึกด้อยค่า!

5 เทคนิค สอนลูกให้เรียนรู้ จากความล้มเหลว เพื่อลุกขึ้นสู้!

10 วิธีสร้างวินัยเชิงบวก : เมื่อ ลูกอาละวาด เอาแต่ใจ

4. ละเลยความหิวของลูก

แน่นอนว่าคุณจะไม่สามารถคาดหวังให้ลูกของคุณอยู่ในอารมณ์ปกติ หรือเชื่อฟังคุณได้อย่างราบรื่น หากท้องของลูกว่างเปล่า (ไม่น่าแปลกใจที่ลูกจะขี้แง!) ความหิวทำให้เด็กขาดสมาธิ และอาจทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้มากยิ่งขึ้น

5.ไม่ให้ทางเลือกที่ชัดเจนกับลูก

เช่น ถ้าลูกบอกอยากไปวิ่งเล่นที่สนามเด็กเล่นใกล้บ้าน แต่คุณแม่บอกแค่ว่า “ไม่ไปลูก” ด้วยความรู้สึกส่วนตัว ลูกอาจเกิดความสงสัย และถามต่อว่าเพราะอะไรคุณถึงไม่ไป แต่ถ้าคุณตอบกลับไปเพียง ว่า “แม่บอกว่าไม่ไปก็ไม่ไปสิ” จากเหตุการณ์นี้ สิ่งเดียวที่ลูกจะทำได้ คือ งงกับสิ่งที่แม่พูด และ อาจเสียความรู้สึก พร้อมเกิดคำถามในใจอย่างมาก

6. ตะคอกดุลูกอย่างขาดสติ

สมมุติ ลูกของคุณทิ้งต่างหูคู่โปรดลงชักโครก แล้วคุณตะคอกดุใส่ลูกด้วยความขาดสติ สิ่งนี้จะทำลายความสามารถของคุณในการเข้าถึงใจลูก “ เด็ก ๆ ไม่สามารถซึมซับบทเรียนได้ เมื่อถูกพ่อแม่ใส่อารมณ์กับพวกเขา  เด็กส่วนใหญ่มักเงียบและร้องให้ และไม่สนใจเหตุผลใดๆ หรือเด็กบางคนอาจตอบสนองอย่างรุนแรงต่อการโดนตะคอก

สั่งสอนลูก

7. ลงไม้ลงมือกับลูก

การแสดงออกที่ไม่ค่อยน่ารัก ของเด็กๆ เกิดจากเหตุผลหลากหลายประการ  จำไว้ว่าลูกวัยเตาะแตะยังควบคุมตนเองได้ไม่ดีนัก พวกเขาชอบที่จะทดสอบพ่อแม่ว่าจะห้ามเขาหรือไม่ ถ้าทำสิ่งนั้น สิ่งนี้  เนื่องจากลูกต้องการความสนใจจากพ่อแม่เป็นธรรมดา การสอนด้วยเหตุและผลโดยการใช้วินัยเชิงบวก โดยไม่ลงโทษด้วยการตี จะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

8. เปรียบเทียบลูกกับพี่น้อง

เมื่อใดก็ตามที่คุณเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น  เช่น “พี่ของหนูเก็บที่นอนเองได้ ทำไมลูกถึงทำแบบพี่ไม่ได้นะ” ด้วย วิธีการสอนแบบนี้ จะทำให้เด็กๆ โดยเฉพาะพี่น้องผู้หญิงไม่พอใจและไม่ลงรอยกันได้ง่ายมาก การสอนเรื่องวินัยต้องมุ่งเน้นไปที่วิธีที่ลูกทำ ไม่ใช่การต้องไปแข่งขันกับคนอื่น เมื่อคุณเลิกเปรียบเทียบระหว่างพี่น้อง คุณจะค่อยๆ เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน ลูกจะค่อยๆ ประพฤติตัวดี และมีอารมณ์ฉุนเฉียวน้อยลง ทั้งยังเข้ากันได้ดียิ่งขึ้น

8 วิธี สร้างวินัยเชิงบวก ง่ายๆ ป้องกันลูกดื้อ เริ่มได้ตั้งแต่ 1 ขวบ

ลูกจะรู้สึกอย่างไร เมื่อพ่อแม่เปรียบเทียบกับลูกคนอื่น?

ลูกชอบพูดโกหก เพราะพ่อแม่เข้มงวดกับลูกมากไป

9. เข้มงวดกับลูกมากเกินไป

บ่อยครั้งที่พ่อแม่อาจแสดงท่าที หรือออกกฎที่เข้มงวดเกินไป (“ ไม่มีทีวีเป็นเวลา 1 เดือน!”) เมื่อคุณไม่พอใจกับลูกของคุณ แต่เพื่อให้การมีวินัยมีประสิทธิผลนั้นจะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมไม่ใช่ให้เป็นไปตามความหงุดหงิดของคุณ ดร. Reischer กล่าวว่า วิธีนี้ ไม่เพียงแต่เป็นการลงโทษที่ไม่ยุติธรรมแต่ยังเป็นความท้าทายอย่างมากในการบังคับใช้อีกด้วย (คุณจะทิ้งเด็กที่น่ารักของคุณต้องหลับไปจริงๆหรือ?) เพื่อป้องกันตัวเองจากการกำหนดบทลงโทษที่ไร้เหตุผลให้ตั้งกฎของบ้านที่คุณจะสะกดผลลัพธ์ที่เป็นเหตุเป็นผลไว้ล่วงหน้า ตัวอย่างเช่นแจ้งให้บุตรหลานของคุณทราบว่าหากเขาเลือกที่จะไม่ล้างเครื่องล้างจานเมื่อคุณขอให้เขาทำเขาจะต้องทำก่อนที่จะดูรายการโปรดของเขาในภายหลัง

10. ปล่อยเลยตามเลย

การบังคับใช้กฎกับลูกอย่างหละหลวม และไม่สม่ำเสมอ จะสอนให้ลูกของคุณ เกิดความเคยชินว่าสิ่งที่คุณห้าม หรือบังคับไม่ใช้เรื่องใหญ่ที่ต้องกลัว”  นอกจากนี้ยังสร้างความสับสนให้กับเด็ก ๆ ได้ หากคุณปล่อยให้ลูกเตะคุณเพื่อความสนุกสนาน ในขณะที่คุณกำลังเล่นลูกอาจคิดว่ามันเป็นเรื่องดีที่จะทำเมื่อลูกโกรธ หลีกเลี่ยงการตกหลุมพรางนี้ โดยพิจารณาความคาดหวังของคุณใหม่เป็นประจำ

การสอนลูกหรือการเสริมสร้างวินัยให้กับลูก พ่อแม่อาจต้องใช้ความอดทนจนกว่าจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีได้ในที่สุด แต่สิ่งที่ได้จากการพร่ำสอนลูกอย่างสม่ำเสมอนั้นย่อมคุ้มค่าแน่นอนค่ะ การที่ลูกหลานของเราเป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่าย มีวินัย ใฝ่ความดี และยังมีทักษะต่างๆ ที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต จากการที่คุณพ่อคุณแม่คอยสั่งสอน จะทำให้ลูกเกิดทักษะความฉลาดที่รอบด้านด้วย Power BQ ได้หลายทักษะ ซึ่งทักษะความฉลาดต่างๆ เหล่านี้จะติดตัวลูกไปในอนาคตที่เขาต้องเผชิญกับโลกแห่งความจริง ไม่ว่าจะเป็น ความฉลาดต่อการเผชิญกับปัญหา (AQ)  , ความฉลาดในการคิดบวก (OQ) และ  ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) 

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : parents.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เทคนิค สร้างวินัยให้ลูก แบบไม่ทำให้ลูกรู้สึกด้อยค่า!

9 เทคนิคต้องรู้ สอนลูกให้ชอบอ่าน พ่อแม่ต้องทำแบบนี้!

6 อันตรายนอกบ้าน ที่ควรสอนลูกให้ระวัง!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up